WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 5, 2010

ดุลอำนาจรัฐ สกัดเกมรุนแรง

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_131674

ถือเป็นข้อยุติ สิ้นสุด เด็ดขาด

เมื่อ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากมีมติ 4 ต่อ 2 ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีการใช้เงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์

โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกินระยะเวลา 15 วัน ตามที่ พ.ร.บ.พรรค การเมือง พ.ศ.2550 บัญญัติไว้

จึงเห็นควรให้ยกคำร้อง และในประเด็นอื่นๆไม่ต้องพิจารณาวินิจฉัย

จากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาในครั้งนี้

ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการบริหารพรรค

รอดจากการโดนเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ทั้งนี้ ภายใต้กติการัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคห้า ระบุไว้ชัดเจน

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นๆของรัฐ

แต่ในสังคมประชาธิปไตย ย่อมมีความเห็นเป็น 2 ฝ่ายเสมอ ฉะนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินยกฟ้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

จึงมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีทั้งฝ่ายที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ ถือเป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย

โดยเฉพาะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีองคาพยพและอำนาจไม่เหมือนศาลยุติธรรมที่ตัดสินคดีทั่วไป

แต่เป็นศาลทางการเมืองที่วินิจฉัยตัดสินคดีด้วยเสียงข้างมากขององค์คณะตุลาการ

ทำให้สามารถถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเปิดเผย

อย่างไรก็ตาม โดยหลักการของระบอบประชาธิปไตย ทุกอย่างต้องยึดตามกติการัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งกติกาเสียงข้างมาก

เมื่อตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยชี้ขาดตามกระบวนการของกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ

หากสังคมประชาธิปไตย ไม่ยึดหลักกฎหมาย ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์กติกา เอาแต่ความรู้สึกของตัวเองเป็นที่ตั้ง

สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย ประเทศชาติไม่สามารถเดินหน้าไปได้

ทั้งนี้ หากหันมามองในเรื่องแง่มุมสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบทางการเมืองจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ในกรณีที่หากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญพลิกไปอีกด้านหนึ่ง

พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ นายกฯอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค โดนตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

สิ่ง ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ "อภิสิทธิ์" ต้องหลุดจากเก้าอี้นายกฯ คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งยวง ต้องมีการเรียกประชุมสภาฯโหวตเลือกนายกฯกันใหม่

ในขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ต้องไปหาพรรคใหม่สังกัดภายใน 60 วัน

กว่า จะมีการตั้งคณะรัฐมนตรี แถลงนโยบายกันใหม่ ต้องใช้เวลาไม่น้อย ไม่รู้โฉมหน้ารัฐบาลจะออกมาอย่างไร ใครจะเป็นนายกฯ ในขณะที่เทอมของสภาฯเหลือเวลาอีกแค่ปีเดียว

ฉะนั้น ถ้าผลลัพธ์ออกมาว่า "ยุบพรรค" และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี สถานการณ์ทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ คงวุ่นวายไปหมด

โดยเฉพาะเป็นช่วงเดือนธันวาคม ที่ต้องมีพิธีเฉลิมฉลองวันมหามงคล และฉลองเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

บรรยากาศทางการเมืองที่ควรจะนิ่ง ก็จะกระเพื่อมกระฉอก

แต่จากปรากฏการณ์ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 มีมติให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อไม่ถูกยุบพรรค ไม่โดนเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

แน่ นอน "อภิสิทธิ์" ก็ยังอยู่บนเก้าอี้ นายกรัฐมนตรีได้ คณะรัฐมนตรีชุดนี้ก็ยังมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินต่อไป ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ตามปกติ

ไม่มีอะไรมากระทบต่อองคาพยพและเสถียรภาพของรัฐบาล

แต่ก็มีผลข้างเคียงจากผลการตัดสินคดีของศาลรัฐ-ธรรมนูญที่ไม่ยุบพรรคประชา-ธิปัตย์ นั่นก็คือ

ความรู้สึกที่ไม่ พอใจ ไม่ยอมรับการตัดสิน

โดยเฉพาะพวกที่ตั้งป้อมไม่ยอมรับการตัดสินมาตั้งแต่ ก่อนที่ศาลฯจะมีคำวินิจฉัยออกมา

เห็นได้จากกรณีที่มีกระบวนการจัดทำและเผยแพร่คลิปต่างๆออกมากดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

รวมทั้งหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินวินิจฉัยชี้ขาดออกมาแล้ว แกนนำในพรรคเพื่อไทยก็เริ่มมีปฏิกิริยา

เรียก ร้องกดดันให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออก และเตรียมยื่นเรื่องถอดถอนนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. รวมทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่ง

ใน ขณะที่เครือข่ายเสื้อแดงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ประกาศจะแจ้งความดำเนินคดีกับ กกต.ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และจะรวบรวมรายชื่อประชาชน 2 หมื่นคน ยื่นเรื่องถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นอก จากนี้ แกนนำเสื้อแดง นปช.ยังประกาศที่จะมีการเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมทอล์กโชว์ ในวันที่ 5 ธันวาคม และจัดชุมนุมในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม

เตรียมใช้เรื่องการตัดสินคดียุบพรรคของศาลรัฐ-ธรรมนูญ ขยายผล 2 มาตรฐาน

อย่าง ไรก็ตาม "ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ" ขอบอกว่า การเคลื่อนไหวแสดงออกของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินคดียุบพรรคประชา ธิปัตย์ของศาลรัฐธรรมนูญ

สามารถทำได้ตามกรอบกติกาของกฎหมายภายใต้ ระบอบประชาธิปไตย

เพราะหากเป็นการเคลื่อนไหวนอกกรอบกติกากฎหมายบ้านเมือง ปัญหาก็ไม่จบ

โดย เฉพาะหากเป็นการเคลื่อนไหวที่แฝงความรุนแรง ก็สุ่ม-เสี่ยงที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ความไม่สงบ เกิดจลาจลเผาบ้านเผาเมือง เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และสังคมไม่ยอมรับแนวทางดังกล่าว

ที่สำคัญ ทุกฝ่ายในบ้านเมืองก็รู้ว่า ถ้าปล่อยให้สถาน-การณ์เลยไปถึงจุดนั้นมันอันตราย

โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาล ก็พยายามป้องกันอย่างเต็มที่

เห็น ได้จากการที่นายกฯอภิสิทธิ์ได้สั่งการให้นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.สำนักนายกฯ นำรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไปเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน

ขอให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะที่ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

พร้อมทั้งมอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว. กลาโหม และ ผอ.ศอฉ. ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองในห้วงเดือนธันวาคม

เน้นทำความเข้าใจกับสังคม ดูแลความปลอดภัยตุลาการฯ และรักษาความสงบเรียบร้อย

เตรียมป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง

เพราะต้องยอมรับว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินคดี โดยยกฟ้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเครือข่ายกลุ่มเสื้อแดง ย่อมไม่พอใจต่อผลการตัดสินที่ออกมา และต้องมีการเคลื่อนไหวแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน

ทำให้สังคมส่วนใหญ่เกิดอาการหวาดผวา กลัวว่าจะมีม็อบใหญ่ลุกลามบานปลาย เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงซ้ำรอยเดิม

แต่ อย่างไรก็ตาม ทีมของเรามองว่า ถ้าเป็นการเคลื่อน-ไหวในกรอบกติกา ไม่มีวาระแฝงที่จะใช้สถานการณ์นี้ไปรองรับยุทธศาสตร์แก้ว 3 ประการ ก็คงไม่มีอะไรน่ากลัว

โดยเฉพาะเมื่อมองไปที่เสถียรภาพของรัฐบาลในขณะนี้ ก็ถือว่าอยู่ในสภาพมั่นคง

ขณะ เดียวกันก็ได้มีการปรับดุลอำนาจฝ่ายความ มั่นคงเข้าที่เข้าทางแล้ว โดยเฉพาะการที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ผบ.ทบ. พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ขึ้นมานั่งเก้าอี้ ผบ.ตร.

ดุลอำนาจรัฐตรงนี้ คงช่วยป้องกันสกัดเกมรุนแรงได้

เหนืออื่นใด ทีมของเราขอชี้ว่า การแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตยนอกจากการเคลื่อนไหวแสดงปฏิกิริยาภายใต้กรอบกติกาแล้ว

ก็ยังสามารถแสดงออกได้ด้วยการใช้สิทธิเลือกตั้งในระบบตัวแทน


และ ก็บังเอิญว่า ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ใน 5 เขตเลือกตั้ง 5 จังหวัด

แน่ นอน แม้จะไม่ใช่การเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ แต่ก็เป็นการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในพื้นที่ 5 จังหวัดใหญ่ ทั้งในภาคอีสาน ภาคกลาง และพื้นที่เมืองหลวง

ได้แก่ เขต 2 กทม. เขต 1 พระนครศรีอยุธยา เขต 6 นครราชสีมา เขต 2 ขอนแก่น และเขต 3 สุรินทร์

การ เลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส. 2 เขต คือ กทม.เขต 2 และขอนแก่น เขต 2 ที่ต้องชนกับผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย

ในขณะที่พระนครศรีอยุธยา เขต 1 นครราชสีมา เขต 6 และสุรินทร์ เขต 3 ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ก็ต้องชนกับผู้สมัครจากพรรคร่วมรัฐบาล

ตรงนี้ถือว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่ประชาชนจะสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อรัฐบาลและฝ่ายค้านได้

ชอบหรือไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์ ชอบหรือไม่ชอบพรรคเพื่อไทย ก็แสดงออกได้

แม้พื้นที่ในภาคอีสานเป็นฐานของพรรคเพื่อไทย และเมืองหลวงเป็นฐานของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าผลเลือกตั้งที่ออกมา คะแนนแกว่งไปมาก

ก็น่าจะเป็นคำตอบได้ระดับหนึ่ง

ก่อนที่จะถึงคำตอบใหญ่ในการเลือกตั้งทั่วไป.

"ทีมการเมือง"