WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 3, 2011

ประวิตร โรจนพฤกษ์: วาทกรรม “ความเป็นกลาง” ของสื่อ ไม่ง่ายอย่างที่อ้าง

ที่มา ประชาไท

เหตุการณ์ถกเถียงโต้แย้ง ระหว่างสภาการหนังสือพิมพ์กับเครือมติชน เรื่องความเป็นกลาง หรือไม่เป็นกลางของมติชนและสื่ออื่น จนทำให้มติชนตัดสินใจถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่า ความเข้าใจวาทกรรม “ความเป็นกลาง” ของสื่อเป็นสิ่งสำคัญและสังคมไทยยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยว กับวาทกรรมนี้ จึงขอเสนอความเห็นมาพอสังเขปว่าด้วยเรื่องความเป็นกลาง ดังนี้

คำว่า “ความเป็นกลาง” มักถูกสื่อกระแสหลักใช้สร้างความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานาน ถึงแม้เอาเข้าจริงอาจมิต่างจากบรรดานายพลผู้ก่อรัฐประหาร ที่มักอ้างว่า ตนกระทำการเพื่อรับใช้ประชาชนและสถาบันกษัตริย์

คำถามแรกที่ควรถามคือ ความเป็นกลางคืออะไร

ความเป็นกลาง คือการอยู่กึ่งกลางระหว่างสองข้างหรือไม่

ความเป็นกลาง คือการอยู่กึ่งกลางระหว่างดีกับชั่ว ผิดกับถูก เผด็จการกับประชาธิปไตย หรือไม่ คำถามที่เลี่ยงไม่ได้คือ เป็นกลางระหว่างอะไร ระหว่างคู่พิพาท หรือ อุดมการณ์ที่ต่างกันสองข้าง สองขั้ว กระนั้นหรือ? และถ้ามีมากกว่าสองข้างอย่างสามสี่ข้าง แล้วจะเป็นกลางได้อย่างไร สื่อมักเอียงไปทางด้านของเจ้าของสื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือทางอุดมการณ์ที่ตนสนับสนุนใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เจ้านิยม อุดมการณ์เผด็จการ อุดมการณ์ทุนนิยม และอื่นๆ

ผู้เขียนเคยเขียนในหนังสือ "สื่อเสรีมีจริงหรือ: บทเรียนประชาธิปไตยและวัฒนธรรมในสื่อไทย" (ประวิตร โรจนพฤกษ์ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โกมลคีมทอง ปี 2545, หน้า 46) ว่า: “เวลายืนดูรูปวาดบนผนังห้องเราสามารถดูได้จากหลายมุม มองหลายระดับตามความชอบและความสนใจ แม้คนสองคนมองจากจุดเดียวกัน ก็มักเห็นต่างกัน เพราะประสบการณ์ความชอบไม่เหมือนกัน คนสามคนมองแก้วน้ำที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ คนแรกบอกว่า "มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว" คนที่สองบอกว่า "น้ำในแก้วขุ่นมาก" คนที่สามบอก "แก้วน้ำนี้สวยดี".”

ท้ายสุดแล้วจะมองอย่างไร สื่อและนักข่าว รวมถึงบรรณาธิการ ก็หลีกเลี่ยงการมองผ่านแว่นตาทางอุดมการณ์ทางการเมือง/แว่นตาทางชนชั้น/แว่น ตาทางเพศสภาพ/แว่นตาทางชาตินิยม/แว่นตาของอุดมการณ์หากำไรขององค์กรสื่อ นั้นๆ ได้ลำบาก ข้อจำกัดอื่นๆ ได้แก่ ในพื้นที่ที่จำกัดของสื่อ นักข่าวและ บก. จะให้ความสำคัญกับประเด็นไหน ข่าวใดไว้หน้าหนึ่ง และเลือกข่าวใดเป็นข่าวใหญ่ พวกเขาเลือกที่จะเสนอข่าวบางข่าว และเซ็นเซอร์บางเรื่องเช่นเรื่องเชิงวิพากษ์ หรือเท่าทันต่อสถาบันกษัตริย์และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความเป็นกลางอย่างสัมบูรณ์เป็นไปไม่ได้

นี่ยังไม่รวมถึงโฆษณาจากภาครัฐ ภาคเอกชน ที่มีอิทธิพลต่อการเสนอข่าว เพราะฉะนั้น การที่สื่อจะมาอ้างเรื่องความเป็นกลางอย่างฉาบฉวย หลอกประชาชนโดยโฆษณาตื้นๆ เรื่องความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ความน่าเชื่อถือ จึงเป็นเรื่องน่าละอาย ขาดความรับผิดชอบ คนในวงการสื่อที่เป็นห่วงสังคมจริงๆ ควรกล้าพูดเรื่องความเป็นกลางอย่างเป็นจริงกว่าที่เป็นอยู่

ทุกวันนี้การใช้วาทกรรมเรื่องความเป็นกลางของสื่อ บ่อยครั้งเป็นเพียงการสร้างเกราะบังความเอนเอียงฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงควรถูกตั้งคำถามจากสังคม

เมื่อตระหนักเช่นนี้แล้ว อาจเห็นได้ว่า ความเป็นกลางอย่างสัมบูรณ์ไม่มี จะมีก็แต่ความพยายามเป็นกลางให้มากที่สุด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเช่น ข้อจำกัดทางอุดมการณ์ เช่น ถ้าสื่อมีอุดมการณ์เพื่อเผด็จการ สื่อจะให้พื้นที่สำหรับอุดมการณ์ประชาธิปไตยและก้าวหน้า อย่างเป็นธรรมหรือไม่ และทำไม ในเมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้คำว่าเป็นธรรม (fairness หรือ just) น่าจะชัดเจนกว่า ถึงแม้ว่า ความเข้าใจเรื่องความเป็นธรรมของแต่ละคนแต่ละกลุ่มก็อาจไม่เหมือนกัน เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นธรรมหรือไม่ การต้องติดคุกภายใต้กฎหมายหมิ่นนั้นแฟร์ไหม

ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ว่าด้วยเรื่องวาทกรรมของความเป็นธรรมและความเป็นกลาง หากแต่การใช้วาทกรรมเหล่านี้อย่างมักง่ายของสื่อ โดยไม่พูดถึงปัญหาและความย้อนแย้ง กลับสร้างปัญหาในการเข้าใจถึงบทบาทสื่ออันแท้จริง สังคมควรตระหนักว่า “ความเป็นกลาง” เป็นวาทกรรมที่มีปัญหา มีความสลับซับซ้อน และมิได้เป็นกลางอย่างง่ายๆ ไร้ข้อโต้เถียง ไร้ความย้อนแย้ง หรือไร้ข้อจำกัด อย่างที่ถูกนำเสนอโดยสื่อกระแสหลักอย่างหยาบๆ