WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 10, 2008

เมื่อตุลาการ เอ็ดเวิด คู้ก เผชิญหน้ากับกษัตริย์เจมส์ที่ 1: บทพิสูจน์การต่อสู้กับอำนาจแทรกแซงตุลาการ1

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ความนำ
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งช่วงก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน และหลังวันทำรัฐประหาร สังคมไทยกล่าวถึงเรื่อง “ความเป็นอิสระของตุลาการ” (Judicial independence) ว่าเป็นหลักที่มีความสำคัญมากของระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ ซึ่งหลายฝ่ายต่างพากันสดุดีหลักความเป็นอิสระของตุลาการไทยว่า ไม่อาจถูกฝ่ายใดแทรกแซงหรือมีอิทธิพลในการตัดสินคดีได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งว่า หลักความเป็นอิสระของตุลาการนั้นสำคัญเพียงใด และยากแค่ไหนกว่าที่ ตุลาการของประเทศอังกฤษ จะได้หลักนี้มา เราลองมาดูว่า กว่าที่ตุลาการของประเทศอังกฤษจะมีความเป็นอิสระอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ตุลาการของอังกฤษต้องต่อสู้กับอิทธิพลภายนอกอย่างไร ต้องมีความกล้าหาญเพียงใด ไม่ยอมแม้แต่จะคุกเข่าต่อหน้า แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่แต่งตั้งตนมาก็ตาม

วิวาทะระหว่างกษัตริย์เจมส์ กับผู้พิพากษาคู้ก: ต้นธารของหลักความเป็นอิสระของตุลาการอังกฤษ

ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่า ในสมัยก่อนช่วงศตวรรษที่ 17 ตามกฎหมายอังกฤษ ถือว่าผู้พิพากษาเปรียบได้กับ “ข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดิน” (servants of the King)2 หรืออาจแปลว่า “ตุลาการของพระราชา” กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่มาของความยุติธรรม (Fountain of Justice) เป็นผู้มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และปลดออกผู้พิพากษา อำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีของผู้พิพากษาก็ล้วนแล้วเป็นอำนาจที่พระมหากษัตริย์มอบหมาย (delegate) ไป
เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ที่ประเทศอังกฤษเกิดความขัดแย้งวิวาทะครั้งสำคัญของหน้าประวัติศาสตร์วงการนิติศาสตร์ของอังกฤษ คือ การเผชิญหน้ากันระหว่าง กษัตริย์เจมส์ ที่ 1 (King James I) กับตุลาการที่ว่ากันว่ายิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์กฎหมายอังกฤษ คือ เซอร์เอ็ดเวิด คู้ก (Sir Edward Coke)3 ข้อพิพาทนี้ลุกลามใหญ่โตจนเป็นวิวาทะระหว่างกษัตริย์ James กับเซอร์เอ็ดเวิด คู้ก ซึ่งท่านคู้กยืนกรานว่า พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจเข้ามาแทรกแซงหรือก้าวก่ายอำนาจการพิจารณาคดีของตุลาการ

ก่อนหน้าที่ท่านคู้กจะตัดสินคดีประวัติศาสตร์คดีหนึ่งของประเทศอังกฤษ คือ คดี Bonham ท่านคู้กได้มีวิวาทะกับกษัตริย์ James โดยกษัตริย์ James ได้ขอความเห็นของท่านคู้กเกี่ยวกับกรณีที่กษัตริย์ James ประสงค์จะจำกัดการสร้างตึกในเมืองลอนดอน และต้องการทำการค้าเกี่ยวกับแป้ง (starch) กษัตริย์ James ได้ถามท่านคู้กเพื่อที่จะให้วินิจฉัยว่า พระบรมราชโองการ (royal edict) มีค่าบังคับเสมือนเป็นกฎหมายหรือไม่ ท่านคู้กได้ปรึกษากับเพื่อนผู้พิพากษาอีก 2 ท่านที่เป็นองค์คณะด้วยกัน แล้วได้ตัดสินว่า “แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมีพระราชอำนาจที่จะเรียกร้องให้พสกนิกรเชื่อฟังกฎหมาย พระมหากษัตริย์ก็ไม่มีพระราชอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายคอมมอนลอว์ หรือกำหนดความผิดฐานใดๆ ขึ้นเองโดยอาศัยพระบรมราชโองการ (Proclamation) ดังกล่าว ซึ่งจะต้องตราให้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติเท่านั้น”

ในคดี Calvin’s Case ท่านคู้กก็ได้อธิบายว่า กฎหมายที่เกิดจากการวินิจฉัยคดีของศาลที่เรียกว่า common law นั้น เป็นผลมาจากการอบรมทางสติปัญญาของนักกฎหมายมายาวนาน ซึ่งตุลาการนั้นไม่สามารถถูกทำให้ครั่นคร้ามจากความกลัวของผู้มีอำนาจใดเหนือตุลาการได้4

วิวาทะได้เกิดขึ้นอีกครั้งในเช้าวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ.1612 กษัตริย์ James ได้เรียกผู้พิพากษาอังกฤษจำนวนหนึ่งเข้าเฝ้า หลังจากที่อาร์คบิชอปแห่ง Canterbury นามว่า Bncroft ซึ่งเป็นหัวหน้าของศาลศาสนา ที่เรียกว่า Ecclesiastical ได้อุทธรณ์ต่อกษัตริย์ James เพื่อให้ช่วยเหลือในคดี Nicholas Fuller’ case ในคดีนี้มีประเด็นว่า ศาลใดจะมีเขตอำนาจระหว่างศาล Common Pleas กับศาลศาสนาที่เรียกว่า Ecclesiastical court โดยอาร์คบิชอปอ้างเหตุผลว่า ตามประเพณีของอังกฤษ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจแต่งตั้งและปลดออกผู้พิพากษา อำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระมหากษัตริย์

ดังนั้น พระมหากษัตริย์จะมอบให้ศาลใดตัดสินคดีก็ได้ และพระองค์สามารถตัดสินคดีได้ด้วยพระองค์เอง ความขัดแย้งนี้เกิดจากการที่ศาล Common Pleas ซึ่งท่านคู้กเป็นประธานอยู่ พยายามยืนยันว่า ตนเองมีเขตอำนาจพิจารณาคดีข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจของศาล Ecclesiastical ท่านอาร์คบิชอปพยายามอ้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ (Royal prerogative power) ที่จะมอบอำนาจตุลาการให้แก่ใครก็ได้ และจะตัดสินคดีด้วยพระองค์เองก็ทำได้เช่นกัน

ท่านคู้กได้ตอบแทนผู้พิพากษาด้วยกันว่า “ตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ พระมหากษัตริย์ไม่สามารถวินิจฉัยคดีได้ด้วยพระองค์เอง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา การวินิจฉัยคดีทำได้ก็แต่โดยศาลยุติธรรม ซึ่งตัดสินให้เป็นไปตามกฎหมายและจารีตประเพณีของแผ่นดิน”

กษัตริย์เจมส์ได้ฟังดังนั้นได้ตรัสโต้ว่า “แต่ฉันคิดว่า กฎหมายตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ดังนั้น พระองค์และผู้อื่นก็มีเหตุผลเช่นเดียวกับผู้พิพากษา ดังนั้น พระองค์จึงสามารถวินิจฉัยคดีได้”5

“ก็จริงอย่างที่พระองค์ตรัส” ท่านคู้กตอบ อย่างไรก็ตาม ท่านคู้กถือโอกาสอบรมกษัตริย์เจมส์ว่า “พระเจ้าประสิทธิ์ประสาทให้พระองค์มีพระปรีชาญาณสามารถ แต่พระองค์มิได้ศึกษาร่ำเรียนกฎหมายของประเทศอังกฤษ ปัญหาข้อกฎหมายมิได้ตัดสินโดยเหตุผลธรรมดาๆ แต่ตัดสินโดยเหตุผลปรุงแต่ง6และคำพิพากษาของกฎหมาย

ซึ่งกฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียนเป็นเวลานาน และอาศัยประสบการณ์ก่อนที่ผู้นั้นจะสามารถเข้าใจมัน”7จากคดี Fuller’s case แสดงให้เห็นถึงการที่ตุลาการคู้กพยายามปฏิเสธข้อเรียกร้องของ King James I ที่จะพิจารณาคดีเอง8ต่อมาในคดี Case of the Prohibitions ท่านคู้กเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้พระเจ้าและกฎหมาย9

ในปี ค.ศ.1616 ท่านคู้กปฏิเสธที่จะประวิงเวลาเพื่อที่จะพิจารณาคดีที่ชื่อว่า Commendams case เพื่อที่มิให้กษัตริย์เจมส์มีโอกาสที่จะมีพระราชดำรัสกับผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งก่อนหน้านี้กษัตริย์เจมส์ก็พยายามจะถือโอกาสวิสาสะตรัสกับผู้พิพากษาเป็นการส่วนพระองค์ ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี ซึ่งท่านคู้กเห็นว่าการกระทำของกษัตริย์เจมส์พยายามมีอิทธิพลต่อรูปคดี10

ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ James กับเซอร์เอ็ดเวิด คู้ก ปะทุขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ.1616 ครั้งนี้ Lord Ellesmere ได้อุทธรณ์ต่อกษัตริย์ James เพื่อให้ทบทวนการตัดสินคดีของตุลาการ กษัตริย์เจมส์ถึงกับไปที่ Newmarket เพื่อพยายามแทรกแซงการตัดสินคดีของท่านคู้ก โดยพยายามขอทบทวนคำพิพากษาที่ตัดสินคดีโดยตุลาการ โดยทันทีที่กษัตริย์เจมส์ได้สรุปผลของคดี (ที่ตนต้องการ) ผู้พิพากษากลุ่มหนึ่งถึงกับน้อมคุกเข่า (ยกเว้นท่านคู้ก) ต่อหน้ากษัตริย์เจมส์ เพื่อขออภัยโทษที่วินิจฉัยคดีผิดพลาด แต่ท่านคู้กกลับยืนยันว่า เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ตนจะปฏิบัติในสิ่งที่ผู้พิพากษาพึงกระทำ11

หลังจากหมดยุคของ King James I ซึ่งเป็นยุคสมัยของราชวงศ์สจ๊วต (Stuarts) วงการตุลาการของอังกฤษก็ยังคงมัวหมองต่อไปอีกสักพักใหญ่ เมื่อกษัตริย์เจมส์ ที่ 2 (King James II) ได้ย้ายผู้พิพากษาจำนวน 12 ท่าน ด้วยเหตุที่ว่า ผู้พิพากษาดังกล่าวไม่เชื่อคำสั่งของกษัตริย์เจมส์ ที่ 2 อีกทั้งการพิจารณาคดีนักการเมืองชื่อว่า Algernon Sidney โดยผู้พิพากษานามว่า Judge Jeffreys นั้นตัดสินคดีโดยแรงจูงใจทางการเมือง

รวมทั้งในสมัยของ King Henry VIII ในคดี Lord Dacre’s Case ด้วย กว่าที่หลักความเป็นอิสระของตุลาการอังกฤษจะเป็นที่รับรองอย่างเป็นทางการ ต้องรอเวลาจนกระทั่งเมื่อมีการตรากฎหมายที่เรียกว่า The Act of Settlement ในปี ค.ศ.1701 โดยกฎหมายฉบับนี้รับรองวาระการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษา (Tenure) ว่ามีตราบเท่าที่ประพฤติตนเหมาะสม (during good behaviour) และได้รับรองเงินเดือนผู้พิพากษาด้วย ทั้งนี้ สภาผู้แทนราษฎร (Houses of Parliament) เท่านั้น ที่จะมีอำนาจถอดถอนผู้พิพากษาได้ เพื่อป้องกันมิให้กษัตริย์มีอิทธิพลเหนือผู้พิพากษาได้

บทส่งท้าย
การต่อสู้ยืนหยัดในหลักการอย่างเหนียวแน่นของท่านคู้ก ที่จะมิให้มีการแทรกแซงหรือมีอิทธิพล ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ของพระมหากษัตริย์ ต่อการพิจารณาคดีของตุลาการนั้น เป็นวีรกรรมที่น่ายกย่อง แม้ว่าจะแลกด้วยอิสรภาพของท่านคู้ก12ก็ตาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านคู้กเป็นผู้หว่านเมล็ดพืชของ “หลักความเป็นอิสรภาพของตุลาการอังกฤษ” และเมล็ดพืชนี้ได้หยั่งรากลึกจนถึงทุกวันนี้ ตำนานความเด็ดเดี่ยวของท่านตุลาการคู้ก ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับกษัตริย์เจมส์ ที่ 1 นั้น เป็นเรื่องที่เล่าขานของวงการตุลาการของอังกฤษ อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างให้กับตุลาการประเทศอื่นๆ ด้วย...
1 หมายเหตุ

เนื่องจากบทความนี้เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายอังกฤษที่เป็นคอมมอนลอว์ ผู้เขียนจึงขอทำเชิงอรรถขยายความ เพื่อให้ผู้อ่านที่มิได้เป็นนักกฎหมายเข้าใจ นอกจากนี้แล้ว ภาษาอังกฤษบางคำอาจหาศัพท์ที่ตรงกับภาษาไทยยาก จึงขอใส่วงเล็บเพื่อประกอบความเข้าใจ

2 โปรดดู Daniel M. Klerman และ Paul G. Mahoney, The Value of Judicial Independence: Evidence from Eighteenth Century England, American Law and Economics Review 2005 7 (1):1-27
3 ออกเสียงว่า คู้ก (Cook)
4Calvin’s case in Edward Coke, Seventh Report, reprinted in English Reports, lxxvii.381
5Roland G. Usher, James I and Sir Edward Coke, The English Historical Review, Vol. 18, No. 72 (Oct., 1903), pp. 664-675
6 ท่านคู้กใช้คำว่า “artificial reason” ซึ่งหมายถึงความสามารถในการให้เหตุผลแบบนักกฎหมาย มิใช่เหตุผลธรรมดาๆ (simple natural reason) ที่ทุกๆ คนก็มี
7 See Roscoe Pound, The Spirit of the Common Law, (U.S.A.: Marshall Jones Company,1922), p.60-62
8 Lord Justice Brooke, Judicial Independence-Its History in England and Wales, see http: //www.judcom.nsw.gov.au /fb/fbbrook.htm
9 Prohibition De Roy Mich 5 Jacobi (1608) 77 ER 1324
10 ดู History Leaningsite.co.uk/Sir Edward Coke
11 See Dorean Koening, Independence of the Judiciary in Civil Cases & Executive Branch Interference in the United States: Violation of International Standards Involving Prisoners and Other Despised Groups, University of Dayton Law Review, 1996, p. 735 .
12 หลังจากกระด้างกระเดื่องต่อกษัตริย์มาเป็นเวลานาน ท่านถูกกษัตริย์เจมส์กักขังที่หอคอยกรุงลอนดอน (Tower of London) เป็นเวลากว่า 26 สัปดาห์ แต่ท่านก็ใช้เวลาขณะถูกกักขังอย่างไม่ไร้ค่า โดยท่านเริ่มเขียนหนังสือด้วยการใช้ถ่านเขียนที่ผนังกำแพง

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์