WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 7, 2008

‘เขาพระวิหาร’ใครถูก-ใครผิด?ระหว่างเสรีภาพทางวิชาการVSหมิ่นศาล

แสดงความเห็นกันกว้างขวาง กรณีคำตัดสินของศาลปกครองเรื่อง “ปราสาทเขาพระวิหาร” ที่มีนักวิชาการออกมาแสดงความคิดเห็น จนนำไปสู่การฟ้องร้องว่าเป็นการละเมิดศาล “ดร.วรเจตน์” เปิดใจยืนยันแสดงความเห็นตามหลักวิชาการ ระบุยังมีรายละเอียดข้อกฎหมายอีกมาก แต่กลับพยายามหยิบเอามาพูดจากันเฉพาะประเด็นอ่อนไหว ห่วงเป็นความพยายามสร้างความวุ่นวาย และอาจมีการดึงศาลมาเกี่ยวพันการเมืองมากขึ้น ขณะที่ “ดร.วิริยะ” อดีต สนช. ยอมรับเป็นเรื่องที่พูดจาได้ในทางวิชาการ ไม่หมิ่นศาล ด้าน “สมัคร” ห่วงอำนาจตุลาการจะส่งผลกระทบถึงการบริหารบ้านเมือง

หลังจากศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นผู้ร้อง และต่อมามีนักวิชาการนิติศาสตร์ อาทิ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอความเห็นทางวิชาการว่า เรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นอำนาจของศาสรัฐธรรมนูญมากกว่า โดยเทียบเคียงกับกรณี JTEPA ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนำมาซึ่งการถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ฟ้องร้องว่า ดร.วรเจตน์ หมิ่นศาลนั้น

ประเด็นดังกล่าวได้ถูกตั้งข้อสังเกต และพูดจากันในเชิงวิชาการอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีต่อเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องด้วย

*“วรเจตน์”ยืนยันบรรยายเชิงวิชาการ
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า กรณีเขาพระวิหารที่ถูกหยิบมาในขณะนี้เป็นการหวังผลทางการเมือง ซึ่งในเรื่องนี้ความจริงแล้วมีรายละเอียดสลับซับซ้อนอยู่มาก ทั้งในทางเทคนิคและกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ที่นำมาพูดกันกลับเป็นการปลุกเร้าทางด้านอารมณ์และความรู้สึกมากกว่า

ส่วนที่พันธมิตรฯ ดำเนินการทางศาลกับการพูดจาในทางวิชาการ อ.วรเจตน์ กล่าวว่า ตนเองได้รับปากสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยในการไปบรรยายพิเศษ และในฐานะเป็นผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง เมื่อทราบเรื่องที่ศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว ก็รู้สึกว่าไม่เห็นด้วย และไม่คิดว่าศาลปกครองกลางจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณา จึงได้นำเอาคำสั่งศาลปกครองกลางมาดู และคิดว่าน่าจะต้องใช้หลักเสรีภาพทางวิชาการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ว่า ในทางวิชาการเป็นไปได้ว่ากรณีดังกล่าวอาจจะไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองกลาง

เมื่อไปบรรยายก็มีการยกตัวอย่างเรื่องดังกล่าวมาอธิบายในทางวิชาการ และมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐบาล ใช้อำนาจในทางรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเมื่อไม่ใช่เรื่องในทางปกครองก็ไม่น่าจะอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอำนาจตุลาการก็จะเข้าไปบังคับบัญชาคณะรัฐมนตรีได้ผ่านทางคำพิพากษาของศาล แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลปกครองจะตรวจคณะรัฐมนตรีไม่ได้

*หากมีการละเมิดศาลคนอื่นไม่เกี่ยว
สำหรับเหตุผลที่ต้องออกมาอธิบายเรื่องนี้มี 2 ประการ คือหนึ่งหลักทางวิชาการ และสองศาลปกครองสูงสุดเอง เคยมีคำสั่งในคดี JTEPA ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาแล้ว และได้วางหลักไว้ว่า คดีดังกล่าวเป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจในทางรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ใช้อำนาจกระทำการในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ. หรืออำนาจทางปกครอง ขณะที่กรณีดังกล่าวศาลปกครองกลางในอดีตไม่รับฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดก็ยืนยัน แต่เรื่องเขาพระวิหารกลับรับฟ้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว

“อาจจะมีคนแย้งว่าคดีเขาพระวิหารเป็นเรื่องของชาติ และเป็นเรื่องเสียดินแดน แต่เรื่องนั้นเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ แต่ในทางกฎหมายไม่สามารถดูตรงนั้นได้ แต่ต้องดูว่าเป็นการกระทำระหว่างประเทศหรือเปล่า ความเหมือนกันแต่สาระไม่เหมือนกัน แต่เกณฑ์ในการตัดสินต้องเหมือนกัน

ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ ร้องว่าหมิ่นศาลนั้น ดร.วรเจตน์ อธิบายว่า การละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้กระทำการในการล่วงละเมิดอำนาจศาล หากเห็นว่าผิด ศาลก็จะเรียกไปเองโดยไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น และไม่ต้องมีใครมายุ่ง การที่พันธมิตรฯ พยายามทำเช่นนี้อาจไม่อยากให้ตนออกแถลงการณ์ แต่ส่วนตัวตนก็ไม่กลัวอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด

*ห่วงนำศาลมาเกี่ยวการเมืองมากขึ้น
พร้อมกันนี้ ดร.วรเจตน์ ยังแสดงความเป็นห่วงถึงพฤติกรรมดังกล่าวของพันธมิตรฯ ว่าต่อไปอาจจะมีการนำศาลมาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมองว่าอาจจะเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการ บางคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะหาเรื่องใส่ตัว แต่ก็จะเห็นว่าเวลาที่ตนออกมาให้ความเห็นนั้นไม่ได้ออกมาพร่ำเพรื่อ แต่สิ่งที่พูดมักจะเป็นเรื่องหลักการสำคัญ ที่สำคัญไม่ได้คิดว่าใครจะมีความเห็นแตกต่างจากตนไม่ได้ หากมีเหตุผลต่างกันก็นำเอาเหตุผลมาอธิบายมาหักล้างกัน
ส่วนกรณีที่ให้ความเห็นต่อวินิจฉัยของศาล ดร.วรเจตน์ อธิบายว่า ในทางกฎหมายมีหลักอยู่ 2 ประการ ในทางนิติปรัชญาเรียกว่า หลักความยุติธรรม กับหลักความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ ซึ่งหลักการทั้งสองนั้นมันต้องคานกันอยู่

*อดีต สนช.หนุนแนวคิด ดร.วรเจตน์
ทางด้าน ศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวสนับสนุนแนวคิดทางวิชาการของ ดร.วรเจตน์ ถึงกรณีเขาพระวิหารว่า เรื่องนี้อยู่ภายใต้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ไม่ใช่อำนาจของศาลปกครอง เช่นเดียวกับกรณี JTEPA ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีชุดก่อน

ทั้งนี้ สามารถขยายความได้ว่า ความคิดโดยหลักการของนักกฎหมายปกครอง มองว่าศาลปกครองจะควบคุมฝ่ายบริหาร และตัดสินการกระทำของฝ่ายบริหารก็คือฝ่ายปกครองที่เป็นข้าราชการประจำ ไม่ว่าจะเป็นอธิบดี ปลัด เป็นต้น ซึ่งการกระทำนั้นส่งผลต่อราษฎร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าฝ่ายปกครองมีคำสั่งออกมาให้ราษฎรปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วราษฎรเห็นว่าใช้อำนาจไม่ชอบ หรือไม่มีเหตุผล ราษฎรสามารถอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองเพื่อให้ศาลไต่สวนพิจารณา และขั้นต่อไปศาลก็จะสืบสวนสอบสวนและตัดสินว่าจะเพิกถอนคำสั่งของฝ่ายปกครองหรือไม่

*อธิบายเชิงวิชาการ-ไม่หมิ่นศาล
แต่เมื่อมีการเกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรี คือรัฐบาล จะต้องมีเรื่องของรัฐธรรมนูญมาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาจจะมีการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นก็ตาม ดังนั้นจะต้องมีการฟ้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีคนบางกลุ่มกล่าวหาว่า ดร.วรเจตน์ กระทำการหมิ่นศาลนั้น ศ.วิริยะ เห็นว่าเรื่องของ ดร.วรเจตน์ ไม่เข้าข่ายหมิ่นอำนาจศาลแต่อย่างใด เพราะเป็นเสรีภาพในการอธิบายตามหลักวิชาการ และเพียงบอกถึงการแบ่งอำนาจศาลในเชิงวิชาการปกครองเท่านั้น

ทั้งนี้ การหมิ่นอำนาจศาลกฎหมายจะคุ้มครองแค่ศาลแพ่งและศาลอาญาเท่านั้น ซึ่งในศาลปกครองเท่าที่เรียนมาไม่มีการหมิ่นอำนาจศาลปกครองได้ ที่ศาลปกครองไม่มีการคุ้มครองดังกล่าว เนื่องจากศาลปกครองจะตัดสินคดีของรัฐกับเอกชน ซึ่งจะตัดสินในรูปแบบของความเป็นธรรม และควรหรือไม่ควรกระทำการใดๆ แต่ถ้าเป็นศาลอื่นจะตัดสินเอกชนกับเอกชน ซึ่งจะมีเรื่องของการเสียประโยชน์ได้ประโยชน์เกิดขึ้น

“ไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาทศาล แต่ถ้าใครอยากฟ้องก็ฟ้องไป คิดว่าศาลไม่น่าจะฟัง เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ เพราะนี่คือเสรีภาพทางวิชาการในการอธิบายขอบเขตอำนาจของศาลตามหลักการ”

ศ.วิริยะ ยังกล่าวต่อไปว่า มุมมองในสถานการณ์และกรณีดังกล่าว เห็นด้วยว่าอะไรก็ตามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ควรจะให้มีการดำเนินการทางกฎหมาย ไม่อยากให้มีการใช้กำลัง ควรยึดระบบนิติรัฐเป็นหลัก หากมีอะไรที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมก็ควรไปฟ้องร้องต่อศาล และถ้าศาลชี้แล้วว่าควรให้ปฏิบัติอย่างไร ทุกคนก็ควรเคารพในการตัดสินของศาล เพื่อความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

*ห่วงตุลาการกระทบอำนาจบริหาร
ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวในรายการสนทนาประสาสมัคร กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางคดีปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จนกระทั่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวว่า มติคณะรัฐมนตรีก็ยินดีปฏิบัติตามคำสั่ง และสั่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายฝ่ายบริหาร ช่วยให้คำแนะนำ อีกทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศระงับการแถลงการณ์ร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารออกไปก่อน

เรื่องดังกล่าวมีนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นว่า ศาลปกครองใช้อำนาจเกินหน้าที่ เพราะการใช้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลเสียรังวัดทั้งคู่ รวมทั้งประชาชนทั้งสองประเทศก็ยังสงสัย ทั้งที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากว่า 40 ปี และถือว่าสถาบันตุลาการใช้อำนาจกระทบต่อการทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง

ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครอง ห้ามนำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ไปใช้ว่า รู้สึกเป็นห่วงประเด็นที่อำนาจตุลาการมาก้าวล้ำอำนาจฝ่ายบริหาร เพราะจะทำให้ฝ่ายบริหารบริหารประเทศไม่ได้ ทั้งนี้ นักวิชาการก็ได้แสดงความคิดเห็นเป็นห่วง จึงขอฝากประเด็นนี้ไว้

ขณะเดียวกันมีรายงานว่าสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาการใช้อำนาจยุติธรรมขึ้น โดยมี นายประชา ประสพดี เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งมีรายงานว่างานแรก จะเรียกตุลาการศาลปกครองมาชี้แจงกรณีการคุ้มครองคดีเขาพระวิหาร