WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, April 8, 2008

5 ​อาจารย์นิติ​ ​มธ​. ​ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรค

5 ​อาจารย์นิติ​ ​มธ​. ​ออกแถลงการณ์ค้านการยุบพรรค



คณาจารย์​จาก​คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ 5 ​คน​ ​ออกแถลงการณ์​ ​เรื่อง​ ​การตี​ความ​กฎหมายเกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​และ​การแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ​ ​โดย​ระบุ​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การตี​ความ​รัฐธรรมนูญ​ ​มาตรา​ 237 ​เพื่อยุบพรรคการเมือง​ ​เพราะ​เท่า​กับ​ความ​ผิดของบุคคลคนเดียวนำ​ไปสู่การยุบพรรคการเมือง​ ​ที่ประกอบไป​ด้วย​สมาชิกจำ​นวนมาก​ซึ่ง​ไม่​ได้​ทำ​ผิด​ ​การเอาผิด​กับ​บุคคล​ซึ่ง​ไม่​ได้​กระทำ​ขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิ​เสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรง​

นอก​จาก​นี้​ ​ใน​ทางปฏิบัติที่​เคยเกิดขึ้น​แล้ว​ ​ยัง​มีผลเสมือนว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง​ (กกต​.) ​เป็น​ผู้​มีอำ​นาจยุบพรรคการเมือง​นั้น​เอง​ใน​ทาง​ความ​เป็น​จริง​ ​เพราะ​การเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง​เป็น​อำ​นาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง​ ​โดย​ศาลฎีกา​ได้​ตี​ความ​รับรอง​ไว้​ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง​เป็น​ที่สุด​ไม่​อาจถูกตรวจสอบ​ได้

แถลงการณ์ระบุว่า​ ​กลไกดังกล่าวแม้ว่าอาจ​จะ​เกิด​จาก​ความ​หวังดีของ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญ​และ​ผู้​ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ​ ​ที่​จะ​ขจัดการทุจริตการเลือกตั้ง​ ​แต่​เป็น​การแก้ปัญหาที่​ไม่​ถูกจุด​และ​รุนแรงเกินสมควรกว่า​เหตุ​ ​การดำ​เนินการ​กับ​ผู้​ทุจริตการเลือกตั้ง​เป็น​สิ่งที่​จะ​ต้อง​กระทำ​ ​แต่​ต้อง​ดำ​เนินการ​กับ​บุคคล​นั้น​ ​ไม่​ใช่​กับ​พรรคการเมือง​หรือ​บุคคล​อื่น​ที่​ไม่​ได้​กระทำ​ความ​ผิด​ด้วย​ ​มิพัก​ต้อง​กล่าวว่า​ ​การออกแบบกลไก​ใน​ลักษณะ​เช่นนี้​เป็น​การมอบอำ​นาจ​ให้​กับ​คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก

"คณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย​ ​ขอเรียกร้อง​ให้​บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือ​กัน​ ​ใน​อันที่​จะ​ดำ​เนินการแก้​ไขกฎเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​ให้​เป็น​ไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประ​เทศนับถือ​ ​และ​ไม่​ควร​จะ​จำ​กัดการแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประ​เด็นนี้​เพียงประ​เด็นเดียว​ ​ยิ่งไปกว่า​นั้น​ขอยืนยันว่า​ ​สมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​สมาชิกวุฒิสภาที่มา​จาก​การเลือกตั้งมี​ความ​ชอบธรรม​ใน​ทางประชาธิปไตย​ ​ที่​จะ​ดำ​เนินการแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ​ให้​เป็น​ไปตามหลักการที่ถูก​ต้อง​ ​การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้ผ่านการออกเสียงประชามติ​ ​จึง​ไม่​ควรแก้​ไข​หรือ​ยัง​ไม่​ควรแก้​ไข​นั้น​ ​เป็น​การกล่าวอ้างที่จงใจละ​เลยบริบทของการออกเสียงประชามติ​ ​ที่ประชาชนจำ​นวนมากถูกบีบบังคับ​โดย​เทคนิคทางกฎหมาย​ ​ให้​ต้อง​ยอมรับรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ไปก่อน​ ​เพื่อ​ให้​ประ​เทศพ้น​จาก​สภาวะของรัฐบาลที่​เป็น​ผลพวง​จาก​การยึดอำ​นาจ​ ​และ​ละ​เลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียง​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้กว่าสิบล้านเสียง" แถลงการณ์ระบุ​

ทั้ง​นี้​ ​คณาจารย์​ทั้ง​ 5 ​คน​ ​ได้​แก่​ ​รองศาสตราจารย์​ ​ดร​.​วรเจตน์​ ​ภาคีรัตน์, รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์​ ​ปิวาวัฒนพานิช, อาจารย์​ ​ดร​.​ฐาปนันท์​ ​นิพิฏฐกุล, อาจารย์ปิยบุตร​ ​แสงกนกกุล, อาจารย์ธีระ​ ​สุธีวรางกูร

ซึ่ง​ก่อนหน้านี้​เคยมีบทบาท​ให้​ข้อคิดเห็นด้านกฎหมายหลายเรื่อง​ ​อาทิ​

อาจารย์นิติ​ ​มธ​. ​แถลงประณามการรัฐประหาร​และ​เรียกร้อง​ให้​กลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย​โดย​เร็ว​ที่สุด

6 ​คณาจารย์นิติ​ ​มธ​. ​ออกแถลงการณ์ปฏิ​เสธร่างฯ​ 50 ​ด้วย​เหตุ​ 26 ​ประการพร้อม​ 4 ​ข้อเสนอหากมหาชน​ไม่​รับร่างฯ

"คำ​วินิจฉัยกลาง" ของ​ 5 ​อาจารย์นิติฯ​ ​มธ​. ​ต่อ​ "คำ​วินิจฉัยกรณียุบพรรคของตุลาการรัฐธรรมนูญ"

รายละ​เอียดแถลงการณ์​ ​มีดังนี้​

00000

แถลงการณ์

เรื่อง​ ​การตี​ความ​กฎหมายเกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​และ​การแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ตามที่ปรากฏข้อถกเถียงเกี่ยว​กับ​การตี​ความ​กฎหมาย​อยู่​ใน​ขณะนี้ว่า​ใน​กรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองกระทำ​ความ​ผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง​และ​ถูกเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​ ​การกระทำ​ของกรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​จะ​ส่งผล​ให้​ต้อง​ดำ​เนินการยุบพรรคการเมืองดังกล่าว​และ​ต้อง​เพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคคน​อื่น​ที่​ไม่​ได้​รู้​เห็น​เป็น​ใจ​กับ​การกระทำ​ความ​ผิด​นั้น​ด้วย​หรือ​ไม่​นั้น​ ​คณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้ายเห็นว่า​โดย​ที่ปัญหาดังกล่าว​เป็น​ปัญหาที่​เกี่ยว​กับ​การตี​ความ​รัฐธรรมนูญ​ซึ่ง​อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการปกครอง​ใน​ระบอบประชาธิปไตย​ ​และ​อาจก่อ​ให้​เกิดวิกฤติทางการเมืองตามมา​ได้​ ​จึง​เห็นสมควรที่​จะ​ได้​แสดงทัศนะทางกฎหมาย​ให้​สาธารณชน​ได้​รับทราบ​ไว้​ดังต่อไปนี้

๑. ​รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย​ ​พุทธศักราช​ ๒๕๕๐ มาตรา​ ๒๓๗ บัญญัติว่า​ "ผู้​สมัครรับเลือกตั้ง​ผู้​ใด​กระทำ​การ​ ​ก่อ​ ​หรือ​สนับสนุน​ให้​ผู้​อื่น​กระทำ​การอัน​เป็น​การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า​ด้วย​การเลือกตั้งสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​การ​ได้​มา​ซึ่ง​สมาชิกวุฒิสภา​ ​หรือ​ระ​เบียบ​หรือ​ประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง​ ​ซึ่ง​มีผลทำ​ให้​การเลือกตั้งมิ​ได้​เป็น​ไป​โดย​สุจริต​และ​เที่ยงธรรม​ ​ให้​เพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า​ด้วย​การเลือกตั้งสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​การ​ได้​มา​ซึ่ง​สมาชิกวุฒิสภา

ถ้า​การกระทำ​ของบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง​ ​ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อ​ได้​ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง​หรือ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​ผู้​ใด​มี​ส่วน​รู้​เห็น​ ​หรือ​ปล่อยปละละ​เลย​ ​หรือ​ทราบ​ถึง​การกระทำ​นั้น​แล้ว​ ​มิ​ได้​ยับยั้ง​หรือ​แก้​ไขเพื่อ​ให้​การเลือกตั้ง​เป็น​ไป​โดย​สุจริต​และ​เที่ยงธรรม​ ​ให้​ถือว่าพรรคการเมือง​นั้น​กระทำ​การเพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจการปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการ​ซึ่ง​มิ​ได้​เป็น​ไปตามวิถีทางที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา​ ๖๘ ​และ​ใน​กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำ​สั่ง​ให้​ยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​ให้​เพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง​และ​กรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำ​หนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำ​สั่ง​ให้​ยุบพรรคการเมือง"

บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น​ได้​รับการบัญญัติ​ซ้ำ​ไว้​ใน​พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า​ด้วย​การเลือกตั้งสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​การ​ได้​มา​ซึ่ง​สมาชิกวุฒิสภา​ ​พ​.​ศ​. ๒๕๕๐ ​มาตรา​ ๑๐๓ ​วรรคสอง​ ​โดย​มีถ้อยคำ​ที่คล้ายคลึง​กัน​ ​แต่มาตราดังกล่าวบัญญัติ​เพิ่มเติมอำ​นาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า​ "..ให้​คณะกรรมการการเลือกตั้งดำ​เนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า​ด้วย​พรรคการเมือง​ ​เพื่อเสนอคำ​ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ​ให้​ยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​ใน​กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำ​สั่ง​ให้​ยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​ให้​ศาลรัฐธรรมนูญมีคำ​สั่งเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง​และ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​มีกำ​หนดห้าปีนับแต่วันที่มีคำ​สั่ง​ให้​ยุบพรรคการเมือง"

๒. พรรคการเมืองนับ​เป็น​สถาบันทางการเมืองที่สำ​คัญที่สุดสถาบันหนึ่ง​ใน​การปกครอง​ใน​ระบอบประชาธิปไตยแบบมี​ผู้​แทน​ ​การรวมตัว​กัน​จัดตั้งพรรคการเมือง​เป็น​เสรีภาพอัน​จะ​ขาดเสียมิ​ได้​ ​ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือ​กัน​ทั่ว​ไป​ใน​นานาอารยะประ​เทศ​ ​การยุบพรรคการเมือง​จะ​กระทำ​ได้​ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​รักษา​ไว้​ซึ่ง​การปกครอง​ใน​ระบอบประชาธิปไตย​หรือ​เป็น​กรณีที่​เห็น​ได้​ว่าพรรคการเมือง​นั้น​ไม่​ดำ​เนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป​แล้ว​เท่า​นั้น​ ​เพราะ​การยุบพรรคการเมืองนอก​จาก​จะ​ทำ​ลายสถาบันทางการเมืองลง​แล้ว​ยัง​มีผล​เป็น​การทำ​ลายเสรีภาพ​ใน​การรวมตัว​กัน​เพื่อสร้างเจตจำ​นงทางการเมืองของราษฎร​ซึ่ง​เป็น​เจ้าของอำ​นาจอธิปไตยอีก​ด้วย​ ​การตี​ความ​กฎเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​จึง​ไม่​สามารถ​ทำ​ได้​โดย​การอ่านกฎหมายแบบยึดติด​กับ​ถ้อยคำ​เท่า​นั้น​ ​แต่​จะ​ต้อง​คำ​นึง​ถึง​หลักการอัน​เป็น​รากฐานของการปกครอง​ใน​ระบอบประชาธิปไตยตลอดสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบ​ด้วย​เสมอ

๓. ​หากพิจารณา​จาก​ถ้อยคำ​ที่ปรากฏ​ใน​รัฐธรรมนูญ​และ​พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญประกอบ​กับ​ความ​เห็นของอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน​แล้ว​ ​กรณีอาจเห็นไป​ได้​ว่า​เมื่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองคนหนึ่งกระทำ​การอัน​เป็น​การฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง​และ​ถูกเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​แล้ว​ ​รัฐธรรมนูญ​ให้​ถือว่าพรรคการเมือง​นั้น​กระทำ​การเพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจการปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการ​ซึ่ง​มิ​ได้​เป็น​ไปตามวิถีทางที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​ซึ่ง​เท่า​กับ​ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง​ต้อง​ดำ​เนินการเสนอเรื่อง​ให้​ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​และ​เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า​ให้​ถือว่าการกระทำ​ดังกล่าว​เป็น​การกระทำ​เพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจการปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการที่​ไม่​เป็น​ตามวิถีทางที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​และ​กรณีนี้​เป็น​กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ​ไม่​อาจสั่งยกเลิกการกระทำ​ได้​ ​เพราะ​การกระทำ​ได้​เสร็จสิ้นไป​แล้ว​ ​ศาลรัฐธรรมนูญก็ย่อม​จะ​ต้อง​วินิจฉัยยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​และ​ต้อง​เพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมือง​และ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​ทุกคน​เป็น​เวลาห้าปี​ ​มีปัญหาว่า​ความ​เข้า​ใจกฎหมาย​และ​การตี​ความ​กฎหมาย​ใน​ลักษณะ​เช่นนี้​ซึ่ง​ดู​เหมือน​จะ​เป็น​ความ​เข้า​ใจ​ใน​หมู่ของบุคคลที่มีบทบาทชี้นำ​สังคม​ ​ทั้ง​ที่​เป็น​นักวิชาการ​และ​อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ​หรือ​บุคคลที่มีอำ​นาจหน้าที่​โดย​ตรง​ใน​การวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว​เป็น​ความ​เข้า​ใจที่ถูก​ต้อง​หรือ​ไม่

๔. ​ใน​ทางนิติศาสตร์​ ​การ​ใช้​และ​การตี​ความ​กฎหมาย​ไม่​ได้​มี​ความ​หมายเพียงแค่การอ่านถ้อยคำ​ของกฎหมาย​หรือ​การสอบถาม​ความ​เห็นของ​ผู้​ร่างกฎหมาย​ ​แล้ว​ให้​ความ​หมายของบทกฎหมาย​นั้น​ตามถ้อยคำ​หรือ​ตาม​ความ​ต้อง​การของ​ผู้​ร่างกฎหมาย​เท่า​นั้น​ ​ถึง​แม้ว่าถ้อยคำ​ของบทกฎหมาย​จะ​เป็น​ปฐมบทของการตี​ความ​กฎหมายทุกครั้ง​ ​แต่การตี​ความ​กฎหมายก็​ไม่​ใช่​การยอมตนตก​เป็น​ทาสของถ้อยคำ​ ​ถึง​แม้ว่า​ความ​เห็นของ​ผู้​ร่างกฎหมาย​จะ​เป็น​สิ่งที่​ต้อง​นำ​มาคำ​นึงประกอบ​ใน​การ​ค้น​หา​ความ​หมายของบทกฎหมาย​ ​แต่​ความ​เห็นของ​ผู้​ร่างกฎหมายก็​ไม่​ใช่​เครื่องชี้ขาด​ความ​หมายของบทกฎหมายบท​นั้น​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ใน​กรณีที่​ผู้​ร่างกฎหมาย​ได้​ร่างกฎหมายขัดแย้ง​กัน​เอง​ใน​กฎหมาย​ฉบับ​เดียว​กัน​ ​หรือ​กรณีที่​ผู้​ร่างกฎหมาย​ไม่​ได้​คาดเห็นผลร้ายของการร่างกฎหมายเช่น​นั้น​ขณะร่างกฎหมาย​ ​ใน​การตี​ความ​กฎหมาย​ ​นอก​จาก​จะ​ต้อง​พิจารณาถ้อยคำ​ ​บริบททางประวัติศาสตร์​ ​สังคม​ ​เศรษฐกิจ​ ​วัฒนธรรม​ใน​ขณะร่างกฎหมาย​นั้น​แล้ว​ ​สิ่งที่สำ​คัญ​ไม่​ยิ่งหย่อนไปกว่า​กัน​และ​ใน​หลายกรณีอาจสำ​คัญยิ่งกว่า​ ​คือ​ ​การพิจารณาระบบกฎหมาย​ทั้ง​ระบบ​ ​พิจารณาหลักเกณฑ์อัน​เป็น​เสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมาย​นั้น​ไว้​ ​ตลอดจนพิจารณา​จาก​วัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบท​นั้น​ (ratio legis) หลักเกณฑ์การตี​ความ​ดังกล่าวมานี้​เป็น​เครื่องป้อง​กัน​ไม่​ให้​เกิดการตี​ความ​กฎหมายที่ส่งอันประหลาด​และ​ขัด​กับ​สำ​นึก​ใน​เรื่อง​ความ​ยุติธรรม

๕. ​กล่าวเฉพาะการตี​ความ​กฎเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​กับ​การยุบพรรคการเมืองที่กล่าวมาข้างต้น​ ​หากตี​ความ​ตามถ้อยคำ​หรือ​ตี​ความ​ตาม​ความ​ประสงค์ของ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน​ ​ก็​เท่า​กับ​ว่าการกระทำ​ความ​ผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำ​ไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไป​ด้วย​สมาชิกพรรคการเมืองจำ​นวนมาก​ได้​ ​ยิ่งไปกว่า​นั้น​เมื่อมีการยุบพรรคการเมือง​แล้ว​ ​ก็​จะ​ต้อง​เพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง​และ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​ทั้ง​หมด​ ​ถึง​แม้บุคคลดังกล่าว​จะ​ไม่​ได้​มี​ส่วน​ผิด​ใน​การกระทำ​นั้น​ ​เท่า​กับ​ตี​ความ​กฎหมายเอาผิดบุคคล​ซึ่ง​ไม่​ได้​กระทำ​ความ​ผิด​ซึ่ง​ขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง​ ​การตี​ความ​กฎหมาย​ใน​ลักษณะ​เช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำ​นึกของวิญญูชน​ทั่ว​ไป​ ​และ​เท่า​กับ​ทำ​ให้​กฎเกณฑ์ทางกฎหมาย​ใน​ประ​เทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือน​กับ​กฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่​ไม่​ได้​เกี่ยวข้อง​กับ​การกระทำ​ความ​ผิด​ ​อัน​เป็น​การฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลก​และ​จะ​ทำ​ให้​สถานะทางกฎหมายของประ​เทศตกต่ำ​ลง​ใน​สายตาของนานาอารยะประ​เทศ​ด้วย​ ​หา​ใช่​ความ​น่าภูมิ​ใจดังที่มีบางท่านกล่าวอ้าง​ไม่

๖. ประ​เด็นที่​ผู้​สนับสนุนการตี​ความ​กฎหมายเอาผิด​กับ​กรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคน​และ​การ​ให้​ยุบพรรคการเมือง​ ​แม้กรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​เพียงคนเดียว​เป็น​ผู้​กระทำ​ความ​ผิดอาจหยิบยกขึ้นอ้างก็คือ​ ​รัฐธรรมนูญบัญญัติ​ "ให้​ถือว่า" พรรคการเมือง​นั้น​กระทำ​การเพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจ​ใน​การปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการที่​ไม่​เป็น​ไปตามวิถีทางที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​คำ​ว่า​ "ให้​ถือว่า" เท่า​กับ​ไม่​เปิดช่อง​ให้​ผู้​ใช้​กฎหมาย​สามารถ​ตี​ความ​กฎหมาย​เป็น​อย่าง​อื่น​ได้​ ​อันที่จริง​แล้ว​การบัญญัติกฎหมาย​โดย​ใช้​คำ​ว่า​ "ให้​ถือว่า" เท่า​กับ​ผู้​ร่างกฎหมายทำ​ตัว​เป็น​ผู้​พิพากษา​เสียเอง​แล้ว​ ​การบัญญัติกฎหมาย​โดย​ใช้​ถ้อยคำ​ดังกล่าว​จึง​ต้อง​กระทำ​เท่า​ที่จำ​เป็น​อย่างยิ่ง​และ​ต้อง​ไม่​ขัดต่อหลักเหตุผล​ ​เพราะ​มิฉะ​นั้น​ผู้​ร่างกฎหมายก็​สามารถ​บัญญัติกฎหมายอย่างไรก็​ได้​ ​โดย​ใช้​คำ​ว่า​ "ให้​ถือว่า" เสีย​ทั้ง​สิ้น​ ​บทบัญญัติที่ปรากฏ​ใน​รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร​ ​พุทธศักราช​ ๒๕๕๐ ​มาตรา​ ๓๐๙ ​เป็น​ตัวอย่างของ​ความ​ไร้​เหตุผล​ใน​เรื่องนี้​ได้​เป็น​อย่างดี​ ​เพราะ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติ​ "ให้​ถือว่า" การกระทำ​ที่​เกี่ยว​เนื่อง​กับ​การ​ใดๆ​ ​ที่​ได้​รับรอง​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญชั่วคราว​ไม่​ว่าก่อน​หรือ​หลังวันประกาศ​ใช้​รัฐธรรมนูญชอบ​ด้วย​กฎหมาย​และ​รัฐธรรมนูญ​ ​ทั้งๆ​ที่​ยัง​ไม่​รู้ว่าการกระทำ​นั้น​จริงๆ​ ​แล้ว​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​และ​รัฐธรรมนูญ​หรือ​ไม่​ ​เท่า​กับ​บัญญัติ​ให้​การกระทำ​ใน​อนาคตพ้นไป​จาก​เสียการตรวจสอบ​ใน​ทางตุลาการ​ ​ซึ่ง​ขัด​กับ​หลักการแบ่งแยกอำ​นาจอย่างเห็น​ได้​ชัด

๗. ​เมื่อ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้น​โดย​ฝ่าฝืน​กับ​หลักเหตุผลเช่นนี้​ ​ใน​การตี​ความ​รัฐธรรมนูญตลอดจนกฎหมายที่​เกี่ยวข้อง​ ​ผู้​ตี​ความ​จึง​ต้อง​ตี​ความ​กฎหมายไป​ใน​ทางแก้​ไข​ให้​สอดรับ​กับ​หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ​ ​ทั้ง​นี้​เพราะ​บทบัญญัติที่ปรากฏ​ใน​รัฐธรรมนูญ​นั้น​มี​ทั้ง​บทบัญญัติที่​เป็น​คุณค่าพื้นฐาน​และ​บทบัญญัติที่​เป็น​รายละ​เอียด​ ​บทบัญญัติที่​เป็น​หลักการสำ​คัญที่ปรากฏ​ใน​รัฐธรรมนูญย่อม​ได้​แก่​ ​หลักการปกครอง​ใน​ระบอบประชาธิปไตย​และ​หลักราชอาณาจักรที่​เป็น​รัฐเดี่ยว​ ​ซึ่ง​รัฐธรรมนูญเองก็​ได้​รับรอง​ไว้​ใน​มาตรา​ ๒๙๑ ​ห้ามมิ​ให้​เสนอญัตติขอแก้​ไขเปลี่ยนแปลง​ ​เท่า​กับ​ว่ารัฐธรรมนูญ​ได้​ยกคุณค่าของเรื่องดังกล่าวนี้​ให้​สูงกว่าบทบัญญัติ​อื่นๆ​ ​ยิ่งไปกว่า​นั้น​ ​ใน​มาตรา​ ๓ ​วรรคสอง​ ​ของรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้ก็​ได้​บัญญัติ​ให้​ ​การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา​ ​คณะรัฐมนตรี​ ​ศาล​ ​รวม​ทั้ง​องค์กรตามรัฐธรรมนูญ​และ​หน่วยงานของรัฐ​ต้อง​เป็น​ไปตามหลักนิติธรรม​ ​และ​บทบัญญัติ​ใน​มาตรา​ ๒๙ ​ก็บัญญัติคุ้มครองสิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคล​ไว้​ ​การจำ​กัดตัดทอนสิทธิ​เสรีภาพของบุคคล​จะ​ต้อง​กระทำ​เท่า​ที่จำ​เป็น​และ​จะ​กระทบกระ​เทือนสาระสำ​คัญของสิทธิ​และ​เสรีภาพ​นั้น​มิ​ได้​ ​ซึ่ง​ย่อมหมายว่า​ ​การจำ​กัดสิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคล​จะ​ต้อง​กระทำ​ตามหลัก​ความ​พอสมควรแก่​เหตุ​เท่า​นั้น

๘. เมื่อพิ​เคราะห์หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ​แล้ว​ ​ย่อม​จะ​เห็น​ได้​ว่าบทบัญญัติมาตรา​ ๒๓๗ ​ของรัฐธรรมนูญ​ ​หากพิจารณา​แต่​เฉพาะถ้อยคำ​ย่อมขัด​กับ​คุณค่าพื้นฐาน​ใน​ตัวรัฐธรรมนูญเอง​ ​ซึ่ง​หมาย​ความ​ว่า​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญ​ได้​บัญญัติรายละ​เอียดเกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​และ​การเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง​ไม่​ถูก​ต้อง​ตามหลักการที่ตนเอง​ได้​ประกาศ​ไว้​ ​เพราะ​การเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง​และ​กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่​ไม่​ได้​รู้​เห็น​กับ​การกระทำ​ความ​ผิด​ ​จะ​ถือว่า​เป็น​การกระทำ​ตามหลักนิติธรรม​ไม่​ได้​ ​การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ​ให้​ถือว่าการกระทำ​ความ​ผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของ​ผู้​สมัครรับเลือกตั้ง​โดย​ที่หัวหน้าพรรคการเมือง​หรือ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​รู้​เห็น​แล้ว​ปล่อยปละละ​เลย​เป็น​การกระทำ​เพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจ​ใน​การปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการ​ซึ่ง​ไม่​ได้​เป็น​ไปตามวิถีทางที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​และ​จะ​ต้อง​ดำ​เนินการยุบพรรคการเมือง​นั้น​ ​เป็น​การบัญญัติรัฐธรรมนูญจำ​กัดตัดทอนสิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคลเกินสมควรกว่า​เหตุ​จึง​ขัด​กับ​หลักประชาธิปไตย​และ​หลักการประ​กัน​สิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคล​ ​กรณีที่บทบัญญัติ​ใน​รัฐธรรมนูญขัด​กัน​เองเช่นนี้​ ​องค์กรที่มีอำ​นาจตามกฎหมายย่อม​จะ​ต้อง​ตี​ความ​บทบัญญัติที่​เป็น​รายละ​เอียด​ให้​สอดคล้อง​กับ​บทบัญญัติที่​เป็น​หลักการ​ ​โดย​จำ​กัดผลการ​ใช้​บังคับของบทบัญญัติที่​เป็น​รายละ​เอียดลง​ ​โดย​อาศัยเหตุผลตามหลักวิชาที่​ได้​แสดง​ให้​เห็น​โดย​สังเขปข้างต้น​

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย​จึง​มี​ความ​เห็นว่า​ ​ใน​กรณีที่กรรมการบริหารพรรค​ผู้​หนึ่งกระทำ​ความ​ผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง​แล้ว​ถูกเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​ ​โดย​ที่หัวหน้าพรรคการเมือง​หรือ​กรรมการบริหารพรรคการเมือง​นั้น​ไม่​ได้​มี​ส่วน​รู้​เห็น​ด้วย​ ​ย่อมถือ​ไม่​ได้​ว่าการกระทำ​ดังกล่าว​เป็น​การกระทำ​ของพรรคการเมือง​นั้น​ ​และ​เมื่อถือ​ไม่​ได้​ว่า​เป็น​การกระทำ​ของพรรคการเมืองเสีย​แล้ว​ ​จึง​ไม่​มีกรณีที่​จะ​ต้อง​วินิจฉัยว่าการกระทำ​นั้น​เป็น​การกระทำ​เพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​อำ​นาจ​ใน​การปกครองประ​เทศ​โดย​วิธีการที่​ไม่​เป็น​ไปวิถีทางตามที่บัญญัติ​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​หรือ​ไม่​ ​และ​ด้วย​เหตุดังกล่าว​จึง​จะ​ดำ​เนินการยุบพรรคการเมือง​นั้น​ไม่​ได้​ ​การ​ใช้​และ​การตี​ความ​กฎหมายเช่นนี้ย่อมสอดคล้อง​กับ​หลักเหตุผล​และ​หลักการประ​กัน​สิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ​ ​มาตรา​ ๒๙ ​กล่าวคือ​ ​คณะกรรมการการเลือกตั้ง​ใน​ฐานะองค์กรที่ริ​เริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองย่อมมีดุลพินิจที่​จะ​พิจารณา​ได้​ว่าการกระทำ​ของบุคคล​หรือ​ของพรรคการเมือง​นั้น​ถึง​ขนาดที่สมควร​จะ​ต้อง​ดำ​เนินการยุบพรรคการเมือง​หรือ​ไม่​ ​และ​หาก​เป็น​กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง​ได้​ใช้​ดุลพินิจริ​เริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมือง​แล้ว​ ​ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจ​ใน​การวินิจฉัย​ใน​ทำ​นองเดียว​กัน

๙. ​อนึ่ง​ ​นอกเหนือ​จาก​เหตุผลที่​ได้​กล่าวมา​แล้ว​ ​หากพิจารณากรณีที่​เกิดขึ้น​กับ​พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง​ซึ่ง​กรรมการบริหารพรรคการเมืองถูกเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง​โดย​คณะกรรมการการเลือกตั้ง​ ​แล้ว​จะ​ตี​ความ​กฎหมาย​ให้​ดำ​เนินการยุบพรรคการเมือง​นั้น​โดย​อัตโนมัติ​ ​ผล​ใน​ทางกฎหมายก็​เสมือน​กับ​ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง​จะ​เป็น​ผู้​มีอำ​นาจยุบพรรคการเมือง​นั้น​เอง​ใน​ทาง​ความ​เป็น​จริง​ ​เพราะ​การเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง​เป็น​อำ​นาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง​โดย​ศาลฎีกา​ได้​ตี​ความ​รับรอง​ไว้​ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง​เป็น​ที่สุด​ไม่​อาจถูกตรวจสอบ​ได้​ ​(​ซึ่ง​มีปัญหาอย่างยิ่ง​ใน​ทางทฤษฎี) ​หากยึดติด​กับ​ถ้อยคำ​ตามกฎหมาย​แล้ว​ ​เมื่อมีการเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​ ​กลไกการยุบพรรคการเมือง​จะ​ตามมาทันที​ ​และ​หาก​ไม่​ตี​ความ​รัฐธรรมนูญตามที่กล่าวมา​แล้ว​ ​แม้​แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็อาจ​จะ​ไม่​มีดุลพินิจที่​จะ​วินิจฉัย​เป็น​อย่าง​อื่น​ได้​ ​ทั้ง​นี้​ยัง​ไม่​ต้อง​พิ​เคราะห์​ถึง​ข้อเท็จจริง​ใน​ทางการเมืองว่า​ใครบ้างที่​จะ​มาดำ​รงตำ​แหน่ง​เป็น​ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ​ใน​ระยะ​เวลาอัน​ใกล้​นี้​และ​กฎเกณฑ์การสรรหาบุคคล​เข้า​ดำ​รงตำ​แหน่งดังกล่าวมี​ความ​ชอบธรรม​หรือ​ไม่

๑๐. กลไกทางกฎหมายที่​ได้​รับการออกแบบ​ไว้​โดย​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญ​และ​ผู้​ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้​แม้ว่าอาจ​จะ​เกิด​จาก​ความ​หวังดีของ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญ​และ​ผู้​ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่​จะ​ขจัดการทุจริตการเลือกตั้ง​ ​แต่​เป็น​การแก้ปัญหาที่​ไม่​ถูกจุด​และ​รุนแรงเกินสมควรกว่า​เหตุ​ ​การดำ​เนินการ​กับ​ผู้​ทุจริตการเลือกตั้ง​เป็น​สิ่งที่​จะ​ต้อง​กระทำ​ ​แต่​ต้อง​ดำ​เนินการ​กับ​บุคคล​นั้น​ ​ไม่​ใช่​กับ​พรรคการเมือง​หรือ​บุคคล​อื่น​ที่​ไม่​ได้​กระทำ​ความ​ผิด​ด้วย​ ​มิพัก​ต้อง​กล่าวว่าการออกแบบกลไก​ใน​ลักษณะ​เช่นนี้​เป็น​การมอบอำ​นาจ​ให้​กับ​คณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก​ ​และ​เมื่อการ​ใช้​อำ​นาจดังกล่าว​ส่วน​หนึ่งปราศ​จาก​การตรวจสอบ​ใน​ทางตุลาการ​ ​เช่น​ ​การเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง​ ​ผลที่​เกิดขึ้นตามมาก็คือ​ ​ปัญหามาตรฐานของการวินิจฉัย​และ​ความ​เสมอภาค​ใน​การ​ใช้​กฎหมาย​ ​ตลอดจน​ความ​เป็น​ธรรมต่อบุคคลที่​ได้​รับผลกระทบ​จาก​มาตรการ​นั้น​ ​กลไกดังกล่าวนี้​จะ​เป็น​กลไกที่กระทบ​กับ​ประสิทธิภาพ​ใน​การบริหารราชการแผ่นดิน​ ​และ​สร้างปัญหา​ทั้ง​ทางการเมือง​และ​กฎหมาย​ให้​กับ​ประ​เทศ

๑๑. สมควรตั้ง​เป็น​ข้อสังเกต​ไว้​ด้วย​ว่า​ ​การยกร่างรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​ที่มีผล​ใช้​บังคับ​อยู่​ปัจจุบันนี้​ ​ปฏิ​เสธ​ไม่​ได้​ว่า​เป็น​ผล​จาก​การทำ​รัฐประหารเมื่อวันที่​ ๑๙ ​กัน​ยายน​ ๒๕๔๙ ​บรรดาบุคคลที่​เข้า​ไปมี​ส่วน​ยกร่างรัฐธรรมนูญ​นั้น​แม้บางท่าน​จะ​มี​ความ​ปรารถนาดีต่อบ้านเมือง​ ​แต่​จาก​วิกฤติการเมืองไทยตั้งแต่​ ​พ​.​ศ​.๒๕๔๙ ​เป็น​ต้นมา​ ​ทำ​ให้​บุคคลเหล่า​นั้น​กลาย​เป็น​ฝักฝ่ายทางการเมือง​ทั้ง​โดย​เปิดเผย​และ​ไม่​เปิดเผย​ ​ทั้ง​โดย​ตั้งใจ​และ​ไม่​ตั้งใจ​ ​ร่างรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​จึง​มีบทบัญญัติที่​ไม่​สอดคล้อง​กับ​หลักการที่ควร​จะ​เป็น​หลายมาตรา​ ​ดัง​นั้น​การดำ​เนินการแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้​ไม่​ว่า​จะ​บาง​ส่วน​หรือ​ทั้ง​ฉบับ​จึง​เป็น​สิ่งที่​จะ​ต้อง​กระทำ​โดย​เร็ว

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย​ ​ขอเรียกร้อง​ให้​บรรดาพรรคการเมืองทุกพรรคการเมืองร่วมมือ​กัน​ใน​อันที่​จะ​ดำ​เนินการแก้​ไขกฎเกณฑ์​เกี่ยว​กับ​การยุบพรรคการเมือง​ให้​เป็น​ไปตามหลักกฎหมายที่นานาอารยะประ​เทศนับถือ​ ​และ​ไม่​ควร​จะ​จำ​กัดการแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเฉพาะประ​เด็นนี้​เพียงประ​เด็นเดียว ยิ่งไปกว่า​นั้น​ขอยืนยันว่าสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​สมาชิกวุฒิสภาที่มา​จาก​การเลือกตั้งมี​ความ​ชอบธรรม​ใน​ทางประชาธิปไตยที่​จะ​ดำ​เนินการแก้​ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ​ให้​เป็น​ไปตามหลักการที่ถูก​ต้อง

การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้ผ่านการออกเสียงประชามติ​ ​จึง​ไม่​ควรแก้​ไข​หรือ​ยัง​ไม่​ควรแก้​ไข​นั้น​ ​เป็น​การกล่าวอ้างที่จงใจละ​เลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำ​นวนมากถูกบีบบังคับ​โดย​เทคนิคทางกฎหมาย​ให้​ต้อง​ยอมรับรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ไปก่อน​ ​เพื่อ​ให้​ประ​เทศพ้น​จาก​สภาวะของรัฐบาลที่​เป็น​ผลพวง​จาก​การยึดอำ​นาจ​ ​และ​ละ​เลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียง​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้กว่าสิบล้านเสียง​ ​ขอเรียน​ด้วย​ว่าคณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดังมีรายนามตอนท้าย​ไม่​ประสงค์​จะ​เป็น​ฝักฝ่ายทางการเมือง​ ​แต่การออกแถลงการณ์​ฉบับ​นี้​เป็น​ไป​เพราะ​ต้อง​การ​ให้​การปกครองประ​เทศ​เป็น​ไปตามหลักวิชา​ ​และ​มุ่งหวัง​ให้​การแก้ปัญหาทางการเมือง​และ​กฎหมายดำ​เนินไปอย่างสันติ​และ​ถูก​ต้อง​เป็น​ธรรมอย่างแท้จริง

รองศาสตราจารย์​ ​ดร​.​วรเจตน์​ ​ภาคีรัตน์

รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์​ ​ปิวาวัฒนพานิช

อาจารย์​ ​ดร​.​ฐาปนันท์​ ​นิพิฏฐกุล

อาจารย์ปิยบุตร​ ​แสงกนกกุล

อาจารย์ธีระ​ ​สุธีวรางกูร

คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒๔ ​มีนาคม​ ๒๕๕๑



คืนรัง Hi-thaksin