WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 9, 2011

ทหารกดดันตำรวจออกหมายเรียกสมศักดิ์ เจียมฯรับข้อหาหมิ่นวันพุธนี้ ทนายดักคออย่าหาเหตุยัดคุก

ที่มา Thai E-News

กรณี อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล การเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งก็มิได้มีพฤติการตามกฎหมายที่จะควบคุมตัว หรือขังไว้ระหว่างสอบสวน จึงต้องถือว่า ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ดังนั้นพนักงานตำรวจจึงไม่สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอออกหมายขังระหว่างสอบ สวนได้ ( แต่หากเป็นกรณีที่เรียกโดยมีหมายจับรอไว้อยู่แล้ว คงต้องมานั่งด่าตำรวจกันต่อไป)-ทนายอานนท์ นำภา

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
9 พฤษภาคม 2554

เว็บไซต์ประชาไท รายงานว่า นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กองทัพบกยื่นฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ สน.นางเลิ้ง ในวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00 น.

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นายสมศักดิ์ ได้แถลงข่าวกรณีมีการคุกคาม หลังร่วมอภิปรายเรื่อง สถาบันกษัตริย์-รัฐธรรมนูญ-ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 ที่ม.ธรรมศาสตร์ โดยมีนักวิชาการ นักกิจกรรมจำนวนมาก ออกแถลงการณ์ให้กำลังใจนายสมศักดิ์ และเรียกร้องให้รัฐหยุดคุกคามเสรีภาพของประชาชน
























ทนายอานนท์ นำภา ซึ่งเป็นทนายความให้กับผู้ต้องหาคดีมาตรา112หลายราย เขียนบทความเรื่อง ออกหมายเรียก อ.สมศักดิ์ : คำถามและคำตอบตามกระบวนการยุติธรรมแบบไทย ๆในเวบไซต์สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ ดังต่อไปนี้

มีคำถามจากทางท่านที่สนใจในข้อกฎหมายว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ใครคือผู้ที่สามารถฟ้อง หรือแจ้งความร้องทุกข์ได้บ้าง และ การออกหมายเรียกของตำรวจ สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร และผู้ที่ถูกเรียกมีโอกาสถูกควบคุมตัวหรือไม่

ผู้เขียนในฐานะทนายความขออนุญาตอธิบายถึงข้อกฎหมายคร่าวๆ สำหรับท่านที่สนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อกรณีการออกหมายเรียกหรือหมายจับรวมถึงน่าจะเป็นข้อ ถกเถียงถึงความชอบธรรมของการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจต่อไป

Q : คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คืออะไร ใครสามารถแจ้งความร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้บ้าง

A : คดีที่เราเรียกกันว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แท้ที่จริงก็คือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน(ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยอมความได้)

ดังนั้น หากผู้ใดพบเห็นว่ามีการกระทำความผิดก็สามารถแจ้งความ(กล่าวโทษ) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้

จากข้อเท็จจริงกรณีอ.สมศักดิ์ น่าจะเป็นกรณีที่กองทัพเข้าแจ้งความ(กล่าวโทษ) ว่า อ.สมศักดิ์ ได้กระทำความผิดในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ไม่ใช่การ “ฟ้อง” ตามที่เป็นข่าว

หมายเหตุ : กลุ่มนิติราษฎร เสนอให้แก้ไขประมวลกหมายอาญามาตรา ๑๑๒ โดยให้ผู้มีอำนาจกล่าวโทษเปลี่ยนจากบุคคลทั่วไปเป็นสำนักราชเลขาธิการ ดูเพิ่มใน http://www.enlightened-jurists.com/blog/27

Q : เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจได้รับแจ้งความ(กล่าวโทษ) แล้ว จะดำเนินการอย่างไร

A : เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตำรวจได้รับแจ้งความ(กล่าวโทษ) แล้ว ก็จะดำเนินการสืบสวนตามกฎหมายและมีอำนาจที่จะนำตัวผู้ที่ถูกกล่าวหามาสอบสวน ๒ ประการคือ ๑.มีหมายเรียกให้ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาและทำการสอบสวน (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๕๒) ซึ่งหมายเรียกนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความดั่งต่อไปนี้

(1) สถานที่ออกหมาย
(2) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(3) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา
(4) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา
(5) สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง
(6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่ง เจ้าพนักงานผู้ออกหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๕๓ ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานสามารถออกได้เองโดยไม่ต้องร้องขอต่อศาล

หรือ ๒. หากเห็นว่ามีเหตุในการออกหมายจับ ก็สามารถร้องขอต่ออศาลให้ศาลออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญามาตรา ๖๖ ซึ่งบัญญัติว่า ” เหตุที่จะออกหมายจับได้มี ดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควร เชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”

หมายเหตุ : ในทางปฏิบัติ หากเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตั้งแต่ ๓ ปีขั้นไป ตำรวจมักร้องขอต่อศาลให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาเลย โดยไม่มีการออกหมายเรียก และแนวคำวินิจฉัยของศาลก็มักจะตีความว่าสามารถกระทำได้

Q : เมื่อมีการออกหมายเรียกหรือหมายจับแล้ว กรณีที่มีการออกหมายเรียกแล้วผู้ถูกกล่าวหามาแสดงตัวต่อพนักงานตำรวจ พนักงานตำรวจจะดำเนินการอย่างไร

A : เมื่อผู้ถูกกล่าวหามาแสดงตนต่อพนักงานตำรวจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา มาตรา ๑๓๔ ซึ่งบัญญัติว่า ” เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้ กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ

การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น

ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม

พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริง อันเป็นประโยชน์แก่ตนได้

เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตาม มาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำ มาตรา 87มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้ โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นไว้”

Q : กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเข้าพบพนักงานตำรวจ ตำรวจมีอำนาจควบคุมตัวได้หรือไม่

A : จากบทบัญญัติมาตรา ๑๓๔ วรรคท้ายที่บัญญัติว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบ สวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตาม มาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที”

หมายเหตุ : มีความเห็นทางกฎหมายของนายวรวิทย์ ฤิทธิทิศ ผู้พิพากษาว่า การที่ผู้ถูกกล่าวมาแสดงตนต่อหน้าเจ้าพนักงานนั้น ไม่ถือว่ามีการจับ และเมื่อไม่มีเหตุที่จะควบคุมตัวก็ต้องปล่อยผู้ถูกกล่าวหานั้นไป ดูเพิ่มที่ http://elib.coj.go.th/Article/j4_5_7.pdf

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า กรณีอ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล การเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก/คำสั่งเรียก ย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งก็มิได้มีพฤติการตามกฎหมายที่จะควบคุมตัว หรือขังไว้ระหว่างสอบสวน จึงต้องถือว่า ไม่มีเหตุที่จะออกหมายขังตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ดังนั้นพนักงานตำรวจจึงไม่สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอออกหมายขังระหว่างสอบ สวนได้ ( แต่หากเป็นกรณีที่เรียกโดยมีหมายจับรอไว้อยู่แล้ว คงต้องมานั่งด่าตำรวจกันต่อไป)

ขอให้กฎหมายจงดำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ และเป็นธรรม !

********
สมศักดิ์(เจียม)และเพื่อนกับ"โพรเมธิอุส"



จาก บล็อกโอเคเนชั่น

เมื่อแรกมีคนเกิดขึ้นในดินแดนกรีกนั้น
มหาเทพซุสได้ออกบัญญัติห้ามมิให้เทพทุกองค์สอนวิทยาการใดๆ ให้แก่มนุษย์เป็นอันขาด
มหาเทพต้องการเพียงความอ่อนน้อมเชื่อฟังและศรัทธาต่อพระองค์
โดยไม่สนใจว่าผู้คนจะต้องขดตัวสั่นเทาในฤดูหนาวอันมืดมิด ถูกสัตว์ร้ายรังควานไล่ล่า
หรือทนกินอาหารดิบ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกิดแถวญี่ปุ่นหรือแถบอีสาน

ซุสคิดว่าตราบใดที่มนุษย์ยังโง่เขลา ขาดความรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ก็จะต้องสวดอ้อนวอน หวาดกลัว และเชื่อฟังพระองค์อยู่ร่ำไป
แถมยังจะชื่นชมเสียด้วย เมื่อคราใดซุสยอมแบ่งพลังแบบปลาซิวปลาสร้อยมาช่วยเหลือเป็นครั้งคราว

แต่ใช่ว่าในบรรดาทวยเทพเขาจะคิดเหมือนท่านหัวหน้าพรรคกันทุกองค์นะครับ
โพรเมธิอุส ผู้เป็นบุตรแห่งเทพสมุทรไคลมินี
เห็นความยากแค้นของมนุษย์แล้วบังเกิดความสงสารเป็นอย่างมาก

พระองค์เหาะลงจากภูเขาโอลิมปัส
มอบสิ่งประดิษฐ์อันมีค่าที่สุดของตนซึ่งก็คือ 'ไฟ' ให้กับมนุษย์
ทั้งยังสอนวิธีหุงหาอาหารและวิธีการก่อกองไฟให้ความอบอุ่นอีกด้วย
ปัญญาพื้นฐานเหล่านี้ ช่วยให้มนุษย์ก้าวเดินไปข้างหน้า เหมือนแสงสว่างที่ไล่ความมืดมิดจนหมดสิ้น

แน่นอนครับ ความรู้ทำให้คนหัดพึ่งตัวเอง
และเลิกใช้โปรโมชั่นแบบขูดรีดจากเหล่าทวยเทพไปตามลำดับ
(สังเวยวัวห้าสิบตัวแล้วเจ้าจะได้รับการปกป้องชีวิตเเละทรัพย์สินหกสิบชั่วโมงต่อเดือน
เศษของชั่วโมงคิดเป็นชั่วโมง หกปกป้องคนนอกเครือข่ายคิดต่างหากเป็นต้น)


ซุสพิโรธมากจนสายฟ้าออกหู แต่ก็ไม่สามารถเอาไฟคืนจากมนุษย์
เพราะกฎของเทพระบุไว้ว่า..ต่อให้ซุสเองก็ยังไม่อาจเรียกคืนสิ่งที่เทพองค์อื่นเป็นผู้ให้ได้
เมื่อหมดทางซิกแซกพระองค์จึงต้องปล่อยเลยตามเลย
แล้วหันมาเอาคดีความกับโพรเมธิอุสผู้อารีแทน

โพรเมธิอุสถูกล่ามกับภูเขาคอเคซัส ให้อินทรีอีธอนโฉบลงมาทึ้งกินตับทุกวัน
โดยที่ตับนั้นจะงอกกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้งในตอนเย็น

โพรเมธิอุสถูกพันธนาการอยู่กว่าสิบสองชั่วอายุคนครับ ตอนหลังถึงถูกช่วยเหลือโดยเฮอร์คิวลิส
แต่...เรื่องราวยังไม่จบ เพราะซุสนั้นผูกใจเจ็บไม่ยอมเลิกราง่ายๆ
คงหาทางล้างแค้นโพรเมธิอุสและมนุษย์ผู้มีสติปัญญาพอปลดปล่อยตนเองจากพระองค์ต่อไป

...

ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ไม่เชื่ออีกต่อไปแล้วว่าเทพตามตำนานกรีกมีอยู่จริง
เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่าจะมีใครจับคนร้ายในเหตุระเบิดทั่วเมืองไทยได้
แต่รูปแบบของตำนานก็ยังมีให้เห็นอยู่ทั่วทุกมุมโลก

ปัญญามักเป็นสิ่งต้องห้ามของจอมเผด็จการที่ซ่อนตนเองอยู่ใต้หน้ากากแห่งคำว่าศรัทธาเสมอ
และผู้หวังนำความรู้มาสู่มนุษย์ที่เหลือ มักถูกตราหน้าว่าเป็น ผู้ทรยศ
พวกเลี้ยงไม่เชื่อง ขาประจำ หรือกระทั่ง...เทวดาตกสวรรค์


เรื่องของโพรเมธิอุสในวันนี้ ขออุทิศเป็นกำลังใจให้กับผู้นำสติปัญญามาสู่ผู้ชมเสมอ
แม้ว่าบางครั้งจะเหนื่อยหนัก ต้องศึกษาความรู้ใหม่ๆ ทุกวันจนหัวหมุน
หรือถูกซุสที่ไม่มีหนวดและหน้าไม่กลมคอยรังควานสักเพียงใดครับ