WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 14, 2011

เหยียดผิว

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ คอลัมน์ที่13


ลัทธิเหยียดผิว หรือ racism (เรสซิซึม) เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของโลกที่มีมาแต่อดีตและยัง"ตกค้าง" อยู่ในสังคม

ความ หมายของลัทธิเหยียดผิว มีขอบเขตกว้างเกินคำว่าผิว เพราะรวมถึงการเหยียดเชื้อชาติ ชนชั้น ชนเผ่า มีลักษณะของอคติ เลือกปฏิบัติ กดขี่ เหยียดหยาม

นายปลอดประสพ สุรัสวดี ยกคำว่า "เหยียดผิว" จากพฤติกรรมของ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง

กรณี โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กว่าเจอ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กับครอบครัวไปกินข้าวร้านเดียวกัน ว่า "ทำให้เราอดนึกขำไม่ได้ว่า คนที่เรียกตัวเองว่า 'ไพร่' ก็ไม่ได้ใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนที่เขาเรียกว่าเป็นพวก 'อำมาตย์' สักเท่าใดนัก"

นายปลอดประสพกล่าวว่า การที่นายกรณ์คิดอย่างนี้ ทำให้ประหลาดใจว่าสมัยนี้ยังมีการเหยียดผิวเหมือนในสหรัฐ เมื่อยุคทศวรรษ 50-60

ประวัติ ศาสตร์ของลัทธิเหยียดผิว เริ่มเมื่อ 500-1,000 ปีที่แล้ว จากการที่ชาวยุโรปขยายอาณานิคมและนำชาว แอฟริกันไปเป็นทาสในโลกใหม่ หรือประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคม

เพราะเชื่อว่าคนแอฟริกันผิวดำมี ความเป็นมนุษย์น้อยกว่าคนผิวขาวอย่างชาวยุโรป เนื่องจากความเจริญของชาวแอฟริกัน ไม่ทัดเทียมกับอารยะของ ชาวยุโรป

ต่อ มา กลางศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวอเมริกันและชาวยุโรปบางกลุ่ม มีแนวคิดการเหยียดผิวขึ้นใหม่ โดยหันไปต่อต้านชาวยิว ด้วยความเกลียดชังว่าถูกชาวยิวเข้ามาแย่งงาน แย่งโอกาสในสังคม

ต่อมาเกิดกลุ่มนาซีที่เข่นฆ่าชาวยิวราวกับผักปลา ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วน การเหยียดผิวในอเมริกา เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวยุโรปบางกลุ่มและผู้อพยพได้รับความทุกข์จากความหวาดกลัวชาวต่างชาติของ ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะในทศวรรษ 60 ที่พื้นที่ของคนผิวสีแทบมีน้อยมากในสหรัฐ

แม้ในจอโทรทัศน์ก็มีแต่ดาราผิวขาวและมีการแบ่งแยกร้านอาหารและรถเมล์ของคนผิวขาวและผิวสีอย่างชัดเจน

หลัง จากการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของชนผิวสี นำโดย มาร์ติน ลูเธอร์ คิง กลางศตวรรษที่ 20 แนวคิดการเหยียดผิวไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมอีกต่อไป

แม้ ในแง่ปฏิบัติ การเหยียดผิวก็ยังมีให้เห็นอยู่ในแง่ของสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความไม่เท่าเทียมกันในการจ้างงาน การซื้อบ้านหรือเช่าบ้าน การศึกษา

ปัจจุบัน แม้ นายบารัก โอบามา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกในประวัติศาสตร์ของอเมริกา แต่ก็ยังมีกรณีเหยียดผิวในหลายรัฐ

ใน ทางกฎหมาย นานาประเทศเป็นภาคี "อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุก รูปแบบ" (CERD) เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2508 และมีผลบังคับ ใช้วันที่ 27 ก.พ. 2546 ซึ่งไทยเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อ วันที่ 28 ม.ค.2546 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ.2546

ในอนุสัญญาฯ ใช้คำว่า "การเลือกประติบัติทางเชื้อชาติ" ซึ่งหมายถึงการจำแนก การกีดกัน การจำกัดหรือการเลือก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติกำเนิดหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด ซึ่งมีเจตนาหรือมีผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้นการเคารพสิทธิมนุษยชนและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและในด้านอื่นๆ ของการดำรงชีวิตในสังคม

รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้นการใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล