ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
คณะ กรรมการปฏิรูปประเทศไทยชุดที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน นำเสนอความเห็นให้กับรัฐบาลชุดที่ผ่านมาอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง
ครั้ง แรกและครั้งที่สองมีข้อสรุป 9 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.จำกัดการถือครองที่ดิน 50 ไร่ เกินกว่านั้นให้คิดภาษีอัตราก้าวหน้า 2.จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีธรรมาภิบาล 3.ปฏิรูประบบยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีที่ดินและทรัพยากร
4.ปฏิรูประบบ ประกันสังคมให้เป็นอิสระและโปร่งใสขึ้น 5.มีระบบสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ 6.สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เป็นสุขร่วมกัน 7.เร่งกฎหมายกระจายอำนาจ 8.ตั้งสมัชชาและสนับ สนุน ศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน
9.จัดตั้งสมัชชาปฏิรูปทุกระดับทำงานต่อเนื่อง
ส่วนครั้งที่ 3 เป็นเรื่องของการจัดสรรอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่นโดยตรงจำนวน 4 ข้อคือ
1.ยกเลิกการบริหารส่วนภูมิภาคทั้งหมด โอนอำนาจการจัดการทรัพยากรให้องค์การปก ครองส่วนท้องถิ่น
2.สร้างกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม
3.รัฐบาล กลางยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบในกิจการระดับชาติ แต่ไม่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้เพียงใช้อำนาจในการชักจูง
4.ปฏิรูประบบการคลังและการบริหารบุคลากรของท้องถิ่นให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง
มีคำถามว่า ข้อเสนอเหล่านี้ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลเพียงใด
จาก ข้อเท็จจริงพบว่า นอกจากงานบางส่วนด้านการปฏิรูปที่ดินในเบื้องต้น ซึ่งยังไม่ได้แตะในประเด็นสำคัญแล้ว ในประเด็นอื่นๆ แทบจะมิได้รับการตอบสนองอะไรเลย
ทั้งที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาเป็นผู้ผลักดันให้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาด้วยตนเอง
ประเด็น ที่จะต้องพิจารณาก็คือ หากเห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปสะท้อนภาพที่แท้จริงของสังคมไทย และเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดหรือระงับปัญหาในอนาคตได้
พรรคการเมืองใดบ้างจะสมาทานข้อเสนอเหล่านี้ และพร้อมจะประกาศตัวที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม
หรือถ้าไม่เห็นด้วย ก็จะต้องแสดงเหตุผลว่าทำไม