WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 15, 2010

ผ่านด่านสภา จับตาโกง

ที่มา ไทยรัฐ

แกะรอย "ตัวแปร"โหวตชี้ขาดงบประมาณ 2 ล้านล้าน ผ่านด่านสภา จับตาโกง

สัปดาห์หน้า ถือเป็นห้วงเวลาสำคัญทางการเมือง ที่หลายฝ่ายจ้องจับตา

เพราะเข้าสู่ห้วงปฏิทินเวลาที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องเผชิญกับด่านสำคัญในสภาผู้แทน ราษฎร

ที่เป็นเงื่อนไขชี้เป็นชี้ตายการอยู่รอด หรือล้มคว่ำคะมำหงายของรัฐบาลภายในสมัยประชุมนี้

นั่นก็คือ การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำ

ปี 2554 วงเงินจำนวน 2,070,000,000,000 บาท ในวาระ

ที่ 2 และ 3 ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้

การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล ถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานของฝ่ายบริหาร

เป็นการขอจัดสรรเม็ดเงินจากภาษีของประชาชน รายได้ ต่างๆของรัฐ รวมทั้งเงินกู้ เพื่อนำไปใช้เป็นงบประมาณในการ บริหารราชการแผ่นดิน ผ่านกลไกกระทรวง ทบวง กรม รัฐ วิสาหกิจ และองค์กรอิสระต่างๆ

ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐบาลจัดทำเป็นพระราชบัญญัติ

โดยต้องมีเอกสารประกอบ อาทิ ประมาณการรายรับ วัตถุ ประสงค์ กิจกรรม แผนงาน โครงการในแต่ละรายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน

เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ หากสภาฯให้ความเห็นชอบแล้ว ก็จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป

โดยวุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯมาถึงวุฒิสภา

หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯที่ผ่านสภาฯมาแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถนำร่าง พ.ร.บ.

ดังกล่าว มาลงมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.เท่าที่มีอยู่ของสภาฯ

ก็ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และสามารถนำเข้าสู่กระบวนการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

นี่คือภาพรวมของกระบวนการในการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน

อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของสภาผู้แทนราษฎร หากที่ประชุมสภาฯมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯก็จะตกไปทันที

และถึงแม้รัฐธรรมนูญจะอนุโลมให้สามารถใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนหน้านั้น ไปพลางก่อนได้

แต่รัฐบาลก็อยู่บริหารราชการแผ่นดินต่อไม่ได้

ต้องแสดงความรับผิดชอบ ถ้าไม่ยุบสภา นายกฯก็ต้องลาออก

เป็นไปตามวัฒนธรรมครรลองประชาธิปไตยที่เป็นสากล

ทั้งนี้ในการเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของรัฐบาล อุปมา-อุปไมยเหมือนประเทศไทยเป็นบ้านหลังใหญ่ มีสมาชิกในครอบครัว 63 ล้านคน

ในห้วง 1 ปีผู้นำครอบครัวก็จะต้องเสนอแผนค่าใช้จ่ายต่างๆภายในบ้าน ถ้าไม่ได้รับการอนุมัติจากสมาชิกในครอบครัว แผนการจับจ่ายใช้สอยก็ต้องพับไป เพราะไม่มีเงินในกระเป๋า

เช่นเดียวกับการเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ถ้าไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากสภาฯ แม้การใช้จ่ายงบประมาณจะไม่ถึงกับหยุดชะงัก เพราะยังสามารถใช้งบฯได้ตามกรอบเดิมของปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นแค่รายจ่ายประจำ เช่น เงินเดือนข้าราชการ

แต่ในส่วนโครงการพัฒนาประเทศ ที่เป็นโปรเจกต์ใหม่ๆ จะไม่สามารถเดินหน้าไปได้

เพราะต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่ เข้ามาจัดการเสนอร่าง พ.ร.บ.งบ ประมาณรายจ่ายประจำปีกันใหม่

ปรากฏการณ์เช่นนี้หากเกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างรุนแรง

สำหรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯปี 2554 ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 18-19 ส.ค.นี้

ทางฝ่ายรัฐบาลยืนยันว่ามีเสียง ส.ส.เพียงพอในการลงมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ

ถึงแม้รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. ด้วย 24 คน จะงดออกเสียงลงมติ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาที่อาจถูกยื่นเรื่องตีความ แต่ฝ่ายรัฐบาลก็ยังมีเสียงมากกว่าฝ่ายค้าน 20 กว่าเสียง

แน่นอน เมื่อสถานภาพเสียงของฝ่ายรัฐบาล เป็นเสียงข้างมากในสภาฯ การโหวตร่างกฎหมายที่ใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

แต่ภายใต้สถานการณ์ที่การเมืองมีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างรุนแรง และมีตัวแปรหลายประการสอดแทรกเข้ามา ในห้วงที่กำลังจะมีการพิจารณาโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ

ทำให้บรรดาคอการเมืองเกิดความไม่มั่นใจว่า รัฐบาลจะสามารถคุมเสียงสนับสนุนในสภาฯได้อย่างที่คุยไว้หรือไม่

โดยเฉพาะล่าสุดสดๆร้อนๆ เกิดเหตุการณ์สภาล่ม ส.ส.รัฐบาลไม่ครบองค์ประชุม ทั้งที่เพิ่งเปิดสมัยประชุมสภามาแค่ 2 สัปดาห์

ที่สำคัญ ก่อนเกิดเหตุสภาล่ม 1 วัน ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพรรคแกนนำกับพรรคร่วมรัฐบาล

กรณีที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย เสนอโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

แต่ถูกตีกลับ โดยให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาอีกครั้ง สร้างความไม่พอใจให้กับแกนนำพรรคภูมิใจไทยอย่างแรง

ถึงขั้นขู่ว่าจะไม่เข้าร่วมประชุมสภาฯ เพื่อแสดงปฏิกิริยาให้แกนนำรัฐบาลได้รับรู้

เมื่อเกิดปัญหาสภาล่มขึ้นมาจริงๆ จึงมองกันว่าเป็นเพราะพรรคภูมิใจไทยเล่นเกมตีรวน

แต่เมื่อมีการเช็กรายชื่อ ส.ส.ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมสภาฯ จนเป็นเหตุให้องค์ประชุมล่ม ปรากฏว่า

มี ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคขาดประชุม

ไล่เรียงตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์ขาดประชุม 15 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 12 คน พรรคภูมิใจไทย 9 คน พรรครวมชาติพัฒนา 4 คน พรรคกิจสังคม 3 คน พรรคมาตุภูมิ 1 คน

ส่วนพรรคเพื่อแผ่นดินที่เป็นพรรคอกแตก เพราะมีบางกลุ่มมาร่วมงานกับรัฐบาล ก็ขาดประชุมหลายคน

สรุปแล้วชัดเจนว่า เหตุสภาล่มครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องการตีรวนของพรรคภูมิใจไทย

เรื่องความไม่พอใจที่ถูกดองโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีนั้นมีแน่นอน แต่ยังไม่รุนแรงถึงขั้นหักกันแบบเอาเป็นเอาตาย

เหนืออื่นใด ในคิวลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เรื่องที่พรรคภูมิใจไทยจะเล่นเกมตีรวนถึงขนาดคว่ำงบฯคงไม่มีทางเกิดขึ้น

เพราะในฐานะที่เป็นพรรคอันดับสองในรัฐบาล คุมกระทรวงสำคัญหลายกระทรวง ยังมีอีกหลายโครงการที่มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลอยู่ในแผนงบฯปี 2554 จึงต้องประสานประโยชน์ต่อไป

ถ้างบฯคว่ำ พรรคภูมิใจไทยก็ต้องเสียประโยชน์ไปด้วย

สำหรับตัวแปรถัดมาก็คือ เสียง ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่มีอยู่ 32 คน ในการปรับ ครม.ครั้งล่าสุด ถูกปรับออกจากการร่วมรัฐบาล

แต่ก็มี ส.ส.กลุ่มเล็กๆ ภายใต้การนำของนายไชยยศ จิรเมธากร ส.ส.อุดรธานี ขอกลับเข้ามาร่วมรัฐบาล และได้นั่งเก้าอี้ รมช.ศึกษาธิการ

"เพื่อแผ่นดิน" จึงมีสภาพเป็นพรรคอกแตก กลุ่มใหญ่ถูกปรับออก แต่กลุ่มเล็กยังร่วมอยู่ใน ครม.

สถานะก้ำกึ่ง จะเรียกว่าเป็นฝ่ายค้านก็ไม่ใช่ จะถือว่าเป็นรัฐบาลก็ไม่เชิง

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินก็ออกมาส่งสัญญาณไฟเขียว ประกาศพร้อมโหวตสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะถือว่าได้มีส่วนร่วมจัดทำกันมาตั้งแต่ต้น

อีกทั้งการประกาศโหวตหนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ยังเกี่ยวโยงไปถึงเส้นทางการเมืองในอนาคตของพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ยังมีโอกาสหวนกลับเข้ามาร่วมรัฐบาลกันได้

เพราะเหตุผลเบื้องลึกที่ถูกปรับออกจากการร่วมรัฐบาล พรรคเพื่อแผ่นดินไม่ได้มีปัญหากับพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นแกนนำรัฐบาล แต่มีปัญหากับพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคภูมิใจไทยเท่านั้น

ฉะนั้น มาถึงตรงนี้ ปมหวาดเสียวที่เกรงกันว่า เสียง ส.ส. พรรคเพื่อแผ่นดิน อาจขาดหายหรือโหวตคว่ำร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ

ก็เป็นอันว่าตัดไปได้ อยู่ในข่ายปลอดภัยแน่

ส่วนตัวแปรสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็หนีไม่พ้นเกมการต่อสู้ของการเมือง 2 ขั้วใหญ่ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ กับฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย

ที่เปิดศึกแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างรุนแรงมาตลอด หลายฉาก หลายเหตุการณ์

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ทุกการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย มีความเกี่ยวโยงกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯทั้งสิ้น

เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณพยายามเดินเกมทวงอำนาจ และทวงคืนทรัพย์สมบัติที่ถูกยึดไว้ ด้วยการเร่งเกมให้มีการเลือกตั้งใหม่

เพื่อใช้ฐานเครือข่ายพรรคเพื่อไทย กรุยทางผ่านสนามเลือกตั้งกลับเข้าสู่อำนาจรัฐ

โดยเงื่อนไขเดียวในขณะนี้ที่จะทำให้เกิดการยุบสภาได้ ก็คือ คว่ำงบประมาณฯ

จึงทำให้มีกระแสเรื่องการทุ่มเงินซื้อเสียง ส.ส. เพื่อให้ คว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ

แต่ฝ่ายรัฐบาลก็รู้เขารู้เรา เฝ้าจับตาการเคลื่อนไหวของบุคคลที่เป็นท่อน้ำเลี้ยงรายใหญ่ไม่ให้ขยับตัวได้

ขณะเดียวกันก็ยังดึงดูด ส.ส.ในซีกฝ่ายค้านให้ย้ายข้างมาเสริม จนมีกระแสเรื่องการซื้อตัว ส.ส.ให้โหวตหนุนร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปูดออกมาเหมือนกัน

จากร่องรอยทั้งหมด จึงฟันธงได้ว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯแน่นอน

แต่ผ่านแล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้ผ่านเลย

ประชาชนเจ้าของประเทศและเป็นเจ้าของเงินภาษี ต้องมีส่วนร่วมในการติดตามการใช้งบประมาณ

อย่าปล่อยให้แร้งลง

อย่างน้อยก็ลุ้นให้อันดับคอรัปชันของประเทศไทย กระเตื้องขึ้นมาบ้าง.


"ทีมการเมือง"