ที่มา ประชาไท ท่ามกลางหมอกดำของพรก.ฉุกเฉินฯ ที่ค่อยๆ จางลงจากการกดดันของสังคม เด็กนักเรียนนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เคย ออกมาแสดงสิทธิขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยการชูป้ายว่าไม่เห็นด้วยกับการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการกระทำอีกหลายอย่างของรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพวกเขาเหล่านั้นโดนจับในข้อหาละเมิดพ.ร.กฉุกเฉินฯ ซึ่งสร้างความฉงนงงงวยให้แก่สังคมไทยจนเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ หลังจากการแสดงออกการกระทำในครั้งนี้ มีความพยายามที่จะทำให้เด็กเหล่านี้ กลายเป็น "เด็กมีปัญหา" ต้องเข้ารับการบำบัด หรือแม้แต่ความพยายามที่จะโยงเด็กเหล่านี้เข้ากับกลุ่มแกนนำ นปช. การพยายามกีดกันให้คนออกจากความเป็นเป็นปรกติเพื่อลดความน่าเชื่อถือ เป็นวิธีที่แยบยลของระบอบเผด็จการ ถ้าใช้กับคนในระดับเดียวกัน แต่การกระทำกับคนต่างระดับกันด้วยวัยวุฒิย่อมถูกสังคมมองว่า "ผู้ใหญ่รังแกเด็ก" จนทำให้รัฐต้องปล่อยเด็กเหล่านี้ไป แต่ทว่าไม่นานหลังจากมรสุมทางสังคมที่ปล่อยให้ "ผู้ใหญ่รังแกเด็ก" ผ่านพ้นไป มรสุมลูกใหม่ก็เข้ามาท้าทายต่อสังคมอีก คือกรณี อ.จุฬายื้อแย่งป้ายแสดงความคิดเห็นของนิสิตนศ.จุฬา ที่เตรียมแสดงออกต่อนายอภิสิทธิ์ที่จะไปกล่าวปาฐกถาเรื่องการกระจายอำนาจ ที่จุฬาฯ แล้วแสดงอำนาจ วางกล้ามใหญ่โตว่า ""นี่ไม่ใช่ที่จุฬาฯ นี่เป็นที่ของผม ฟ้องผมได้เลย" นักเรียน-นักศึกษาที่ในยุคหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นอำนาจบริสุทธิ์ที่ก่อให้เกิดการฟูมฟักประชาธิปไตย กลับกลายเป็น "เด็ก" ที่ไม่ควรแสดงออกทางการเมือง เพราะจะบิดเบือนข้อเท็จจริงทั้งที่การแสดงออกทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีแบ่งชั้น ไม่มีเด็ก ไม่มีผู้ใหญ่ การแสดงออกทางการเมืองของนักเรียน-นักศึกษายุคใหม่ หลังจากที่วงการนี้แห้งแล้งทางการเมืองมาอย่างยาวนาน เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่า พวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ เบื้องหลังความคิดภายใต้โฉมหน้าที่ปี่ยมไปด้วยพลังนั้นคืออะไร นายกิตติพงษ์ นาคะเกศ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีชื่อเล่นว่า ปริ๊นซ์ อายุ 22 ปี เป็นนักศึกษาที่ออกไปชูป้ายแสดงสิทธิจนถูกกล่าวหาว่าละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประสบการณ์ของเขาอาจพอที่ทำให้ใครหลายคนได้เข้าใจ นักเรียน-นักศึกษายุคใหม่มากขึ้น นายกิตติพงษ์ หรือปริ้นซ์ เป็นนักศึกษาคนหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตอย่างนักศึกษาทั่วไป จนกระทั่งหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ทำให้เขาเริ่มศึกษาเรื่องการเมืองอย่างจริงจังมากขึ้น ประกอบกับความสนใจประวัติศาสตร์ยุค 14 ตุลา หล่อหลอมความคิดของเขา จนทำให้เขาออกมาแสดงสิทธิว่าไม่เห็นด้วยกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพราะจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พวกเขาคิดอย่างไรกับการแสดงออกทางสัญญาลักษณ์ ท่ามกลางกฎหมายที่จำกัดสิทธิของพวกเขาอยู่ ในขณะที่คนอื่นๆไม่กล้าทำ ชีวิตหลังจากถูกข้อกล่าวหาว่าผิด พรก.ฉุกเฉินเป็นอย่างไร ติดตามได้ดังนี้ ความตื่นตัวทางการเมืองของปริ้นซ์ เริ่มมาจากอะไร ทำไมจึงไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้หรือเปล่า จึงออกมาชูป้ายกัน 5 คน หรืออะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจอย่างนั้น แล้วคิดมาก่อนไหมว่า อาจจะมีผลตามมาแบบนี้ หลังโดนข้อหา ชีวิตเปลี่ยนไปหรือเปล่า ความรู้สึกก่อนและหลังการออกมาชูป้ายล่ะ คนที่เห็นต่างกับรัฐบาลส่วนมากก็เหมือนไม่ได้รับรู้ข่าวสาร ถูกปิดกั้นสื่อ มันอัดอั้นนะ ตอนนี้ก็ไม่ดูฟรีทีวีกันแล้ว เพราะเขาเลือกสื่อที่จะเสพย์ได้ ไปซื้อจานดาวเทียมมาดูกันเป็นส่วนมาก ผมคิดว่าการที่ผมได้ออกมาทำกิจกรรมแล้ว และเป็นข่าว ก็เหมือนเป็นการได้ปลดปล่อยให้กับประชาชน เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้หายไปไหน เรายังอยู่ ขณะนี้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐพยายามเอาพวกเราไปบำบัด ปริ้นเห็นอย่างไรกับการกระทำของรัฐบาล ซึ่งพยายามที่จะทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นเรื่องของ "เด็กมีปัญหา" และเราเป็นเด็กมีปัญหาจริงหรือเปล่า หลังจากที่ได้ไปหากรรมการสิทธิฯมาแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง อยากฝากอะไรถึงรัฐบาลและสังคมไทย มีอะไรที่อยากบอกอีกไหม ตามความคิดเห็นของผมนะ ประเทศไทยไม่เคยมีประชาธิปไตยเลย อย่างมากก็ได้แค่ครึ่งใบ คนแค่ไม่กี่คนสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงเสียงส่วนใหญ่ของประเทศได้ นี่แหละคือประชาธิปไตยของประเทศไทย
แต่ก่อนก็ไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองสักเท่าไหร่ แต่ก็ชอบอ่านหนังสือจำพวก 14 ตุลา ฯลฯ ชอบนะ แต่ไม่ค่อยได้ติดตาม จนมาถึงวันที่ 19 กันยายน 2549 จำได้เลยว่าวันนั้นผมกำลังนั่งเล่นเกมส์อยู่ในหอพัก เพื่อนที่เล่นเกมส์ด้วยกันซึ่งอยู่ที่กรุงเทพบอกว่า มีทหารขี่รถถังอยู่เต็มถนน ผมก็เลยเปิดดูทีวี เห็นแต่เพลง ก็เลยคิดว่า เกิดการปฏิวัติขึ้นมาแน่ๆ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมสนใจและติดตามการเมืองนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งการเข้าไปดูในอินเตอร์เน็ต อ่านตามหนังสือพิมพ์บ้าง ดูทีวีบ้างครับ ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ก็แค่เข้าไปยืนดูคนที่เขามาชุมนุมกันแค่นั้นเอง
คิดอย่างไรกับการแบ่งสีเสื้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ผมคิดว่า หากไม่เกิดเสื้อเหลือง ก็ไม่เกิดเสื้อแดง ในตอนนั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 19 ล้านเสียง ถูกคนกลุ่มเล็กๆในสังคมมาไล่เขาไป แล้วคนที่ออกเสียง 19 ล้านเสียงที่สนับสนุนรัฐบาลช่วงนั้น เขาก็ต้องไม่พอใจก็เลยเกิดเสื้อแดงขึ้นมาเหมือนกัน
พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ให้อำนาจรัฐมากเกินไป มันจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พ.ร.ก.ฉบับนี้มันจะใหญ่ไปกว่ารัฐธรรมนูญเกินไปหรือเปล่า ทำไมอำนาจบางอย่าง ข้อกฎหมายบางอย่างมันขัดกับรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป ซึ่งทำให้คนที่คิดต่างกับรัฐบาลไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งไม่เหมือนกับรัฐบาลอื่นที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย ที่เขายังให้พูดกันได้ คนที่คิดต่างก็สามารถพูดกันได้ แต่รัฐบาลนี้ไม่เลย สื่อฝ่ายตรงข้ามก็ปิด ปิดทั้งหู ปิดทั้งตาประชาชน ผมก็เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง จึงไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.กฉบับนี้
คือ ได้แนวคิดมาจากเฟสบุ๊คที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เขาเอาผ้ามาปิดปาก เอาป้ายมาติดข้างหลัง แล้วก็เดินไปเดินมาและรับประทานอาหารกันในโรงอาหาร ทำกันในเชิงสัญลักษณ์ ผมเห็นว่ามันขำดี (หัวเราะ) จึงเป็นการจุดประกายให้เราว่า สามารถทำได้ ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และต้นทุนต่ำด้วย แต่ก็มีการคิดกันมาหลายอาทิตย์เหมือนกันว่าจะทำดีหรือไม่ ลองถามเพื่อนๆดูว่าจะทำดีหรือไม่ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจทำเลยดีกว่า เดี๋ยวจะมันช้าเกินไป ตอนแรกก็ได้ไปชวนเพื่อนๆที่อยู่มหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่หากเป็นอย่างนั้นก็จะมีแค่มหาวิทยาลัยเดียว ก็เลยชวนน้องๆที่ได้คุยกันผ่านทางเฟสบุ๊ค ก็นัดกันเลยคืนนั้น มาเดินชูป้านกันประมาณ 10 - 20 นาทีก็กลับแล้ว
ในเรื่องการโดนคดี ผมก็ได้คิดมาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้คิดว่าจะรุนแรงและเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศขนาดนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจเหมือนกัน
ถ้าตามส่วนตัวของผมแล้วก็เหมือนเดิม แต่เวลาในการใช้ชีวิตก็ต้องจัดสรรให้ดี เพราะหลังจากที่โดนคดีแล้วก็กลายเป็นที่ต้องการของคนจากหลายๆส่วนไป มีคนมารุมล้อม มาให้กำลังใจ ส่วนครอบครัว ก็ไม่มีผลกระทบอะไร เพราะทางครอบครัวก็รู้ดีว่าผมเป็นอย่างไร ก่อนจะทำอะไรผมก็บอกแม่ไว้ก่อนว่า หากมีหมายเรียกอะไรมา ก็ไม่ต้องตกใจนะ เพราะมันก็แค่หมายเรียก ซึ่งคนรอบข้างส่วนใหญ่ก็มีความคิดเห็นคล้ายๆกับผม ยิ่งผมออกมาแล้วโดนกระทำอย่างนี้ เขาก็ยิ่งเห็นว่า มีการปลดปล่อยออกมาทีละนิด ทั้งความรู้สึกของคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและการกระทำของรัฐบาลที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมและสองมาตรฐาน
ความรู้สึกของผมในตอนนี้ก็ไม่ต่างกับก่อนทำเลย เพราะผมคิดว่าผมทำเพื่อส่วนรวม คนเราก็มีเพียง 2 ประเภท คือ คนที่เห็นแก่ตัว และคนที่ไม่เห็นแก่ตัว หากคนที่เห็นแก่ตัวก็คิดแต่จะเอาผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง แต่ผมคิดว่าผมเห็นพี่น้องที่ถูกรัฐใช้สองมาตรฐาน ใช้ความอยุติธรรมในการปกครอง ผมก็เลยออกมาทำให้มันเปิดเผยกันเลย ดีกว่าที่จะไปทำกันแบบใต้ดิน ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย
หากทางรัฐบาลเห็นว่า พวกเราเป็นเด็กมีปัญหา ผมว่ารัฐบาลนั่นเองเป็นคนที่มีปัญหา ก่อนที่จะเอาเด็กเข้าไปตรวจสุขภาพจิต นายกฯและรัฐบาลน่าจะไปตรวจสุขภาพจิตกันก่อน ซึ่งพวกคุณเองก็บอกว่า อยากให้ประชาชน อยากให้นักเรียน นักศึกษา ออกมาแสดงความคิดเห็นที่ต่างกัน เพื่อที่จะได้รับฟัง ซึ่งพวกผมก็ทำกันแค่นี้เอง แต่พวกคุณก็มาไล่บี้ ไล่ฆ่ากัน ซึ่งมันขัดกับที่คุณได้พูดออกมา
ในช่วงเช้า คณะกรรมการฯเขาก็ซักถามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เขาเชิญไปก็มีผู้ว่าฯ แต่ก็ส่งรองผู้ว่าฯไปแทน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำคดีของพวกผม คณะกรรมการฯก็ซักถามว่า ทำไมถึงไปตั้งข้อหาว่าเยาวชนกลุ่มนี้มีความผิด ทั้งๆ ที่การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่ทำกันทั่วประเทศ ตามจังหวัดใหญ่ๆ นั้น ยังไม่เห็นมีการทำอะไรกันเลย แต่ทำไมเยาวชนกลุ่มนี้กลับโดนตั้งข้อหา แล้วมีการคุกคามกันไหม เขาก็ถามกันประมาณนี้ พอตอนบ่ายก็มาซักถามพวกผมว่า ถูกคุกคามกันไหม หลังจากโดนกล่าวหาแล้วเป็นอย่างไรกัน
หากคิดถึงหลักปรองดองที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นมาน่ะ ผมคิดว่าคงจะปรองดองไม่ได้หรอก เพราะคณะกรรมการเป็นคณะกรรมการที่คุณตั้งขึ้นมาฝ่ายเดียว ซึ่งก็เหมือนการตบมือข้างเดียว ตบอย่างไรมันก็ไม่ดังหรอก การที่จะปรองดองกันได้นั้น คุณจะต้องเอาทั้งคนที่มีความคิดเห็นต่างกันและคนกลางเข้ามาตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้น แล้วก็นั่งคุยกัน ลดทิฐิกันลง แล้วหันกลับไปมองปัญหาที่ได้เกิดขึ้นมา กลับมาคุยกันว่าจะทำให้ประเทศเดินหน้าไปได้อย่างไร
ขอเสริมในเรื่องที่ สกอ.ออกหนังสือแจ้งเวียนไปยังสถานศึกษาต่างๆทั่วประเทศ ให้ควบคุมนักเรียนและนักศึกษาที่จะออกมาทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ผมอยากจะฝากถึงนายกฯและสกอ.ว่า สิ่งที่คุณออกคำสั่งมานั้น เปรียบเสมือนคุณได้ออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหมือนรัฐบาล การจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็ก - เยาวชนที่จะออกมาแสดงความคิดเห็น มันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ไม่ควรที่จะมีคำสั่งแบบนี้ออกมาด้วยซ้ำ