WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 8, 2008

ยูเนสโกรับรองแล้วพระวิหารมรดกโลก

ประเด็นเขาพระวิหารที่ไทยยังต้องลุ้นว่าคณะกรรมการมรดกโลกจะขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชาหรือไม่ ปรากฏว่าในช่วงสายวันที่ 7 ก.ค. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาคำร้องกรณีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 77 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 151 คน ยื่นคำร้องผ่านประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนามเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2551 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ ภายหลังการประชุม นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์

เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาคำร้องและคำชี้แจงทั้งหมดแล้ว จึงได้นัดอภิปรายทางวาจาเพื่อนำไปสู่การลงมติคำร้องดังกล่าวในวันอังคารที่ 8 ก.ค.นี้ เวลา 08.30 น. โดยยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยตามกรอบอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ส่วนอื่นจะไม่นำมาพิจารณา

เร่งดูข้อ ก.ม.ฟันผู้เกี่ยวข้อง

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีแนวโน้มว่าประเทศกัมพูชาจะขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ฝ่ายเดียวว่า ต้องดูว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างไร รวมถึงความรับผิดชอบควรจะเป็นของใคร ไม่ว่าจะเรื่องเกี่ยวกับการปกครองหรือกฎหมาย ซึ่งได้มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. ดูข้อกฎหมายและกำลังเตรียมการอยู่ ซึ่งเบื้องต้น นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ มีความชัดเจนที่สุดเพราะเป็นผู้ไปลงนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากรายงานทางวิชาการ ข้อเสนอของกัมพูชาอ้างอิงการไปลงนามของนายนพดลในวันที่ 22 พ.ค. ก็คงปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งนายนพดลก็โดนเต็มๆ ส่วนคณะรัฐมนตรีคงต้องมาดูอีกที เพราะการตรวจสอบค่อนข้างยาก เพราะตอนนี้จะเป็นปัญหาอยู่เพราะ ครม.มีมติถึง 2 ครั้ง ในวันที่ 17 และวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งยังไม่มีใครได้เห็นถ้อยคำจากข้อความที่สมบูรณ์ ต้องดูจากตรงนั้นด้วยว่า ครม.จะเกี่ยวข้องแค่ไหน ซึ่งต้องไปดูว่า นายนพดลไปดำเนินการนอกเหนือขอบเขตของมติ ครม.หรือไม่ และควรเปิดเผยมติ ครม.ด้วยเพราะเป็นเรื่องที่คนไทยมีส่วนที่จะได้รับรู้

“ปองพล” ชี้กัมพูชาสมหวังสูง

ต่อมาในเวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากกรุงควิเบก ประเทศแคนาดา ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่กัมพูชาจะได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะคณะกรรมการมรดกโลกแจ้งว่า คงจะเลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนตามข้อเสนอของนายนพดลไม่ได้ เนื่องจากเลื่อนมาแล้ว 1 ปี ส่วนการขอขึ้นทะเบียนร่วมกันนั้น กัมพูชายืนยันว่าจะขอขึ้นทะเบียนเพียงฝ่ายเดียวเฉพาะตัวปราสาท โดยยืนยันจะไม่รุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทย อีกทั้งคณะกรรมการมรดกโลกส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรจะได้ขึ้นเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร

ชงแผนที่แค่ตัวปราสาท

นายปองพลกล่าวต่อว่า กัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงข้อเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก โดยได้เสนอแผนที่ แนบตามมติ ครม.ปี 2505 และตามคำตัดสินของศาลโลกที่ให้สิทธิครอบครองตัวปราสาท ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกโลกจะเริ่มพิจารณาการขึ้นทะเบียนในวันที่ 8 ก.ค. เป็นลำดับสุดท้ายจากวาระทั้งหมด 47 เรื่อง เพื่อให้ไทยและกัมพูชามีเวลาเจรจากัน โดยจะมีตัวแทนจากคณะกรรมการมรดกโลกมาพบคู่กรณีที่อยู่คนละห้องกัน และจะนำเสนอท่าทีจากคู่กรณีไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เพื่อที่จะให้ทั้ง 2 ฝ่ายแก้ไขตกลงกันจนเป็นที่พอใจ ดังนั้นในการตัดสินที่จะพิจารณาให้เป็นมรดกโลกในกรณีที่มีคู่กรณีจะไม่ใช่การลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่

แค่เงื่อนไขอิคอมโมสก็ฉลุย

นายปองพลกล่าวว่า เราต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์ หนึ่งเกิดขึ้นโดยสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศหรืออิคอมโมส (ICOMOS) ซึ่งเป็นองค์กรที่สำรวจและวิจัย พร้อมทั้งทำรายงานและทำข้อเสนอแนะ โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม ทั้งหมด 10 หลักเกณฑ์ โดยเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ 4 หลักเกณฑ์ และมรดกทางวัฒนธรรม 6 หลัก เกณฑ์ ซึ่งทางกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 3 หลัก เกณฑ์จาก 6 หลักเกณฑ์ คือหลักเกณฑ์ 1, 3 และ 4 ซึ่งเมื่อกัมพูชาขอเปลี่ยนแปลงการขึ้นทะเบียน โดยขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาท ทำให้ผ่านหลักเกณฑ์ข้อ 1 ข้อเดียวคืออัจฉริยภาพทางด้านการสร้างสรรค์ เมื่อกัมพูชาได้ใช้รายงานของอิคอมโมสเป็นหลักในการเสนอขึ้นทะเบียนผ่านหลักเกณฑ์ 1 ใน 6 ก็ถือว่าผ่านหลักเกณฑ์ที่ 1 แล้ว แม้จะตกในข้อ 3 กับ 4 ก็ตาม แต่เรื่องนี้จะมีผลทางจิต วิทยา และความชอบธรรมทำให้สมาชิกของหลายประเทศวิจารณ์ กันมาก โดยเฉพาะประเทศที่เสนอขึ้นเป็นมรดกโลกแล้วไม่ผ่านการพิจารณา เช่น เกาะบาหลี ที่อินโดนีเซีย และเมืองมะละกา ที่มาเลเซีย ที่เสนอไป 4 หลักเกณฑ์ แต่ตกทั้งหมด ขณะที่กัมพูชาเสนอ 3 ตกไป 2 แต่ผ่านหลักเกณฑ์ของอิคอมโมส

รัฐบาลปฏิวัติทำให้เสียเปรียบ

“ที่เราเสียเปรียบกัมพูชามาตลอด เพราะว่ารัฐบาลกัมพูชานำประเด็นนี้เป็นวาระแห่งชาติและดำเนินการต่อเนื่องมาถึง 2 ปี และเป็นรัฐบาลเดียวกันจึงมีความต่อเนื่อง ในขณะที่ไทยมีการปฏิวัติเปลี่ยนรัฐบาลจึงทำให้ ขาดตอนในการดำเนินการ อีกทั้งการปฏิวัตินี้ทำให้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่อย่างสหรัฐอเมริกาไม่สนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ จึงหันไปสนับสนุนกัมพูชาแทน และกัมพูชาก็ขอความสนับสนุนจากสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ส่งทีมสำรวจศึกษาและทำรายงานไปช่วยเหลือกัมพูชาสหรัฐฯจึงเป็นตัวหลักช่วยกัมพูชาในเรื่องนี้ กรรมการมรดกโลกหลายคนที่สนับสนุนกัมพูชาเปิดเผยกับผมว่าไม่คิดว่าประเทศไทยจะฟื้นทางการเมืองได้เร็ว จึงไม่สามารถกลับท่าทีได้ทัน” นายปองพลกล่าว


อ่านรายละเอียดต่อ ไทยรัฐ