ที่มา Thai E-News
แปลและเรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา นิตยสารฟอร์บส
อ่านรายละเอียดข่าวฉบับเต็ม:อีกครั้ง สำหรับราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดในโลก
นิตยสารฟอร์บส์ออนไลน์ยังจัดอันดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นพระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลก ในบรรดาพระราชวงศ์ที่ทรงมั่งคั่งที่สุดในโลก 15 พระราชวงศ์ประจำปี 2552 อันเป็นการรักษาอันดับที่ 1 ไว้ได้ต่อเนื่องจากปีก่อนนี้
โดยฟอร์บส์ระบุว่าทรงมีพระราชทรัพย์รวม 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว1,020,000ล้านบาท)ลดลงจากปีก่อนราว 5 พันล้านเหรียญ(ราว170,000ล้านบาท)ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นที่ถือโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสำนักงานที่พระองค์ท่านมีพระราชอำนาจในการจัดการ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศได้มีผลกระทบต่อพระราชทรัพย์ให้ลดลงไปด้วย
ฟอร์บส์รายงานว่า พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงครองสิริราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในโลก พระองค์ได้รับการเคารพสักการะเยี่ยงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระราชอำนาจในราชณาจักรที่แบ่งแยกคนในชาติออกเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และประชาชนในชนบท
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกสร้างผลกระทบให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในราชอาณาจักรไทย พระราชวงศ์ไทยมีอำนาจจัดการทรัพย์สินในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชน เช่น เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และการเป็นเจ้าของที่ดินมหาศาล รวมทั้งที่ดินกว่า3,500 เอเคอร์ในเขตกรุงเทพฯที่จัดการดูแลโดยสำนักงานทรัพย์สินฯ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยย้ำว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่ถูกจัดการเพื่อประเทศชาติ
ฟอร์บส์ระบุด้วยว่า ความมั่งคั่งของราชวงศ์มาจากมรดกตกทอดหรือตำแหน่งทางอำนาจ มักจะถูกแบ่งปันกันในเครือญาติ และหลายๆครั้งที่มันหมายถึงเงินที่ถูกควบคุมโดยราชวงศ์ในรูปของกองมรดก (trust) สำหรับประเทศหรืออาณาเขต และด้วยเหตุผลนี้ ราชวงศ์ทั้ง 15 ราชวงศ์ในรายชื่อนี้ขาดคุณสมบัติที่จะถูกจัดอันดับประจำปีของเราในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุด ไม่ว่าเขาจะมีสินทรัพย์เท่าไร
ยกตัวอย่างเช่น กษัตริย์ Mswati ที่ 3 ของ Swaziland เป็นผู้รับผลประโยชน์ของ 2 กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบิดาของเขาใน trust ของประเทศ Swaziland ในช่วงที่ครองราชย์เขามีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จในการใช้เงินที่เป็นรายได้จาก trust นั้น ซึ่งทำให้เขาสามารถสร้างราชวังให้กับมเหสี 13 พระองค์และพำนักอยู่ในโรงแรมระดับ 5 ดาวเมื่ออยู่ต่างประเทศ
เช่นเดียวกัน เรารวมทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยในส่วนของทัรพย์สินของกษัตริย์ภูมิพลเพราะพระองค์เป็นผู้มีอำนาจเต็มในกองมรดก (trustee) อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยและออกมาประกาศว่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์ แต่สำนักงานทรัพย์สินครอบครองและบริหารทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ในนามของประชาชนชาวไทย
ตรงกันข้าม ราชวัง Buckingham และเครื่องเพชรของราชวงศ์ถือว่าเป็นสมบัติของชนชาติอังกฤษ ไม่ใช่ของพระราชินี Elizabeth เพราะฉะนั้นมันไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของพระองค์ แต่ทรัพย์สมบัติของพระองค์มาจากอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ภาพศิลปะ อัญมนี และแสตมป์สะสมโดยพระอัยกา
พระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลกปี2552จัดโดยForbes
1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, ราชณาจักรไทย
พระราชทรัพย์: 30 พันล้านดอลลาร์ (ลดลงจากปีก่อน 5 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ:81
2.Sultan Haji Hassanal Bolkiah, บรูไน
พระราชทรัพย์: 20 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน)
พระชนมายุ: 62
3.Sheikh Khalifa Bin Zayed Al Nahayan, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
พระราชทรัพย์: 18 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 5 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 61
4.King Abdullah bin Abul Aziz, ซาอุดิอาระเบีย
พระราชทรัพย์: 17 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 4 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 85
5.Sheikh Mohammed Bin Rashid Al Maktoum, ดูไบ
พระราชทรัพย์: 12 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง6 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 59
6.เจ้าชายฮานส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์
พระราชทรัพย์: ๑๒๒,๕๐๐ ล้านบาท (ลดลงจากปีที่แล้ว ๕๒,๕๐๐ ล้านบาท)
พระชนมายุ: 64 พรรษา
7.King Mohammed VI, โมร็อคโค
พระราชทรัพย์: 2.5 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่ม1 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 45
8.Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani, การ์ตาร์
พระราชทรัพย์: 2 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลง)
พระชนมายุ: 57
9.Prince Albert II, โมนาโค
พระราชทรัพย์: 1 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง400ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 51
10.Prince Karim Al Husseini, Aga Khan
พระราชทรัพย์: 800 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 200 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 72
11.Sultan Qaboos bin Said, โอมาน
พระราชทรัพย์: 700 ล้านดอลลาร์(ลดลง400ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 68
12.Queen Elizabeth II, สหราชอาณาจักร
พระราชทรัพย์: 450 ล้านดอลลาร์ (ลดลง200 ดอลลาร์)
พระชนมายุ: 83
13.Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al Sabah, คูเวต
พระราชทรัพย์: 400 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 80
14.Queen Beatrix Wilhelmina Armgard,เนเธอร์แลนด์
พระราชทรัพย์: 200 ล้านดอลลาร์ (ลดลง100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 71
15.King Mswati III, สวาซิแลนด์
พระราชทรัพย์:100 ล้านดอลลาร์(ลดลง 100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 41
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง กรณีบทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด
เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ฟอร์บสได้จัดอันดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยอ้างว่าก่อนหน้านั้นนับเฉพาะทรัพย์สินส่วนพระองค์มีอยู่ราว 5 พันล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก แต่ฟอร์บส์เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระราชอำนาจในการจัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย จึงนำทรัพย์สินดังกล่าวมารวมเป็น 35 พันล้านเหรียญฯจึงถือว่าร่ำรวยที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่า กรณีที่นิตยสาร Forbes ได้เผยแพร่บทความพิเศษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ประจำปี พ.ศ. 2551 และได้จัดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ ในลำดับแรก ของพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น ที่บทความเดียวกันนี้ไม่ได้จัดอันดับฐานะความร่ำรวย เพราะทรัพย์สินต่างๆ ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ
สำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ที่ดิน" ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่หน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณะกุศลเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และจัดให้ประชาชน ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย รวมทั้งชุมชนอีกกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เช่าในอัตราที่ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยประมาณ 7% ของที่ดิน ที่จัดให้เอกชนเช่าและจัดเก็บในอัตราเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงไปยังนิตยสาร Forbes แล้ว
อย่างไรก็ดีแม้กระทรวงต่างประเทศชี้แจงไปในปีที่แล้ว แต่มาในปีนี้ฟอร์บสยังคงจัดอันดับให้ในหลวงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่2 โดยฟอร์บสอ้างว่า เพราะในหลวงมีพระราชอำนาจในการจัดการในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์