WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 9, 2011

ตั้ง"คำถามต่อความเป็นมนุษย์"ปมพฤษภาฯเดือด เผยสถิติเจ็บ-ตายถูกยิงกลางวันแสกๆ กระสุนเข้าลำตัวช่วงบนเยอะสุด

ที่มา มติชน




อ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ




นิทรรศการ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์














กราฟแสดงตัวเลขผู้เสียชีวิต









ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน14ตุลา สี่แยกคอกวัว มีการ เสนอเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเหตุรุนแรงเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ของกลุ่ม "มรสุมชายขอบ" คณะทำงานเฉพาะกิจ นำทีมโดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อ.บัณฑิต กล่าววว่าในเอกสารได้ระบุข้อสังเกตในตัดสินใจและปฏิบัติการของศูนย์อำนวยการ แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 มีทั้งหมด 11 ข้อ

ประกอบด้วย 1. ในระหว่างการชุมนุมมีการสร้างภาพความขัดแย้งระหว่างทหารกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) โดย เฉพาะกองกำลังพล ร.2 รอ. ที่มีฉายาบูรพาพยัคฆ์กับฝ่าย นปช. ถึงกับมีการบ่งชี้ว่าเป็น “โจทก์เก่า” ส่งผลต่อการตั้งคำถามต่อความรอบคอบเหมาะสมในการตัดสินใจของรัฐบาลและ ศอฉ. ว่ามีทางเลือกที่จะใช้กำลังหน่วยอื่น

2. ผลสืบเนื่องจากข้อ 1 ทำให้เกิดคำถามตามหลักสากล การ กำหนดยุทธวิธีในการเข้าปะทะ (Rule of Engagement) จะต้องไม่ใช้หน่วยทหารที่ถึงขั้นละลายจากการปะทะครั้งก่อนหน้าหรืออาจมี อารมณ์ในการปะทะกับฝูงชนหรือประชาชน ซึ่งมีความโกรธแค้นอยู่เป็นทุนเดิม สิ่งเหล่านี้น่าจะป้องกันบรรเทาได้ด้วยการใช้หน่วยทหารที่มีความชำนาญเฉพาะ

3. การเคลื่อนกำลัง ในการเคลื่อนกำลังของกองทัพใช้รถสายพานและรถบรรทุกส่วนหนึ่ง เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังที่ปรากฏในวันที่ 10 เมษายน ว่าการใช้รถสายพานลำเลียงน่าจะก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาในการข่มขวัญฝ่ายผู้ ชุมนุมและช่วยป้องกันนายทหารภาคสนามได้

4. การสื่อสารคำสั่ง การตามสายการบังคับบัญชาในปฏิบัติการทางทหารที่ใช้กำลังกว่าห้าหมื่นนาย ได้ใช้วิธีการสื่อสารใดในระหว่างปฏิบัติการ ภาพรถจักรยานยนต์ที่ล้มลงพร้อมการเสียชีวิตของพลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาระ ในวันที่ 28 เมษายน 2553 น่าจะเป็นบทเรียนสาคัญในการจัดการสื่อสารของกองทัพได้ไม่มากก็น้อย ในบางกรณีก็ยังเป็นปริศนา เช่น บุคลากรของกองทัพอากาศ 2 นาย ขับขี่รถยนต์ กระบะเข้าพื้นที่ในวันที่ 17 พฤษภาคมและถูกยิงบริเวณ ทาให้ จ.อ.อ. พงศ์ชลิต พิทยานนทกาญจน์ เสียชีวิต เป็นต้น

5. ในทางยุทธวิธีว่าทหารได้รับคำสั่งให้ดำเนินการกับ นปช. และผู้ชุมนุมอย่างไร มีมาตรการแยกแยะผู้ชุมนุม ออกจากประชาชนทั่วไปและกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

6. ปฏิบัติการของ ศอฉ. เน้นการใช้วิธีการใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญ เช่น การยิงปืนขึ้นฟ้าถูกใช้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 0.10 น. ซึ่งเป็นเวลากลางดึก จากนั้นก็ใช้วิธีการยิงกระสุนยางในตอนเช้าเวลา 7.00 น. เพื่อเปิดทางให้ทหารเข้าพื้นที่ควบคุม จากนั้นมีการใช้กระสุนยางยิงเปิดทางในเวลาประมาณ 12.00 น. แต่ก็มีการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญอีก ในเวลา 12.30 น.มีการใช้แก๊สน้ำตาและยิงปืนข่มขู่ควบคู่กัน จนกระทั่งมีการปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มกองกำลังในสวนลุมพินีมีการปะทะกัน ด้วยกระสุนจริงในช่วงเวลา 12.30-13.30 น. ส่วนการ์ด นปช. ในย่านถนนพระราม 4 ได้จำกัดการตอบโต้เพียงประทัดยักษ์และพลุบั้งไฟ ในเวลาต่อมามีการปะทะกันระหว่างทหารกับการ์ด นปช. ที่ยิงน็อต หินและลูกแก้วพลุตะไล ขณะที่ทหารเลือกใช้กระสุนยางตอบโต้

7. เมื่อรัฐใช้ทหารเข้าจัดการชุมนุมของพลเรือน เครื่องบ่งชี้ความรุนแรงอีกประการหนึ่ง ได้แก่การใช้กระสุนรบกับประชาชน หลัง จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีการเปิดเผยจานวนกระสุนที่ถูก เบิกจ่ายและใช้ไปในระหว่างการจัดการเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 ยอดเบิกจ่ายกระสุนปืน ตั้งแต่ 11 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 น่าสะเทือนใจ เพราะพล.อ.ดาว์พงษ์ ถึงกับอุทานว่า "ตัวเลขเป๊ะๆ" นั้น หลุดออกมาได้อย่างไร…”

8. การตั้งเขตยิงกระสุนจริง ในเขตราชปรารภ และซอยรางน้ำเป็นการสร้างข้อกังขาให้ แก่ผู้ได้พบเห็นมาก เพราะเป็นจุดที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดจุดหนึ่ง แต่เพียงไม่นานก็ถูกถอด เปลี่ยนเป็นป้าย "บริเวณนี้ใช้เครื่องมือปราบจลาจล" รวมเวลาที่ใช้กระสุนจริงอย่างน้อย 29 .20 ชั่วโมง

9. การจัดการหน่วยกู้ชีพ ความสูญเสียอาจลดได้มาก หากรัฐบาลได้จัดเตรียมกำลังและประสานงานกับหน่วยกู้ชีพ เว้นแต่มีความต้องการกำจัดผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 18.30 น. หน่วยกู้ชีพทุกหน่วยถูกสั่งให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ ผู้ชุมนุมรับภาระในการนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลเอง, ในวันที่ 15 พฤษภาคม เวลา 16.50 น. รถกู้ชีพไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เพราะถูกทหารยิงสกัดเอาไว้ มีเพียงคันเดียวที่เข้าไปรับคนเจ็บ

10. การเจรจาเพื่อลดระดับความขัดแย้งให้เข้าสู่ภาวะปกติ ความพยายามในการเจรจาของฝ่ายรัฐบาลขึ้นกับบทบาทของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในขณะที่แกนนา นปช. มีบทบาทสำคัญในการเจรจาตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม และเมื่อการเจรจาล้มเหลวจะเห็นได้ว่ามีความพยายามของกลุ่มอื่น เช่น ฝ่ายวุฒิสภาที่เสนอตัวเข้ามาร่วมคลี่คลายวิกฤต อย่างไรก็ดี ไม่มีคาตอบจากฝ่ายรัฐบาลจนวินาทีสุดท้ายที่เข้าสลายการชุมนุม ส่งผลให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมทั้งกรณี 6 ศพวัดปทุมวนารามอีกด้วย

และ 11. การละเลยรายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญในเทคนิคการเจรจาแบบสันติวิธี เช่น การจัดโต๊ะ เจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนา นปช. เป็นจัดโต๊ะแบบประจันหน้า ที่กำหนดลำดับชั้น อาวุโส และการเป็นคู่ตรงกันข้าม น่าเสียดายว่าทีมสันติวิธีที่เป็นคนกลางน่าจะพิจารณาจัดโต๊ะแบบกลม เพื่อเลี่ยงความรู้สึกประจันหน้าระหว่างศัตรู

ข้อสังเกตว่าด้วยผู้ชุมนุมที่บาดเจ็บและเสียชีวิต

1. กลุ่มผู้บาดเจ็บ เอกสารที่ได้จากสถานพยาบาล ได้มีสถิติคนเจ็บระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พบว่ามีคนเจ็บ
ที่ถูกบันทึกเอาไว้จานวน 582 ราย เวลา ที่ผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลเป็นเวลาระหว่าง12.00-18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุดถึงร้อยละ 30 เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นเวลากลางวันที่ผู้บาดเจ็บน่าจะเป็น "เป้าหมาย" ที่ชัดเจนและผู้ยิงหรือสั่งการยิงมาสามารถ "เห็น" ได้ รองลงมาคือ กลุ่มที่ถูกยิงระหว่างหลังเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้ากว่าร้อยละ 16 นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นพลเรือนถึงร้อยละ 90.2 ขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจร้อยละ 7.04 กลุ่มผู้บาดเจ็บเป็นชายมากที่สุดคือร้อยละ 93.99 และเพศหญิงร้อยละ 5.84

ใน การบาดเจ็บที่ระบุอาการได้พบว่าถูกกระสุนร้อยละ 45.36 สามารถจำแนกเป็นบาดแผลที่ศีรษะร้อยละ 9.59 คอร้อยละ 2.24 ลำตัวร้อยละ 27.4 ช่วงแขนร้อยละ 22.26 และขาร้อยละ 28.77

2. กลุ่ม ผู้เสียชีวิต ซึ่งนับเฉพาะบริเวณบ่อนไก่พระราม 4 ร้อยละ 20, สีลม (ศาลาแดง สวนลุมพินี และราชดำริ) ร้อยละ 22, รางน้าดินแดงร้อยละ 30, ราชปรารภและซอยหมอเหล็งร้อยละ 7 รวม ยอดผู้เสียชีวิตในเขตดังกล่าว ระหว่าง 13-19 พฤษภาคมมีจานวน 55 ราย กลุ่มใหญ่ที่สุดคืออายุวัยฉกรรจ์จนถึงวัยกลางคน คือระหว่าง 20-49 ปี ในกลุ่มนี้เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ (รับจ้าง แท็กซี่ อาสาสมัครและค้าขาย) กว่าร้อยละ 61 เป็นทหารร้อยละ 6

ภูมิลำเนาของผู้เสียชีวิตมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 42 รองลงมาคือกรุงเทพมหานครร้อยละ 35 ไม่สามารถระบุได้ร้อยละ 15 ตำแหน่งบาดแผลที่มีนัยสำคัญต่อการเสียชีวิต พบว่าร้อนละ 36 เป็นบาดแผลที่ศีรษะ ช่วงอกร้อยละ 27 ช่วงลำตัวร้อยละ 12 และลำคอร้อยละ 11

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ทางกลุ่มได้จัดทำนิทรรศการ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์" ซึ่งการแสดงแผนภูมิสถิติและแผนที่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ปะทะเมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 ซึ่งจะแสดงไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค. ที่อนุสรณ์สถาน 14ตุลา