WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 14, 2011

หนึ่งปีที่ผ่านมากับความคืบหน้ารายงานกรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง

ที่มา Thai E-News

10 เมษายน 2554 ภาพการทำบุญครบรอบหนึ่งปีการเริ่มต้นปราบปรามคนเสื้อแดงจนมีผู้เสียชีวิต 26 คนในวันที่ 10 เมษายน 2553
เหยื่อแห่งความโหดร้ายถูกใส่โลงศพสีแดงเดิน แห่รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และทั่วกรุงเทพในวันที่ 12 เมษายน 2553

ตลอด หนึ่งปีที่ผ่านมา หนึ่งในสัญลักษณ์แห่งการย้ำเตือนผู้คนคือการแสดงละครใบ้ และการนอนตายบนถนนในทุกที่ไม่ว่าที่ราชประสงค์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หรือแม้แต่หน้าสำนักงานสหประชาชาติเพื่อร่วมเตือนความจำว่า "ที่นี่มีคนตาย"

รูปนี้เป็นรูปที่ถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดรูปหนึ่งถึงการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงที่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับความยุติธรรม
* * * * * * * * *


รายงานเสวนา: “หนึ่งปีที่ผ่านมากับความคืบหน้ารายงานกรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง”


โดย สุลักษณ์ หลำอุบล
ที่มา ประชาไท
14 พฤษภาคม 2554

วัน ที่ 9 พฤษภาคม 2554 มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหิดลจัดเสวนาวิชาการ "หนึ่งปีที่ผ่านมากับความคืบหน้ารายงานกรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง” ณ ศูนย์กฎหมายเพื่อสังคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"


9 พ.ค. 54 – ศูนย์นิติธรรมและสิทธิมนุษยชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “หนึ่งปีที่ผ่านมากับความคืบหน้ารายงานกรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง” ณ ศูนย์กฎหมายเพื่อสังคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เวลา 8.30 – 12.00 น.

วิทยากรร่วมเสวนา คือ สมชาย หอมลออ ประธานคณะอนุกรรมการอิสระตรวจสอบและต้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) วัน สุวรรณพงศ์ ทนายความกลุ่ม นปช.จังหวัดขอนแก่น ขวัญระวี วังอุดม และศรายุธ ตั้งประเสริฐ จากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม (ศปช.) และมิเคลา ลาร์สัน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอนเนคติกัต โดยมีประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ดำเนินรายการเสวนา และวสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดการเสวนา จุดประสงค์ของการเสวนาเป็นไปเพื่อติดตามสถานการณ์และอภิปรายความคืบหน้าของ แต่ล่ะภาคส่วนเกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยมีญาติผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบางส่วนมาร่วมในงานเสวนาด้วย

วสันต์ พานิช

จาก เหตุการณ์ทางการเมืองในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา มาจนถึงพฤษภาคม 35 เมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่เคยมีการดำเนินการ สืบสวน เสาะหาข้อเท็จจริงใดๆที่เกิดขึ้น เช่นในเหตุการณ์ 6 ตุลา หลังจากการทำรัฐประหารโดยจอมพลประภาส จารุเสถียร ก็ได้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ทำรัฐประหาร และลงโทษเอาความผิดกับนักศึกษาและประชาชน ในขณะนั้นมีคดีใหญ่สองคดีคือ การฟ้องอดีตผู้นำนักศึกษา สุธรรม แสงประทุมกับพวกรวม 18 คนในข้อหากบฏและการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และอีกคดีคือการฟ้องบุญชาติ เสถียรธรรม ในข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพซึ่งถูกฟ้องในคดีนี้เพียงคนเดียว ในคดีของอดีตผู้นำนักศึกษานั้น สืบโจทก์ไปได้พักหนึ่งแต่ไม่ค่อยมีความคืบหน้าเท่าไร ในขณะที่คดีของคุณบุญชาตินั้นสืบโจทก์จบแล้ว กำลังเริ่มที่จะสืบจำเลย และกำลังจะได้ทราบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ 6 ตุลาว่าอะไรเกิดขึ้นอย่างไร ก็ปรากฏว่ามีการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดทั้งหมด 18 คน รวมถึงคุณบุญชาติด้วย มีความพยายามให้เกิดการปรองดอง และทำให้คดีที่กำลังดำเนินอยู่นั้นยุติไปโดยปริยายและไม่สามารถสืบหาความ จริงต่อไปได้ เช่นเดียวกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ก็มีการออกกฎหมายนิโทษกรรมแล้วก็จบกันไป ในเหตุการณ์นั้นก็มีบุคคลจำนวนหนึ่งที่สูญหายไป และปัจจุบันก็ยังไม่มีเบาะแสความคืบหน้าใดๆเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ถึงแม้จะพบว่ามีการพบศพในตู้คอนเทนเนอร์บ้าง หรือที่อื่นๆบ้าง แต่ก็ไม่สามารถสืบหาความจริงได้ และแต่ล่ะก็มีข้อมูลคนล่ะชุด ฝ่ายประชาชนก็ชุดหนึ่ง และฝ่ายรัฐก็อีกชุดหนึ่ง มาจนถึงเหตุการณ์เดือนเมษา-พฤษภาปีที่แล้ว จนบัดนี้ล่วงเลยมาเป็นเวลาครบปี หลายเหตุการณ์ในหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่สี่แยกคอกวัว วัดปทุมวนาราม และที่อื่นๆ ก็ยังเป็นที่สงสัยกังขาจากประชาชน ซึ่งก็ยังไม่มีคำตอบที่เป็นที่กระจ่าง วันนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มคนจากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหาย สื่อมวลชน และอื่นๆ มาร่วมพูดคุย ให้ข้อมูล เพื่อจะได้มาช่วยกันหาคำตอบ และช่วยกันดูว่าความจริงที่เกิดขึ้นจะเลือนหายไปเช่นเหตุการณ์อื่นๆในอดีต หรือไม่

สมชาย หอมลออ
เมื่อ พูดถึงความจริง เราพบว่า ความจริงนั้นค้นพบไม่ยาก ถึงแม้ความจริงอาจต้องใช้เวลาและต้องการพยานหลักฐานมาพิสูจน์ซึ่งเป็น หน้าที่ของ คอป. เรามีสมมุติฐานมากมายในสิ่งที่เกิดขึ้น และในการได้มาซึ่งความจริง เราต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่เป็นวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในทางนิติเวชศาสตร์ และจากการสอบถามทั้งเหยื่อ ผู้ชุมนุม ประชาชนโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่รัฐ ประจักษ์พยาน สื่อมวลชน อาสาสมัคร ซึ่งจำเป็นต้องถามทุกส่วนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน การตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ของคอป.นั้นได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ในไทยและต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบรูป คลิปวีดีโอ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสอบสวนในที่เกิดเหตุ (crime scene)

ใน การพูดความจริง เราจำเป็นต้องมีพยานหลักฐาน และแน่นอนว่า การตรวจสอบของคอป.นั้นไม่ได้ยึดหลักการตรวจสอบที่เข้างวดเทียบเท่ากับการ ตรวจสอบคดีทางอาญา ที่จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานที่แน่นอนปราศจากข้อสงสัยในการกล่าวหา การพูด หรือเปิดเผย คอป.ยังไม่ถึงขั้นนั้น และเมื่อเราพูดความจริง สิ่งที่ยากอีกขั้นหนึ่งคือจะให้ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับและเชื่อถือ ร่วมกันอย่างไร มีคนที่พูดความจริงมากมายแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณะ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากในการนำไปสู่การเยียวยา และการหาทางร่วมกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้นถึงแม้ว่าจะพูดความจริง แต่ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ ก็จะเป็นอุปสรรคในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบและการสร้างความปรองดองใน อนาคต สิ่งเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการทำงานของคอป. เพราะในแง่ความเชื่อถือแล้วคอป.ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่เริ่มจากติดลบ เนื่องจากคอป.ถูกแต่งตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งถือว่าเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงในความรุนแรงที่เกิดขึ้น

ใน หลายๆประเทศนั้น การจัดตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงและการปรองดองนั้นจะจัดตั้งขึ้นก็ต่อ เมื่อความขัดแย้งนั้นได้ล่วงไปแล้ว และฝ่ายที่จัดตั้งคณะกรรมการก็เป็นฝ่ายที่เป็นกลางจริงเช่นสหประชาชาติ หรือฝ่ายที่ชนะ ซึ่งมีอำนาจการตรวจสอบมากมาย ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่คอป.ตระหนักมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ก่อนยอมรับการแต่งตั้งด้วยซ้ำ จึงไม่น่าแปลกใจที่อาจารย์คณิตจึงไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ตั้งแต่ตอนแรกในทันที แต่ขอเวลาในการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน และกลุ่มแรกที่ท่านหารือคือแกนนำของนปช. รวมถึงนักการเมืองของพรรคเพื่อไทยซึ่งถูกยุบพรรคไปแล้ว จากการหารือก็พบว่าคนเหล่านั้นมีความเชื่อมั่นในตัวอาจารย์คณิตว่าสามารถ ทำงานด้วยความเที่ยงตรง ดังนั้นดร.คณิตจึงยอมรับในข้อเสนอดังกล่าวในการตั้งคอป. โดยมีเงื่อนไขกำหนด คือ 1) ดร.คณิตต้องประกันความอิสระในการเลือกผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการทั้งแปดคนได้ ด้วยตนเอง ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี 2) คอป.สามารถนำเสนอหรือเปิดโปงสิ่งที่ค้นพบได้ทุกขณะ โดยไม่ต้องรอให้ระยะเวลาการสอบสวนเสร็จสิ้นเสียก่อนซึ่งมีระยะเวลาสองปี 3) ข้อเสนอแนะและการเปิดเผยจะต้องทำทั้งต่อรัฐบาลและต่อหน้าสาธารชน เนื่องจากประสบการทำงานที่ผ่านมาในการตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนพบว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองใดๆที่ขึ้นมาก็ไม่มีการนำข้อเสนอแนะต่างๆไปปฏิบัติอย่าง จริงจัง ไม่มีการปรับปรุงระบบยุติธรรม เราจึงหวังว่าในการผลักดันข้อเสนอแนะต่างๆนี้ควรเป็นบทบาทของสาธารณชน ที่ต้องยอมรับว่านี่คือความจริง และต้องร่วมกับผลักดันข้อเสนอแนะต่างๆให้เป็นเจตจำนงทางการเมืองของผู้ที่มี อำนาจนำไปปฏิบัติ

ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ ก็มีอุปสรรคในการทำงานบ้างในการเข้าถึงข้อมูลจากทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและ จากฝ่ายเสื้อแดง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายมากขึ้น เราได้จัดเวทีประชุมที่นำคู่ขัดแย้งและผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมาพูดคุย ให้ข้อมูลและความคิดเห็นต่อคณะกรรมการหรือที่เรียกกันว่า hearing ซึ่งถึงแม้ว่าเวทีนี้จะยังไม่ถึงกับเป็นเวทีสาธารณะเต็มรูปแบบแต่เราก็เปิด โอกาสให้สื่อมวลชน ตัวแทนของกลุ่มองค์กรต่างๆ ทูต นักข่าว และบุคคลสามารถพาคนอื่นมาเข้าร่วมรับฟังได้ นอกจากเวทีดังกล่าวจะทำให้ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้นแล้ว มีสิ่งที่น่าสนใจจากการจัดเวทีรับฟังนี้ที่ได้คือการที่พบว่ามีคนที่อยู่ใน เหตุการณ์เดียวกัน แต่ต่างสถานะ ต่างความคิด ต่างมุมมองได้มาคุยกัน ทำให้เห็นความสำคัญที่ว่าคนจากหลายๆฝ่ายต้องมาคุยกันและเปิดใจรับฟังข้อเท็จ จริงและความคิดเห็นจากอีกฝ่าย มิเช่นนั้นเราก็อาจจะก้าวไปไหนไม่ได้ และการจัดการ hearing มาเกือบสิบครั้งโดยคอป. นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเดินหน้าทำงานต่อในระยะเวลาอีกปีเศษ นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายน เราก็จะยังคงจัดเวที hearing ต่อไปแต่คราวนี้จะจัดเป็นประเด็นๆ เช่น ผลกระทบของการรัฐประหาร 19 กันยา เสรีภาพในการชุมนุมและขอบเขต บทบาทของทหารในสังคมไทย สื่อมวลชน ฯลฯ โดยหวังว่าการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันนี้จะช่วยให้สังคมไทยก้าวไปข้างหน้า และหลุดพ้นจากความรุนแรงได้

วัน สุวรรณพงศ์

นอก จากจะมาเสริมและให้ความคิดเห็นต่อรายงานของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมแล้ว จะพยายามตอบคำถามที่ว่า “ใครเป็นคนสั่งฆ่าประชาชน” ซึ่งสามารถสรุปออกมาได้เจ็ดกลุ่มดังต่อไปนี้ คือ กลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, กลุ่มคนที่ไล่ล่าอดีตนายกทักษิณ ชินวัตรออกจากอำนาจ, กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มอนาธิปไตยและพรรคการเมืองบางพรรคที่มีส่วนล้ม รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์, กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการร่างรัฐธรรมนูญ 50, กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร , ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินสี่ฉบับเมื่อวันที่ 7 เมษายน 53 และกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการโฆษณาชวนเชื่อว่านปช.เป็นผู้ก่อการร้ายและ โค่นล้มสถาบัน กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์เมษา-พฤษภาปีที่ แล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่เป็นมรดกตกทอดจาการรัฐประหาร 19 กันยา ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจแก่ฝ่ายตุลาการเพิ่มขึ้น และสามารถเข้าไปแทรกแซงกระบวนการต่างๆ ทำให้ความยุติธรรมในประเทศไม่อาจบรรลุขึ้นได้

ในเอกสารรายงานของโร เบิร์ต อัมสเตอร์ดัมที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 มีรายละเอียดในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่สะท้อนการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปีที่แล้วอย่างชัดเจน และมีการตั้งข้อหาต่ออภิสิทธิ์ด้วยความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ นอกจากนี้แล้ว อยากจะนำเสนอในประเด็นความไม่ชอบด้วยการนำประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินสี่ฉบับใช้ ซึ่งนอกจากจะเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพแล้ว ยังไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมีการแก้ข้อกฎหมายโดยพลการ กล่าวคือ พ.ร.กฉุกเฉินนี้อยู่ในมาตราที่ 218 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วโดยการรัฐประหารปี 2550 และเมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้หยิบยกมาใช้ใหม่ ก็มีการแก้ใขตัวเลขมาตราให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วยเหตุนี้ ประกาศที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงอำนาจต่างๆที่ใช้ในการตั้งศอ.ฉ. อำนาจที่ใช้ในปฏิบัติการทางทหารในช่วงเมษา-พฤษภาปีที่แล้ว ก็ย่อมไม่ชอบธรรมด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว ความไม่ชอบในข้อกฎหมายดังกล่าว ยังโยงไปถึงแกนนำและผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ด้วย เพราะถ้าหากข้อกฎหมายไม่ชอบธรรมแล้ว ก็สมควรต้องปล่อยตัวผู้ที่ยังถูกคุมขังอยู่ออกมา และน่าสังเกตว่าเมื่อ DSI รู้เรื่องช่องโหว่ในข้อนี้ ก็พยายามจะใช้ข้อกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายหมิ่นพระบรมฯ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อมาใช้เป็นข้อกล่าวหาเพิ่มเติม

ขวัญระวี วังอุดม
ศูนย์ ข้อมูลประชาชนฯ (ศปช.) ตั้งขึ้นมาด้วยการรวมกันของนักวิชาการ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม โดยตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 หลังการสลายการชุมนุมสองเดือน เนื่องจากเห็นความขัดแย้งในสังคม และเห็นความไม่เป็นธรรมต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงตั้งแต่การประกาศใช้พ.ร.บ.ความ มั่นคงและพ.ร.ก. ฉุกเฉินในเวลาต่อมา และท่ามกลางบรรยากาศของการเรียกร้องให้ปรองดองในช่วงปีที่แล้ว เราคิดว่าในการที่จะปรองดองได้นั้นสังคมไทยต้องเกิดความยุติธรรมก่อน และนี่เป็นที่มาที่ไปของการตั้งศปช.

เรายอมรับว่าการทำงานของ ศปช.มีอุปสรรคบ้างในการเข้าถึงข้อมูลจากฝ่ายรัฐ แม้แต่ คอป.ก็ยังมีปัญหาในส่วนนี้ แต่ในส่วนของข้อมูลฝ่ายผู้ชุมนุมเสื้อแดงเราคิดว่าก็น่าเชื่อถือเพราะค่อน ข้างได้รับความไว้ใจจากผู้ชุมนุมเสื้อแดง มีการตรวจสอบข้อมูลที่ชัดเจน งานของ ศปช.ไม่ได้จำกัดเพียงการค้นหาความจริง แต่ยังรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการผ่านบทความที่ผลิตโดยนักวิชาการ รวมถึงการรณรงค์ในระดับสากลด้วย แต่งานที่เน้นมากเป็นพิเศษคือการทำงานกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งตาย สูญหาย บาดเจ็บ และถูกคุกคาม

รายงานของ ศปช.ฉบับเต็มจะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งสาระสำคัญที่เราเน้นและแตกต่างจากรายงานฉบับอื่นๆ คือ ความไม่ชอบธรรมของการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากหากเราดูตามมาตรฐานสากลแล้ว การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินควรเป็นไปเมื่อมีเหตุคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภัยต่อคนทั้งประเทศ ซึ่งในขณะที่รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ยังไม่มีสถานการณ์ที่บ่งชี้ถึงความร้ายแรงดังกล่าว เราไม่ได้บอกว่าเสื้อแดงไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย แต่เราย้ำว่าทางรัฐได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการสลายการชุมนุม

นอก จากนี้ ตัวแทนจาก ศปช.ยังเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อรายงานองฮิวแมนไรต์ วอตช์ คือ นอกจากในประเด็นที่ว่ามีการฟันธงว่าชายชุดดำมีส่วนเกี่ยวข้องกับแกนนำเสื้อ แดงอย่างแน่นอนแล้ว ซึ่งในแง่หนึ่งก็ยังมีความไม่ชัดเจน ยังมีประเด็นของการที่ในรายงานเขียนถึงการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯของ การ์ดเสื้อแดงว่าไม่เหมาะสม ซึ่งสรุปมาจากการสัมภาษณ์ของฝ่ายบุคลกรโรงพยาบาลอย่างเดียว ในประเด็นนี้อยากให้มองว่าควรถอยออกมาดูบริบทรอบด้าน เนื่องจากในสังคมไทยตอนนี้เป็นสังคมที่มีความแตกแยกและขาดความไว้เนื้อเชื้อ ใจกันทั้งสองฝ่ายทั้งจากฝ่ายหมอและฝ่ายผู้ชุมนุม จึงอยากให้สอบถามข้อมูลจากทุกฝ่ายเพื่อให้ได้บริบทในสังคมที่ครบถ้วน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่รายงานฮิวแมนไรต์ วอตช์สรุปว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้วางแผนที่จะเผาตึกสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยสรุปข้อมูลจากคลิปวีดีโอที่อริสมันต์กล่าวว่า “หากมีการรัฐประหาร ให้พี่น้องเตรียมถังน้ำมันไว้ และจะเปลี่ยนที่นี่ให้เป็น ทะเลเพลิง” เมื่อปลายมีนาคม รวมถึงคลิปอื่นๆของจตุพรและณัฐวุฒิ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นในต่างบริบทกันและไม่ สามารถมาสรุปอย่างง่ายๆได้ว่าเป็นการวางแผนการเผาของผู้ขุมนุมเสื้อแดง

ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
จาก การที่ผมได้มีโอกาสช่วย ศปช.เก็บข้อมูลพบว่า มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษา-พฤษภาปีที่แล้วไม่สอดคล้องกับสิ่ง ที่สื่อกระแสหลักหรือรัฐบาลได้นำเสนอ เช่น มีการใช้อาวุธสงครามยิงใส่ผู้ชุมนุมตั้งแต่ในตอนกลางวันของวันที่ 10 เมษายน หรือช่วงเวลาในการเผาตึกเซ็นทรัลเวิร์ลด์ เป็นช่วงเวลาที่ทหารสามารถเข้ามายึดพื้นที่ได้เป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะในกรณีหลังนี่สามารถจะตรวจสอบข้อมูลได้จากสื่อมวลชนทั่วไป

ยก ตัวอย่างถึงในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษา กรณีของนายเกรียงไกร คำน้อย เป็นคนขับรถสามล้อเครื่อง มาจากจังหวัดยโสธร เขามาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้า เมื่อเกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าทหารกับผู้ชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวง ศึกษาธิการ เขาถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่หน้าอกราวบ่ายสอง และเสียชีวิตราวหกโมงเย็น กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐเริ่มมีการใช้อาวุธสงครามยิงใส่ผู้ชุมนุมมือเปล่า ตั้งแต่ช่วงกลางวัน ทั้งๆที่ในบริเวณนั้นยังเป็นพื้นที่ทหารสามารถเข้าควบคุมได้หมดแล้ว หากแต่รัฐได้อ้างมาตลอดว่าสาเหตุที่รัฐต้องใช้อาวุธหนักนั้นเป็นเพราะมีชาย ชุดดำซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธปรากฏอยู่ในที่ชุมนุมในตอนค่ำ กรณีเช่นนี้ได้ชิให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้น ไม่ตรงกับข้ออ้างที่รัฐและสื่อมวลชนกระแสหลักได้สื่อออกไปในสังคมจนเป็นความ คิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่

นอกจากนี้ยังมีกรณีของผู้ที่เสียชีวิต หลังการสลายการชุมนุม เป็นผู้ชายวัยสามสิบกว่า จากจังหวัดขอนแก่น มีร่างกายแข็งแรง ในวันที่สิบเมษา เขาได้เข้าร่วมการชุมนุมของคนเสื้อแดงและอยู่ในเหตุการณ์การปะทะระหว่างทหาร และผู้ชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว และได้รับบาดเจ็บการการใช้แก๊สน้ำตาจากทหาร และถูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการหอบหืด ต่อมาเสียชีวิตลงในวันที่ 6 ตุลาคม 53 ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด และสมอง กรณีเช่นนี้ อาจไม่สามารถระบุได้ว่าเขาเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมโดยตรง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเขาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตภายหลัง และจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือหรือการแสดงความรับผิดชอบจากทาง ภาครัฐใดๆ แม้แต่ในกลุ่มเสื้อแดงด้วยกันเองก็ไม่ได้รับการเหลียวแลมากนัก

การ ใช้ความรุนแรงดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น การใช้อาวุธหนักยิงใส่ผู้ชุมนุม การใช้เฮลิคอปเตอร์โปรยแก๊สน้ำตาลงมาใส่ผู้ชุมนุม หรือแม้แต่กระบวนการจับกุมที่ไม่ยุติธรรม เป็นความรุนแรงที่ยอมรับไม่ได้ และถือเป็นการพรากสิทธิในการดำรงตนเป็นพลเมือง สิทธิในความเป็นมนุษย์และเสรีภาพ

ศรายุธ ตั้งข้อสังเกตุในประเด็นความน่าเชื่อถือของ คอป.ที่สมชายได้พูดไปก่อนหน้านี่ว่า คอป.เริ่มการทำงานจากจุดที่ติดลบ เนื่องจากถูกแต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ศรายุธ มองว่าไม่น่าจะโทษรัฐบาลฝ่ายเดียวที่เป็นสาเหตุ แต่ควรต้องพิจารณาตัวกรรมการของ คอป.เองด้วย ว่าทำไมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนเสื้อแดงไม่ได้ เนื่องจากสมชายเองก็เคยสนับสนุนการรัฐประหารและเคยกล่าวต่อสาธารณะว่ารัฐบาล มีความชอบธรรมในการใช้อาวุธตอบโต้กับกลุ่มติดอาวุธที่แฝงอยู่ในที่ชุมนุม ในวันที่ 18 พค.53 ก่อนการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต แต่จากการพิสูจน์ไม่พบว่าผู้ที่เสียชีวิตไม่มีหลักฐานการใช้อาวุธใดๆ นักสิทธิมนุษยชนควรมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำและพูดด้วย และหลังสลายคุณก็มาเป็นคณะกรรมการปรองดอง แล้วมันจะปรองดองไปได้อย่างไร

ซึ่ง ในประเด็นนี้ สมชาย หอมลออ ยังยืนยันในจุดยืนเดิมว่าหากมีการปรากฏของกลุ่มติดอาวุธในที่ชุมนุม รัฐมีความชอบธรรมในการใช้อาวุธจัดการกับชายชุดดำ แต่มิได้หมายความว่าอนุญาตให้รัฐสามารถเข้าสลายการชุมนุมของผู้ชุมนุมเสื้อ แดงได้ แต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสนับสนุนการรัฐประหาร





นางสาวนิตยา พาเชื้อ
ภรรยา ของผู้ที่เสียชีวิตคือนายอินทร์แปลง เทศวงศ์ กล่าวว่าสามีของเธอเป็นคนขับแท็กซี่และถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณบ่อนไก่เพียง เพราะลงจากรถไปสอบถามคนที่อยู่ในเหตุการณ์ แต่กลับถูกยิงสองนัดเข้าที่หน้าอกนั้น ได้มากล่าวความรู้สึกในงานเสวนา ด้วยน้ำตาที่นองหน้า “ฉันต้องการให้คนที่สั่งฆ่าได้รับบาปกรรม ได้รับการลงโทษ ฉันต้องการความยุติธรรมให้กับลูกและทุกคนที่ต้องประสบเหมือนฉัน ฉันขาดผู้นำครอบครัว ขาดคนที่ดูแล ให้ความรักความอบอุ่น ขาดคนที่พาเราเดินไปในชีวิต เขาได้จากไปอย่างปุบปับ ยังไม่ทันได้สั่งเสีย ยังไม่ได้ดูใจ ลูกเขายังไม่รู้เรื่องอะไร ตอนนั้น ลูกคนเล็กยังไม่สิบเดือนเมื่อพ่อโดนยิง มาจนตอนนี้ ก็หนึ่งขวบสิบเดือนแล้ว ยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม ฉันต้องการความยุติธรรมให้ลูกฉันบ้าง”



ศรีประภา เพชรมีศรี

ให้ความคิดเห็นต่อรายงานของคอป.ว่า แปลกใจที่เห็นรายงานของ คอป. มีเนื้อหาหรือการบันทึกข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นน้อย แต่สามารถสรุปออกมาเป็นข้อเสนอแนะได้ มอง ว่ารายงานของ คอป.ยังไม่ถือว่าเป็นรายงานเพราะยังไม่มีการสรุปข้อมูลใดๆที่ชัดเจนออกมา ถึงแม้ดูเหมือนว่าจะมีหลักฐานในหลายส่วนพอสมควรแล้ว ทั้งนี้หากเทียบกับรายงานฮิวแมนไรต์ วอตช์พบว่ามีการรวมรวมข้อเท็จจริงในหลายเรื่องอย่างชัดเจน รวมทั้งมีข้อเสนอแนะต่อทุกฝ่ายโดยไม่มีข้อยกเว้น ส่วนรายงานของศปช.ก็มีลักษณะที่แตกต่างไปในแง่ที่ว่ามีลักษณะให้ความสำคัญ กับผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือ victim-based ซึ่งสิ่งที่อยากจะเห็นจากรายงานทั้งหมดคือว่าให้มีการบันทึกเหตุการณ์และข้อ เท็จจริงให้เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์หรือ historical document ที่เราจะสามารถใช้อ้างอิงเพื่อเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในอนาคตได้

นอก จากนี้ ในประเด็นเรื่องความยุติธรรมช่วงเปลี่ยนผ่านหรือ Transitional Justice มีองค์ประกอบที่สำคัญๆดังต่อไปนี้ที่สังคมไทยต้องทำให้ได้แต่ในปัจจุบันเรา อาจยังไม่เห็นหนทางที่ชัดเจน กล่าวคือ ต้องมีการรับผิด (accountability) ผู้ที่กระทำผิดจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น และเพื่อที่จะให้ความรับผิดเกิดขึ้นได้นั้น นั่นหมายถึงการลอยนวลและงดเว้นโทษจะต้องยุติลง ต้องมีความยุติธรรมเกิดขึ้นกับเหยื่อให้ได้ ซึ่งมิได้จำกัดอยู่แค่การให้เงินชดเชยเยียวยาเท่านั้น ปัจจัยข้างต้นที่กล่าวไปจำเป็นต้องบรรลุก่อนเพื่อที่จะนำไปสู่การปรองดอง ที่แท้จริงได้ นอกจากนี้ สังคมไทยยังมีลักษณะของการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ชัดเจน กล่าวคือในประเทศอื่นการเปลี่ยนผ่านคือการเปลี่ยนจากสงครามไปสู่สันติภาพ หรือเปลี่ยนจากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทยยังมีเส้นแบ่งที่ไม่ชัดเจนและมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันด้วย ว่าขณะนี้เราอยู่ในช่วงเวลาไหนของสังคม

การที่สังคมไทยอยู่ในภาวะ ของการลอยนวลของผู้กระทำผิดอย่างยาวนาน แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐในการปกป้องประชาชนจากการละเมิดสิทธิมนุษย ชนโดยเฉพาะเหยื่อที่ได้รับผลการทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงของรัฐ เนื่องจากมองได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการนิรโทษกรรม การที่จะบรรลุซึ่งการรับผิด จำเป็นต้องนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ในเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่าหากมีการลงโทษแล้วสังคมจะเกิดสันติภาพ ได้หรือไม่ ดังนั้น เราจึงควรแยกให้ออกระหว่างคำว่าปรองดอง (Reconciliation) และประนีประนอม (compromise) ซึ่งมีความหมายและขอบเขตแตกต่างกันมาก