WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 11, 2011

ความจริงหลายชั้นกับ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่เห็นอยู่ตำตา

ที่มา ประชาไท

นักปรัชญาชายขอบ

"ด้วย เหตุนี้ ข้าพเจ้าเคยตั้งคำถามว่า เมื่อ 'หา' ความรุนแรงที่ไป 'ซ่อน' อยู่จนพบแล้ว ควรทำเช่นไร เมื่อได้เห็นร่างของสังคมไทยที่รุนแรงสลับซับซ้อนไม่เรียบง่าย สงบเย็นอย่างที่เคยเข้าใจมาแต่ก่อน แล้ว 'เรา' ยังจะอยู่กับสังคมไทยอย่างไร และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เมื่อเห็น 'ร่าง' แห่งความรุนแรงที่ 'ซ่อน' อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?"

ข้าง บนนี้คือบทสรุปของปาฐกถา ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ฟังเสียงเต้นของ “ความจริง” ในสังคมไทย? ปาฐกถาเปิดงานเสนอเอกสารข้อเท็จจริงกรณีเหตุรุนแรง เดือนพฤษภาคม 2553 และเปิดนิทรรศการ หัวข้อ "คำถามต่อความเป็นมนุษย์" ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วันที่ 8 พฤษภาคม 2554

ชัยวัฒน์ อ้างถึงทัศนะของ Arendt ว่า เริ่มต้นจากการถือว่า ยุคสมัยใหม่เชื่อว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นอยู่เองหรือมิได้ถูกค้นพบ หากเป็นสิ่งที่ถูกผลิต (producted) โดยน้ำมือมนุษย์ (human mind) และแยก “ความจริง” ออกเป็นสองชนิดคือ “ความจริง” ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาซึ่งจัดว่าเป็น “ความจริงเชิงเหตุเชิงผล” (rational truth) ส่วน “ความจริง” อีกแบบหนึ่งเป็น “ความจริงเชิงข้อเท็จจริง” (factual truth)

แต่ น่าสังเกตว่า เมื่อชัยวัฒน์พูดถึงการจัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริง หรือการเผชิญหน้าระหว่างความจริงเชิงข้อเท็จจริงกับความจริงเชิงเหตุผลใน ประวัติศาสตร์ระยะไกล ตั้งแต่ยุคโสเครตีส พระเยซู เรื่อยมาถึงการจัดการ “ความจริง” ในเหตุการณ์ที่รัฐบาลอินโดนีเซียตอบโต้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ที่จะทำรัฐประหารเปลี่ยนรัฐบาล การฆ่ากันครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศราว 500,000 คน ในช่วงตุลาคม 2508 – มีนาคม 2509 ดูเหมือนเขาจะมั่นใจในความชัดเจนของ “ความจริง” ทางประวัติศาสตร์ระยะไกลที่เขาอ้างถึง

แต่ทว่า “ความจริง” ของประวัติศาสตร์ระยะใกล้ หรือความจริงของประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยระยะกว่า 5 ปี มานี้ ดูเหมือนชัยวัฒน์แทบจะไม่ลงลึกในรายละเอียด พูดทำนองว่าความจริงของประวัติศาสตร์ระยะใกล้ดูคลุมเครือ ซับซ้อน หรือ “หลายชั้น”

และสุดท้ายเขาจึงสรุปว่า เมื่อเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?”

คำถามก็คือ ว่า ทำไมชัยวัฒน์จึงคิดว่าสังคมสามารถ หรือได้เห็นเพียง “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่? เพราะสำหรับคนธรรมดาทั่วไปจำนวนมาก เขาอาจมองเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ปรากฏอยู่ตำตามานานแล้วก็ได้ !

ตาม คำอธิบายของชัยวัฒน์ที่ว่า ความจริงถือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และขึ้นอยู่กับ “อำนาจ” ในการผลิตสร้างความจริง หากความจริงขัดแย้งกัน ฝ่ายชนะก็มักจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าในการจัดการความจริง

แต่ เขาไม่ได้ตั้งคำถามต่อว่า เป็นความจริงหรือไม่ว่า ในความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นมาและเป็นอยู่ อำนาจที่จัดการความจริงเชิงข้อเท็จจริงและความจริงเชิงเหตุผลคืออำนาจที่ ปล้นอำนาจของประชาชนไป และเป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจที่ปราบปรามประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจของตนคืน เป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจพิสูจน์ความจริงเชิงข้อเท็จจริงกรณีคนบาดเจ็บล้ม ตาย และเป็นอำนาจเดียวกันกับอำนาจแห่งกระบวนการยุติธรรม

และหากย้อน กลับไป ความจริงเชิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน ประชานิยมมอมเมา เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงสื่อ แทรกแซงองค์กรอิสระ ฯลฯ เป็นความจริงที่ต้องจัดการภายใน “กรอบ” ของความจริงเชิงเหตุผลคือ กระบวนการยุติธรรม กระบวนการตรวจสอบที่เป็นไปตามกติกาและหลักการประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ?

แต่ อำนาจนอกระบบ พรรคการเมือง ม็อบ สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนอำมาตย์จำนวนหนึ่งกลับร่วมมือกันและให้ความเห็นชอบให้จัดการกับความ จริงเชิงข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหานั้น ด้วยการละเมิดหลักการและกติกาประชาธิปไตย

ฉะนั้น ความรุนแรงที่พวกเขากระทำตั้งแต่แรกก็คือการทำลายความจริงเชิงเหตุผลบนหลัก การและกติกาประชาธิปไตย แล้วก็ใช้อำนาจที่ปล้นประชาชนมาสร้างกระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐานกับฝ่ายตรง ข้ามซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อประชาชนลุกขึ้นมาตอบโต้กับความรุนแรงนั้นเพราะความเหลืออดเหลือทน พวกเขากลับตอบโต้ประชาชนด้วยความรุนแรงยิ่งกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ (กำลังพล 50,000 รถถัง สไนเปอร์ กระสุน 200,000 นัด ข้อกล่าวหาล้มเจ้า ก่อการร้าย ฆ่า จับติดคุก ปิดปากด้วย ม.112 ฯลฯ)

นั่นคือ “ร่าง” แห่งความรุนแรงหรือไม่? คือ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ไม่ได้ซ่อนอยู่ที่ไหนเลย เป็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่คนธรรมดาอย่างชาวบ้านจากชนบท คนขับแท็กซี่ กรรมกร ฯลฯ เห็นอย่างเต็มตา และอย่างเต็มหัวใจมานานแล้ว!

คำถามคือ ชัยวัฒน์มัวไป “ซ่อน” อยู่ที่ไหน จึงไม่เห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ปรากฏอย่างโทนโท่อยู่ตรงหน้า!

และ เหตุใด ชัยวัฒน์จึงถามว่า เมื่อเห็น “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ “ซ่อน” อยู่แล้ว ยังจะมีพลังอำนาจพอที่จะยกโทษให้ทั้งสังคมไทยและตนเองได้หรือไม่ ? จะทำอย่างไรกับโลกเช่นนี้ได้? จะจดจำอดีตที่เจ็บปวดโดยไม่ขมขื่นได้อย่างไร?

ทำไมไม่ถามบ้างว่า สังคมควรจะจัดการกับ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่เห็นตำตาอยู่อย่างไร เพราะตราบที่สังคมไม่มีคำตอบเกี่ยวกับการจัดการ “อำนาจ” ที่ควบคุมทั้งความจริงเชิงข้อเท็จจริง และความจริงเชิงเหตุผลให้อยู่ใน “ที่ทางที่ควรจะเป็น” การเรียกร้องให้ “ยกโทษ” และเรียกร้องให้ลืม “ความเจ็บปวด” คงไม่อาจช่วยอะไรได้ !

“ร่าง” แห่งความรุนแรง ก็คงแสดงบทบาทรุนแรงอยู่ต่อไป และอาจแปลงร่างไปอีกนับไม่ถ้วน และ “ร่าง” แห่งความรุนแรงที่ถอดรูปการจิตสำนึกไปจากร่างใหญ่ อาจไปซ่อนอยู่ในทุกที่ทุกอณูของสังคม แม้แต่อาจ “ซ่อน” อยู่ในจิตใต้สำนึกของของนักสันติวิธีที่มุ่งขับเน้นความสำคัญของความโกรธ ความเกลียดในจิตใจของผู้คน

มากกว่าที่จะลงลึกถึงการเรียกร้องการวาง “ระบบอำนาจ” ในการจัดการความจริงและความเป็นธรรมให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง !