WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 14, 2011

“โตขึ้นหนูจะต้องเป็นเรยา”: แด่ผู้ใหญ่ที่มีการศึกษาสูงส่งและเปี่ยมไปด้วยความปราถนาดี

ที่มา ประชาไท

จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์



“…คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจมีการศึกษาน้อย ไม่มีกำลังปัญญาที่จะสอนลูก แยกแยะถูกผิด ผิดชอบชั่วดีนะคะ เราต้องยอมรับว่ามีบุคคลพวกนั้นนะคะ ถ้าเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง คุณพ่อคุณแม่จบปริญญาตรี ก็ไม่ต้องอะไรเยอะ ลูกก็คงต้องรู้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร…” [http://www.youtube.com/watch?v=NxBQ4QgaBgQ]

ลัดดา ตั้งสุภาชัย (ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม) ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้เอาไว้ เมื่อครั้งที่เธอได้รับเชิญไปแสดงความเห็นต่อปรากฏการณ์ดอกส้มสีทองบานสะพรั่งในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ว่าพ่อแม่ควรจะมีบทบาทอย่างไรกับการดูละครของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย ความปราถนาดีครั้งนี้ของคนที่เรียกตัวเองว่าเปฌนผู้เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ซึ่งมีหน้าที่อันไม่มีขอบเขตท่านนี้ คงทำให้พ่อแม่หลายต่อหลายคนหน้าชาขึ้นมา ไม่มากก็น้อย

ทัศนคติที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ การจำแนกแบ่งคนที่มีระดับสติปัญญาหรือจริยธรรมด้วยการศึกษาในระดับปริญญาตรี ความคิดที่ว่า การศึกษาในระดับปริญญาตรีจะเป็นดั่งยาครอบจักรวาล แก้ปัญหาได้ทุกอย่างในชีวิต รับมือได้กับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และสังคมนั้น ส่วนตัวผู้เขียน คิดว่าสิ้นสมัยของความเชื่อเช่นนี้ไปแล้วเสียด้วยซ้ำไป

เรื่องการดูละครถูกวกมาผูกติดกับชนชั้นและระดับสติปัญญาของสังคม อีกครั้ง แม้ก่อนถ้อยคำเหล่านี้ (ในคลิปเดียวกัน) ลัดดาจะออกตัวไว้ก่อนว่า สังคมเรามีความหลากหลาย มีทั้งผู้ที่เข้มแข็งและอ่อนแอ แต่คำพูดของลัดดาที่ยกมาข้างต้น เหมือนคำพิพากษาในที ที่กำลังส่งสารไปยังผู้รับฟังว่า ชนชั้นไหนมีระดับความสามารถในการแยกแยะความผิดชอบชั่วดีหรือความถูกผิดได้ดีกว่ากัน

ถ้า ระดับการศึกษา, ชนชั้น และวุฒิภาวะที่พัฒนาขึ้นตามอายุ คือคำตอบของการวิเคราะห์สังเคราะห์ในสื่อประเภทต่างๆ ได้จริง ทำไมกระทรวงวัฒนธรรมยังคงต้องทำตัวเป็น ผู้ใหญ่แสนดีและรู้มากไปเสียทุกเรื่องอยู่อีก? ที่ย้อนแย้งที่สุด หากใช้ฐานความคิดชุดเดียวกัน ไปทาบทับเพื่อวิเคราะห์ในกรณีการห้ามฉายหนัง Insects in the backyard แล้ว นับว่าเป็นเรื่องตลกอย่างที่สุด ที่ฟ้องว่า เอาเข้าจริงๆ แล้วมาตรฐานการกำกับดูแลเนื้อหาสื่อและการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาสื่อใน ประเทศนี้ไม่เคยมี และหากใครสักคนยกอ้างคิดว่ามาตรฐานขึ้นมากล่าว มันก็คือวิธีคิดที่ล้นไปด้วยอัตวิสัยและอำนาจตามตำแหน่งที่ตนสวมบทบาทอยู่ เท่านั้นเอง

หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 มติคณะรัฐมนตรีฉบับหนึ่งได้กล่าวถึงการส่งเสริมให้มีรายการโทรทัศน์สำหรับ เด็กและเยาวชนมากขึ้น และส่งต่อให้เกิดการทำงานของกรมประชาสัมพันธ์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจำแนกประเภทรายการที่เหมาะสมกับผู้คนวัยต่างๆ ในสังคม จนกลายเป็น ฉลาก “เรต” แปะหน้ารายการโทรทัศน์อย่างเช่นทุกวันนี้

แต่ มีอีกเรื่องหนึ่งที่ภาควิชาการด้านสื่อสารมวลชนพยายามจัดทำขึ้นมาตี คู่กับมติคณะรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว นั่นคือ การจัดทำหลักสูตร “สื่อศึกษา” หรือ “Media Literacy” ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ทั้งในหลักสูตรสถาบันการศึกษาและสำหรับการศึกษาแบบสาธารณะ แต่ดูเหมือนว่า งานที่วางโครงสร้างทางความคิดของอนุชนเช่นนี้กลับไม่ได้รับการผลักดันให้ เกิดขึ้นจริงจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่การสร้างให้อนุชนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรู้เท่าทันในสื่อประเภทต่างๆ ที่รายล้อมตัวตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงเข้านอนคือสิ่งที่สำคัญมากกว่าการจะผูก ขาดหน้าที่การเซนเซอร์ในเนื้อหาสื่อของคนเพียงไม่กี่คนในประเทศนี้เท่านั้น ที่จะต้องออกมาเสนอหน้าตัวเองออกมาเรื่อยๆ และชี้ถูกชี้ผิดว่าอะไรควรดู อะไรไม่ควรดู

เรามีผู้ใหญ่รู้ดีมากมายไปหมด แต่ในทางกลับกัน เรามีแต่เด็กและเยาวชนที่อ่อนแอจากระบบการศึกษาที่กลายเป็นเครื่องมือให้ ผู้ใหญ่ในสังคม ต้องลำบากผัดหน้าผัดตาแต่งตัวเป็นลิเกตัวพระตัวนางมาช่วยเหลือเด็กตัวน้อยๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อน้ำเน่าไร้สาระกันเรื่อยไป เพราะว่าพ่อแม่แท้ๆ ของเด็กน้อยเหล่านี้ เป็นชนชั้นล่าง เป็นคนที่มีการศึกษาน้อย เป็นพวกทำมาหากินไปวันๆ

สิ่งที่คนชนชั้นกลางและมีการศึกษาอย่างต่ำ ที่สุดคือระดับปริญญาตรีต้อง รักษาไว้ ก็คือโครงสร้างและสถานะของตัวเองในสังคม ผ่านการให้คุณค่าและมาตรฐานทางจริยธรรมที่แปรผกผันมาจากสถานะทางสังคมนั่น เอง

การที่ใครสักคนพยายามจะผูกขาดความดี ความงาม และจริยธรรมศีลธรรม เพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งสถานะทางสังคมของตนเองและพรรคพวกของตน มันน่ากลัวมากกว่าการที่เด็กสักคนประกาศให้โลกรู้ว่า “โตขึ้นจะเป็นแบบเรยา” เสียด้วยซ้ำไป

ถ้าผู้ใหญ่รู้มากจำพวกนี้ เล็งเห็นจริงๆ ว่าการศึกษาจะแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากสื่อที่เขาเห็นว่าเป็นของอันตราย ทำไมการจัดการศึกษาสำหรับการวิเคราะห์ สังเคราะห์สื่อสำหรับเด็กและเยาวชนจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง?

หลังจากละครเรื่องดอกส้มสีทองจบไป เราจะต้องเห็นลัดดา ตั้งสุภาชัย หรือคนในกระทรวงวัฒนธรรม ออกมาสื่อสารกับสังคมในเรื่องซ้ำเดิมเช่นนี้กันอีกสักกี่ร้อยกี่พันครั้งกัน? ทั้งที่การแก้ปัญหาผลกระทบจากสื่อต่อเด็กและเยาวชนก็คือการติดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์,สังเคราะห์สื่อให้ติดตัวเด็กและเยาวชนนั่นเอง

สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้มากและเต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีทั้งหลายในสังคมเลือกที่จะ “ไม่ทำ” บอกใบ้ให้เรารู้อยู้ในทีแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่เขาเหล่านี้หวาดกลัว

ผู้ใหญ่รู้มากพวกนี้อาจจะไม่ได้กลัวว่าเด็กจะโตขึ้นแล้วเป็นแบบเรยา

แต่ การที่เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ , สามารถจำแนกแยกแยะ “สาร” รวมถึงประเมินคุณค่าของสื่อทุกประเภทได้ด้วยตนเอง คือ สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้มากจำพวกนี้กลัวต่างหาก.