WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 11, 2008

​'วรเจตน์​' ​หนุนแก้รัฐธรรมนูญ​ทั้ง​ฉบับ

รศ​.​ดร​.​วรเจตน์​ ​ภาคีรัตน์​ ​หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน​ ​คณะนิติศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ ​ให้​สัมภาษณ์​ ​นายจอม​ ​เพชรประดับ​ ​ใน​รายการ "ถามจริง​ ​ตอบตรง" ทางสถานี​โทรทัศน์​เอ็นบีที​ ​เกี่ยวประ​เด็นการแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ ​เมื่อ 7 เม​.​ย​. ​ที่ผ่านมา​ ​โดย​อาจารย์วรเจตน์​เสนอแก้​ไข​ ​รัฐธรรมนูญ 2550 ทั้ง​ฉบับ​ ​และ​ทำ​ให้​กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ​ ​ประชาชน​ได้​มี​ส่วน​ร่วม​ ​ชี้หากแก้รัฐธรรมนูญ​ด้วย​สมมติฐานเอา' หรือไม่​เอา' ทักษิณ​ ​ก็​ได้​แค่กฎหมายที่มีกลไกพิกลพิการ​ ​สังคม​ไม่​ไปไหน

ทั้ง​นี้​ ​ดร​.​วรเจตน์​ ​ภาคีรัตน์​ ​เป็น 1 ใน 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ​หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ ​ที่ประกาศสนับสนุนการแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ ​โดย​ที่ผ่านมา​ได้​แสดง​ความ​คิดเห็นคัดค้านบทบาทของตุลาการภิวัฒน์​ ​ใน​ช่วงวิกฤตการเมืองปี 2549 ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​คำ​วินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่​ให้​การเลือกตั้งวันที่ 2 เม​.​ย.2549 เป็น​โมฆะ​ ​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การลงโทษ​ ​กกต​.​ชุด​ ​พล​.​ต​.​อ​. ​วาสนา​ ​เพิ่มลาภ และ​ถือ​เป็น​หัวหอกสำ​คัญของกลุ่มที่​ไม่​รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ใน​ช่วงการลงประชามติ

หนุนแก้​ ​รธน​. ​ทั้ง​ฉบับ​เพราะ​เป็น​ปัญหา​เชิงโครงสร้าง

นายวรเจตน์กล่าวว่า​ ​เรื่องการแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ต้อง​ย้อนกลับไปตั้งแต่​ ​การดี​เบตร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติ​ใน​วันที่​ 19 ส​.​ค​. ​ฝ่ายคัดค้านมองว่ามีปัญหา​เชิงโครงสร้าง​และ​หลักการหลายเรื่อง​ ​ใช้​ไปนาน​จะ​มีปัญหาต่อบ้านเมือง​ใน​ระยะยาว

ประ​เด็น​ใน​ขณะนี้มี​ ​ประการที่หนึ่ง​ ​จะ​แก้​หรือ​ไม่​แก้รัฐธรรมนูญ​ ​ประการที่สอง​ ​หาก​จะ​มีการแก้​จะ​แก้บางมาตรา​หรือ​แก้​ทั้ง​ฉบับ​ ​แต่ขณะนี้ก็มี​เสียงคัดค้านว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​เพิ่งประกาศ​ใช้​มา​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​อย่า​แก้​ ​ให้​ใช้​บังคับไปก่อน​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​การคัดค้านการแก้​ไขรัฐธรรมนูญคง​จะ​มีต่อไป​ ​แต่ผมคิดว่า​เสียงเรียกร้อง​ให้​แก้​ไขรัฐธรรมนูญคง​จะ​ดังกว่า​ ​ปัญหาคง​อยู่​ที่​จะ​แก้บางมาตรา​หรือ​แก้​ทั้ง​ฉบับ

ซึ่ง​ผมเห็นว่าควร​จะ​แก้​ทั้ง​ฉบับ​ ​เพราะ​รัฐธรรมนูญนี้มีปัญหา​ใน​เชิงโครงสร้าง​ ​ซึ่ง​การแก้​ไขเฉพาะบางมาตรา​จะ​ไม่​ช่วย​แก้ปัญหาที่​เกิดขึ้น​ ​และ​ปัญหาบางอย่างอาจ​จะ​ไปปะทุขึ้นเมื่อมีการ​ใช้​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ไปเรื่อยๆ​ ​อีกประ​เด็นคือหากการแก้​เฉพาะบางมาตรา​ ​อาจ​จะ​มอง​ได้​ว่า​เป็น​การแก้​เพื่อเอื้อประ​โยชน์​ให้​กับ​พรรค​ใด​พรรคหนึ่ง​ ​การแก้​ทั้ง​ฉบับ​จะ​เป็น​การนำ​ประ​เทศออก​จาก​วิกฤติรัฐธรรมนูญ

สำ​หรับระยะ​เวลา​ใน​การแก้​ไข​นั้น​เป็น​เรื่องที่ถกเถียง​กัน​ได้​ ​แต่​จะ​เห็น​ได้​ว่าตั้งแต่​เริ่ม​ใช้​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ ​ความ​จริงตั้งแต่การเลือกตั้งเลย​ ​เรา​เห็น​ความ​แปลกประหลาด​และ​ความ​ผิดปกติของระบบเลือกตั้ง​ ​ประชาชนหลายคนคงข้องใจว่าทำ​ไมเวลามีการเลือกตั้ง​ ​จังหวัดของ​เขา​ไปรวม​กับ​จังหวัด​อื่น​ ​การเลือกตั้ง​ ​ส​.​ว​. ​ทำ​ไมจังหวัด​ใหญ่​ ​จังหวัด​เล็ก​ถึง​มี​ ​ส​.​ว​. ​ได้​คนเดียวเหมือน​กัน​ ​นี่คง​เป็น​ปัญหาที่มีมา​อยู่​แล้ว​ ​ตามมา​ด้วย​ปัญหาการยุบพรรค​ ​ซึ่ง​มีการกระทบประ​เทศเรา​ด้วย​ ​หากรอช้าต่อไป​ ​ยิ่งช้า​ไป​เท่า​ไหร่​ ​ความ​เสียหายก็​จะ​ยิ่งเกิดขึ้น

เวลาที่​เราพูด​ถึง​ปัญหาของรัฐธรรมนูญ​ ​แน่นอนมัน​ไม่​ได้​เกี่ยวข้อง​กับ​ประชาชน​เป็น​รูปธรรม​โดย​ตรง​เพราะ​เป็น​กฎหมายสูงสุดของประ​เทศ​ ​แต่​จะ​มีปัญหา​ใน​ระยะยาว​ ​คือปัญหาพวกนี้​เรา​จะ​มอง​ไม่​เห็น​ ​เรา​จะ​เห็นก็ต่อเมื่อมัน​เป็น​กลาย​เป็น​ปัญหา​ความ​มั่นคงทางการเมือง​ ​และ​จะ​ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ​ ​กระทบต่อปากท้องไป​ใน​ที่สุด​ ​เมื่อ​ถึง​ตรงนี้นายจอมถามว่า​จึง​ต้อง​แก้ตอนนี้​ ​นายวรเจตน์กล่าวว่า​ "ถูก​ต้อง​ครับ"

หากแก้​ทั้ง​ฉบับ​ ​ต้อง​แก้​ กระบวนการ' แก้

นายวรเจตน์กล่าวต่อว่า​ ​การแก้รัฐธรรมนูญ​ถ้า​แก้​ทั้ง​ฉบับ​ ​ต้อง​แก้ที่กระบวนการแก้​ไขรัฐธรรมนูญก่อน​ ​ซึ่ง​กระบวนการแก้​ไขรัฐธรรมนูญถูกระบุ​ไว้​ใน​ ​ม.291 ซึ่ง​ระบุว่าการแก้​ไขรัฐธรรมนูญทำ​อย่างไรบ้าง​ ​และ​เป็น​เรื่องของสมาชิกรัฐสภา​ ​แต่​ความ​มุ่งหมาย​นั้น​คง​เป็น​เพียงการแก้บางมาตรา​ ​แต่​ถ้า​จะ​แก้​ทั้ง​ฉบับ​เรา​ต้อง​ย้อนกลับไปเหมือน​กับ​ที่​เรามีประสบการณ์ก่อนปี​ 2540 นั่นคือ​ต้อง​มีการตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ​ใหม่​ทั้ง​ฉบับ​ ​แล้ว​ก็​เอาทุกภาค​ส่วน​เข้า​มายกร่างรัฐธรรมนูญ​ ​นำ​ไปสู่การประกาศ​ใช้​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​ใหม่

นายจอมถามว่า​ ​คิดอย่างไรที่นายอภิสิทธิ์​ ​เวชาชีวะ​ ​ผู้​นำ​ฝ่ายค้าน​ ​เสนอว่า​ให้​เอาญัตติ​ใน​สภา​เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมา​เสนอขอแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ผม​ไม่​แน่​ใจว่าพรรคประชาธิปัตย์​ต้อง​การแก้บาง​ส่วน​หรือ​ทั้ง​ฉบับ​ ​แต่​เห็นว่า​ถ้า​แก้รัฐธรรมนูญบาง​ส่วน​ใน​พรรคประชาธิปัตย์คง​ไม่​เห็น​ด้วย​ ​แต่​ถ้า​แก้​ทั้ง​ฉบับ​น่า​จะ​เห็น​ด้วย​ ​ผมจำ​ได้​ว่าตอนที่ดี​เบตเรื่องนี้​กัน​ที่​เชียง​ใหม่​ ​สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางท่านก็บอกว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้ก็มีปัญหา​อยู่​ ​แต่อยาก​ให้​มันผ่านประชามติ​ไปก่อน​แล้ว​ค่อยไปแก้

ความ​เข้า​ใจของผมคือ​ถ้า​มีการแก้รัฐธรรมนูญ​ทั้ง​ฉบับ​ ​มีการจัดตั้งองค์กรที่ยกร่าง​กัน​ขึ้นมา​ใหม่​ ​แล้ว​ก็มี​ส่วน​ร่วม​จาก​หลายฝ่าย​ ​น่า​จะ​ไม่​มี​ใครคัดค้าน​ ​โดย​นายวรเจตน์คาดว่าหากแก้รัฐธรรมนูญ​ทั้ง​ฉบับ​อย่างต่ำ​คง​ใช้​เวลา​ 6 เดือน​ ​ถึง​ 1 ปี

นายจอมถามว่าหาก​ใช้​เวลา​แก้รัฐธรรมนูญนาน​จะ​มีปัญหา​เสถียรภาพของรัฐบาล​หรือ​ไม่​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ "เสถียรภาพของรัฐบาลเกี่ยว​กับ​รัฐธรรมนูญ​ส่วน​หนึ่ง​ ​แต่อย่างที่บอก​ถ้า​รัฐธรรมนูญมีปัญหา​แล้ว​ใช้​วิธี​แก้​แบบ​ ปะชุน' ​บางมาตรามันก็​ไม่​แก้ปัญหาอะ​ไร​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​ถ้า​ทุกคนมาร่วม​กัน​ทำ​ขึ้นมา​ใหม่​ ​แล้ว​ก็​ให้​มีกระบวนการที่มี​ความ​ชอบธรรมกว่ารัฐธรรมนูญปี​ 2550 คิดว่า​ใน​ที่สุดน่า​จะ​ดีกว่า"

แก้​ ​ม.237 ทำ​ตามหลักการ​ ​เพื่อ​ให้​คนผิดรับผิด​ไม่​เกี่ยว​กับ​คน​ไม่​ทำ​ผิด

ต่อคำ​ถามว่า​ ​หากรัฐบาลคิด​จะ​แก้​เพียง​ ​ม.237 มาตรา​เดียว​ ​อาจถูกมอง​ได้​ว่า​แก้​เพื่อ​ให้​พรรคการเมืองของตัวเองพ้นผิด​หรือ​ไม่​ ​ดร​.​วรเจตน์กล่าวว่า​ ​หากแก้​เพียงมาตรานี้มาตรา​เดียวก็คงมอง​ได้​ว่าพรรคร่วมรัฐบาลมีปัญหา​กับ​บทบัญญัติ​ใน​ ​ม.237 เป็น​การแก้​เพื่อ​ให้​ตัวเองพ้นผิดไป​ ​แล้ว​ตอนนี้หลาย​ส่วน​ใน​สังคมก็พูดแบบนี้​ ​นักวิชาการจำ​นวนหนึ่งก็อธิบายแบบนี้​ ​แต่ผมอยาก​ให้​เราดูปัญหา​ใน​ระดับหลักการมากกว่าดูว่าบทบัญญัติมาตรานี้​เขียน​ไว้​ว่าอย่างไร

ผมเห็นว่า​ ​ม.237 คง​เป็น​มาตราหนึ่งที่ควรแก้​ไขแน่นอน​ ​เพราะ​หลักการมัน​ไม่​ถูก​ต้อง​ ​หมาย​ความ​ว่าหากตี​ความ​ตัวบทของมาตรานี้ตามถ้อยคำ​ก็คือ​ ​สมมติผม​เป็น​กรรมการบริหารพรรค​อยู่​พรรคหนึ่ง​ ​คุณจอมก็​เป็น​ด้วย​อยู่​ใน​พรรคเดียว​กัน​ ​แล้ว​ผมไปมีปัญหา​เรื่องการเลือกตั้ง​ ​อาจไปกระทำ​การ​โดย​ไม่​ชอบ​ ​ไม่​ถูก​ต้อง​มา​ ​แล้ว​ก็ถูกเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​ ​ผลก็คือว่า​ถ้า​ตี​ความ​ตามถ้อยคำ​ใน​ ​ม.237 มัน​จะ​นำ​ไปสู่การยุบพรรคการเมือง​ ​เมื่อยุบพรรค​แล้ว​คุณจอมก็​จะ​ถูกตัดสิทธิ​เลือกตั้ง​ด้วย​ ​ทั้ง​ที่คุณจอม​ไม่​ได้​ทำ​อะ​ไรผิด

นายจอม​ ​ถามต่อว่า​ ​แต่คนที่​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การแก้​ไขมาตรานี้​ ​ได้​เทียบเคียง​กับ​กฎหมายแพ่ง​และ​พาณิชย์ระดับการบริหารองค์กร​ ​ถ้า​ผู้​ใต้​บังคับบัญชาทำ​ผิด​ ​ย่อมมา​จาก​การสั่งการ​หรือ​นโยบายของ​ผู้​บริหาร​ ​หมาย​ความ​ว่า​ผู้​บริหาร​ต้อง​รับผิดชอบ

นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ผม​ยัง​ไม่​พบกฎหมาย​หรือ​ข้อกฎหมายแบบนี้​เลย​ ​ที่อ้าง​กัน​อยู่​นี้มีสองเรื่องคือ​ ​กรณีที่ลูกจ้างไปกระทำ​ละ​เมิดบุคคลภายนอก​ ​แล้ว​ให้​นายจ้างรับผิดแทนลูกจ้างไปก่อน​ ​กฎหมายนี้มี​เพื่อคุ้มครองคนที่​ได้​รับ​ความ​เสียหาย​จาก​ลูกจ้าง​ ​คือลูกจ้างไปขับรถชนคน​อื่น​ใน​ทางการที่จ้าง​ ​ผู้​ได้​รับ​ความ​เสียหาย​เขา​อาจมาฟ้องนายจ้าง​ได้​ ​พอนายจ้าง​ได้​จ่ายค่าสินไหมทดแทน​ให้​ผู้​เสียหาย​แล้ว​ ​ก็อาจไปไล่​เบี้ย​กับ​ลูกจ้าง​ได้

แต่​ไม่​มีข้อกฎหมายที่บอกว่า​ถ้า​ลูกจ้างไปกระทำ​ความ​ผิด​ ​ลูกจ้างติดคุก​ ​นายจ้าง​ต้อง​ติดคุก​ด้วย​ ​หรือ​ไปตัดสิทธิการประกอบอาชีพของนายจ้าง​ ​มัน​ไม่​มีข้อกฎหมายแบบนี้​ ​แม้​แต่​เรื่องกฎหมายฮั้ว​หรือ​เรื่อง​อื่น​ ​กฎหมายก็ยอม​ให้​คน​ซึ่ง​เกี่ยวพันพิสูจน์ว่า​ไม่​มี​ส่วน​ผิด​ ​แต่ตามรัฐธรรมนูญ​โดย​ถ้อยคำ​ ​ถ้า​คุณจอมไปทำ​การบริหารพรรคการเมือง​ ​คุณจอม​ไม่​มีสิทธิพิสูจน์​ ​จริงๆ​ ​ที่มีปัญหา​อยู่​ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง​ ​คือกรณีพรรคชาติ​ไทย​ ​ก็ชัดเจนว่า​ใน​ทางข้อเท็จจริงกรรรมการบริหารพรรคคน​อื่น​ไม่​ได้​รับรู้​ด้วย​ ​นี่​จึง​เป็น​ความ​อึดอัดใจ​ใน​ข้อกฎหมายที่ว่ายุบพรรค​แล้ว​ตัดสิทธิ์คน​อื่น​ที่​เขา​ไม่​ได้​ผิด

นายจอมถามว่า​ ​ทำ​ไมกรรมการบริหารพรรค​จึง​ไม่​สามารถ​พิสูจน์ตัวเอง​ได้​ว่า​ไม่​เกี่ยวข้อง​กับ​ลูกพรรค​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​กฎหมายตามถ้อยคำ​เขียนว่า​ ​ให้​ถือว่า​เป็น​การกระทำ​ของพรรค​ ​เมื่อยุบพรรค​แล้ว​ให้​ตัดสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเลย​ ​ถ้า​ตี​ความ​ตามถ้อยคำ

ซึ่ง​ผม​ได้​ออกแถลงการณ์​ไปว่าการตี​ความ​รัฐธรรมนูญมาตรานี้​ ​ตี​ความ​ไปตามถ้อยคำ​ไม่​ได้​ ​ถ้อยคำ​เขียนลักษณะนี้จริง​ ​ถ้า​จะ​เขียน​ให้​มีผล​ใน​ทางกฎหมายแบบนี้​ ​ต้อง​ไปยกเลิกหลักการหลายหลักการ​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​เช่น​ ​ต้อง​เลิกหลักนิติรัฐ​หรือ​นิติธรรม​ ​เลิกหลักประ​กัน​สิทธิ​เสรีภาพ​ ​เลิกหลักประชาธิปไตย​ ​เรา​จะ​ประกาศ​ไม่​ได้​ว่า​เป็น​รัฐชนิดนี้นะฮะ​ ​เรา​ต้อง​ประกาศว่า​เรา​เป็น​รัฐเผด็จการ​และ​อื่นๆ​ ​ก่อน​ ​ถึง​จะ​ใช้​กฎหมายมาตรานี้​ได้​ตามถ้อยคำ​ ​เพราะ​ฉะ​นั้น​ผม​จึง​มี​ความ​เห็นว่า​ ​เรื่องนี้หาทางออก​ได้​โดย​การตี​ความ​เพื่อ​ให้​เกิด​ความ​เป็น​ธรรม​ ​แต่ตอนนี้มันกลาย​เป็น​ปัญหาทางการเมืองไป​แล้ว​ ​แล้ว​ไม่​มี​ใครคิดหาทางออกทางกฎหมายแบบนี้

เพราะ​ฉะ​นั้น​การแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ ​มันก็ถูก​ต้อง​ตามหลักการที่มันควร​จะ​เป็น​ ​และ​ผม​ไม่​เห็นว่า​จะ​ทำ​ให้​เกิดคนที่มี​ส่วน​ได้​เสีย​ ​จนแก้​ไม่​ได้​แต่อย่าง​ใด​อย่างที่มีการกล่าวอ้าง​ ​เพราะ​การแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ไม่​ได้​ทำ​ให้​คนผิด​ได้​พ้นผิดไป​ ​กรรมการบริหารพรรคที่กระทำ​ผิดก็​ยัง​ต้อง​รับผิดต่อไป​ ​แต่คน​อื่น​ที่​ไม่​เกี่ยวข้อง​ด้วย​เขา​ไม่​ควรรับผิด​ ​ผม​ยัง​ไม่​เห็นว่าการแก้​ไขตรงนี้มันบกพร่องตรงไหน​ ​เหมือนที่พูด​กัน​ว่า​แก้​ให้​พ้นผิด​ ​เพราะ​เขา​ไม่​ได้​ผิด​อยู่​แล้ว​ ​กฎหมาย​ไม่​ได้​ไปแก้ว่าคน​ซึ่ง​ไปซื้อเสียง​แล้ว​ถูกตัดสินว่าผิดห้าม​ไม่​ให้​เขา​รับผิด​ ​เขา​ก็​ต้อง​รับผิด​อยู่​ ​แต่คน​อื่น​ที่​ไม่​ได้​เกี่ยวข้อง​ด้วย​ไม่​ควร​ต้อง​รับผิด

ต่อข้อถามของนายจอม​ ​ที่ว่ามีนักกฎหมายออกมาระบุว่า​ถ้า​แก้​หรือ​ยกเลิกรัฐธรรมนูญ​ ​ม​. 237 เท่า​กับ​ทำ​ลายระบบกฎหมายของชาติ​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ถ้า​การรัฐธรรมนูญ​แล้ว​มีผลแบบ​นั้น​จริง​ ​ผมคง​เป็น​คนแรกๆ​ ​คงออกมาคัดค้านเคลื่อนไหว​ ​ถ้า​คุณจอมติดตามดู​อยู่​ ​จะ​เห็นผมวิจารณ์รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้มาตั้งแต่มาตรา​ 309 ซึ่ง​หนักหนาสาหัสกว่ามาตรานี้มาก​ ​อย่างที่บอกการแก้มาตรานี้​ไม่​ได้​แก้​เพื่อล้าง​ความ​ผิดของคนกระทำ​ผิด​ ​ตัวสมาชิกพรรคการเมือง​หรือ​ผู้​ลงสมัครรับเลือกตั้ง​ยัง​คง​ต้อง​รับผิด​อยู่​ ​ไม่​ได้​แก้ว่า​ถ้า​เขา​ทำ​ผิด​แล้ว​ไม่​ต้อง​รับผิด​ ​แต่​เขา​ทำ​ให้​ถ้อยคำ​ที่มี​ความ​คลุมเครือ​ไม่​ชัดเจนที่​จะ​ไปเอาผิดกรรมการบริหารพรรคคน​อื่น​ที่​ไม่​ได้​ทำ​ผิดก็​ไม่​ต้อง​รับผิด​ ​ซึ่ง​สอดคล้อง​กับ​ หลัก​ทั่ว​ไป'

ปัญหาที่พูด​กัน​อยู่​ตอนนี้คือ​ ​แล้ว​คนเหล่านี้มี​ส่วน​ได้​เสียไหม​ ​ถ้า​ตี​ความ​เรื่อง​ ส่วน​ได้​เสีย' แบบที่​เข้า​ใจ​กัน​อยู่​ ​การแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​จะ​ทำ​ไม่​ได้​เลย​ ​มีบางคนบอกว่า​ให้​แก้​ไขเสียก่อนที่การกระทำ​จะ​เกิดขึ้น​ ​ก็​ยัง​ไม่​ทันมีสภา​เลยก็มีการเพิกถอนสิทธิ​เลือกตั้ง​แล้ว​ ​มัน​จะ​แก้​ไข​ได้​อย่างไร​ ​ถ้า​ตี​ความ​กัน​แบบนี้​ ​ผมเรียนว่า​แม้​แต่​ ​ส​.​ส​.​จะ​แก้กฎหมายเรื่องพรรคการเมือง​ ​เรื่องนักการเมืองก็ทำ​ไม่​ได้​ ​แม้​แต่​จะ​แก้กฎหมายภาษีก็​ไม่​ได้​ ​เพราะ​ตัวเอง​เป็น​ผู้​เสียภาษา​ ​ดัง​นั้น​ผม​จึง​มอง​ไม่​ออกว่ามัน​จึง​ไม่​เข้า​หลักเกณฑ์​เรื่อง​ส่วน​ได้​เสียอย่างไร

ม.309 ไม่​มีที่​ไหน​ใน​โลกเขียนแบบนี้

ส่วน​กรณี​ ​ม.309 ที่มีการมองว่า​ ​หากแก้กฎหมายข้อนี้​ ​จะ​เป็น​การนิรโทษกรรม​ ​ให้​กับ​กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย​หรือ​ไม่​นั้น​ ​ดร​.​วรเจตน์​ ​กล่าวว่า​ ​ต้อง​ทำ​ความ​เข้า​ใจก่อนว่า​ ​ม.309 เขียน​ไว้​ว่าอย่างไร​ ​ตอนที่มีการดี​เบตรัฐธรรมนูญ​กัน​ ​ฝ่ายร่างรัฐธรรมนูญก็พูดชัด​ใน​วันที่ดี​เบตว่า​ ​ม.309 รับรองการกระทำ​ที่ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ให้​มันชอบ​ ​ผม​ยัง​ถามว่า​ถ้า​การกระทำ​นั้น​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​อยู่​แล้ว​จะ​ไปเขียนรับรองทำ​ไม​ ​ไม่​มี​ความ​จำ​เป็น​ต้อง​เขียน​ ​ไม่​มี​ใครพูด​ถึง​เรื่อง​ 111 คน​ ​ไม่​มี​ใครพูด​ถึง​เรื่อง​ ​คตส​.

ที่นี้ปัญหาคือ​ ​ม.309 ใน​ทางถ้อยคำ​ไม่​ได้​มี​ความ​หมาย​เท่า​นี้​ ​ม.309 ถ้า​อ่านดู​แล้ว​มี​ความ​หมายรับรองการกระทำ​ที่​ไม่​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ ​ไม่​ว่า​จะ​เกิดขึ้นก่อน​หรือ​เกิดขึ้นหลังการประกาศ​ใช้​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ให้​ถือว่าชอบ​ด้วย​รัฐธรรมนูญ​และ​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ ​กฎหมายแบบนี้​ไม่​ถูก​ต้อง​ ​เพราะ​เป็น​การรับรองการกระทำ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เกิดขึ้น​ใน​วันพรุ่งนี้​ซึ่ง​อาจ​ไม่​ชอบ​ด้วย​กฎหมายแต่บอก​ให้​มันชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ ​ซึ่ง​ไม่​มีที่​ไหน​ใน​โลกที่​เขียนกฎหมายแบบนี้​ ​มี​แต่รัฐธรรมนูญของเราที่​เขียนแบบนี้​ ​ซึ่ง​มันผิดหลัก​

ประ​เด็นก็คือ​ ​ตอนนี้มีคนกลัวว่าหากมีการแก้​ไข​ ​จะ​ไปกระทบ​ 111 คน​ ​และ​ ​คตส​. ​ผมเรียนว่า​ไม่​กระทบ​ ​เพราะ​ว่า​ 111 คน​ ​ถูกเพิกถอน​โดย​คำ​วินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ​ซึ่ง​ยัง​มีผล​ใน​ทางกฎหมาย​อยู่​ ​จะ​ทำ​ลายผลตรงนี้​ได้​ต้อง​มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อทำ​ลายผลของกฎหมาย​ ​อย่างที่​เรียก​กัน​ว่าการนิรโทษกรรม

เลิก​ ​ม.309 ไม่​กระทบ​ ​คตส​. ​แต่​เพื่อ​ให้​ ​คตส​. ​ถูกตรวจสอบตามระบบ

ส่วน​ ​คตส​. ​เกิดขึ้น​จาก​ประกาศของ​ ​คปค​. ​ความ​จริงผม​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การจัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจแบบนี้ขึ้นมา​ ​แต่​เขา​เกิดขึ้น​จาก​ตัวประกาศของ​ ​คปค​. ​หมาย​ความ​ว่า​ ​แม้​เลิก​ ​ม.309 นี้​ ​ตัวองค์กรนี้ก็​จะ​อยู่​ต่อไป​ ​เพราะ​ได้​รับการแก้​ไข​โดย​พระราชบัญญัติตอนที่มีสภานิติบัญญัติ​แห่งชาติ​ ​สิ่งที่ดีก็คือ​ ​ม.309 เดิมรับรองการกระทำ​ทุกสิ่งทุกอย่างเอา​ไว้​ ​ไม่​ว่า​จะ​ชอบ​หรือ​ไม่​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ ​ไม่​ว่า​จะ​เกิดพรุ่งนี้​หรือ​เมื่อวาน​ ​ให้​มันชอบ​ด้วย​รัฐธรรมนูญ​และ​กฎหมาย​ ​เมื่อเลิกมาตรานี้​ไป​ ​กระบวนการต่างๆ​ ​ของ​ ​คตส​. ​ที่ทำ​กัน​ไป​ ​ถ้า​ชอบ​ด้วย​กฎหมายมันก็​ใช้​ได้​ไม่​มีปัญหา​ ​ก็ถูก​ต้อง​ ​มัน​ไม่​ได้​ไปลบล้าง​หรือ​ล้มเลิก

แต่​ถ้า​ไม่​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​และ​ไม่​ชอบ​ด้วย​รัฐธรรมนูญ​ ​ผมคิดว่า​เรา​ใน​ฐานะคนที่มโนสำ​นึกธรรมดา​เหมือน​กัน​ ​สิ่งที่​ไม่​ชอบก็ควร​ไม่​ชอบ​ ​ถ้า​ ​คตส​. ​ดำ​เนินกระบวนการสอบสวน​โดย​ไม่​ถูก​ต้อง​ ​โดย​ไม่​ชอบ​ ​ผลการสอบสวนก็​ต้อง​ไม่​ชอบ​ ​มัน​ไม่​ควรถูกรับรองเอา​ไว้​ล่วงหน้าว่ามันชอบ

นายจอมถามต่อว่า​ ​ถ้า​ยกเลิกมาตรานี้​ ​หลายคนกลัวว่า​ ​สิ่งที่​ ​คมช​. ​หรือ​ประกาศ​ ​คปค​. ​ก็​เริ่มต้น​กัน​ใหม่​หมด​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ต้อง​ไปดูว่าประกาศต่างๆ​ ​เหล่า​นั้น​ ​เมื่อมาตรวจวัด​กับ​ มาตร' ​ใน​ทางรัฐธรรมนูญ​แล้ว​ ​มันมีประกาศไหนที่​ใช้​ได้​หรือ​ใช้​ไม่​ได้​ ​ต้อง​ไปดูทีละ​เรื่อง​ ​กรณี​ ​คตส​. ​เขา​ตั้งขึ้นมา​ ​ตัวประกาศ​ ​คปค​. คตส​. ​ยัง​อยู่​ ​แต่การกระทำ​ของ​ ​คตส​. ​ต่างหาก​จะ​ถูกตรวจสอบว่าที่​ ​คตส​. ​ทำ​ไป​นั้น​ ​ชอบ​หรือ​ไม่​ชอบ​ด้วย​รัฐธรรมนูญ​ ​ซี่ง​เป็น​หลักปกติ​ ​เมื่อเรามีรัฐธรรมนูญ​ซึ่ง​ผ่านการออกเสียงประชามติมา​แล้ว​ ​กระบวนการต่างๆ​ ​ที่ทำ​กัน​ไป​โดย​องค์กรต่างๆ​ ​ควรที่​จะ​สอดคล้อง​กับ​รัฐธรรมนูญ

ผมเรียนว่า​ถ้า​ ​คมช​. ​ทำ​อะ​ไร​โดย​ที่​ไม่​ขัดแย้ง​กับ​รัฐธรรมนูญ​ ​ก็​ไม่​ต้อง​เกรงว่า​จะ​มีปัญหา​ ​แต่กระทำ​การ​โดย​ไม่​ถูก​ต้อง​ตามกฎหมาย​ ​ไม่​ถูก​ต้อง​ตามรัฐธรรมนูญ​ ​ควร​ต้อง​มีปัญหา​ใช่​ไหมครับ

ถ้า​มีการแก้รัฐธรรมนูญ​กัน​จริง​ ​กว่าที่รัฐธรรมนูญ​จะ​แก้​ไข​ ​คตส​. ​ก็หมดวาระ​ไป​แล้ว​ ​เขา​อยู่​ใน​วาระอีกแค่​ 2 เดือน​ ​คตส​.​เป็น​องค์กรเฉพาะกิจ​ ​แรกเริ่มเดิมที่​จะ​ตั้งขึ้นมา​ 1 ปี​ ​ก็​จะ​ได้​ระยะ​เวลาพอดี​กับ​ที่ประกาศ​ใช้​รัฐธรรมนูญ​ ​ซึ่ง​ความ​จริงควร​จะ​เลิกไปตั้งแต่ครบปีหนึ่ง​แล้ว​ ​แล้ว​ส่งเรื่อง​ให้​ ​ปปช​. ​ดำ​เนินการต่อไป​ ​เพราะ​ ​ปปช​. ​เป็น​องค์กร​ใน​ระบบ​ ​แต่​ ​สนช​. ​ไปต่ออายุ​ ​คตส​. ​จน​อยู่​มาทุกวันนี้​ ​เลยทำ​ให้​ ​คตส​. ​เป็น​องค์กรที่มีปัญหา​กับ​ระบบรัฐธรรมนูญที่มันเริ่มเดิน

ต่อข้อถามที่ว่า​ ​การแก้รัฐธรรมนูญ​ ​ม.309 จะ​เกิดปัญหา​กับ​เอกภาพของรัฐบาลไหม​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​เป็น​ไป​ได้​ ​เพราะ​มัน​เป็น​ปัญหาที่​เถียง​ใน​ทางกฎหมาย​ ​บางกรณีก็ยากแก่การทำ​ความ​เข้า​ใจของคน​ทั่ว​ไป​ ​ต้อง​ฟัง​ผู้​ที่มี​เสียงดัง​ใน​ทางสังคม​เป็น​สำ​คัญ​ ​ว่าคนเหล่า​นั้น​อธิบายอย่างไร​ ​ซึ่ง​เสียง​ส่วน​ใหญ่​จะ​อธิบาย​ใน​ลักษณะตรง​กัน​ข้าม​กับ​ผม​

ตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ ​ผมบอก​กับ​ผู้​ร่างบางท่านว่า​ ​ถ้า​จะ​เขียนเรื่อง​ ​คตส​. ​ก็รับรององค์กรไป​ ​รับรอง​ให้​ ​คตส​. ​มี​อยู่​ ​อย่า​ไปรับรองการกระทำ​ ​เพราะ​เรา​ไม่​รู้ว่า​ ​การกระทำ​นั้น​จะ​ชอบ​หรือ​ไม่​ชอบ​ ​เรา​ไม่​ควรเขียนเช็คเปล่า​ให้​ใคร​ ​ว่าสิ่งที่​เขา​ไปถูก​ต้อง​ ​หรือ​ชอบ​ด้วย​รัฐธรรมนูญเสมอ​ ​ไม่​ควร​เป็น​แบบนี้

เพราะ​ฉะ​นั้น​วันนี้​ถ้า​กังวล​ ​และ​เพื่อ​ให้​ระบบกฎหมายเดินไป​ ​ผมคิดว่าก็​แก้​ไป​ ​ยกเลิก​ ​ม.309 ไป​ ​ถ้า​กังวลเรื่อง​ ​คตส​. ​ก็​เขียนรับรอง​ ​คตส​. ​ให้​เขา​อยู่​จนครบวาระ​ ​แต่การกระทำ​ของ​เขา​ต้อง​ถูกตรวจสอบ​โดย​เกณฑ์ทางกฎหมายว่าชอบ​หรือ​ไมชอบ​ ​ถ้า​ไม่​อย่าง​นั้น​ก็ประกาศตัว​ไม่​ได้​ว่า​เรา​เป็น​นิติรัฐ

ขืนตี​ความ​ ส​.​ส​.​แก้​ไข​ ​รธน​. ​คือประ​โยชน์ทับซ้อน' จะ​ไม่​มี​ใครแก้กฎหมายอะ​ไร​ได้

ต่อข้อถามที่ว่า​ ​กรณีที่มีกลุ่ม​ไม่​เห็น​ด้วย​กับ​การแก้รัฐธรรมนูญบอกว่า​จะ​ใช้​วิธีรวบรวมรายชื่อ​ ​เพื่อถอดถอน​ ​ส​.​ส​.​ที่ยื่นญัตติ​แก้​ไข​ ​รธน​. ​โดย​บอกว่า​ ​การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้​ (แก้​ ​ม.237 เพื่อ​ให้​พ้น​จาก​การยุบพรรค) ​เป็น​การกระทำ​ที่​เข้า​ข่ายการขัด​กัน​ซึ่ง​ผลประ​โยชน์​นั้น​ ​ดร​.​วรเจตน์​ ​กล่าวว่า​ไม่​น่า​จะ​ทำ​ได้​ ​เพราะ​ ​ม.122 พูดเรื่องสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฎร​และ​สมาชิกวุฒิสภาย่อม​เป็น​ผู้​แทนปวงชนชาวไทย​ ​ไม่​อยู่​ใน​อาณัติมอบหมาย​ ​หรือ​ครอบงำ​ใดๆ​ ​และ​ต้อง​ปฏิบัติหน้าที่​เพื่อประ​โยชน์​ส่วน​รวม​โดย​ปราศ​จาก​การขัด​กัน​ซึ่ง​ผลประ​โยชน์​ ​มาตรานี​เขียนรับรองสถานะของ​ ​ส​.​ส​. ​และ​ ​ส​.​ว​. ​เอา​ไว้​ให้​เขา​ทำ​หน้าที่อย่างอิสระ

ประ​เด็นคือ​ ​การที่ตี​ความ​เรื่องนี้​ ​ต้อง​ดูว่าการที่​เขา​กระทำ​การ​นั้น​เป็น​เหตุถอดถอน​หรือ​ไม่​ ​ถ้า​เขา​ใช้​อำ​นาจหน้าที่​ใน​ตำ​แหน่งไป​ใน​ทางมิชอบถอดถอน​ได้​ ​แต่การแก้รัฐธรรมนูญ​ ​มันคงเอา​เรื่องนี้มากล่าวอ้าง​ไม่​ได้​ ​อย่างที่ผมบอก​ ​ถ้า​ตี​ความ​แบบนี้​ ​ใครๆ​ ​ก็​แก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ไม่​ได้​ ​ส​.​ส​.​ฝ่ายค้าน​ ​หรือ​ ​ส​.​ส​.​ฝ่ายรัฐบาลเองก็​ไม่​สามารถ​แก้​ไข​ได้​ ​เพรา​จะ​ถูกมองว่ากระทำ​การแก้​ไขเพื่อตัว​ทั้ง​สิ้น​ ​กฎหมายพรรคการเมือง​ ​หรือ​ ​การออกฎหมายบาง​ฉบับ​ ​ก็​จะ​กระทำ​มิ​ได้​เลย​ ​ความ​มุ่งหมายคง​ไม่​ใช่​อย่าง​นั้น​ ​ถ้า​มีการ​เข้า​ชื่อ​กัน​จริง​ ​ถามว่า​ใคร​จะ​เป็น​คนถอดถอน​ ​เพราะ​จะ​กลาย​เป็น​ว่าทุกคนกลาย​เป็น​คนที่มี​ส่วน​ได้​เสีย​กัน​หมด​ทั้ง​สภา

พรรคการเมือง​เป็น​ที่ร่วมของคนคิดอ่านเหมือน​กัน​ ​ตั้งมา​แล้ว​ไม่​ควร​ให้​ยุบง่ายๆ

เรื่องการยุบพรรค​นั้น​ ​พรรคการเมืองเมื่อตั้งขึ้นมา​แล้ว​ ​หลัก​ทั่ว​ไป​ใน​โลก​เขา​ไม่​ให้​ยุบ​กัน​ง่ายๆ​ ​เพราะ​พรรค​เป็น​ที่รวมของคนที่มี​ความ​คิด​ความ​อ่านทางการเมืองคล้ายๆ​ ​กัน​ ​โดย​เฉพาะบ้านเราที่สถาบันทางการเมืองมันค่อยๆ​ ​พัฒนา​ไป​ ​ลองนึกดู​ถ้า​ยุบพรรคทำ​ได้​ง่ายๆ​ ​แม้​แต่พรรคประชาธิปัตย์​เอง​โดย​บัญญัติ​ใน​มาตรานี้ก็อาจถูกยุบพรรคเหมือน​กัน​ทั้ง​ที่มีอายุมากว่า​ 60 ปี​ ​มันคง​ไม่​ถูก​ต้อง​ ​ใครทำ​ผิด​ต้อง​เอาผิดคน​นั้น​ ​แล้ว​การตี​ความ​เรื่องนี้​ต้อง​ตี​ความ​ให้​สอดคล้อง​กับ​หลักการที่มันควร​จะ​เป็น​ ​สังคม​จะ​ได้​มีทางออก​ ​ขอ​ให้​พูด​กัน​ใน​หลักการ​ ​อย่าพูด​ใน​ผลประ​โยชน์​เฉพาะหน้า​ใครกลุ่ม​ใด​กลุ่มหนึ่ง

นายจอมถามว่าประชาชน​จะ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร​ให้​เป็น​ธรรม​ ​ให้​เป็น​รัฐธรรมนูญที่มี​ส่วน​ร่วม​โดย​ประชาชน​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​โดย​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ ​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญกำ​หนดกระบวนการแก้​ไข​แล้ว​ว่า​ให้​ญัตติมา​จาก​ใคร​ ​พิจารณา​กัน​อย่างไร​ ​ปัญหา​อยู่​ที่​ถ้า​เดินตามกลุ่มของ​ผู้​ที่​ต้อง​การแก้​ไขบางมาตรา​ ​โอกาสที่ประชาชนมี​ส่วน​ร่วมอาจ​จะ​น้อย​ ​เขา​อาจไปฟัง​ความ​เห็น​ความ​เห็นของประชาชน​ ​แต่อาจ​จะ​น้อย​ ​ถ้า​เกิดว่าดำ​เนินกระบวนการ​ใน​การยกร่างรัฐธรรมนูญ​กัน​ทั้ง​ฉบับ​ ​ประชาชนก็​จะ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​หลายลักษณะ

ใน​ความ​เห็นผม​ ​คนที่​จะ​มาร่างรัฐธรรมนูญ​ ​ต้อง​มีที่มาตาม​ความ​ชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย​ ​มีการเลือกตั้ง​เข้า​มา​ส่วน​หนึ่ง​ ​บวก​กับ​ผู้​เชี่ยวชาญด้าน​อื่นๆ​ ​ประกอบ​กัน​ขึ้น​เป็น​องค์กรที่ทำ​หน้าที่​ใน​การยกร่างรัฐธรรมนูญ​ ​จะ​ทำ​ให้​ที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญมี​ความ​ชอบทำ​ ​ไม่​ใช่​การ​ให้​ผู้​มีอำ​นาจตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมายกร่าง

ผมคิดว่าหากทุกคนต่างถอย​กัน​คนละก้าว​แล้ว​ ​และ​ยอมรับว่ารัฐธรรมนูญมันมีปัญหาจริงๆ​ ​ใน​ทางหลักการ​ ​ปัญหาคือ​ ​บางฝ่ายคิดว่า​เรื่องนี้​ไม่​เป็น​ปัญหา​ ​แต่ผมเองเห็นว่า​เป็น​ปัญหา​ ​และ​ปัญหาที่​เห็นมัน​ไม่​ใช่​ปัญหาที่มองย้อน​ใน​อดีต​ ​แต่มัน​เป็น​ปัญหาระดับหลักการ​ ​เรา​จะ​ไม่​ทะ​เลาะ​กัน​ ​ถ้า​หากเราพูดเรื่องหลักการที่ควร​จะ​เป็น​ว่ามัน​จะ​เป็น​อย่างไร​ ​รัฐธรรมนูญควรเขียนหลักการก่อน​ ​รัฐธรรมนูญควรมองไปข้างหน้าว่าอะ​ไรคือสิ่งที่สังคมไทยใฝ่ฝัน​จะ​ไป​ให้​ถึง​อาจ​ไม่​ต้อง​ยาวมาก​ ​ที่​เหลือก็ทำ​เป็น​กฎหมาย​ใน​ระดับรองลงมา​ ​เวลามีปัญหาทางการเมือง​จะ​ไม่​กระทบ​กับ​รัฐธรรมนูญ

ชี้การเมืองแบ่งสองขั้ว​ ​แต่สังคมไทย​ต้อง​พ้นไป​จาก​เรื่อง​ เอา' หรือ​ ไม่​เอา' ทักษิณ

นายวรเจตน์กล่าวต่อไปว่า​ ​สภาพทางการเมืองตอนนี้มันแบ่ง​เป็น​สองขั้ว​ ​ขั้วหนึ่งมีอำ​นาจทางการเมือง​ ​ขั้วหนึ่งมีอำ​นาจ​ใน​ทางกฎหมาย​ ​แล้ว​สองขั้วนี้ปะทะ​กัน​ ​แล้ว​ตอนนี้ฝ่ายที่มีอำ​นาจทางการเมือง​ต้อง​การแก้รัฐธรรมนูญ​ ​ส่วน​ขั้วที่มีอำ​นาจทางกฎหมาย​ไม่​ต้อง​การแก้​ ​เพราะ​ต่างฝ่ายต่างมีผลประ​โยชน์ที่​เกี่ยวพัน​กัน​ใน​ระบบการเมือง​ ​ซึ่ง​ประชาชน​ต้อง​รู้​เท่า​ทัน​ ​และ​ยกระดับปัญหานี้​ไปสู่ปัญหา​ใน​ระดับเชิงหลักการ​ ​ถ้า​จะ​เถียง​กัน​เชิงหลักการว่า​ไป​ได้​แค่​ไหน​ ​ไม่​ใช่​ไปจนสุดอย่างเรื่องยุบพรรคการเมือง​ ​ที่ยุบไป​แล้ว​ก็​เกิดพรรคการเมือง​ใหม่​ขึ้นมา​ซึ่ง​สืบสาวมา​จาก​พรรคการเมืองเดิม​ซึ่ง​ประชาชนก็​ยัง​เลือก​อยู่​ ​ถามว่าที่สุดประ​เทศชาติ​ได้​อะ​ไร​จาก​การเล่นเกมการเมือง​และ​กฎหมาย​ใน​ลักษณะ​เช่นนี้

นายจอมถามต่อว่า​ ​กลุ่มเคลื่อนไหวนอกสภาหลายกลุ่ม​ใน​ขณะนี้​จะ​เผชิญหน้า​กัน​หรือ​ไม่​ใน​อนาคต​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ประ​เมินยาก​ ​ขึ้น​อยู่​กับ​ว่าลักษณะ​และ​วิธีการ​ใน​การแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ ​คือตอนนี้บ้านเมืองเรา​ยัง​ไป​ไม่​พ้น​จาก​ปัญหา​ เอา' ​หรือ​ ไม่​เอา' คุณทักษิณ​ ​ยัง​เป็น​แบบนี้​ ​เพียงแต่มันแปรรูปไป​เป็น​เรื่องของรัฐธรรมนูญ​ ​ตั้งแต่การออกเสียงลงประชามติ​ ​มีคนกลุ่มหนึ่งที่​เริ่มมองไปไหนปัญหา​เรื่องหลักการ​ ​ไม่​ได้​มองว่าเอา' หรือ​ ไม่​เอา' คุณทักษิณ​ ​แต่ตอนนี้ปัญหานี้​ยัง​ดำ​รง​อยู่​และ​ต่อสู้​กัน​ต่อไป​

ถ้า​คนที่​เป็น​ชนชั้นนำ​ใน​สังคม​ยัง​มองไป​ไม่​พ้น​จาก​ปัญหานี้​ ​ก็​เป็น​ไป​ได้​ว่า​จะ​ปะทะ​กัน

พรรคการเมือง​ซึ่ง​ร่วมรัฐบาลพรรค​ใหญ่​สุดคือพรรคพลังประชาชน​ ​ได้​หา​เสียงเอา​ไว้​ว่า​เมื่อ​เป็น​รัฐบาลสิ่งหนึ่งแก้​ไขคือแก้รัฐธรรมนูญ​ ​แต่น่า​เสียดาย​ไม่​มีการพูด​กัน​ ​ใน​ที่วันแรกๆ​ ​ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล​ ​ถ้า​ทำ​ตั้งแต่ตอน​นั้น​ ​และ​กำ​หนดกระบวนการแก้​ไข​ให้​ชัดเจน​ ​แรงกดดันที่มีต่อรัฐบาล​จะ​น้อย​ ​แต่ตอนนี้​ใน​เชิงระยะ​เวลามา​เกิดเอา​ใน​ช่วงที่มีปัญหายุบพรรค​หรือ​ไม่​ยุบพรรค​ ​ซึ่ง​ยัง​ไม่​ได้​ยุบพรรคกลไก​ยัง​อีกหลายขั้นตอน​ ​แต่ข้อกฎหมายมันพอมองไป​ได้

ตอนนี้​เลย​เป็น​ปัญหา​ ​ทุกคนเลยหวาดระ​แวง​กัน​หมด​ ​ไม่​คิดว่า​จะ​ดำ​เนินการไปเพื่อหลักการที่มันควร​จะ​เป็น​ ​ใน​ที่สุด​ ​ทุกฝ่าย​ ​รัฐบาลเองคงทำ​เรื่องแก้​ไขรัฐธรรมนูญ​ให้​เป็น​ระบบ​ ​ขั้นตอนที่​จะ​เสนอ​เป็น​อย่างไร​ ​ให้​พ้นไป​จาก​ปัญหา​เรื่องแก้​เพื่อตัวเอง​ ​อีกเรื่อง​ต้อง​ฟังคำ​อธิบาย​ ​และ​พ้นไป​จาก​เรื่อง​ เอา' หรือ​ ไม่​เอา' คุณทักษิณ​ ​คุณทักษิณ​ไม่​ได้​อยู่​กับ​เราตลอดกาล​ ​บ้านเมือง​ต้อง​เดินไปข้างหน้าอีก​ ​เรามาทะ​เลาะ​กัน​ด้วย​เรื่องแค่นี้​ ​เอามา​เป็น​ปัญหาหลักทางสังคม​ ​ก็​ได้​กฎหมายที่มีกลไกพิกลพิการ​และ​ทำ​ให้​สังคม​ไม่​ไปไหน

เรื่องเรียกร้อง​ให้​ยึดอำ​นาจ​ ​สะท้อนวุฒิภาวะทางสังคมว่า​ไม่​ยอมโต

นายจอมถามว่า​ ​คิดว่ากองทัพกังวลแค่​ไหน​กับ​เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ​ ​นายวรเจตน์กล่าวว่า​ ​กองทัพคงกังวล​ ​และ​ได้​รับบทเรียน​จาก​การยึดอำ​นาจว่า​ ​การยึดอำ​นาจ​ใน​ ​พ​.​ศ​. ​นี้​ไม่​แก้ปัญหาทางการเมือง​ ​การ​ใช้​กำ​ลังยึดอำ​นาจ​และ​ฉีกรัฐธรรมนูญ​ ​ไม่​แก้ปัญหาอะ​ไรเลย​ใน​ช่วงปีที่ผ่านมา​

ต่อข้อถามที่ว่า​ ​ยัง​คงมีการเรียกร้อง​ให้​มีการยึดอำ​นาจกรุ่นๆ​ ​อยู่​นั้น​ ​นายวรเจตน์กล่าวว่า​ ​นี่​เป็น​ปัญหา​เรื่องวุฒิภาวะทางสังคม​ ​เรา​ยัง​เด็ก​อยู่​มาก​ ​ไม่​ยอมโต​ ​หลายคนคิดว่ามีปัญหา​ต้อง​แก้​ด้วย​การยึดอำ​นาจ​ ​ซึ่ง​มัน​ไม่​แก้ปัญหา​ ​และ​ปัญหาที่มัน​อยู่​มันก็ยิ่ง​อยู่

พัฒนาการ​ใน​ทางประชาธิปไตย​ ​มันไป​ไกล​พอสมควร​ ​จะ​เห็น​ได้​ว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้มีกลไกหลายอย่างที่​เป็น​ปัญหาทางประชาธิปไตยแฝงเร้น​ใน​รัฐธรรมนูญ​ ​แต่​ใน​ที่สุด​ผู้​ร่างรัฐธรรมนูญก็​ต้อง​หนี​ไม่​พ้นกระ​แส​ให้​ยอมรับหลักนิติรัฐ​และ​นิติธรรม​ใน​ประชาธิปไตย​ ​ก็​ต้อง​เขียนเอา​ไว้​ใน​รัฐธรรมนูญ​อยู่​ดี​ ​เลย​เป็น​ปัญหา​เวลาตี​ความ​ทางกฎหมาย​ ​ว่าคุณ​จะ​ให้​คุณค่า​กับ​หลักการพวกนี้อย่างไร

ผมเองเห็น​ยัง​ว่า​เพื่อ​ให้​ระบบเดินไป​ ​เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า​และ​การสูญเสีย​ ​ปัญหาระดับหลักการ​เป็น​สิ่งที่สำ​คัญที่สุด​ ​ก็ควรว่า​กัน​ไปตามระบบ​ ​ไปตามหลักที่ควร​จะ​เป็น​ ​เอา​เหตุ​เอาผลมาพูด​กัน​ ​อย่าตั้งธง​ ​มันก็​จะ​ไป​ได้

ชี้ชนชั้นนำ​ไทยเสียรังวัดไปมาก​ ​หลังทุ่มกำ​ลังกำ​จัดทักษิณ

นายจอมถามว่า​ ​สังไทยขาดที่พึ่ง​ ​ขาดคนชี้​แนะ​ ​ขาดอะ​ไรที่พอออกมา​แสดง​ความ​คิดเห็นทุกคนยอมรับ​และ​ไปร่วม​กัน​ ​เราขาดกลุ่มคนกลุ่มนี้​ไหมครับ

นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​ก็อาจ​เป็น​ไป​ได้​ ​ผมเห็นว่า​ ​ใน​ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา​ ​ชนชั้นนำ​ใน​สังคมไทยทุก​ส่วน​ ​ได้​สูญเสีย​ความ​น่า​เชื่อถือไปอย่างมาก​ ​ทุ่มทุกสิ่งทุกอย่างไปจัดการ​กับ​คุณทักษิณ​ ​เราละ​เลยคุณค่า​ ​ละ​เลยหลักการที่ควร​จะ​เป็น​ ​วันนี้สังคมไทยมีปัญหามาก​ ​ถึง​ที่สุดใครพูดอะ​ไรก็​ไม่​มี​ใครฟังใคร​ ​ผมคิดว่า​ยัง​ไม่​สาย​ถ้า​เรา​จะ​ย้อนกลับมาดู​ ​ทำ​อย่างที่มันควร​จะ​เป็น​ ​อย่า​ไปปักธง​ ​อย่ามีอคติ​กัน​ไว้​ก่อน​ ​ใช้​กฎหมาย​ให้​มันเสมอ​กัน​กับ​ทุกฝ่าย​ ​ใน​วันพรุ่งนี้​ (8 เม​.​ย​.) ​กตต​. ​จะ​ประชุม​กัน​เรื่องการยุบพรรค​ ​ผมเห็นว่าประ​เด็น​ใน​ข้อกฎหมายที่ผม​และ​เพื่อนๆ​ 4 คน​ ​เสนอว่า​จะ​การตี​ความ​ ​ม.237 ต้อง​คำ​นึงหลักประชาธิปไตย​และ​หลักนิติรัฐ​นั้น​ ​ถ้า​ ​กกต​. ​ตี​ความ​ใน​หลักการนี้น่า​จะ​แก้ปัญหา​ใน​ระดับหนึ่ง

วอนฝ่ายค้านแก้​ ​รธน​. ​อย่าอ้างผลประชามติ​ ​เพราะ​ไม่​ได้​มาตรฐานสากล

นายวรเจตน์​ยัง​เสนอแนะว่า​ ​รัฐบาลก็คง​ต้อง​ฟังทุกๆ​ ​ฝ่าย​ ​และ​พยายามหาคน​ซึ่ง​น่า​จะ​เป็น​กลาง​หรือ​คนพอฟัง​อยู่​บ้างมาพูดคุย​กัน​ ​เพื่อออกไป​จาก​สภาพ​ความ​ขัดแย้งแบบนี้​ ​แต่อย่างที่บอกว่าอย่าปักธงว่ารัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​แก้​ไข​ไม่​ได้​ ​โดย​ที่มีการอ้างเรื่องของการออกเสียงประชามติ​นั้น​ ​ผม​เป็น​คนหนึ่ง​ซึ่ง​เห็นว่าการอ้างดังกล่าวมันอ้าง​ไม่​ได้

เพราะ​การทำ​ประชามติที่ทำ​ใน​คราวที่​แล้ว​ ​ไม่​ใช่​การทำ​ประชามติ​ใน​ระดับมาตรฐานสากล​ ​เราคงรู้ว่าหลายคนรับรัฐธรรมนูญ​ฉบับ​นี้​ไปเพียงเพื่อ​ให้​ประ​เทศพ้นสภาพที่พ้นสภาวะรัฐประหาร​ ​ให้​ประ​เทศกลับสู่หนทางประชาธิปไตยไปก่อน​ ​ถึง​ตอนนี้​เมื่อกลับมาสู่ระบบแบบนี้มันคง​ต้อง​เดินต่อไป​ ​ถ้า​ใครคิดว่า​เป็น​นักประชาธิปไตย​ ​เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย​ต้อง​มองประ​เด็นนี้​เป็น​หลัก​ ​ถ้า​มองประ​เด็นนี้​เป็น​หลัก​แล้ว​จะ​คุย​กัน​ได้​ ​ถ้า​มองประ​เด็น​อื่น​เป็น​หลัก​จะ​คุย​กัน​ไม่​ได้​ทั้ง​สองข้าง

ชวนสังคมจินตนาการเปลี่ยนผ่าน​ ​รธน​. ​จาก​เวอร์ชั่น​ 2534 มา​เป็น​ 2540

ใน​ช่วงสุดท้าย​ ​นายจอมถามว่า​ ​ทุกฝ่าย​จะ​ทำ​อย่างไร​ให้​ประ​เทศพ้นไป​จาก​หนทางตัน​จาก​การแก้รัฐธรรมนูญ​ ​นายวรเจตน์ตอบว่า​ ​เราอาจ​ต้อง​ย้อนเวลากลับไป​ ​อย่างยุคก่อน​ 2540 เรามีประสบการณ์ที่​จะ​ผ่านตัวรัฐธรรมนูญ​จาก​ 2534 มา​เป็น​ 2540 อย่างไร​ ​อีกทีหนึ่งคือย้อนกลับไปก่อนที่​จะ​มีการทำ​รัฐประหาร​ 19 ก​.​ย​. ​ที่มีการพูดเรื่องปฏิรูปรัฐธรรมนูญ​ใหม่​ทั้ง​ฉบับ​ ​เราน่า​จะ​ย้อนกลับไปตรงจุดเวลา​นั้น​ ​และ​ทำ​เรื่องนี้​ให้​เป็น​เรื่องสาธารณะ​ ​ทำ​องค์กรที่มี​ความ​ชอบธรม​ ​ให้​รัฐธรรมนูญ​ฉบับ​ใหม่​ทำ​ให้​สังคมไทยมี​เป้าหมายเดิน​กัน​ไป​ ​ไม่​ใช่​เป็น​รัฐธรรมนูญที่​เขียนขึ้นเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง​เท่า​นั้น​เอง​ ​แล้ว​มันก็​แก้​ไม่​ได้

ที่​เหลือ​เป็น​เรื่อง​ใน​ระดับกฎหมาย​ ​แม้ผมเอง​ส่วน​ตัว​จะ​เห็นว่า​ ​เรื่องนี้​ ​ใน​ภาวะการณ์ที่สู้​กัน​ทางการเมืองแบบนี้​ไม่​ได้​เกิดขึ้นง่าย​ ​แต่ว่า​เรา​ต้อง​ใช้​ความ​พยายาม​ ​อย่า​ได้​กลาย​เป็น​ว่า​ ​เมื่อผ่านอีกหลายปีข้างหน้า​แล้ว​มองย้อนกลับมา​ใน​อดีตต่างสำ​นึกเสียใจ​กัน​หมด​ ​ว่า​เรา​ไม่​ได้​ใช้​ความ​พยายามอย่างเต็มที่​ใน​การเอาบ้านเมืองออก​จาก​ปัญหา​ ​แล้ว​มานั่งเสียใจ​กัน​ภายหลัง


Hi-thaksin