WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 10, 2011

อนุกรรมการสิทธิฯ ส่งบันทึกถึง “อมรา พงศาพิชญ์”-แนะพิจารณาร่างรายงานกสม.ให้รอบคอบก่อนเผยแพร่

ที่มา ประชาไท

หนึ่ง ในอนุกรรมการสิทธิฯติงร่างรายงานกรรมการสิทธิกรณีการชุมนุม นปช.ปี 2553 ติงการสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชี้ต้องเริ่มที่การกระทำของรัฐกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่ “ไม่ใช่วิเคราะห์ว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่?”

แม้ สื่อมวลชนบางฉบับนำเอารายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษย ชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาเปิดเผยอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า การแถลงข่าวรายงานฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้รับคำท้วงติงอย่างรุนแรงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วยกันเอง พร้อมด้วยบันทึกความเห็นต่อรายงานดังกล่าวโดยละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความไม่รอบด้านของข้อมูล ทั้งได้เสนอให้ “พิจารณาร่างรายงานนี้อย่างรอบคอบเสียก่อนการเผยแพร่ต่อไป”

โดย รศ.กิตติ ศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการ ใน คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ทำบันทึกเรียน ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา แสดงความความเห็นต่อ “ร่างรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓”

โดย ผู้เขียนบันทึกเห็นว่าร่างรายงานดังกล่าวขาดการ ลำดับข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอในบางประเด็นที่ควรเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเสนอแนะด้วยว่า “ในการวิเคราะห์ผลกระทบหรือผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น โดยทั่วไปต้องเริ่มจากการพิเคราะห์ว่า การกระทำของรัฐกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่? หรือการกระทำของผู้ชุมนุมก่อให้เกิดภยันตรายโดยละเมิดกฎหมายอย่างไร มีความมุ่งหมายที่มิชอบ หรือมีพฤติการณ์ร้ายแรงเพียงใด? ไม่ใช่วิเคราะห์ว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่?”

รศ. กิตติศักดิ์ ได้ตั้งคำถามต่อประเด็นการสอบสวนข้อเท็จจริงในรายละเอียดหลายประการซึ่งยัง ขาดการลำดับข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอในบางประเด็นที่ควรเพิ่มเติม เช่น การที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศเขตรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในวัน12 มีนาคมนั้น เป็นการประกาศจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซี่งอาจกระทำได้โดยอ้างเหตุผลด้าน การรักษาความมั่นคง จึงต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยสมควรแก่เหตุหรือไม่ โดยต้องฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่ารัฐบาลอาศัยข้อเท็จจริงใดมาประกอบการ พิจารณาในการออกประกาศดังกล่าว แต่ในรายงานไม่ได้ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่าได้มีการตรวจสอบในประเด็นนี้แล้ว หรือไม่

สำหรับกรณีที่ระบุว่ามีผู้บาดเจ็บให้การ ว่าระเบิดถูก ยิงมาจากด้านสวนลุมพินี และมีผู้อยู่ในเหตุการณ์และได้รับบาดเจ็บให้การว่าทิศทางการยิงมาจากกลุ่ม นปช. นั้น หากรายงานดังกล่าวจะระบุว่าน่าเชื่อถือได้ ก็ควรนำเสนอพยานที่สอดคล้องต้องกันจึงจะสรุปเช่นนั้น และควรต้องระบุไว้ด้วยว่าชั่งนํ้าหนักจากพยานบุคคลประเภทใดบ้าง และเหตุที่ฟังได้เพราะเหตุใด

นอกจากนี้ รายงานของกรรมการสิทธิฯ ยังไม่ได้สอบสวนสาเหตที่เจ้าหน้าที่โปรยแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมในบ่ายของวัน ที่ 10 เม.ย. รวมไปถึงการใช้กำลังทหารพร้อมแสดงอาการว่ามีอาวุธครบมือ และใช้ยานเกราะเพื่อขอคืนพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดหมายว่าทหารจะใ้ความรุนแรง เป็นการยั่วยุให้ประชาชนตอบโต้ด้วยความรุนแรง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพราะการใช้อำนาจป้องกันต้องทำโดย สมควรแก่เหตุ และต้องไม่มีส่วนเร้าให้เกิดความรุนแรงด้วย

สำหรับ เหตุปะทะกันที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติในวันที่ 28 เมษายน นั้น มีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนเล็กยาวใส่เจ้าหน้าที่ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งน่าสงสัยว่าเป็นการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงที่ก่อความไม่สงบ หรือเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่เอง แต่รายงานได้สรุปข้อเท็จจริงไว้ค่อนข้างกำกวม ไม่น่าจะเพียงพอที่จะทำให้คนทั่วไปคลายความสงสัยได้

รศ.กิตติ ศักดิ์ยังเสนอด้วยว่า การนำเสนอรายงานของกรรมการสิทธินั้น ทำในรูปของข้อความเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้ชัดเจนแน่นอน และเข้าใจได้งาย จึงควรมีแผนภาพ ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอประกอบด้วย

ท้ายที่สุด รศ. กิตติศักดิ์ได้เสนอประธาน กสม. ว่า “เห็นสมควรพิจารณาร่างรายงานนี้อย่างรอบคอบเสียก่อนการเผยแพร่ต่อไป”

โดย ร่างรายงานดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เลื่อนการนำเสนอออกไปแล้ว ขณะที่หนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันที่ 8 ก.ค. ได้ตีพิมพ์หัวข้อและใจความสำคัญของรายฉบับดังกล่าวด้วย [อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง]