WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 17, 2010

จารึกเกียรติยศ 65 ปีวันสันติภาพ(ตอนจบ):กระจ่าง ตุลารักษ์ คณะราษฎรคนสุดท้าย ส่งทอดมรดกสู่ชนรุ่นหลัง

ที่มา Thai E-News





เรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา หนังสือตำนานเสรีไทย โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร
17 สิงหาคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ 65 ปีที่แล้วนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขบวนเสรีไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 มีผลสำคัญยิ่งยวดทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ไม่ต้องถูกยึดครองหรือแบ่งแยกจากมหาอำนาจผู้ชนะสงคราม ซึ่งมีผู้เคยกล่าวไว้ว่าไม่เช่นนั้นไทยก็คงไม่พ้นต้องเสียกรุงครั้งที่3 อันเป็นผลพวงหลักจากเคลื่อนไหวของขบวนการใต้ดินเสรีไทย อย่างไรก็ตามควรต้องจารึกไว้ด้วยว่า มีวีรชนผู้เสียสละชีพ และอุทิศตัวอย่างยืนหยัดเพื่อชาติในขบวนการหลายท่าน เราจึงได้นำเสนอวีรประวัติเพื่อเชิดชูเกียรติวีรชนของประชาชาติไทย ณ โอกาสวันสันติภาพในปีนี้

กับทั้งเป็นการเตือนสติบรรดาขบวนการล้าหลังคลั่งชาติที่กระหายเลือดกระหายสงคราม เป็นปฏิปักษ์ต่อสันติภาพอยู่ในเวลานี้


คณะราษฎร์คนสุดท้ายผู้เสียชีวิตในวันที่24มิถุนาฯ

ร.ท.กระจ่าง ตุลารักษ์ เป็นสมาชิกคณะราษฎรคนสุดท้าย ที่น่าประหลาดราวกับเป็นความตั้งใจก็คือ ท่านผู้นี้สิ้นลมอย่างสงบเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 อันตรงกับวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ครบรอบ 77 ปีพอดี

ร.ท.กระจ่างเสียชีวิตลงในวัย 98 ปี ญาติได้จัดพิธี"ฌาปณกิจศพ"อย่างเรียบง่าย จากนั้นได้นำอัฐิมาบรรจุกระดูกที่วัดประชาธิปไตย หรือวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เช่นเดียวกับผู้นำคณะราษฎร์สำคัญท่านอื่นๆ เช่น นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช นายพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ เป็นต้น

เปิดเผยวีรกรรมขณะทำงานกู้ชาติกับเสรีไทย

หนังสือตำนานเสรีไทยบันทึกประวัติวีรกรรมของกระจ่างไว้ว่า เขาเกิดที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อพ.ศ.2456 เป็นบุตรนายนัฐ ตุลารักษ์ และเป็นน้องชายนายสงวน ตุลารักษ์ เอกอัคราชทูตไทยประจำประเทศจีนคนแรก ได้รับการชักชวนจากพี่ชายให้เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง24มิถุนายน2475 ขณะเป็นนักเรียนกฎหมาย ต่อมาได้รับราชการทหาร แล้วเดินทางไปปฏิบัติงานเสรีไทยที่ประเทศจีนกับคณะของพี่ชาย ภายหลังสงครามได้รับพระราชทานยศทหารเป็นร้อยโท

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่2สงบลง ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.เขต1ขอนแก่น ต่อมาไปประกอบอาชีพส่วนตัวที่จ.ยะลา เปิดโรงเลื่อยไม้ที่บ้านกาบู ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน และสมรสกับนางพวงเพ็ชร หรือ สวนเพ็ชร โกวิทยา อดีตนางงามท้องถิ่นจ.ปัตตานี มีบุตรธิดา 4 คน

บทบาทของการเป็นเสรีไทยที่สำคัญของกระจ่างเกิดขึ้นในช่วงที่ตอนแรกก่อตั้งขบวนการเสรีไทย ภารกิจหลักคือการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจีน สหรัฐฯ และอังกฤษ เพื่อให้สัมพันธมิตรทราบว่ามีองค์การใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นโดยคนไทยผู้รักชาติได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยแล้ว และต้องการร่วมมือกับสัมพันธมิตรในการต่อต้านญี่ปุ่น และจัดตั้งรัฐบาลพลักถิ่นขึ้นในต่างประเทศ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าเสรีไทยพยายามดำเนินการเรื่องนี้มาแต่ต้น แต่เพิ่งจะสำเร็จเป็นครั้งแรกในต้นปี2486 เมื่อส่งนายจำกัด พลางกูรเล็ดลอดจากไทยไปถึงนครจุงกิง ประเทศจีน และสามารถติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรได้ อย่างไรก้ตามตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม2486นายปรีดีไม่ได้รับการติดต่อใดๆจากนายจำกัดเลย

นายปรีดีจึงตัดสินใจส่งอีกคณะนำโดยนายสงวน ตุลารักษ์เล็ดลอดออกจากไทยไปจีนเพื่อสืบข่าวนายจำกัด โดยมีกระจ่างร่วมคณะไปด้วย โดยออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปโดยรถไฟถึงพระตะบอง เขมรเมื่อ14กรกฎาคม2486ไปถึงจุงกิงวันที่1กันยายนปีเดียวกัน ตลอดการเดินทางต้องเสี่ยงถูกญี่ปุ่น ซึ่งยึดครองประเทศอินโดจีนอยู่จับกุม โดยเฉพาะขณะเดินทางจากเมืองมองกาย ชายแดนเวียดนามเข้าสู่เมืองตงเฮงของจีนเมื่อ28กรกฎาคม2486 นายกระจ่างไปสืบที่แนวหน้าแล้วแนะนำคณะทั้งหมดปลอมตัวเป็นชาวเวียดนามเดินปะปนคนจีนถือกระจาดเหมือนพ่อค้าเข้าไปเพื่อตบตาญี่ปุ่น ส่วนนายกระจ่างเดินตัวเปล่าตามหลังไป

"เราเดินทางรอนแรมมาเป็นเวลาถึง1เดือนเต็มหลังจากออกประเทศไทยมา เป็นการเดินทางที่แสนทุรกันดารนั่งเกี้ยวและลงเรือสลับกันไป"นายสงวนพี่ชายนายกระจ่างบันทึกไว้ตอนหนึ่ง เมื่อถึงจีนได้ไปพำนักกับหมอสงวน ว่องวานิช นายห้างอังกฤษตรางูผู้ต่อต้านญี่ปุ่นถูกเนรเทศมาอยู่จีนระยะหนึ่ง จนคณะสามารถติดต่อกับนายจำกัดได้ในปลายเดือนกันยายน ก่อนที่นายจำกัดจะเสียชีวิตลงในวันที่7ตุลาคม นายกระจ่างเป็นผู้เก็บอัฐิไปลอยอังคารที่แม่น้ำแยงซีเกียง
................
จำกัด พลางกูร



นายจำกัดเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ในวัยเพียง 2 6ปี กล่าวกันว่าเพราะภารกิจที่ตรากตรำ การที่ถูกทางการจีนควบคุมตัวไว้ไม่ต่างจากนักโทษขณะปฏิบัติภารกิจกู้ชาติ หรืออาจถูกลอบวางยาพิษ เขากล่าววาจาสุดท้ายอย่างแผ่วเบาว่า"เพื่อชาติ--เพื่อhumanity..."

ทั้งนี้ก่อนรับภารกิจออกเดินทางมาจีนเพื่อติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรนายปรีดีให้โอวาทเขาว่า"เพื่อชาติ เพื่อhumanityนะคุณ เคราะห์ดีที่สุดอีก45วันก็คงได้พบกัน เคราะห์ไม่ดีนักอย่างช้าอีก2ปีก็ได้พบกัน และถ้าเคราะห์ร้ายที่สุด ก็ได้ชื่อว่าสละชีวิตเพื่อชาติไป"..จำกัดเป็นบัณฑิตเกียรตินิยมจากอ๊อกฟอร์ด เมื่อศึกษาจบเข้ารับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการระยะหนึ่ง และถูกให้ออกจากราชการ เพราะทัศนคติต่อต้านการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจในเวลานั้น เมื่อญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทย ได้เข้าร่วมกับปรีดีก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น

.............

จากนั้นเดินทางไปคุนหมิงเข้าฝึกอบรมการก่อวินาศกรรม การรับส่งวิทยุโดยรหัสลับ และการทหาร2เดือน จนต้นปี2487จึงเดินทางไปเมืองเจียงเฉิน ติดชายแดนเวียดนามอีก 2 เดือน แล้วเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนเมษายน2487 และไปตั้งสถานีวิทยุรับ-ส่งข่าวกับจุงกิงที่หลวงพระบาง ประเทศลาว

ต้นเดือนกรกฎาคม 2487 เดินทางถึงพรมแดนไทย-ลาว สามารถติดต่อกับเสรีไทยสายอีสานได้หลายคน และได้รายงานให้นายปรีดีทราบ

กระจ่างยังได้รับภารกิจนำไมโครฟิล์มบันทึกข้อความนัดหมายให้นายปรีดีจัดคนไปรับการขึ้นบกจากเรือดำน้ำของนายทหารเสรีไทยสายอังกฤษในปลายเดือนธันวาคม2486 ซึ่งม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิทสวัสดิวัตทรงมอบให้แก่นายจำกัดไว้เมื่อเสด็จมาพบนายจำกัดที่จุงกิงในเดิอนสิงหาคม2486 แต่เนื่องจากนายกระจ่างยังไม่ได้เดินทางเข้าไทยจนกระทั่งปี2487 ดังนั้นเมื่อหน่วย"พริชาร์ด"ของกองกำลัง136 ซึ่งมีร.ต.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และคณะเดินทางมาถึงโดยเรือดำน้ำของราชนาวีอังกฤษมาถึงฝั่งไทยที่จังหวัดพังงาตามวันเวลาที่นัดหมายไว้ในไมโครฟิล์มดังกล่าว จึงไม่มีฝ่ายไทยไปรอรับ ทำให้ทางการอังกฤษต้องสั่งยกเลิกปฏิบัติการพริชาร์ดไปในที่สุด

ปลายทางผู้ร่วมก่อการ-ภาพป้ายสถานที่บรรจุอัฐิผู้นำคณะราษฎรที่วัดประชาธิปไตย(ในภาพเป็นที่บรรจุอัฐิพระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช )รวมทั้งเคยเป็นสถานที่จัดงานฌาปณกิจท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ปีที่แล้ว ญาติๆได้นำอัฐิของร.ท.กระจ่างมาบรรจุอัฐิที่วัดแห่งนี้

นางอภิลักษณ์ ลากชุ่มศรี ลูกสาว ร.ท.กระจ่าง เปิดเผยว่า "การที่ท่านมาเสียชีวิตในวันที่24มิถุนายนนี้ รู้สึกแปลกดี รู้สึกว่าคุณพ่อคอยวันนี้ เพื่อนๆของคุณพ่อที่ไปร่วมงานวันลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ได้ทราบหมด และได้มีการยืนไว้อาลัยให้ 1 นาที ที่วัดพระศรีมหาธาตุ ก็ยืนไว้อาลัยให้ เพื่อนๆ ที่ กทม.รู้ข่าวนี้กันหมดแล้ว คุณพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า เคยเข้าร่วมกับคณะราษฏร์ เมื่ออายุประมาณ 18 ปี ไปอยู่กับคุณลุงสงวน ตุลารักษ์ ” นางอภิลักษณ์ ลากชุ่มศรี กล่าว

บรรพชนปฏิวัติ-"สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเช้ามืด วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นทรัพย์สมบัติ ของประชาชนคนรุ่นหลัง"

กระจ่าง ตุลารักษ์ เคยให้สัมภาษณ์ลงในนิตยสารสารคดีถึงเหตุการณ์วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ซึ่งเขาเป็น1ในสมาชิกคณะผู้ก่อการ115คน ว่า
....."ต่างคน ต่างเดินทางแยกย้ายไปตามจุดนัดหมาย ของตัวเอง ทุกหมู่เหล่า มีชาวบ้านอย่างเรา ไปอยู่ด้วย ถนนราชดำเนินตอนนั้น เงียบมาก พี่ชายบอกว่า เดี๋ยวมีคนเอาปืนมาให้ ผมคิดอย่างเดียวว่า ตั้งใจมาทำงานให้สำเร็จ เขาสู้ ก็สู้กับเขา ตายก็ตาย...

ส่วนคุณค่าของการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น เขากล่าวทิ้งท้ายว่า "สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเช้ามืด วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นทรัพย์สมบัติ ของประชาชนคนรุ่นหลัง"...


อ่านเพิ่มเติม:24มิถุนาฯ: สืบกระแสธารบรรพชนปฏิวัติ )


0000000000000

รำลึกวันสันติภาพไทย-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ

รำลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศสงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้

ด้วยคำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น

***
กิจกรรมโครงการงาน 110 ปีชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และ 65 ปีสันติภาพไทย ในเดือนสิงหาคม 2553

วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

๑. งานครบรอบ ๖๕ ปี วันสันติภาพไทย เริ่มเวลา ๐๗.๑๕ น. - ๑๒.๐๐ น.

ณ ลานอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย ถ.เสรีไทย ซอย ๕๓ เขตบึงกุ่ม กทม.

๒. ฝ่ายเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จัดฉายภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" พร้อมกันทั่ว ประเทศ ( ๗๖ จังหวัด) โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ส่วนกลางจัดฉาย ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรมเเห่งกรุงเทพมหานคร เวลา ๑๘.๐๐ น. หลังเคารพธงชาติ (ชมฟรี)

คลิกอ่านบทความของโดม สุขวงศ์ เกี่ยวกับThe King of the White Elephant ที่http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=43&s_id=18&d_id=14

๓. การแสดงละครเวทีเรื่อง "คือผู้อภิวัฒน์"

วันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๙.๓๐ น.
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม มล.ตุ้ย ชั้นที่ ๘ อาคาร HB 7 คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
บัตร ๒๐๐ บาท นศ. ๑๐๐ บาท
สอบถามรายละเอียด โทร. ๐๘๖ ๗๒๘ ๖๘๒๘ / ๐๘๑ ๕๖๒ ๔๖๓๖

วันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. และ ๑๘.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ดร.ไสว สุทธิพิัทักษ์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์