WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 15, 2010

เมื่อโครงสร้างภาษาแห่งความยุติธรรมอันแท้จริงถูกปล้น

ที่มา Robert Amsterdam


โดย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม


เมื่อต้นปีนี้ ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้ภาษาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลซึ่งได้ส่งผลต่อการรับรู้และเข้าใจของคนทั่วไป บทความดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Wall Street Journal ประเด็นที่ผมได้กล่าวข้างต้นนั้น เป็นประเด็นที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสอยู่บ่อยครั้ง โดยล่าสุดเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อเหล่าพรรคการเมืองและบุคคลบางกลุ่มที่ยึดมั่นในแนวทางและหลักการ “การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ” กล้าเรียกตัวเองว่าเป็นกลุ่ม “ประชาธิปไตย” และในขณะเดียวกันกลับเรียกผู้เรียกร้องประชาธิปไตยว่า “ผู้ก่อการร้าย” กลุ่มและพรรคการเมืองเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุดคือพรรคการเมืองของนายอภิสิทธิ์ซึ่งไม่ควรหลอกตัวเองอีกต่อไป เพราะหลายเดือนจากนี้ไป เราจะดำเนินการอย่างดีที่สุดเพื่อทวงโครงสร้างทางภาษาแห่งความยุติธรรมและภาษาแห่งประชาธิปไตยคืน

“เมื่อสิทธิมนุษยชนกำลังถูกทำลาย ภาษาถูกใช้เป็นเครื่องมือ โครงสร้างภาษาแห่งความยุติธรรมอันแท้จริงตกไปอยู่ในเงื้อมมือของคนผิดและถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างฉากละครในศาลยุติธรรมอย่างประณีตบรรจงและสวยงาม การดำเนินคดีที่จำเลยปราศจากสิทธิแก้ต่าง ยังถูกเรียกว่า “การดำเนินคดี” การที่หัวหน้ากลุ่มอำมาตย์ทำหน้าที่แทนผู้พิพากษาในการตัดสินคดีความ ยังถูกเรียกว่า “การตัดสินคดี” และความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าระบบกฎหมายและตุลาการอันเสื่อมโทรมยังคงมีประสิทธิภาพ โดยข้อสมมุติฐานดังกล่าวถูกกลุ่มนักลงทุนน้อมรับไว้อย่างกระเหี้ยนกระหายเพื่อหาโอกาสที่จะลงทุนในสังคมที่ระบบตุลาการมีปัญหา

เมื่อลูกความของผมอย่างนายมิคาอิล คอร์โดคอฟสกี้ นักโทษทางการเมืองชาวรัสเซีย ถูกดำเนินคดีครั้งแรกในปี 2547 รัฐบาลรัสเซียได้ใช้อำนาจผ่านสื่อของตนเองบัญญัติศัพท์แห่งความยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยทีวีได้ถ่ายทอดภาพลูกความผมถูกใส่โซ่ตรวนและถูกขังในกรง ระหว่างที่ถูกนำตัวไปฟังการพิจารณาคดีในศาล โดยมีฉากละครในศาลที่ผู้พิพากษาแสร้งรับฟังจำเลยและแกล้งทำเป็นว่าคำตัดสินคดีไม่ได้ถูกส่งมาทางโทรศัพท์โดยรัฐบาล ซึ่งคนรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “ความยุติธรรมทางโทรศัพท์”

สำหรับผู้ที่คอยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ จะรู้สึกว่าการดำเนินคดีดูเหมือนจะปกติดี แต่แท้จริงแล้วภายใต้ภาพลักษณ์ที่ดูปกตินั้น กลับเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เสื่อมทราม การใช้อิทธิพลทางการเมือง และสภาวะที่ไร้กฎเกณฑ์ โดยตัวอย่างที่เราได้เห็นคือกรณีของนาย Liu Xiaobo ผู้ต่อต้านรัฐบาลจีนซึ่งถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 11 ปี ซ้ำรัฐบาลสหรัฐไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องดังกล่าวเลย และเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในอิหร่านเมื่อ ดร. Ramin Pourandarjani เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา โดย ดร. Ramin Pourandarjani ถูกจับกุมหลังจากให้การในรัฐสภาว่าเขาปฏิเสธที่จะเซ็นใบมรณะบัตรปลอมเพื่อปกปิดสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงของผู้ประท้วงที่ถูกทรมาณอย่างทารุณ หรือแม้แต่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าก็ได้กลายมาเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม โดยจัดฉากดำเนินคดีจอมปลอมเพื่อตัดสินยืดเวลากักบริเวณนางออง ซาน ซู จี

คดีที่ผมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวของในเวเนซูเอล่าอีกคดีหนึ่งคือ เมื่อไม่นานมานี้ประธานาธิบดีอูโก ชาเวซได้กล่าวโจมตีผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ปล่อยตัวนายเอลลิจีโน เซเดโย่ นักโทษทางการเมือง ผ่านทางทีวี โดยนายชาเวซเรียกร้องให้ผู้พิพากษาผู้ตัดสินให้ปล่อยตัวนายเซเดโย่ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศนั้นควรจะถูกจำคุก 30ปี ประธานาธิบดีบดีชาเวซยังประณามผู้พิพากษาและนักโทษทางการเมืองว่าเป็น “โจร” แม้ตามข้อเท็จจริงแล้วบุคคลทั้งสองไม่เคยก่ออาชญากรรมหรือถูกตัดสินว่ามีความผิดในอาชญากรรมใดเลยก็ตาม สำหรับผู้นำประเทศเหล่านี้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การพยายามทำให้สื่อนำภาษาและคำอธิบายของพวกเขาไปใช้วาดภาพให้ประชาชนเห็นว่าศัตรูของพวกเขาคืออาชญากร มากกว่าที่จะมีดำเนินคดีอย่างจริงจังหรือมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางคดี

เมื่อภาษาแห่งความยุติธรรมถูกปล้น จึงเป็นเรื่องยากที่สื่อจะนำเสนอเหตุการณ์อย่างไม่มีอคติและพิจารณาเห็นถึงความไม่สมเหตุสมผลของข้อกล่าวหานั้น การขาดพยานหลักฐาน หรือแม้แต่สามารถมองเห็นว่าเกมการฟ้องร้องดำเนินคดีนั้นไม่อยู่ภายใต้หลักกฎหมาย รัฐบาลเหล่านี้เห็นว่าการแจ้งข้อหาสำคัญกว่าการตัดสินคดี เพราะพวกเขาสามารถใช้อำนาจทำลายหลักการทางกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด พวกเขารู้ดีว่าการประณามฝ่ายตรงข้ามหรือกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นอาชญากรครั้งแล้วครั้งเล่า จะทำให้มวลชนเริ่มคล้อยตาม

เมื่อมีการจับกุมเกิดขึ้น น้อยคนนักที่จะสนใจเจตนาของคนที่ฟ้องร้องบุคคลเหล่านี้ เพราะไม่ว่าการสอบสวนจะมีความเป็นอิสระหรือการฟ้องร้องจะแฝงไปด้วยเจตนาทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม กระบวนการและโครงสร้างการฟ้องร้องคดีทุกขั้นตอนนั้นมีความเหมือนกัน

การแก้ไขอย่างง่ายของผมคือ ผมขอให้นักข่าวพิจารณาถึงขอบข่ายของการใช้คำว่า “การพิจารณาคดี”เสียใหม่ โดยคำนี้ควรจะถูกใช้อธิบายถึงกระบวนการพิจารณาคดีที่จำเลยและอัยการมีสิทธิในการดำเนินคดีที่เท่าเทียมกัน ต่อหน้าศาลที่มีความเป็นธรรมและอิสรั อันเป็นหลักการที่ได้ถูกบัญญัติไว้ในสนธิสัญญาและปฏิญญาสากลระหว่างประเทศอันสมบูรณ์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กระบวนการดำเนินคดีแบบที่ผู้นำจีนใช้ต่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม รัฐบาลอิหร่านใช้กับผู้ชุมนุมประท้วง หรือแบบที่ประธานาธิบดีชาเวซแห่งเวเนซูเอล่าใช้กับฝ่ายตรงข้าม ไม่สมควรจะถูกเรียกว่าเป็นกระบวนการพิจารณาคดีทางศาล ที่ผมยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็เพราะว่ามีหลักการทางกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดบัญญัติไว้ในสนธิสัญญาและปฎิญญาสากลระหว่างประเทศเหล่านี้ ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่กลุ่มผู้นำอำมาตย์ล้มเหลวที่จะปฏิบัติตาม ซ้ำยังพยายามที่จะทำลายหลักการนี้อยู่เป็นประจำ

ดังนั้น เหตุใดเราถึงยังเลือกที่จะทึกทักเอาว่าทุกอย่างเป็นปกติดีและเชื่อว่ากลุ่มผู้นำและองค์กรรัฐบาลเหล่านี้กำลังปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระและเป็นธรรม? เราควรจะทวงคืนภาษาและโครงสร้างภาษาแห่งสิทธิมนุษยชนคืนมา ซึ่งจะทำให้เรายึดติดกับคำอธิบายเหตุการณ์ในรูปแบบของรัฐบาลน้อยลงและให้ความสนใจกับเจตนาของรัฐบาลในการฟ้องร้องและรายละเอียดของข้อกล่าวหานั้นมากขึ้น

นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนคนสำคัญในยุค 60 อย่าง Stokley Carmichael กล่าวว่า “เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิที่จะบัญญัติคำศัพท์ซึ่งเปิดโอกาสให้เราได้นิยามความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อสังคมด้วยตนเอง และเราต้องต่อสู้เพื่อให้คำศัพท์เหล่านั้นเป็นที่ยอมรับ นี่คือภารกิจแรกของเสรีชน และคือการเริ่มต้นใช้สิทธิเพื่อปฏิเสธที่จะอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ข่มเหง”

ภาษาคือสิ่งสำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชน และถึงเวลาแล้วที่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มันคืนมา”

Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม