WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, September 6, 2009

'อภิสิทธิ์' เตรียมขอเปิดสองสภา อภิปรายแก้ รธน.

ที่มา ประชาไท

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมเสนอ ครม. ในการประชุมวันที่ 8 กันยายนนี้เพื่อขอเปิดประชุมร่วมสองสภา อภิปรายแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยันยังไงก็ต้องแก้ เลี่ยงไม่ได้ แต่การพัฒนาประชาธิปไตยไม่ใช่แค่แก้กฎหมายอย่างเดียว ต้องขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและวัฒนธรรมการเมืองของทุกฝ่ายด้วย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาเมื่อวันเสาร์ 5 กันยายน 2552 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในหัวข้อ "อนาคตประชาธิปไตยไทย" ในงานสังสรรค์คืนสู่เหย้าราตรีประดับดาว ศิษย์เก่าสถาบันพระปกเกล้า โดยระบุถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนหนึ่งว่า ทุกครั้งที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีความตั้งใจดีในการแก้ปัญหาการเมืองในแต่ละช่วง เช่น เมื่อพรรคการเมืองอ่อนแอ รัฐธรรมนูญหลายฉบับทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เมื่อพรรคการเมืองเข้มแข็ง สภามีอำนาจมาก จนเสียงข้างมากทำในสิ่งไม่ถูกต้อง ก็มีการออกแบบองค์กรอิสระขึ้นมา คือเมื่อมีปัญหาในจุดใดก็แก้ไขในจุดเหล่านั้น

นายกฯ กล่าวต่อว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้นเลี่ยงได้ยาก มันต้องแก้ไข เพราะการแก้ไขเป็นส่วนหนึ่งในสัญลักษณ์ เพราะการรัฐประหารในไทยหลายครั้งแม้ไม่เสียเลือดเนื้อ แต่จะทิ้งร่องรอยบาดแผลสำหรับการเมืองเสมอ ปัจจุบันก็ยังติดยึดบาดแผลของวันที่ 19 กันยายน 2549 ผู้ก่อการก็มีเหตุผลที่สะท้อนมายังนักการเมืองว่าไม่สามารถรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนได้ เช่น การทุจริต การแทรกแซงเกินอำนาจ การสร้างความขัดแย้ง ตนคิดว่าถึงวันนี้เมื่อมีความพยายามสร้างความสมานฉันท์โดยสร้างกลไกต่างๆ ข้อเสนอหนึ่งคือการแก้รัฐธรรมนูญนั้น

"เรียนว่าปัจจุบันคณะกรรมการฯ ที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาแต่งตั้งได้รายงานว่าสมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กรรมการชุดนี้ยังไม่มีโอกาสรายงานและรับฟังความเห็นจากสมาชิกรัฐสภา ดังนั้นวันที่ 8 กันยายน ผมตั้งใจให้คณะรัฐมนตรีหารือเพื่อมีมติขอเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อขออภิปรายทั่วไปในการแก้เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อปูทางไปสู่การชำระสะสางปัญหานี้ ที่ผมขอให้เป็นครั้งสุดท้าย" นายกฯ กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ปัญหาการเมืองในวันนี้และการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคตนั้น ตนไม่ได้คิดว่าแก้ได้ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเราอาจแก้ไขสิ่งบกพร่องในหลายมาตราได้ แม้จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมอย่างไรนั้น แต่จุดท้าทายคือพฤติกรรมและวัฒนธรรมการเมืองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตรงนี้มันไม่ง่ายเหมือนแก้กฎหมาย หรือเขียนอักษรบนกระดาษ เพราะหัวใจสำคัญของการก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่จะมีวุฒิภาวะสูงขึ้น คือความสามารถบริหารจัดการความขัดแย้งและความเห็นที่แตกต่างให้ได้

ด้านนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มีการเคลื่อนไหวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ประเด็น ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าสามารถรวบรวมรายชื่อได้ 1 ใน 5 แล้วหรือยัง อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นสิทธิ์ของ ส.ส.ที่จะสามารถเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

นายชินวรณ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลได้มีการเสนอประเด็นและทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งวันที่ 7 กันยายน จะมีการสรุปความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ 1.พรรคร่วมรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบรายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มาแล้ว และให้ทุกพรรคไปสอบถามมติทุกพรรค ว่าจะให้นายกรัฐมนตรีขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179 เพื่อนำรายงานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ รวมถึงเรื่องการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาให้สมาชิกรัฐสภาได้พิจารณา และให้ทุกฝ่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

นายชินวรณ์กล่าวว่า 2.ให้แต่ละพรรคถามมติของพรรคว่ามีประเด็นอะไรบ้าง เพื่อจะได้นำไปแก้ไขร่วมกัน หากมีประเด็นที่เห็นพ้องต้องกัน พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคจะต้องร่วมลงชื่อในการเสนอญัตติเพื่อแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เห็นพ้องต้องกัน ส่วนประเด็นใดที่ไม่เห็นพ้องกันก็จะได้มีการทำประชามติ

3.หากจะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ก็สามารถดำเนินการได้โดยการขอเข้าชื่อเสนอญัตติเพื่อขอแก้ไขเฉพาะมาตรา 291 เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาพิจารณาเฉพาะ 6 ประเด็นดังกล่าว และเสนอให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาต่อไป ซึ่งคิดว่าเรื่องดังกล่าวจะได้ข้อยุติในวันจันทร์ที่ 7 กันยายนนี้ เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบเวลาในการดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากได้ข้อสรุปเกรงหรือไม่ว่าจะมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยคัดค้านเรื่องดังกล่าว ประธานวิปรัฐบาลกล่าวว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญเมื่อพิจารณาลงไปในแต่ละประเด็น ก็พบว่ามีบางส่วนของสมาชิกรัฐสภาที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในบางประเด็น ขณะเดียวกันนักการเมืองก็คิดแต่แก้ประเด็นที่เป็นประโยนช์ของนักการเมืองอย่างเดียว จึงทำให้มีข้อเรียกร้องจากภาคประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องคิดให้สุกงอม หากว่าต้องการแก้ไขจริงก็จะต้องอาศัยเสียงของสมาชิกรัฐสภาร่วมกัน เฉพาะลำพังพรรคร่วมรัฐบาลอย่างเดียวเสียงคงไม่พอ ดังนั้นต้องเสนอในสิ่งที่เป็นไปได้หากจะร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ และก็ต้องยอมรับความเป็นจริง 2 เรื่องคือ

1.ว่าเมื่อไหร่มีการเปิดประเด็นแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องเปิดกว้าง ให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็น หรือสร้างแรงกดดันในข้อเรียกร้องที่กลุ่มนั้นๆ มีความประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องรับทราบ 2.หากมีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ควรที่จะมีการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งต่อไป

ถามว่าจะมีแนวทางอย่างไรให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม นายชินวรณ์กล่าวว่า เราสามารถกำหนดได้แต่เฉพาะพรรคร่วม ส่วนในประเด็นที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องแก้ไขคือ มาตรา 190, 265, 266 ส่วนประเด็นอื่นๆ ยังมีข้อคิดเห็นที่ต่างกัน ทั้งในการเมืองและพรรคร่วม เช่น ประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง ส.ส.แบบเขตเดียวเบอร์เดียว ก็มีหลายฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะฝ่ายที่เห็นด้วยก็ให้เหตุผลว่าเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีสิทธิ์เลือกเท่าเทียมกัน ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็บอกว่าสถานการณ์ทางการเมือง ณ ขณะนี้ เราต้องการความสมานฉันท์ เพราะการเลือกแบบเขตใหญ่ จะทำให้ไม่เกิดการปะทะกันและทำให้การซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก

ที่มา : เว็บไซต์ไทยโพสต์