ที่มา Thai E-News
โดย Hannah Beech
ที่มา Time
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ในประเทศไทย พรรคการเมืองใหม่พยายามจะดึงสัญลักษณ์สวัสดิกะ (Swastika) กลับมา
เด็กๆกำลังจุดเทียนเป็นรูป Swastika ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของชาวฮินดูเพื่อฉลองเทศกาล Diwali ในอินเดียเมื่อเดือนพฤษจิกายนปี 2004
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ (New Politics Party หรือ NPP) เผย logo ของพวกเขา ซึ่งปกติมันเป็นขั้นตอนธรรมดาสำหรับประเทศที่พรรคการเมืองไปๆมาๆเหมือนหน้ามรสุม แต่สัญญลักษณ์ เหลือง-เขียวของพรรค NPP ก่อให้เกิดการโต้เถียงไม่เฉพาะกับโทนสียุค 1970 ที่แคลงใจ แต่เพราะมันดูเหมือนสัญลักษณ์ Swastika
ชาวเอเซียไม่พึงพอใจซึ่งก็สมควรอยู่ ที่ Adolf Hitler ขโมยเครื่องหมายทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งหมายถึงความโชคดีและสันติภาพและเปลี่ยนมันไปเป็น logo อย่างไม่เป็นทางการของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และความเกลียดชังสีผิว ศาสนาทางโลกตะวันออกจากฮินดูและเชนไปจนถึงศาสนาพุทธ มีความศรัทธาต่อสัญลักษณ์ Swastika แม้กระทั่งในยุโรปก่อนยุคนาซี เครื่องรางนำโชคนี้ถูกประดับลงบนหลายอย่างจากศิลปะของพวก Celtic ถึงเหรียญรางวัลทหารอากาศของชาว Finland บทประพันธ์ชิ้นแรกเมื่อปี 1904 ของ Rudyard Kiplings ชื่อ Traffics and Discoveries มีสัญลักษณ์ Swastika อยู่บนหน้าปก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของมิตรภาพกับประเทศอินเดียที่เขาเกิด
แน่นอน ผู้นำเยอรมันได้ปลดความโชคดีออกจากสัญลักษณ์นี้ในโลกตะวันออก และการใช้เครื่องหมายนี้อย่างต่อเนื่องโดยกลุ่ม neo-Nazi ใหม่ - แม้กระทั่ง Charles Manson (ฆาตรกรต่อเนื่อง) ที่เฉือนหน้าผากตัวเองเป็นรูปนี้ - มันทำให้ไม่สามารถรื้อฟื้นความหมายเดิมมันกลับมา
แต่ในแถบเอเซีย เครื่องหมาย Swastika ยังบ่งบอกถึงความเป็นมงคล ดิฉันยังจำได้ตอนที่ท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นหลายปีมาแล้วและได้เห็นสีหน้าตกอกตกใจของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ผ่านมาเจอการแต่งต้นไม้พุ่มเป็นรูป Swastika บนเขาใกล้วัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว บนแผนที่ของญี่ปุ่น วัดวาอารามจะถูกตราไว้ด้วยสัญญลักษณ์ Swastika เหมือนกับที่โบสถ์ถูกตราไว้ด้วยเครื่องหมายกางเขน (เพื่อให้ชัดเจน เครืองหมาย Swastika ของญี่ปุ่น หรือ Manji มันหันหน้าทวนเข็มนาฬิกา ส่วนสัญลักษณ์ของ Nazi มันไปทางด้านเข็มนาฬิกา เช่นกัน ชาวทิเบต ซึ่งเชื่อว่าสัญลักษณ์นี้เป็นตัวแทนของฝีก้าวของพระพุทธ ประดับกำแพงและร่างกายด้วยสัญลักษณ์นี้
พรรค NPP ซึ่งผูกตนเองเป็นแนวร่วมกับกษัตริย์ชาวพุทธของไทย สันนิฐานว่าคงจะกำลังค้นหาเครื่องหมายทางศาสนาที่มีพลังเพื่อเป็น logo ใหม่ของพวกเขา ซึ่งก็มีเหตุผลอยู่ แต่เครื่องหมาย Swastika มีความหมายที่หนักหน่วงอยู่สำหรับชาวโลก พรรค NPP เป็นผลของการเคลื่อนไหวข้างถนนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) ถึงแม้ว่ามีชื่อดังกล่าว ไม่เชื่อในประสิทธิภาพของระบอบหนึ่งคนหนึ่งเสียง เมื่อปีที่แล้วพันธมิตรเสื้อเหลืองเข้ายึดสนามบินนานาชาติของกรุงเทพ ทำให้ต้องปิดสนามบินอยู่หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่รัฐบาลที่พวกเขาต่อต้านจะถูกขับไล่ออกไปโดยคำตัดสินของศาล การเข้ายึดสนามบินทำให้การท่องเที่ยวทรุดลงและทำให้เกิดภาพลักษณ์ของความไม่มีเสถียรภาพของประเทศตั้งแต่นั้นมา การเลือกที่จะใช้สัญญลักษณ์ที่น่าถกเถียงดังกล่าวอาจทำร้ายชื่อเสียงของพรรค NPP ซึ่งไม่ว่าพวกเขาจะใช้เครื่องรางกี่อันก็ตาม มันไม่เป็นมงคลเอาซะเลย
In Thailand, A New Party Tries to Take Back the Swastika
By Hannah Beech / Bangkok
In early June, the founders of Thailand's New Politics Party (NPP) unveiled their logo — usually a routine procedure in a country where new parties seem to come and go with the monsoons. But the yellow-and-green symbol of the NPP has generated controversy not just for its questionable 1970s color scheme but because it resembles a swastika.
Asians are rightly miffed that Adolf Hitler hijacked an ancient religious symbol of luck and peace and turned it into the unofficial logo for genocide and racial hatred. The swastika symbol is venerated in eastern religions ranging from Hinduism and Jainism to Buddhism. Even in pre-Nazi Europe, the good-luck talisman adorned everything from Celtic art to Finnish Air Force medals. A 1904 first-edition copy of Rudyard Kipling's Traffics and Discoveries has a swastika on the cover, a sign of his kinship with India where he was born. (See pictures of the 2008 protests in Bangkok.)
Naturally, the Führer stripped the luck from the sign in the West, and its continuing use by neo-Nazi groups — not to mention Charles Manson slicing the symbol onto his forehead — prevents its rehabilitation. But in Asia the swastika still connotes all things auspicious. I remember traveling in Japan years ago and watching the shocked faces of American tourists coming across a giant topiary swastika that adorned a hillside near a famous temple. In fact, on some Japanese maps, temples are denoted with a swastika, just as churches are symbolized by a cross. (For the record, the Japanese swastika, or manji, faces counter-clockwise, while the Nazi symbol goes clockwise.) Similarly, Tibetans, who believe the symbol represents the Buddha's footsteps, adorn their walls or bodies with the token.
The NPP, which has aligned itself closely with Thailand's Buddhist King, was presumably reaching for a potent religious symbol as its new logo. Fair enough. But the swastika carries a lot of global baggage. The NPP is an outgrowth of a street-protest movement called the People's Alliance for Democracy (PAD), which, despite its name, is skeptical of the efficacy of a one-man-one-vote system. Last year, the yellow-shirted PAD besieged Bangkok's international airport, forcing its closure for a week before the government it was protesting was ousted from office by a court ruling. The airport takeover dented Thailand's tourism industry and contributed to an aura of instability that has enveloped the country since. Choosing such a contentious symbol could further harm the NPP's fledgling reputation. No matter how many ancient talismans are used, that's hardly auspicious.