ที่มา ประชาไท
จับสุรชัย จับสมยศ แจ้งจับสมศักดิ์ เจียมฯ และอาจจะถอนประกันจตุพรกับ 9 แกนนำ นปช.
ต่อไปเป็นใครอีกล่ะ เชื่อได้ว่าคงไม่หมดแค่นี้
ตลก ร้ายคือ กระบวนการไล่ล่าเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่การเมืองกำลังเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ผู้บัญชาการทหารบกประกาศวางตัวเป็นกลาง ยอมรับได้ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล
ฝ่าย ทักษิณกับพรรคเพื่อไทยก็กำลังสนุกสนานกับการหาเสียงประชานิยม แจกบัตรเครดิตชาวนา ลดภาษีซื้อบ้านหลังแรก ซื้อรถคันแรก (น่าจะหักภาษีค่าสินสอดแต่งเมียคนแรกด้วย) กว้านคนเข้าพรรคไม่เลือกหน้า ไม่เว้นแม้อดีตรองผู้ว่า กทม.เจ้าของโครงการปลูกต้นปาล์มเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา
ทำยัง กะนี่เป็นการเลือกตั้งในสภาพปกติ ไม่มีรัฐประหาร 19 กันยา ไม่มีการเข่นฆ่าประชาชนเมื่อเดือนพฤษภาปีที่แล้ว นอกจากคำขวัญเล็กๆ ที่มีอยู่บางป้ายว่า “เอาประชาธิปไตยคืนมา” พรรคเพื่อไทยยังไม่รณรงค์ซักแอะถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การล้างบางอำมาตย์ ปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปศาลและองค์กรอิสระ
พอจตุพรโดนกองทัพแจ้งจับหมิ่น สถาบัน ก็อกสั่นขวัญแขวนกันไปหมด กลัวเสียคะแนนเสียง กลัว ส.ส.ย้ายพรรคหนี กำชับให้รูดซิปปาก พวกแกนนำ นปช.ที่อยากเป็น ส.ส.จนตัวสั่นก็เลยรูดซิปปากกันหมด ไม่ทราบว่าชุมนุมรำลึก 19 พ.ค.ปีนี้จะเหลือขึ้นเวทีซักกี่คน ดีเหมือนกัน ขีดเส้นไปเลยว่าใครสังกัดพรรคห้ามขึ้นเวทีเสื้อแดง ไม่งั้นโดนยุบพรรค
จะ หนีความจริงกันไปไหน ทักษิณโดนรัฐประหารด้วยข้อหา “หมิ่นเหม่” ทักษิณโดนองคมนตรีออกมาระบุว่าจะ “ล้มเจ้า” คุณบอกว่าชนะแล้วจะเอาทักษิณกลับประเทศ จะกลับได้ไงถ้าไม่เคลียร์เรื่องเอาสถาบันมาเกี่ยวข้องกับการเมือง
มี บางคนตั้งข้อกังขาว่าทักษิณกลับไปฮั้วกับขั้วอำนาจจารีตนิยมแล้วหรือ ผมยังมองโลกในแง่ดี คือพอจะเข้าใจว่าทักษิณกับพรรคเพื่อไทย (อันเดียวกันนั่นแหละ เพราะทักษิณคิด เพื่อไทยทำ แปลว่าเพื่อไทยคิดไม่เป็น) มองว่านี่เป็นโอกาสเดียวที่จะได้อำนาจกลับมา ต้องชนะเลือกตั้งไว้ก่อน เลยเน้นโปรโมทนโยบายประชานิยมอันหลากหลายจนลายตา เน้นดึงคนเข้าพรรค คนที่มีบารมี คนที่มีกะตังค์ “ชนะแล้วค่อยว่ากัน” บางคนคิดอย่างนั้น
ขอบอก ว่าคิดผิดครับ เพราะคุณหนีความจริงไม่พ้นว่าพรรคเพื่อไทยต้องสู้รบกับกลไกอำมาตย์ ทั้งรัฐราชการ กองทัพ องค์กรอิสระ คุณต้องประกาศสู้ตั้งแต่วันแรกที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นทางการ เพื่อผนึกพลังให้ชัดเจนว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่าย อำมาตย์
ผมไม่ได้ปฏิเสธความจำเป็นที่ต้องเสนอนโยบายประชานิยมควบคู่ กัน แต่ความจำเป็นยิ่งกว่าคือต้องทำให้เห็นชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยสู้ศึกเลือก ตั้งครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงหวังชนะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ แต่หวังเป็นตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยเข้าไปรื้อล้างระบบที่พิกลพิการมาตั้งแต่ รัฐประหาร
ถ้าให้สัตยาบันกับประชาชนไว้อย่างนี้ ต่อให้แพ้เลือกตั้งก็ยังเคลื่อนไหวต่อไปได้ หรือถ้าชนะ ก็มีความชอบธรรมที่จะแก้รัฐธรรมนูญทันที รื้อล้างกลไกอำนาจสำคัญทันที (ตลอดจนเอาทักษิณกลับมาได้โดยรวดเร็ว)
พรรคเพื่อไทยอย่าสำคัญตนผิด คิดว่ามีศักยภาพพอที่จะบริหารประเทศได้เหมือนพรรคไทยรักไทยใน 4 ปีแรกของทักษิณ เปล่าเลย พรรคเพื่อไทยเป็นได้แค่ทางผ่านหรือเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันระดับหนี่งเท่านั้น ถ้าพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วรื้อล้างโครงสร้างอำนาจไม่ได้ อยู่ไม่ถึงปีก็เจ๊ง
ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้พรรคเพื่อไทยหรือ นปช.ระดมพลมาช่วยสมยศ สมศักดิ์ แต่ผมมองว่าขั้วอำนาจจารีตนิยมกำลังเดินเกมเนียน ล่อให้คนเสื้อแดงเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง มีความหวังกับการเลือกตั้ง แล้วอีกด้านหนึ่งก็ไล่กำจัดปราบปรามผู้ที่เรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบัน ยกเลิก ม.112
พวกเขาคงคิดว่านื่คือแนวทางอันชาญฉลาดในการ “ปกป้องสถาบัน” พยายามปล่อยให้การเลือกตั้งกลับไปสู่ภาวะปกติให้มากที่สุด ใครชนะยอมรับได้ (จริงหรือเปล่าไม่รู้) แต่ถ้าจำเป็นก็อาจจะยอมให้นิรโทษกรรม ยอมให้แก้ไขกลไกบางอย่าง แต่ไม่ยอมให้แตะต้องกองทัพ ไม่ยอมให้แตะต้องศาล และไม่ยอมให้มีเสียงเรียกร้อง “ปฏิรูปสถาบัน”
เอ้า สมมติทักษิณได้นิรโทษกรรม ก้าวแรกที่กลับมาเหยียบแผ่นดินไทย ก็ต้องก้มกราบสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (จบข่าว?)
แต่ เดี๋ยว อย่าเพิ่งขึ้นเพลงข่าววอฯ ผมว่ายังไม่จบ อย่าพยายามหนีความจริง สังคมไทยมันหมุนย้อนกลับไปสู่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยาไม่ได้แล้วครับ 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งต่างๆ ที่คนทั้งประเทศเห็นคาตา ทำให้มวลชน “ตาสว่าง” รู้แล้วว่าสถาบันถูกดึงมาเกี่ยวกับการเมือง จะให้เลิกแล้วต่อกัน แล้วกลับไปอยู่ “เหนือการเมือง” โดยไม่เคลียร์ปัญหาในเชิงระบบโครงสร้าง ให้สถาบันออกไปจากการเมืองอย่างแท้จริง มันเป็นไปไม่ได้แล้วครับ
ท่า ทีที่ชัดเจนของขั้วอำนาจจารีตนิยม ยังแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ต้องการปรับเปลี่ยน ไม่ยอมให้ปรับเปลี่ยน และยากที่จะปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง แม้ธงชัย วินิจจะกูล พยายามเรียกร้องให้หลีกเลี่ยงการ “ชิงสุกก่อนห่าม” โดยยกบทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีตมาเตือนสติ
หลังการอภิปรายของธงชัย ผมได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ หลายคน ว่าทำไมการปรับตัวของสถาบันจึงทำได้ยาก ยากกว่าในอดีตสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยซ้ำ
ผมมองว่าเป็นเพราะ ความ “ใหญ่โต” ไปด้วยผู้แวดล้อมจำนวนมาก ที่ต่างก็ได้ประโยชน์จากการแอบอิงอำนาจบารมีอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบัน ไม่ว่ากองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือที่เกิดใหม่มาแรง “คนชั้นกลางในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งต้องการพึ่งสถาบันเพื่อต่อต้านนักการเมืองเลว ซื้อเสียง ในสายตาพวกเขา
อำนาจ บารมีของสถาบันไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่า นั้น แต่ใต้ร่มเงานี้ ยังเป็นที่แฝงตัวของบุคคลและองค์กรที่ต้องการดำรงอยู่อย่างมีอภิสิทธิ์ ไม่ว่าระบบราชการ ศาล หรือกองทัพ ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตี “ปกป้องสถาบัน” ไล่แจ้งจับใครต่อใคร
กองทัพพยายามสร้างภาพลักษณ์ “กองทัพของพระเจ้าอยู่หัว” เช่นที่ออกมา “ตบเท้า” แสดงความจงรักภักดี (สาเหตุที่ทหารชอบตบเท้า เพราะทหารรู้จักแต่ใช้เท้า ไม่รู้จักใช้หัว) ประกาศ “ยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในพระมหากษัตริย์” (ฟังแล้วสับสนว่าเราอยู่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์) โดยขณะเดียวกัน เมื่อทำให้คนคิดว่าเป็น “กองทัพเป็นของพระเจ้าอยู่หัว” ก็พยายามสร้างความรู้สึกคล้อยตามอีกว่า “พระเจ้าอยู่หัวเป็นของกองทัพ” จึงไปทำหน้าที่แจ้งจับ ไล่จับ ปราบวิทยุชุมชน
ความเป็น “กองทัพของพระเจ้าอยู่หัว” และ “พระเจ้าอยู่หัวเป็นของกองทัพ” ทำให้ทหารสามารถดำรงอภิสิทธิ์ แม้ผ่านพ้นยุคเผด็จการทหารเต็มใบมาหลายสิบปี การแต่งตั้งโยกย้ายในกองทัพไม่มีนักการเมืองกล้าแตะต้อง การใช้จ่ายงบประมาณตั้งแต่จัดซื้ออาวุธไปจนรับเหมาก่อสร้าง เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะหน่วยงาน นายทหารเมื่อดำรงตำแหน่งสูง ก็จะได้เข้าทำหน้าที่ราชองครักษ์เวร พวกเขาจึงมองข้ามรั้วออกมาเห็นประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง ขณะที่ตัวเขาเป็นมือไม้ของการ “ปกครองแผ่นดินโดยธรรม”
ลองคิดง่ายๆ แล้วกันว่าถ้าปฏิรูปสถาบัน 8 ข้อตามที่สมศักดิ์ เจียมฯ เสนอ ทหารจะไปอยู่ที่ไหน ทหารก็หมดท่าอยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีกลาโหมพลเรือนที่มาจากการเลือก ตั้ง อย่างเก่งก็ได้ไปตบเท้าโชว์นักท่องเที่ยวหน้าพระบรมมหาราชวัง ฉะนั้นอย่าแปลกใจเลยที่ทหารแจ้งจับสมศักดิ์ เพราะทหารยอมไม่ได้ถ้ามีการปรับเปลี่ยน
ใบตองแห้ง
11 พ.ค.54