WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 7, 2008

คอลัมน์: สวัสดีวันจันทร์

คอลัมน์: สวัสดีวันจันทร์

“...ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาพึงตระหนักเถิดว่า ระบบการเมืองที่เป็นอยู่ในบัดนี้ เป็นหน้าที่ของพวกท่านร่วมกันที่จะต้องปกปัก รักษาไว้ หากท่านไม่ปฏิบัติตามคำปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ ก็จะได้ชื่อว่าพวกท่านเป็นคนตระบัดสัตย์ ไม่มีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ไม่รับผิดชอบต่อระบอบประชาธิปไตย…”

แม้ข้าพเจ้าจะไม่ค่อยให้ความสนใจต่อ ม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมต่อเนื่องกันมายาวนาน บนสะพานมัฆวานรังสรรค์ และต่อมาบนสะพานชมัยมรุเชฐ ด้วยเห็นว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กอปรกับจำนวนผู้คนก็ไม่ได้มากอะไร

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปๆ ข้อเรียกร้องของม็อบก็เปลี่ยนไปๆ มีสาระอันควรรับฟังและนำมาถกเถียงกันบ้าง ไม่มีสาระพอที่จะนำมาถกเถียงบ้าง แต่ครั้นแกนนำม็อบประกาศขับไล่รัฐบาลเลือกตั้งของ สมัคร สุนทรเวช และเสนอทฤษฎีการเมืองใหม่ ไม่ยอมรับระบบการเมืองที่เป็นอยู่ ข้าพเจ้าชักจะสนใจขึ้นมาตงิดๆ

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ม็อบเคลื่อนพลจากสะพานมัฆวานฯ ไปตั้งที่สะพานชมัยมรุเชฐได้และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับคณะ ประกาศชัยชนะด้วยยุทธวิธีสงคราม 9 ทัพนั้น ข้าพเจ้ายังรู้สึกขบขันว่า ผู้ใหญ่อายุ 70 เศษยังเล่นเป็นเด็กอนุบาลอยู่ได้ คงจะเป็นผลมาจากการขาดธาตุอาหารบางประการนั่นเอง

แต่ครั้นพวกเขาลืมตัวหนักข้อ คล้ายยึดประเทศได้แล้ว ถึงขนาดประกาศเสนอระบบการเมืองใหม่ อย่างที่ว่าคือ ระบบ 70 : 30 คือ ส.ส. มาจากการสรรหา 70% มาจากการเลือกตั้ง 30% โดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พยายามอธิบายว่า การล้างระบบการเมืองเก่าก้าวสู่การเมืองใหม่ ต้องสลายระบบทุน ระบบแก๊งพรรคการเมือง เพื่อสกัดการเข้ามาหาผลประโยชน์ โดยต้องทำให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมประเทศ ไม่ใช่ ส.ส. ที่ถูกผูกขาดจากทุนพรรคการเมือง แล้วยังระบุต่อไปว่า ทหารต้องไม่อยู่ในอาณัติของนายกรัฐมนตรี และทหารต้องพร้อมเข้ามาบริหารหากรัฐบาลขาดคุณธรรม ฯลฯ ข้าพเจ้าตกลงใจว่าจะต้องเขียนถึงพวกเขาบ้าง

ข้าพเจ้าจำได้คลับคลา ไม่ประสงค์จะหาข้อมูลวันเดือนปีมายืนยัน แค่ขอเอาสาระของเรื่องมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่า ในปีหนึ่งปีใดของการบริหารประเทศนำโดย ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ปรากฏมีกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่ง นำโดย นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีต ส.ส. และปรมาจารย์ทางการเมืองของคนหลายคน ได้ชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวง แล้วประกาศไม่ยอมรับรัฐสภาและรัฐบาลยุคนั้น อ้างเหตุว่า การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในเวลานั้นมีแต่การซื้อเสียง การทำหน้าที่ก็เป็นเผด็จการรัฐสภา จึงใช้ที่ประชุมของการชุมนุมนั้นเองเป็นสภาประชาชน คือให้โอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาประชาชนท้องสนามหลวง

พฤติการณ์ของกลุ่มการเมืองของ นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ในครั้งนั้น ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาสื่อทั้งหลาย เหมือนอย่าง ม็อบพันธมิตรฯ ในคราวนี้ มีการนำเสนอข่าวบ้างเล็กๆ น้อยๆ แถมบางส่วนยังให้ราคาต่ำอย่างมาก ถึงขนาดเรียกว่า สภาโจ๊ก เลยทีเดียว (ไม่แน่ใจว่าจะเป็นต้นกำเนิดของรายการ สภาโจ๊ก ในทีวีระยะหลังหรือไม่)

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในขณะนั้นเห็นว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้เจตนาจะมาเล่นตลกหัวเราะกันกลางท้องสนามหลวงเสียแล้ว หากตั้งใจจะเอากันจริงๆ ประกอบกับรัฐบาลกำลังได้รับความนิยม มีเสถียรภาพมั่นคง ก็เลยใช้กฎหมายปราบปรามกลุ่มการเมืองกลุ่มนั้น โดยให้ตำรวจเข้าจับกุมดำเนินคดีในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร ที่ถูกจับกุมก็ติดตะรางต้องประกันตัว ที่ไม่ถูกจับกุมก็แตกกระจัดกระจายไปโดยง่าย

ดูๆ พฤติการณ์ของม็อบ ‘สภาโจ๊ก’ ในปีนั้นกับ ม็อบพันธมิตรฯ ในปีนี้ คล้ายคลึงกันอยู่มาก มีแตกต่างกันตรงที่ม็อบ อ.ประเสริฐ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนแต่อย่างใดเลย เพราะไปชุมนุมกันในท้องสนามหลวง และดูเหมือนจะไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน แต่ม็อบพันธมิตรฯ ในปีนี้ทำให้การจราจรที่ติดขัดอยู่แล้วติดขัดยิ่งขึ้น ประชาชนทั่วไป นักเรียนหลายโรงเรียน รวมทั้งพระสงฆ์หลายวัด ประสบความเดือดร้อน อีกประการหนึ่งม็อบคราวนี้มีสื่อของตัวเองคือ ASTV ซึ่งสามารถถ่ายทอดคำปราศรัยได้ทั้งวันทั้งคืน แล้วยังมีสื่ออื่นๆ ที่ตกเป็นทาสทางปัญญา คอยเผยแพร่ข้อมูลให้อย่างเต็มที่ จึงมีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนมากอย่างเทียบกันไม่ได้กับม็อบครั้งโน้น

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐบาลผสมที่ไม่ค่อยมีเสถียรภาพตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่มีในรัฐธรรมนูญ 2550 และตามเจตนารมณ์ของ คมช. ดังนั้นรัฐบาลนี้จึงพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจกฎหมาย หากพยายาม อดทนอดกลั้น ใช้รัฐศาสตร์ยื้อเวลากันอยู่อย่างน่าเวทนา แถมน่าสรรเสริญไปพร้อมๆ กัน
ทางด้านรัฐสภานั้น เมื่อข้าพเจ้าเป็น ส.ส. อยู่ในปี พ.ศ.2548 และม็อบพันธมิตรฯ เริ่มก่อตัวด้วยการปราศรัยประกาศไม่ยอมรับและไม่ไว้วางใจรัฐสภา

ข้าพเจ้าเคยเรียกร้องให้สภาให้ความสนใจและให้ความสำคัญ ด้วยการนำเรื่องหารือประธานสภาฯ ในขณะนั้นว่า ควรเชิญประชุมสมาชิกทั้ง 2 สภานอกรอบ เพื่อปรึกษาหารือกันว่า ข้อกล่าวหามีมูลความจริงหรือไม่ หากสภาเลวจริงตามคำกล่าวหาจะได้แก้ไขเสีย หากไม่จริงจะได้หาทางดำเนินการเท่าที่เห็นสมควร

แต่สาระที่ข้าพเจ้านำเสนอ ไม่อยู่ในความสนใจของสมาชิกหมู่มาก เรื่องจึงเงียบไปจนพังกันทั้งระบบ ค่อยมาตระหนักกันในภายหลัง แต่สายเสียแล้ว

ในคราวนี้ข้าพเจ้าเดาใจว่า คงจะเข้าอีหรอบเดิมอีก คือสมาชิกสภาหมู่มากจะไม่สนใจ การปฏิเสธระบบรัฐสภาและระบบการเลือกตั้งของพันธมิตรฯ ข้าพเจ้าจึงขอเตือนเสียในคราวนี้ว่า หากมวลชนส่วนใหญ่เห็นว่าสภาไร้ประโยชน์ การประชุมกันของรัฐสภาเป็นเรื่องไร้สาระ การเลือกตั้งมีแต่การซื้อเสียง เข้าสภาแล้วก็หาแต่ผลประโยชน์เฉพาะตน พรรคการเมืองเป็นแก๊ง และทหารต้องพร้อมเสมอที่จะเข้ามาบริหารเมื่อเห็นว่ารัฐบาลขาดคุณธรรม ฯลฯ แล้วละก็ ขอให้รู้ไว้เถิดว่า หายนะกำลังมาถึงแล้ว

พวกท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าหมายถึงทั้งรัฐบาลและรัฐสภา พึงตระหนักเถิดว่า ระบบการเมืองที่เป็นอยู่ในบัดนี้ เป็นหน้าที่ของพวกท่านร่วมกันที่จะต้องปกปัก รักษาไว้ หากท่านไม่ปฏิบัติตามคำปฏิญาณที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ท่านปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ (กรณีของรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระประมุข) ความว่า “...ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” ก็จะได้ชื่อว่า พวกท่านเป็นคน ตระบัดสัตย์ ท่านไม่มีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ไม่รับผิดชอบต่อระบอบประชาธิปไตย

ดังนี้แล้ว ข้าพเจ้าขอถามว่า ท่านจะเป็นสมาชิกของรัฐสภาไปทำไม?

จริงอยู่ข้อเสนอของพันธมิตรฯ คราวนี้ออกจะโลดโผนโจนทะยานอยู่มาก ซึ่งคนมีสติปัญญาส่วนใหญ่คงจะรับไม่ได้ เช่น ประเด็นการสรรหา ส.ส. 70% และเลือกตั้ง 30% มีข้อเท็จจริงให้เห็นอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนรวม 76 คน แล้วมี ส.ว. สรรหาอีก 74 คนประกอบกัน ผลลัพธ์ที่ปรากฏก็คือ ส.ว. ลากตั้งล้วนเป็นสมุนเผด็จการ

หากให้มีการสรรหา ส.ส. 70% พวกพันธมิตรฯ และนอมินีทั้งหลายก็คงลอยหน้าเข้าสภากันเป็นทิวแถว
ประเด็นการขอให้ทหารพร้อมอยู่เสมอที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหาร หากพบว่ารัฐบาลขาดคุณธรรม ก็เป็นลูกไม้ตื้นๆ ที่จะหลอกเอาใจทหารเพื่อขอความร่วมมือ แต่อย่าลืมว่าเรื่องอย่างนี้ สนธิ เคยทำสำเร็จมาแล้วในปี 2549

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารวมๆ แล้วเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเสนอทั้งหมดของพันธมิตรฯ เป็นข้อเสนอเปลี่ยนแปลงการเมืองอย่างใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเสนอกันมา หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และคงจะโดนใจคนจำนวนหนึ่งไม่น้อย

อย่าลืมว่า การเปลี่ยนแปลงการเมืองเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 และ พฤษภาคม 2535 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แล้ว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระทางประชาธิปไตยใดๆ เลย

แต่ข้อเสนอของพันธมิตรฯ คราวนี้ หากได้รับการตอบรับก็คงเป็นดังที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล เคยคุยไว้ครั้งหนึ่งว่า ประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาจะทำให้ 14 ตุลา และ พฤษภาคม 2535 กลายเป็นกระจิบกระจอก ตกเวทีประวัติศาสตร์ไปเลย

ข้าพเจ้าไม่ได้ห่วงว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จะตกเวทีประวัติศาสตร์หายไป แต่ข้าพเจ้าเป็นห่วงว่า การยึดอำนาจการปกครองของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 จะสูญเปล่า หรือถูกเบนทิศทางครั้งใหญ่จากระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็น ระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตย หรือไม่ก็ถอยหลังกลับไปเป็น ราชาธิปไตย ตามเดิม

ข้าพเจ้าคนหนึ่งขอประกาศว่า จะไม่ยอมเป็นอันขาด หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็ไม่ยอม

ท่านผู้อ่านล่ะครับ ห่วงเรื่องนี้บ้างไหม

วีระ มุสิกพงศ์