WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 14, 2008

พลังประชาชนจะต้องถูกยุบ เพราะเรื่องหยุมหยิม?



คอลัมน์ : ตาต่อตาฟันต่อฟัน

โดย ศุภชัย ใจสมุทร

ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ พรรคพลังประชาชนพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล จะต้องยื่นคำชี้แจ้งแก้ข้อกล่าวหาในคดีที่อัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค

เหตุที่อัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องดังกล่าวเนื่องมาจาก นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคในขณะนั้นได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 53 ซึ่งเมื่อรองหัวหน้าพรรคได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายนั้น จึงถือได้ว่าพรรคพลังประชาชนได้กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

การกระทำที่อ้างว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย คือ กรณี นายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนันตำบลจันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย และกลุ่มกำนันในอำเภอแม่จันได้พบกับ นายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2550 และอ้างว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้เงินหรือทรัพย์สินแก่ นายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ และกลุ่มกำนันเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ น.ส.ละออง ติยะไพรัช และนายอิทธิเดช แก้วหลง

ไม่ว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้อ้างพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือและน่ารับฟังสักเพียงใด แต่ในที่สุดคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้มีมติให้ใบแดงกับการกระทำที่อ้างถึงนั้น และศาลฎีกาก็มีความเห็นพ้องกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช และให้ในเหลืองกับ น.ส.ละออง ติยะไพรัช

ซึ่งนี่คือที่มาในการที่อัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรคพลังประชาชนและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ได้บัญญัติว่า หากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อถือได้ว่าหากกรรมการบริหารพรรคผู้ใดมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย หรือทราบว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้ให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม ทำให้เชื่อว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย

แปลความง่ายๆ ก็คือเมื่อเชื่อได้ว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนไม่มีส่วนรู้เห็นหรือถูกกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งในกรณีนี้คือถูกกล่าวหาว่าซื้อเสียง ดังนั้นพรรคพลังประชาชนก็จะต้องถูกยุบ และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคทุกคนก็จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลาห้าปีด้วย

ผมไม่ทราบว่าพรรคพลังประชาชนจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้าง เพราะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามผมได้แสดงความเห็นแง่มุมทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความกรณีการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารผ่านคอลัมน์ “ฤๅจะเป็นเมืองนอกกฎหมาย” นิตยสารประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 94 ที่จะวางแผงพรุ่งนี้ หากแฟนานุแฟนสนใจก็หาซื้อมาอ่านกันได้ ซึ่งความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นในเชิงข้อกฎหมายล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับคดีพรรคพลังประชาชน

อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงบางประการที่ผมเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำมาให้บรรดาคอการเมืองที่ติดตามเรื่องนี้ได้นำไปฉุกคิดประกอบการพิจารณา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีแล้ว จะได้มีความเห็นคล้อยตาม หรือไม่เห็นด้วย ซึ่งมีอยู่หลายเรื่องในคดีพรรคพลังประชาชน

อาทิ กรณีที่อ้างว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้กระทำความผิดนั้น เหตุเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2550 ซึ่งวันดังกล่าวนายยงยุทธ ยังมิได้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่เปิดรับสมัครเลือกตั้ง ดังนั้นหากนายยงยุทธได้กระทำการเช่นว่านั้นจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำนั้นเป็นการจูงใจให้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงให้ เพราะวันนั้น นายยงยุทธ ยังมิใช่เป็น “ผู้สมัคร” กรณีจึงเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ที่บัญญัติไว้เฉพาะ “ผู้สมัคร” เท่านั้น และถึงแม้ว่าในที่สุดศาลฎีกาได้เชื่อแล้ว นายงยุทธ ได้กระทำจริง เป็นการกระทำของนายยงยุทธโดยแท้แต่เพียงลำพัง พรรค หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ก็ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวกับนายยงยุทธ ที่ตรงไหน ผมเชื่อว่าหากพรรคพลังประชาชนได้ล่วงรู้ว่า นายยงยุทธได้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยให้เงินกับกำนั้นทั้งหลาย เพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเสียงให้พรรคคงไม่ดันทุรังส่งนายยงยุทธ ลงสมัครต่ออย่างแน่นอน

นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่อ้างเป็นเหตุแห่งการร้องการคัดค้านการเลือกตั้งของนายยงยุทธนั้นได้เกิดและสิ้นสุดลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2550 ซึ่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคไม่ได้รู้เห็นด้วย ดังนั้นหากจะพิจารณาจากถ้อยคำตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าท่านทั้งหลายที่ว่านี้ มารู้เอาภายหลัง แล้วจะไปยับยั้งหรือแก้ไขได้อย่างไรล่ะครับ ก็มันจบไปแล้วนี่ ดังนั้นจะบอกให้พรรคต้องรับผิดจนต้องถูกยุบ และต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ที่ไม่ได้รู้เห็นด้วย ก็ดูประหลาดนะครับ เพราะเท่ากับว่าการกระทำผิดของคนคนเดียวจะนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากได้ กรรมการอื่นที่ไม่รู้เห็นและระมัดระวังดูแลให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ขณะที่มีการเลือกตั้งก็จะต้องโดนเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งด้วย

สิ่งที่พิลึกอย่างยิ่งก็คือ ดูเหมือนว่ามีการตีความเหมือนกันว่า การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นคือ “การซื้อสียง” โดยเฉพาะหากนั่นคือการกระทำของกรรมการบริหารพรรค ซึ่งนับว่าเป็นวิธีคิดที่พิสดารพันลึกพิลึกกึกกือเป็นอย่างยิ่ง เพราะความเป็นจริงแล้วแม้การซื้อเสียงเป็นสิ่งเลวร้าย แต่คงไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ได้อำนาจการปกครองประเทศอย่างผิดวิถีทางหรอกครับ ก็กฎหมายได้บัญญัติลงโทษเล่นงานผู้ซื้อเสียงไว้แล้ว แต่จนถึงขนาดต้องยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารด้วยนั้น ถือเป็นการทำลายสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่ขาดเหตุผลที่จะอธิบายสังคมโลกเขาได้นะครับ

หากเปรียบเทียบคดีนี้กับคดียุบพรรคไทยรักไทยจะเห็นได้ว่า มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดถึงพฤติกรรมหรือการกระทำที่อ้างว่าได้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง คดีพรรคไทยรักไทยนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อกล่าวหาเรื่องจ้างพรรคเล็กลงสมัครนั้นดูจะสาหัสสากรรจ์เอาการ เพระดูเป็นมหกรรมที่คึกคักยิ่งใหญ่ และเป็นไปได้ที่จะบอกว่าการกระทำเช่นว่านั้น ถึงขนาดที่จะทำให้ได้อำนาจการปกครองประเทศที่ฝืนแนวทางประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีพรรคพลังประชาชนที่เป็นการกระทำแบบหยุมหยิม ที่พรรคการเมืองแทบทุกพรรคก็โดนกัน เพียงแต่บางพรรคกรรมการบริหารก็รอดตัวไปด้วยเมตตามหานิยม พรรคจึงไม่ต้องถูกร้องให้ยุบพรรคด้วย ทั้งๆที่พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโจ่งครึ่มและรุนแรงยิ่งกว่าด้วยซ้ำ

เมื่อการพิจารณาคดีจะเริ่มต้นก็คงจะฝากความหวังไว้กับศาลสถิตยุติธรรม อย่างศาลรัฐธรรมนูญว่า จะธำรงความยุติธรรมไว้ได้อย่างไร บ้านเมืองจะต้องสะดุดหยุดลงหรือก้าวเดินต่อไปก็อยู่ที่ท่านล่ะครับ ก็หวังว่าเรื่องหยุมหยิมอย่างคดีนี้ คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่าย