WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 10, 2008

สมชัย จึงประเสริฐ: ว่าด้วย ‘การทำประชามติ’ ทางลงของม็อบ ทางออกจากรัฐประหาร

คอลัมน์: ฮอตสกู๊ป

ในภาวะที่บ้านเมืองกำลังแบ่งเป็นฝั่งเป็นฝ่าย พร้อมทั้งความสับสนว่า “สิ่งที่ควรจะเป็น” ต้องเป็นไปตาม “หลักการ” หรือ “จำนวนเสียง” กันแน่??? เพราะทุกครั้งที่กลุ่มการเมืองทั้งนอกสภาและในสภาโจมตีฝ่ายตรงข้าม ต่างหนีไม่พ้นการอ้าง “เหตุผลชุดเดียวกัน” แต่เอามาพูดคนละที กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งอ้างจำนวนเสียงโหวต แต่อีกฝ่ายอ้างหลักการบางอย่าง ขณะเดียวกัน เมื่อถึงคราวฝ่ายกุมอำนาจรัฐอ้างหลักกฎหมาย ฝ่ายตรงข้ามย่อมเกทัพด้วยจำนวนมวลชนผู้ชุมนุม

ส่วนการเมืองในระบบ/ในสภา ดำรงอยู่ได้เพราะ “หลักการ/ความเชื่อ” ว่าเรามี “ตัวแทน/มาจากการเลือกตั้ง” ในขณะที่ชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่ เดินดิน กินข้าวแกง ขึ้นรถเมล์ ดูละครทีวีก่อนเข้านอน โดยสภาพหลังจากวันเลือกตั้งแล้ว ไม่สามารถมีอำนาจในการต่อรองใดๆ ทางการเมือง นอกจาก “การชุมนุม”

เรามีโอกาสได้มาพูดคุยกับ นายสมชัย จึงประเสริฐ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะกรรมการองค์กรที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง และจัดการลงประชามติ แม้ด้านหนึ่งของบุคคลผู้นี้ คือ กกต. เสียงข้างน้อย ที่บ่อยครั้งมีความเห็นอันถูกมองได้ว่า เอื้อประโยชน์เป็นแง่บวกแก่อดีตพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน และมีกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้เขาลาออก กระนั้นก็ไม่ได้ทำเขาละทิ้งการยืนยันความคิดของตนเอง พร้อมทั้งบอกว่า หากใครเห็นว่าตนทำผิดกฎหมาย ก็ขอให้แจกแจงมาอย่างชัดเจน อย่าได้กล่าวหากันลอยๆ และยอมรับว่า การตีความกฎหมายของตน หากมันจะบังเอิญไปเข้าทางฝ่ายใด นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่ต้องละทิ้งความเชื่อของตัวเอง

ในแง่คิดนี้จึงมีความน่าสนใจ เรื่องการจัดวางสถานะของความเห็น หรือข้อเรียกร้องของ “เสียงข้างน้อย” ที่แพ้เพราะ “จำนวน” แต่ “เหตุผล” อะไรที่คนแพ้ไม่ควรถูกกระทำราวกับพวกเขาไม่มี “เสียง” อยู่ในสังคม


:: มองอย่างไรต่อสภาพการเมืองที่เรามีตัวแทนซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีความชอบธรรมจากเสียงข้างมาก และขณะเดียวกัน เราก็มีการชุมนุมเคลื่อนไหวมาถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกทางหนึ่ง

: การออกมาชุมนุมเรียกร้องบางอย่าง
ผมคิดว่าถูกต้องนะ เพราะบางครั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ก็ไม่ฟังเสียงส่วนน้อย หรือบริหารประเทศเอาแต่ประโยชน์ตัวเอง ดังนั้นผมจึงคิดว่า การชุมนุมเรียกร้องน่าจะทำได้ แต่ถ้าทำไปแล้ว สร้างความเดือดร้อนเสียหาย เราต้องหาทางแก้ไข เพราะการชุมนุมนั้นต้องมีขีดจำกัด ถ้าขืนปล่อยไปบ้านเมืองก็เสียหาย อันที่จริงในระบอบประชาธิปไตยก็มีฝ่ายค้านอยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลทำอะไรแบบว่าพวกมากลากไป

โดยสิ่งที่ทำนั้นเพื่อประโยชน์ตนเอง หลายๆ ครั้งรัฐบาลอยู่ไม่ได้ เพราะประชาชนบอกว่า ไม่เลือกแล้ว พรรคการเมืองนี้มันแย่ ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยถ้ามันไม่ไหวจริงๆ เขาไม่เอาด้วยมันก็พัง จะเป็นรัฐบาลไหน ท้ายที่สุดก็อาจต้องลาออก การชุมนุมไม่ใช่การใช้เสรีภาพใส่ร้ายป้ายสี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอำนาจรัฐ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเปลี่ยนไปตามวิถีทางประชาธิปไตย แปลว่า คุณชุมนุมเพื่อบอกว่าไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้ มีความไม่ถูกต้องอย่างไร ควรต้องเป็นอย่างไร พูดแล้วก็ทำให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง มีโอกาสได้ชี้แจงหรือที่เรียกกันว่า ไฮปาร์ก ทุกคนมีสิทธิที่จะชุมนุม แต่ไม่ใช่การยึดพื้นที่แล้วบอกว่า ใครจะผ่านต้องขออนุญาตก่อน แบบนี้เรียกว่าม็อบ ซึ่งมีความแตกต่างจากการชุมนุม ประชาชนบางคนยังเข้าใจผิดว่า การชุมนุมกับม็อบเป็นเรื่องเดียวกัน

:การชุมนุมควรจะเป็นอย่างไร
ในกฎหมายมีการรับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ในระบอบประชาธิปไตย ถ้าเราเป็นเสียงส่วนน้อยที่ถูกต้อง เราก็สามารถถามว่า สิ่งที่เราต้องการนั้นควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ เราสามารถตั้งโต๊ะรับลงรายชื่อได้ ถ้าใครยังไม่เข้าใจก็ให้เขามาฟังเราพูดก่อน คนก็จะเริ่มเข้ามา ถ้าเขาเห็นด้วยแต่ติดภารกิจอื่น ก็ลงชื่อแล้วแยกย้ายกันไป ซึ่งหากกฎหมายกำหนดให้เข้าชื่อ 1 หมื่นหรือ 2 หมื่นรายชื่อ ก็นำมายื่น กกต. เพื่อให้ดำเนินการตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด จัดการลงประชามติ อาจถามประชาชนทั่วประเทศ หรือถามเฉพาะคนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

โดยตั้งคำถามว่า การที่รัฐบาลซึ่งมาจากประชาชน จะจัดการหรือไม่จัดการเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งนั้น มีความเห็นด้วยหรือไม่ หากประชาชนลงประชามติกึ่งหนึ่งบอกว่า รัฐบาลต้องทำให้เขาหรือระงับกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพราะเขาเดือดร้อน เช่น กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น เมื่อมีการจัดการแบบนี้ ความร้อนในการชุมนุมที่เหมือนต้มน้ำเดือดมาได้ 80 หรือ 100 องศา แต่ละคนก็กลับบ้านได้ เพราะการขับเคลื่อนเกิดขึ้นแล้ว มีหน่วยงานของรัฐมารับช่วงต่อ ให้มีสภาพบังคับตามกฎหมาย รัฐบาลต้องทำให้เขา ถ้าไม่ทำจะถูกปลดออก เพราะอำนาจนั้นเป็นอำนาจที่แท้จริงของประชาชน

การทำประชามติเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยทางตรง ป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมเดือดจนกระทั่งสถานการณ์ควบคุมไม่ได้ สร้างความวุ่นวาย หากมีทหารเข้ามาทำการรัฐประหารก็จะมีการฉีกรัฐธรรมนูญ เราจึงคิดว่าการตัดวงจรอุบาทว์อันหนึ่งก็คือ เมื่อประชาชนเริ่มเดือดร้อนแล้วมาใช้เสรีภาพชุมนุมโดยสงบ พอถึงจุดหนึ่งมี กกต. หรือหน่วยงานใดที่กฎหมายให้อำนาจออกมาจัดการให้เขา เพื่อป้องกันไม่ให้ทหารต้องออกมา

:ที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่รับประเด็นของประชาชนผู้ชุมนุมไปขับเคลื่อนต่อ
ไม่มีกลไกแบบนี้ ที่ผ่านมามีแต่การร้องแรกแหกกระเชอเสียจนทหารขู่ยึดอำนาจ ทั้งที่การชุมนุมไม่ควรต้องถึงกับระเบิด และเมื่อการชุมนุมมีพลังพอก็ต้องมีกลไกของรัฐเข้ามารับลูก ทำให้ข้อเรียกร้องมีค่าบังคับ ไม่ให้ระเบิดแล้วเกิดรัฐประหาร ถ้าถึงจุดนี้ทำประชามติแล้วสังคมไม่เอาด้วยกับเสียงข้างน้อย ก็ต้องเคารพเขา

:หมายความว่า ควรขับเคลื่อนเป็นประเด็นๆ ไป แล้วให้ กกต. จัดการลงประชามติ
ใช่ ตอนนี้กฎหมายก็มีอยู่แล้ว เป็นบางเรื่องที่ให้ทำประชามติแบ่งเป็น 2 แบบ คือ เรื่องที่ต้องทำประชามติถามคนทั่วประเทศ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีความเกี่ยวข้องกับคนทั่วประเทศ ขณะที่บางเรื่องอาจถามคนเฉพาะในพื้นที่ หรือจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาจกระทบคน 4-5 จังหวัด ก็ต้องทำประชามติถามคนในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ แต่หากเห็นว่าการสร้างเขื่อนนั้นกระทบผังบ้านเมือง ซึ่งทุกคนต้องควักภาษีเหมือนกัน ต้องถามคนทั่วประเทศว่า มีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องสร้างเขื่อน

:มีขอบเขตแค่ไหน ถ้าเชื่อในเรื่องตัวแทน แล้วรัฐบาลมาจากเสียงข้างมาก แบบนี้ประชาชนควรจะมีส่วนร่วมหรือไม่
การตอบคำถามประชามติเป็นประเด็นๆ นี่แหละคือการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง แต่การมีส่วนร่วมที่พูดกันโดยทั่วๆ ไป บางครั้งเป็นการอ้างเลอะเทอะ เพราะการมีส่วนร่วมนั้นเริ่มตั้งแต่เราเลือกตัวแทน เราก็มีส่วนร่วมแล้ว แต่บางเรื่องที่เราคิดว่าประชาชนควรจะตัดสินใจเอง ก็เป็นการมีส่วนร่วมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งในการบริหาร ถ้าเราบอกให้ประชาชนมีส่วนในทุกเรื่อง ก็ต้องถามว่า ประชาชนกลุ่มไหน ประชาชนพวกไหน แบ่งแยกกันตายเลย

คนบางกลุ่มก็มักจะไปสร้างเงื่อนไขว่า เราต้องมีส่วนร่วมทุกเรื่อง จะไปร่วมทุกเรื่อง ร่วมเสียจนคิดว่าตัวเองคือรัฐบาล คือผู้บริหารประเทศ ทั้งที่บางเรื่องอาจกระทบคนไม่กี่จังหวัด แล้วคนกรุงเทพจะไปมีส่วนร่วมอะไรกับเขา การบอกว่ามีส่วนร่วมก็คือ การใช้อำนาจรัฐ แต่ถ้าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นแล้ว จะไปร่วมตรงไหน

การมีส่วนร่วมก็คือว่า เรื่องนั้นกระทบเขา กระทบชุมชนเขา เขาควรมีส่วนตัดสินใจ ไม่เหมือนกับการเป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง ที่แม้มาจากพื้นที่จังหวัดที่เลือกเขา แต่ทุกคนต้องถือว่าเป็นตัวแทนปวงชนทั้งประเทศ ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นว่า เอาแต่ดึงงบประมาณมาสร้างในจังหวัดตัวเอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น

:คนอื่นก็อยากมีส่วนร่วม เพราะเอางบประมาณจากเงินภาษีของเราไปจ่ายในเรื่องนั้น
นี่แหละที่ผมพูดว่า ถ้าประชาชนพูดมาอย่างนี้ ก็แสดงว่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่กระทบต่อภาษีมากมายเหลือเกิน จนกระทั่งคนทั้งประเทศต้องมาโหวต คือเราคงไม่มองในแง่ว่าจะสร้างหรือไม่สร้างโครงการ เพราะเหตุกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่เรามาโหวตว่า สร้างหรือไม่ เพราะงบประมาณเป็นเงินในกระเป๋าฉันด้วย ซึ่งการตั้งคำถามก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง แล้วโหวตออกมา

:การชุมนุมของไทยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ที่ผ่านมามีข้อบกพร่องอย่างไร
อย่างน้อยที่สุดการชุมนุมต้องบอกว่า เรียกร้องอะไรให้ชัดเจน มิเช่นนั้นจะทำให้การรวมตัวชุมนุมนั้นเสียเปล่า จัดชุมนุมกี่ครั้งก็แพ้แล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมใหม่ หรือไม่ก็มีการรัฐประหาร ไม่มีการส่งต่อประเด็นให้กลไกของรัฐขับเคลื่อนเรื่องที่เรียกร้องให้มีค่าบังคับ ถ้าทำตามกลไกกฎหมาย ประสานกับองค์กรของรัฐ เพื่อทำตามเจตนารมณ์ได้ ก็จะไม่เสียแรงใช้เสรีภาพในการชุมนุม

ฟ้ารุ่ง ศรีขาว