WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 7, 2009

คนดีกับระบบที่ดี

ที่มา ประชาไท

ปัญหาที่ว่าคนดีคือคนเช่นไร? และความดีคืออะไร? เป็นปัญหาเก่าแก่ ทฤษฎีจริยศาสตร์ตะวันตกดูเหมือนจะอธิบายเรื่องนี้ในสองมุมมองหลักๆคือ

ทฤษฎีคุณธรรม (virtue theory) อธิบายว่าการจะตัดสินว่าใครคือคนดีต้องพิจารณาจาก “ตัวผู้กระทำ” (ไม่ใช่ดูการกระทำในบริบทสถานการณ์เฉพาะหนึ่งๆ) ว่าเขามีคุณลักษณะ (character) หรืออุปนิสัย (habit) ที่ประกอบด้วยคุณธรรมอะไร (เช่น ปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ฯลฯ)
ดังนั้น คนดีจึงหมายถึงคนที่ฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม เช่น มีปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม เป็นต้น จนเป็นคุณลักษณะนิสัยประจำตัว ดังที่ อริสโตเติล กล่าวว่า “คุณธรรมไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนจนเป็นอุปนิสัยประจำตัว”
คุณธรรมอันเป็นอุปนิสัยประจำตัวของแต่ละบุคคลนั่นเอง คือสิ่งที่โน้มน้าวหรือชี้นำ/กำกับให้เขากระทำสิ่งที่ถูกต้องต่างๆ เช่น คนที่มีความยุติธรรมเป็นอุปนิสัยย่อมทำให้เขากระทำการต่างๆอย่างยุติธรรมในบริบทของสถานการณ์ที่ต้องการความยุติธรรมซึ่งเขาเกี่ยวข้อง ดังนั้น คุณลักษณะนิสัยที่มีคุณธรรมของบุคคลจึงเป็นหลักประกันความคงเส้นคงวาของการกระทำที่ถูกต้องทางจริยธรรม
ทฤษฎีคุณธรรมเน้นที่ “ตัวบุคคล” (moral agent) โดยยึด “คนดี” ในอุดมคติ (ideal person) เป็นแบบอย่างหรือเป็นแรงบันดาลใจให้เราฝึกฝนตนเองให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เช่น โสเครตีส เป็นแบบอย่างของบุคคลผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม พระเยซูคริสต์เป็นแบบอย่างของผู้อุทิศตนเพื่อมนุษยชาติด้วยความรัก มหาตมะ คานธี เป็นแบบอย่างของบุคคลที่สมถะเรียบง่าย เมตตา อหิงสา ยึดมั่นในสันติวิธี ฯลฯ
จุแด่นของทฤษฎีนี้คือ ถือว่าคุณธรรมเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนหรือปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะนิสัยประจำตัวซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีคุณธรรมที่มั่นคง แต่จุดอ่อนก็คือการเน้นที่ตัวบุคคลอาจทำให้สังคมฝากความหวังไว้กับ “คนดี” หรือ “คนมีคุณธรรม” (virtuous person) ซึ่งอาจแสดงออกโดยการเรียกร้องหรือรอคอยบุคคลเช่นนั้นมาเป็นผู้นำให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง หรือบางครั้งสังคมก็แสดงอาการเสมือนว่าสิ้นหวังเพราะขาดคนดีอย่างที่พูดกันว่า “สังคมเลว เพราะคนดีท้อแท้”
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีหน้าที่ (duty theory) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวผู้กระทำว่าเขาจะมีลักษณะนิสัยหรือเป็นคนเช่นไร แต่สนใจการกระทำของเขาในสถานการณ์หนึ่งๆว่าเขากระทำตามกฎ (rule) หรือหลักการ (principle) อะไร เช่น เขาพูดความจริงบนหลักการของการยึดผลประโยชน์ส่วนตัว หรือยึดผลประโยชน์ส่วนรวม หรือยึดถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องเคารพตนเองและสิทธิที่จะรับรู้ความจริงของมนุษย์ทุกคน
กฎหรือหลักการที่ถูกต้องตามทฤษฎีดังกล่าวนี้ หมายถึงกฎที่เป็น “หลักการสากล” ที่มนุษยชาติสามารถยึดถือปฏิบัติร่วมกันได้ ไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยภูมิหลังทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ อุดมการณ์ ศาสนา ชาติพันธุ์ เพศ ผิว ฯลฯ กล่าวอย่างรวมๆก็คือหลักจริยธรรมสากล (universal ethic) ที่วางอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์นั่นเอง
ตามทฤษฎีหน้าที่ กฎเกณฑ์ หลักการ หรือ “ระบบที่ดี” สำคัญกว่า “คนดี” ซึ่งกฎเกณฑ์ หลักการ หรือระบบที่ดีนั้น ไม่ได้มาจากแบบอย่างหรือคำสอนของ “บุคคลในอุดมคติ” หากแต่มาจากสามัญมนุษย์ทุกคนที่มีธรรมชาติแห่งเหตุผล (rational being) และสามารถใช้เหตุผลกำหนดกฎเกณฑ์ หลักการ หรือระบบดังกล่าวนั้นร่วมกัน
ข้อสังเกตคือ พื้นฐานความเชื่อทางศีลธรรมของสังคมไทยนั้น มาจากพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งความเชื่อของพุทธศาสนาแบบไทยๆนั้นดูเหมือนจะสอดคล้องกับทฤษฎีคุณธรรม ที่ถือว่าคุณธรรมเกิดจากการฝึกฝนจนเป็นนิสัย มีบุคคลในอุดมคติที่เป็นแบบอย่างทางคุณธรรมคือพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์
ในทางการเมืองชาวพุทธไทยก็เรียกร้องผู้ปกครองที่ดีหรือที่มีทศพิธราชธรรม และสังคมในอุดมคติของชาวพุทธก็คือ สังคมที่มีผู้มีบุญบารมีมาโปรดเช่นสังคมยูโทเปียในโลก “ยุคพระศรีอาริย์” เป็นต้น
ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าพุทธศาสนาแบบไทยหรือความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ปลูกฝังกันมาในสังคมไทยที่ค่อนไปทางการยึดติดหรือฝากความหวังไว้กับ “คนดี” นั้นสอดคล้องกับพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมมากน้อยเพียงใด เพราะหากพิจารณาจากวิธีคิดของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม พระพุทธองค์ถือว่า “ธรรม” มีสถานะเหนือตัวบุคคล แม้แต่พระพุทธองค์เองยังเคารพธรรม ก่อนปรินิพพานก็ไม่ได้แต่งตั้งให้ใครเป็นศาสดาของพุทธบริษัทแทน แต่ให้ “ธรรมและวินัย” เป็นศาสดาของชาวพุทธ
โดยเฉพาะหลักการวินิจฉัยความจริง ความถูกต้องในกาลามสูตร พระพุทธองค์กลับปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงที่จะให้เราฝากความหวังไว้กับ “ตัวบุคคล” แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นครูหรือศาสดาของเราก็ตาม พระพุทธองค์นิยามตนเองเป็นเพียง “กัลยาณมิตร” ผู้ชี้แนะ ส่วนใครจะเชื่อ หรือจะทำตามหรือไม่เป็นเสรีภาพของแต่ละบุคคล
ความขัดแย้งทางการเมืองของบ้านเราที่ถูกปลุกเร้าด้วยวาทกรรมว่าด้วยความดี/เลวของ “ตัวบุคคล” จนนำไปสู่การเลือกข้างเลือก “สี” ดังที่เป็นมานี้ นอกจากจะไม่ชัดเจนว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างไรแล้ว ยังสะท้อนปัญหาของการยึดติดในตัวบุคคล ความคลุมเครือในมโนทัศน์ (concept) เกี่ยวกับ “คนดี – ความดี” ในบริบทสังคมประชาธิปไตย
อันที่จริงในอารยะประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกา) แม้เขาจะเน้นการสร้างระบบที่ดี แต่เราก็พบเสมอว่าคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศล้วนแต่มี character ของ “คนดี” ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป โดยเฉพาะ character ด้านสติปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ความเสียสละ ฯลฯ (ดังประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็มีแนวคิดบางอย่างคล้ายอับราฮัม ลินคอล์น เป็นต้น)
สำหรับบ้านเราผู้นำที่มี character คุณธรรมระดับสากลทั้งด้านสิปริตความเป็นนักประชาธิปไตย สติปัญญา แนวความคิด ความกล้าหาญ ความเสียสละ นอกเหนือจากท่านรัฐบุรุษปรีดี พนมยงค์ แล้ว แทบจะมองไม่เห็นใครอีกเลย
ดังนั้น ทั้งการยึดติดใน “คนดี” และการเรียกร้อง “ระบบที่ดี” โดยละเลยที่จะพูดถึง character ของคนดี ไม่น่าจะเป็นคำตอบสำหรับสังคมการเมืองที่ดีกว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังจากนี้จำเป็นต้องชัดเจนทั้งการสร้างระบบที่ดีที่เป็นพื้นฐานของความเป็นธรรมทางสังคม และต้องชัดเจนใน character ของคนดีในภาคส่วนต่างๆที่สามารถขับเคลื่อนระบบที่ดีนั้นให้มีผลในทางปฏิบัติได้จริง