ที่มา ข่าวสด
สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เดิมเคยเป็นหน่วยงานของรัฐ
แต่มีผู้แสดงความกังวลว่าอาจถูกแทรกแซงได้ง่าย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงกำหนดให้ สตง. เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ คตง. 10 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 9 คน
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น
และให้มี "ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน" เป็นหัวหน้าสำนักงาน ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
โดยวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 6 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหาและการเลือก การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
ส่วนอำนาจหน้าที่ อาทิ วางนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ชุดแรกประกอบด้วย นายนรชัย ศรีพิมล เป็นประธาน
ส่วนกรรมการประกอบด้วย นางรวีพร คูหิรัญ นายบุญรอด โบว์เสรีวงศ์ นางศศิพัฒน์ เศวตวัฒนา นายเกรียง ศักดิ์ วัฒนวรางกูร ศ. พันโทสมชาย วิรุฬหผล นายชาญยุทธ ปทุมารักษ์ พลเอกยอดชาย เทพยสุวรรณ นายสำราญ ภูอนันตานนท์ นายสิทธิพันธ ศรีเพ็ญ และผู้ว่าการ คือคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ซึ่งสมัครเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
แต่ขณะนั้น การสรรหาผู้ว่าฯสตง.ประสบปัญหาล่าช้า ผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีผู้เสนอชื่อคุณหญิงจารุวรรณ เป็นผู้ว่าฯสตง. และได้รับเลือกเป็นคนแรก
กระทั่งมีการรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ออกประกาศฉบับที่ 12/2549 ให้ คตง. ชุดของนายนรชัย สิ้นสภาพลงเมื่อ วันที่ 20 ก.ย. 2549 โดยให้ผู้ว่าฯสตง. ปฏิบัติหน้าที่แทน
และมีประกาศ คปค.ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ระบุว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีคตง.และผู้ว่าฯสตง.ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าฯสตง.ที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง(ผู้ว่าฯที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 ก.ย. 2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย.2550)ยังคงปฏิบัติหน้าที่คตง.และผู้ว่าฯสตง.ไปพลางก่อน
แต่ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 34(2) กำหนดว่า ผู้ว่าการฯพ้นตำแหน่งเมื่อ "มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์"
คุณหญิงจารุวรรณ อายุครบ 65 ปีในวันที่ 4 ก.ค. 2553 แต่มีการอ้างข้อโต้แย้งว่า ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น ระหว่างที่ยังไม่ได้ข้อยุติและเพื่อให้การบริหารราชการของสตง.เป็นไปโดยต่อเนื่อง จึงยังต้องดำรงตำแหน่ง
อยู่ต่อไป
ในขณะที่คนอีกจำนวนไม่น้อยมีความเห็นว่า คุณหญิงจารุวรรณจะต้องสิ้นสภาพไปแล้ว
ตั้งแต่เมื่ออายุครบ 65 ปี
เพื่อไทย
Wednesday, August 18, 2010
สตง.
คอลัมน์ที่ 13