ที่มา ประชาไท
มุม มองต่อปฏิกิริยาของเหล่ากวีและนักเขียนเดือนตุลาที่ผู้คนเคยยกย่องต่อ เหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค.53 หมุดหมายสำคัญของยุคเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย และความท้าทายในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม
(7 พ.ค.54) รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ยุคเปลี่ยนผ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยยุคเปลี่ยนผ่าน” ในงานแสดงมุทิตาจิต 'ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ' ที่หอประชุมศรีบูรพา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554
ช่อการะเกดกับยุคเปลี่ยนผ่านของวรรณกรรมไทย
ชู ศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ กล่าวถึงเรื่องสั่นสะเทือนแวดวงวรรณกรรมกรณีที่สุชาติ สวัสดิ์ศรีประกาศปิดหนังสือวารสารช่อการะเกด ในงานชุมนุมช่างวรรณกรรมประจำปี เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.53 โดยระบุว่าเป็นการปิดแบบชั่วคราว แต่ส่วนตัวคิดว่าการจะเกิดปรากฎการณ์ช่อการะเกดอีกครั้งในสังคมไทยคงเป็นไป ได้ยาก เพราะวารสารช่อการะเกดในประวัติศาสตร์ได้ชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการผลิตนัก เขียนรุ่นใหม่ๆ เพื่อนำเสนอวาทกรรมในแนวต่างๆ ที่หลากหลาย ท้าทาย น่าชื่นชม โดยเฉพาะในยุคที่สองช่วงปี 2532-2542 begin_of_the_skype_highlighting 2532-2542 end_of_the_skype_highlighting ช่อการะเกดได้กลายเป็นตำนานอันสำคัญที่คนยังพูดถึงกัน
จน กระทั่งในยุคที่สามของช่อการะเกด เมื่อ พ.ศ.2550 ที่ถูกคาดหวังให้ต่อยอดและขยายรากของช่อการะเกดในยุคสอง แต่จากการเปิดเผยของผู้ซึ่งสนับสนุนด้านการเงินของวารสารเล่มนี้ ระบุว่าการต้องปิดตัวลงนั้นเนื่องจากยอดจำหน่ายน้อยมาก เพียง 200 – 300 เล่มต่อฉบับ ในขณะที่มีผู้ส่งเรื่องมาให้พิจารณาตีพิมพ์จำนวนมากเป็นพันเรื่องต่อฉบับ ตรงนี้สื่อให้เห็นว่าเมืองไทยมีแต่นักเขียน แต่ไม่มีนักอ่าน อย่างไรก็ตามการปิดตัวลงของช่อการะเกดยังสะท้อนนัยยะบางอย่างที่สำคัญกว่า คืออวสานของช่อการะเกดอาจเป็นจุดเริ่มต้นการอวสานของวรรณกรรมในฐานะกิจกรรม อิสระของปัจเจกบุคคล และก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมวรรณกรรม ในบริบทของยุคอุตสาหกรรมวัฒนธรรมภายใต้เศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาด
ชู ศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของวารสารช่อการะเกดว่า เป็นตัวแทนยุคสมัยของกิจกรรมอิสระทางปัญญาของนักเขียน ของปัญญาชน โดยเฉพาะในช่วงยุคที่สองซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าช่อการะเกดมีบทบาทในแง่นี้ มากถึงขั้นที่สามารถกำหนดวาระบางวาระของแวดวงวรรณกรรมในสังคมไทยได้ เป็นตัวจุดประเด็น ซึ่งที่เป็นเช่นนั้นได้เพราะมีปัจจัยทางสังคมแวดล้อมที่ส่งเสริม เนื่องมาจากว่าวงการวรรณกรรมในยุคนั้นยังไม่ถูกครอบงำหรือผูกขาดโดยสิ้นเชิง จากทุนอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราพบเห็นกันในทุกวันนี้ ในตอนนั้นเจ้าของสื่อมวลชนยังไม่ได้เข้ามามีผลประโยชน์โดยตรงในวงการหนังสือ และวรรณกรรม นักข่าวและนักวรรณกรรมยังมีอิสระในการรายงานข่าว แต่ในยุคที่สามกลับเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ในปัจจุบันเจ้าของสื่อมวลชน เช่นหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารรายสัปดาห์ต่างก็มีสำนักพิมพ์ของตนเอง สำนักพิมพ์ใหญ่ๆ หลายแห่งก็มีร้านค้า หรือหันมาทำธุรกิจสายส่งของตนเอง
“ผล ประโยชน์ที่ทับซ้อนกันระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสำนักพิมพ์ ระหว่างสำนักพิมพ์และร้านหนังสือ หรือสายส่ง กลายเป็นเรื่องปกติสามัญ” ชูศักดิ์กล่าว
ชูศักดิ์ อธิบายภาพวงการวรรณกรรมที่เห็นในปัจจุบันว่า คอลัมน์แนะนำหนังสือของหนังสือพิมพ์ปัจจุบันที่จะแนะนำเฉพาะหนังสือในสังกัด ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ ร้านหนังสือก็เลือกโชว์หนังสือของสำนักพิมพ์ในสังกัดตัวเองให้เด่นสะดุดตา มากเป็นพิเศษ และนักเขียนเองก็เริ่มเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังกัดมากขึ้น แม้จะไม่ถึงขั้นเซ็นต์สัญญาผูกมัดเหมือนนักร้อง นักแสดงที่มีกลุ่ม มีค่าย นอกจากนั้นการเขียนยังถูกเปลี่ยนจากกิจกรรมสำหรับเชาว์ปัญญาและการสร้าง สรรค์เป็นไปการเขียนเพื่อส่งประกวดชิงรางวัลเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเห็นได้ว่าวงการวรรณกรรมปัจจุบันอยู่ในสภาพของอุตสาหกรรมไม่ต่างจากวงการ ดนตรี วงการละคร หรือวงการสื่อมวลชน สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่าช่อการะเกดในยุคที่สามเมื่อปิดตัวไป แล้วจะไม่กลับมาอีก
ชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ลักษณะของงานของช่อการะเกดนั้นเป็นตัวแทนของวาทกรรมแบบเดิมที่มีลักษณะเป็น อิสระ ไม่มีทุนใหญ่หนุนหลัง ไม่มีสื่อสนับสนุน ไม่ได้อยู่ในอำนาจรัฐและทุน การเกิดขึ้นได้ของช่อการะเกดในฐานะเป็นกิจกรรมทางปัญญาส่วนหนึ่งเป็นผลพวง จากภาพเชิงอุดมคติของวาทกรรมและสื่อมวลชนที่คนรุ่นก่อนหน้านี้ อาทิ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือในนามปากกาศรีบูรพา เป็นผู้มีบทบาทในการต่อสู้ผลักดันให้นักเขียนและสื่อมวลชนได้รับการยอมรับ จากสังคม ในฐานะเป็นอาชีพอิสระจากอิทธิพลของทุนและอิทธิพลรัฐ แต่ปัจจุบันภาพเชิงอุดมคตินั้นได้แปรเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้า เช่นตัวอย่างที่เห็นในกรณีของสื่อมวลชน แม้แต่ในแวดวงวรรณกรรมที่ดูไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ มากนักเมื่อเทียบกับสื่อมวลชนแขนงอื่นๆ ก็พบว่าน่าจะเป็นสื่อรายสุดท้ายที่จะถูกผูกขาด ครอบงำด้วยระบบธุรกิจ และเรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของวรรณกรรม
สิ่ง ที่น่าวิตกมากกว่านั้นคือ ความพยายามจากยุคสมัยกุหลาบ ในการสร้างนิยามของการเขียน นิยามของวรรณคดีในฐานะอาชีพอิสระที่ปลอดจากรัฐและทุน ในขณะเดียวกันก็พยายามจะสร้างนิยามของการเขียนให้กลายเป็นผู้ยึดมั่นในอาชีว ปฏิญาณ หรือจรรยาบันวิชาชีพในภาษาปัจจุบัน โดยนิยามความเป็นนักเขียนและสื่อมวลชนว่าเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อความจริง มุ่งผดุงความยุติธรรม และเป็นปากเสียงให้ผู้ต่ำต้อยและผู้ถูกกระทำ ในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งได้รับการตอบรับในวงการวรรณกรรม และมีนักเขียนรุ่นต่อมาอาทิ นายผี, จิตร ภูมิศักดิ์, ลาวคำหอม พยายามสืบทอดและนำนิยามดังกล่าวมาขยายความต่อ
“ปัญหา ปัจจุบันไม่ใช่เพียงสถานะอาชีพอิสระของนักเขียนกำลังจะตายไปเท่า นั้น อย่างกรณีของช่อการะเกด แต่เกียรติภูมิของนักเขียนในฐานะผู้ผดุงความยุติธรรมก็กำลังถูกตั้งคำถาม และท้าทายเช่นกัน” ชูศักดิ์ระบุ
อดีตที่ไม่ร่วมสมัย
ชู ศักดิ์ ยกตัวอย่างคำกล่าวของไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการวารสารอ่าน ที่ตั้งคำถามถึงนักเขียนในอดีต 2 ยุค คือยุคของกุหลาบ สายประดิษฐ์ และนายผี กับนักเขียนยุค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สืบทอดพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของนักเขียนรุ่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ โดยไอดาได้บรรยายความรู้สึกเมื่อครั้งได้หวนกลับไปอ่านนิตยสารทางประวัติ ศาสตร์ของนักเขียนหัวก้าวหน้าในยุค 14 ตุลาฯ ไว้ว่า
“มันเป็นโลกของคนเก่าๆ รุ่นอดีตนั้น อดีตที่มันไม่ร่วมสมัย อดีตที่คนเหล่านั้นไม่อยู่ให้ยอกแสยงใจเหมือนอดีตยุคใกล้กว่านั้น”
ไอดา อรุณวงศ์ “เถ้าเป่าเปลว” อ่าน 2:2
ชู ศักดิ์ กล่าวถึงการตอบคำถามถึงที่มาของความรู้สึกดังกล่าวว่า ต้องย้อนไปยังหมุดหมายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ คือเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ซึ่งส่วนตัวเขาคิดว่าเหตุการณ์ครั้งหลังสุดเป็นการปราบปรามประชาชนอย่างล้ำ ลึกที่สุด แม้หลายคนจะมองว่าการสังหารหมู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลามีความโหดเหี้ยมรุนแรงมากกว่า แต่ความรุนแรงนั้นเป็นความรุนแรงแบบเฉียบพลัน และสงบอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ในขณะที่การไล่ล่าทั้งที่ราชดำเนินและที่ราชสงค์เป็นไปอย่างยืดเยื้อและ เลือดเย็น เกิดการปะทะย่อยๆ ขึ้นหลายจุด หลายครั้ง แต่ละวันที่ผ่านไปมีผู้ชุมนุมและผู้สังเกตการณ์ถูกยิงโดยกองกำลังทหารที่โอบ ล้อมโดยรอบที่ชุมนุม ซึ่งภาพเหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกและเผยแพร่ไปทั่วโลก แต่คนเมืองบางกลุ่มกลับโห่รองยินดี ในขณะที่คนบางกลุ่มที่อ้างตัวว่ารักสันติ ต่อต้านความรุนแรง รักประชาชนและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม กลับนิ่งดูดายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
“ในแง่นี้ ความอำมหิตของเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 ก็คือความเลือดเย็นในการฆ่าของฝ่ายรัฐ และความเลือดเย็นของคนเมืองที่ปล่อยในการเข่นฆ่าดำเนินไปโดยไม่รู้ร้อนรู้ หนาว”
“ผมอดถามไม่ได้ว่า แล้วบรรดาเหล่ากวีและนักเขียนที่ได้รับอานิสงส์จากความเป็นนักเขียนเพื่อ ประชาชน จนกระทั่งเชิดหน้าชูตาในฐานะตัวแทนของเสียงแห่งมโนธรรม พวกเขาไปอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาดังกล่าว หรือเพราะพวกเขาไม่เห็นว่าผู้ชุมนุมเหล่านั้นเป็นคน ดังนั้นความตายของพวกเขาจึงไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.2553 จึงอำมหิตกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาในแง่ที่ไม่เพียงคนตามเท่านั้นที่ถูกปฏิเสธความเป็นมนุษย์ แต่ผู้ชุมนุมนับหมื่นนับแสนในเหตุการณ์นี้ถูกทำให้ด้อยค่า ไร้ความหมายยิ่งเสียกว่าโค กระบือ ซึ่งคนเมืองชอบไปซื้อขายชีวิตเป็นประจำ”
วรรณกรรมในยุคเปลี่ยนผ่าน
ชู ศักดิ์ กล่าวต่อมาว่า เหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 และปฏิกิริยาของนักเขียนจำนวนหนึ่ง เป็นหมุดหมายสำคัญของการแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน ซึ่งก็เป็นความท้าทายของกวีและนักเขียนไทยว่าจะสร้างสรรค์งานวรรณกรรมในยุค เปลี่ยนผ่านนี้ไปในทิศทางใด
ตามคำนิยามของ อันโตนิโอ กรัมชี่ นักคิดชาวอิตาเลียน ได้อธิบายเรื่อง “ภาวะเปลี่ยนผ่านของสังคม” ไว้ว่าเมื่อใดที่อำนาจนำที่ได้รับการยอมรับโดยดุษฏีจากชนทุกชั้นของสังคม เริ่มคลายมนต์ขลัง และสูญเสียสถานะความเป็นอำนาจนำ เมื่อนั้นสังคมจะเกิดวิกฤติครั้งใหญ่กับการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งขยายความเพิ่มเติมโดยให้ภาพเปรียบเปรยที่กลายเป็นวรรคทองที่คนนิยมนำมา ใช้กล่าวอ้างกัน คือ
“แท้ จริงแล้ว วิกฤตสังคมเป็นผลมาจากการที่สิ่งเก่ากำลังตายไป และสิ่งใหม่ถูกขัดขวางมิให้ก่อเกิด ในระหว่างรัชสมัยเยี่ยงนี้ อาการวิปลาสนานาชนิดจะสำแดงตัวออกมา”
“The crisis consists precisely in the fact that the old is dying and the new cannot be born; in this interregnum a great variety of morbid symptoms appear.”
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1971)
และ
“เมื่อโลกใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และโลกเก่ากำลังตาย เมื่อนั้นอสูรกายจะปรากฏตัว”
“The old world is dying away, and the new world struggles to come forth: now is the time of monsters.”
อันโตนิโอ กรัมชี่ (1971)
กรัม ชี่มองว่าการเปลี่ยนผ่านที่เกิดอาการวิปลาสทั้งปวงเป็นผลสืบเนื่อง จากภาวะชะงักงันของความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่เดินมาจนถึงจุดหัก เมื่อพลังฝ่ายจารีตนิยมอ่อนเปลี้ย ใกล้ตาย และพลังฝ่ายก้าวหน้าก็ยังไม่สามารถเผด็จศึกได้โดยเด็ดขาด
ชู ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในวัฒนธรรมไทยเองก็มีการมองเรื่องยุคเปลี่ยนผ่านเช่นเดียวกัน แต่จะอิงอยู่กับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ในมหาสุบินชาดก ที่คุ้นเคยกันดีในรูปของเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา โดยแจกแจงเหตุอาเพศ 16 ประการ และระบุไว้ชัดเจนว่าเหตุปัจจัยของอาเพศเหล่านี้เกิดขึ้นมาด้วยพระมหา กษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม
มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น
มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น
มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
วิธี การมองเหตุอาเพศของไทยอธิบายด้วยกรอบชนชั้นของสังคมอย่างไม่อ้อม ค้อม เริ่มด้วยอธิบายอาเพศโดยธรรมชาติ โยงเข้ากับความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วนำสู่ข้อสรุปว่าความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ในสังคมเป็นอาเพศ เป็นความวิปริต แต่หากนำกรอบความคิดสมัยใหม่เข้าไปมอง จะเห็นว่าความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การเป็น ผู้ใหญ่-ผู้น้อย สถานะในสังคมจะเท่าเทียมกันตามกรอบประชาธิปไตย แต่การมองอาเพศในแบบของไทยเป็นการมองโดยชนชั้นนำในอดีตที่สืบเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน
“ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก
จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ
นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย
น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า
เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม”
จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ
นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย
น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า
เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม”
ทั้ง นี้ ในทัศนะของไทย “การเปลี่ยนผ่าน” และ “อาเพศ” แตกต่างจากทัศนะของกรัมชีอยู่มากพอสมควร โดยกรัมชี่ใช่คำว่า “วิปลาส” มาเป็นคำอุปมาเพื่อบรรยายถึงภาวะวิปริต อาการแปรปรวนภายใน เพื่ออธิบายถึงวิกฤติในยุคเปลี่ยนผ่าน ซึ่งตรงนี้ช่วยเตือนสติว่า “อาการวิปลาส” ที่มันเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งอยู่ภายในสังคม อยู่ในตัวเรา รวมทั้งอาจอยู่ในคนที่อยู่ใกล้ตัวเราเอง โดยในภาวะปกติอาจแฝงตัวอยู่ในสถานะผู้รักเพื่อนมนุษย์ รักสันติ รักประชาธิปไตย อยู่ในภาพที่สูงส่งและดีงาม แต่ในภาวะวิกฤติของการเปลี่ยนแปลง ผู้คนก็จะแสดงความวิปลาสที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมา
กวีเพื่อประชาชนที่ผู้คนเคยยกย่อง ท่าทีต่อการสังหารหมู่ เม.ย.-พ.ค.53
ชู ศักดิ์ แสดงความเห็นต่อคำถามของบรรณาธิการวารสารอ่านถึงวาทกรรมนักเขียนยุคอดีตอัน ใกล้ (คนเดือนตุลา) ซึ่งในอดีตเคยได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและประชาชนที่ยอก แสยงใจผู้อ่าน โดยอธิบายง่ายๆ ว่านักเขียนในยุคสมัยการเปลี่ยนผ่านปัจจุบัน เกิดปรากฎการณ์วิปริต วิปลาส ไม่ต่างกับที่เกิดขึ้นในแวดวงตุลาการ สื่อมวลชน และนักวิชาการ ฯลฯ พร้อมแสดงตัวอย่าง อาการวิปลาสเบื้องต้นของเหล่านักเขียน-กวี ที่ไม่ลุกขึ้นมาแสดงออกต่อเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ว่า คืออาการ หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้
ชูศักดิ์ ยังกล่าวถึงบทกวีของเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ ในหนังสือรวมบทกวี “คำขาดของทิดเที่ยง” ซึ่งพูดถึงเหตุการณ์ในสมัย 14 ตุลาฯ จนมาถึงปี 2553 เมื่อบรรดาทิดเที่ยงออกมาสวมใส่เสื้อแดงรวมกันเรียกร้องประชาธิปไตยจากบรรดา เหล่าผู้ดีตีนแดงในเมืองหลวง แต่ทิดเที่ยงในนามเนาวรัตน์กลับมองไม่เห็นหัวคนเสื้อแดง และกลับมองว่าพวกเขาเป็นลูกสุมโจรร้ายที่กำลังต้องการเปลี่ยนประเทศ เปลี่ยนธงประเทศไทย
ชาติผู้ดีตีนแดง
แต่ข้าวแกงยังไม่กิน
จะตากแดดนอนดิน
กระไรได้
แต่ข้าวแกงยังไม่กิน
จะตากแดดนอนดิน
กระไรได้
. . . . .
ถ้าผิดคำสามข้อ
เล่นหลอกล่อให้หลง
ก็เปลี่ยนประเทศเปลี่ยนธง
ประเทศไทย
เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ “คำขาดของทิดเที่ยง” 2517
อีก ตัวอย่างหนึ่ง จากบทกวีของ จิระนันท์ พิตรปรีชา ในหนังสือ “ใบไม้ที่หายไป” ที่บันทึกเรื่องราวการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมขณะที่เธอเป็นผู้นำนัก ศึกษาหัวก้าวหน้า ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี 2519 แต่ทว่าเหตุการณ์สังหารหมูเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ก็มีคนบาดเจ็บลมตายนับร้อยนับพันคน ไม่ต่างจากกรณี 14 ตุลาฯ สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเสมือนว่าใบไม้ดูจะหายไปชนิดที่ไม่หวนกลับมาอีกเลย
สันติวิธี พูดดีก็แล้ว
ไร้วี่แววที่วาดหวังห่างจุดหมาย
ยิ่งประท้วงยิ่งปะทะ อันตราย
ทั้งลวงล่อทั้งทำร้ายประชาชน
บทพิสูจน์ทีละบทจดจารึก
คั่งหัวใจที่คึกแค้นเข้มข้น
เห็นเพื่อนล้มเลือดปรี่ทีละคน
เห็นแล้วหนทางใด ... ใช่! ทางเดียว
ไร้วี่แววที่วาดหวังห่างจุดหมาย
ยิ่งประท้วงยิ่งปะทะ อันตราย
ทั้งลวงล่อทั้งทำร้ายประชาชน
บทพิสูจน์ทีละบทจดจารึก
คั่งหัวใจที่คึกแค้นเข้มข้น
เห็นเพื่อนล้มเลือดปรี่ทีละคน
เห็นแล้วหนทางใด ... ใช่! ทางเดียว
จิระนันท์ พิตรปรีชา “ความในใจจากภูเขา” 2519
ชู ศักดิ์ กล่าวว่า ข้างต้นคือตัวอย่าง 2 กรณีจากนับสิบ นับร้อยของหมู่กวีและนักเขียนที่ได้รับอานิสงส์จากการได้ชื่อว่าเป็นนัก เขียนที่ปกป้องและเรียกหาความยุติธรรมให้หมู่ประชาชนผู้ยากไร้ ซึ่งหากจะอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในแง่หนึ่งคือทัศนะต่อประชาชน ประชาธิปไตย และสังคมของพวกเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว พวกเขาไม่ได้เชื่อมั่นในกระบวนการประชาธิปไตย หรือศรัทธาในประชาชนเหมือนครั้งอดีตอีกต่อไป ผลงานวรรณกรรมของพวกเขาเป็นอดีตที่ไม่ร่วมสมัยกับตัวตนใหม่ของพวกเขาใน ปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว ซึ่งตรงนี้ไม่ได้มีแต่กวีและนักเขียน แต่นักอุดมคติจำนวนมากเมื่อเวลาผ่านไปก็อาจละทิ้ง หมดศรัทธา หรือกระทั้งทรยศต่ออุดมการณ์ที่เคยยึดถือในอดีตได้เช่นกัน
อย่าง ไรก็ตามส่วนตัวมองว่า กวีและนักเขียนมีนิยามที่ถูกสร้างไว้ตั้งแต่ยุคอดีต โดยผูกติดกับพันธะกิจต่อประชาชนและความเป็นธรรมทางสังคม และสังคมมีความคาดหวังในการแสดงออกบางอย่างเมื่อสังคมเกิดวิกฤติ โดยที่พวกเขาไม่สามารถสลัดทิ้งสถานะของนักเขียนและกวีไปได้ แม้ในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา นิยามของนักเขียนและกวีจะมีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยน แปลงโฉม รวมถึงลดทอนความสำคัญของความเป็นนักเขียนหรือวรรณกรรมที่อาจจะเป็นภัยต่อ สถาบันต่างๆ ในสังคมอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยรากฐานในอดีตที่ถูกสร้างมาอย่างเข้มแข็ง ในท้ายที่สุดการช่วงชิงนิยามความหมาย แม้ว่าฝ่ายวรรณกรรมสร้างสรรค์ของกลุ่มกระดุมพีจะสามารถเบียดขับฝ่ายวรรณกรรม เพื่อชีวิตให้ตกไปจากประวัติศาสตร์วรรณกรรมไปแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจปฏิเสธนิยามวรรณกรรมเพื่อชีวิตอย่างสิ้นเชิงได้
ชู ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ถึงวันนี้ไม่มีใครกล้าพูดว่าวรรณกรรมหรือกวีเขียนขึ้นเพื่อความเพลิดเพลิน เจริญใจ หรือเพื่อโชว์ฝีมือของตนเอง ดังเช่นนิยามแบบเดิมในสังคมศักดินายุคก่อนกุหลาบ สายประดิษฐ์ แต่จะเห็นแต่นิยามที่สูงส่งอลังการว่านักเขียนมีภารกิจอันยิ่งใหญ่กอบกู้จิต วิญญาณมนุษย์ และจากนิยามนี้ทำให้เห็นได้ว่านักเขียนมีสถานะค่อนข้างสูงส่งมากในสังคมสมัย ใหม่ แม้ว่าจะเป็นนักเขียนที่มีคนอ่านน้อย หรือหาแทบไม่ได้ เพราะการขายไม่ได้ส่วนหนึ่งอาจกลายเป็นเรื่องค้ำประกันความศักดิ์สิทธิ์ของ งาน เพื่อยืนยันว่าวรรณกรรมสูงส่งไม่ใช่ของตลาดที่หาซื้อได้
อย่าง ไรก็ตามวาทะกรรมที่ถูกสร้างขึ้นนี้สร้างความลำบากให้กับนักเขียน ที่อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านทางสังคมมาก ด้วยความคาดหวังของผู้คน นักเขียนและกวีน้อยใหญ่จึงถูกบีบให้ออกมาแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 และแม้จะมีนักเขียนบางกลุ่มออกมาแสดงความสนใจต่อเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น แล้วออกมาโจมตีรัฐบาลอยู่ แต่โดยส่วนตัวสนใจในกลุ่มที่เคยได้ชื่อว่าเป็นนักเขียน เป็นกวีเพื่อประชาชน
ชู ศักดิ์ กล่าวต่อมาว่าในช่วงหลังเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 ในกลุ่มนักเขียนและกวีได้ต่อสู้กันว่าจะนิยามเหตุการณ์ดังกล่าวว่าอย่างไร โดยแบ่งออกเป็น 2 นิยามใหญ่ๆ คือ นิยามเผาบ้านเผาเมือง กับการปราบปรามประชาชน พร้อมยกตัวอย่างบทนำในหนังสือ “เพลิงพฤษภา รวมบทกวีร่วมสมัยบันทึกไว้ในความทรงจำ” โดยมีแก้ว ลายทอง ทำหน้าที่บรรณาธิการคัดสรรเรื่อง
“ภาพ ควันไฟที่ครั่นคลุ้มขึ้นคลุมฟ้ามหานครและในอีกหลายเมืองใหญ่ ตึกที่ถูกเผาทำลาย ร้านค้าและคูหา หลากหลายที่กลายเป็นเหยื่อ หยาดเลือดชีวิตคนทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องที่ต้องสังเวยให้กับ สถานการณ์อันรุนแรง คนกี่คนต้องสิ้นเนื้อประดาตัว คนกี่คนที่ต้องสูญสิ้นอาชีพ ...และคนอีกกี่คนสิ้นหวัง... ภาพเหล่านี้ย่อมฝังลึกลงในความทรงจำของประชาชาติ”
แก้ว ลายทอง
ชู ศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ข้อความนี้แทนทัศนะของกวีหลายๆ คน ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ที่บันทึกความทรงจำของชาติในช่วงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 ว่าความสูญเสียไม่ใช่ชีวิตผู้คนที่บาดเจ็บล้มตาย แต่เป็นตึก ร้านค้า เหยื่อของเหตุการณ์คือผู้สูญสิ้นอาชีพ ผู้สิ้นเนื้อประดาตัว ผู้สูญสิ้นความหวัง การพูดถึงผู้เสียชีวิตเป็นการพูดอย่างเสียไม่ได้ หนังสือแสดงความเป็นห่วงและเศร้าโศกกับความเสียหายของตึกมากกว่าชีวิตคนนับ ร้อยนับพันที่มาชุมนุม พร้อมยกตัวอย่าง บทกวีของเนาวรัตน์ ที่เขียนบทกวีไว้อาลัยโรงหนังสยามที่ถูกเพลิงไหม้จากเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยไม่พูดถึงผู้ชุมนุมร่วมร้อยที่เสียชีวิตและคนบาดเจ็บนับพันด้วยน้ำมือของ รัฐ
เจ้าเล่นเป็นตัวโกง
ก็โกงได้เป็นไฟเปลว
เผาแพรกจนแหลกเหลว
แล้วพวกเจ้าก็เผาโรง
ก็โกงได้เป็นไฟเปลว
เผาแพรกจนแหลกเหลว
แล้วพวกเจ้าก็เผาโรง
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, “โรงหนังสยาม”
ผู้จัดการรายวัน 1 ก.ค. 2553
ผู้จัดการรายวัน 1 ก.ค. 2553
ขณะ ที่บทกวีจำนวนมากในหนังสือ “เพลิงพฤษภาฯ” แม้ไม่ได้แสดงความเสียใจต่อวัตถุ หรืออาคารที่ถูกเพลิงไหมอย่างชัดแจ้งดังเช่นกรณีของเนาวรัตน์ แต่ก็ไม่ได้พูดถึงความตายของคน เพียงแต่พูดถึงความเสียหายของประเทศไทย โดยมีการใช้จินตภาพของไฟมาเป็นจินตภาพหลักในการบรรยายถึงเหตุการณ์ ส่วนเนื้อหาโดยรวมไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่ารัฐใช้อำนาจของทหารที่เข่นฆ่า ประชาชน แต่จะเลือกพูดภาพกว้างๆ ของความสูญเสีย ความพินาศย่อยยับ เมื่อพูดถึงการตายก็จะไม่มีการระบุว่าผู้ชุมนุมตายอย่างไร หรือพูดถึงการเข่นฆ่าว่าเป็นการฆ่ากันเอง แทบไม่มีบทไหนเลยที่ระบุว่าคนตายเป็นเหยื่อของอำนาจรัฐอันโหดเหี้ยม อีกทั้งยังมีการนำจินตภาพของธรรมชาติอันแปรปรวนมาใช้จำนวนมากโดยที่ไม่พูด ถึงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตำตา
“ขณะไฟ...ลามไหม้...ใกล้เข้ามา” ไพวรินทร์ ขาวงาม
“ไฟสงครามลุกลามเรือง” เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
“กระนี้หนอเมืองไทยจึงไหม้หมอง” กานติ ณ ศรัทธา
“ที่นี้...เมืองไทยยุคเกรี้ยมกร้าว เราสุมไฟผ่าวขึ้นแผดไหม้” รมณา โรชา
“ในมือเรามีไฟโถมใส่กัน พ่นละอองของน้ำมันเข้าใส่ไฟ” ไพฑูรย์ ธัญญา
“ร่วมเปลี่ยนไทยร้อนร้ายให้กลับเย็น!” สถาพร ศรีสัจจัง
“กลางฝนเลือด น้ำตาก็บ่าริน ธรนินท์ร้องไห้เป็นเลือดนอง” สถาพร ศรีสัจจัง
“หยดเลือดลูกหลานสะท้านทุกข์ รานรุกไล่ล่าฆ่ากันเอง”
“ไทยต่อไทยจึงแหลกลาญรบกันเอง” ชมัยภร แสงกระจ่าง
ชู ศักดิ์ แสดงความเห็นว่า ตามบทกวีที่สอดคล้องไปในทางเดียวกันนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความรู้สึกร่วมของกลุ่มกวี และทำให้มองเห็นได้ว่าเป็นการนำเสนอภาพเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากภาพในจอ โทรทัศน์ที่มุ่งเสนอแต่ภาพควั่นไฟที่พวยพุ่งอยู่บริเวณราชประสงค์ โดยไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญกับภาพของคนตาย คนที่ถูกฆ่าในเหตุการณ์เดียวกันนั้น แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นไปได้ว่าตัวกวีเห็นความสำคัญของตึกมากกว่าชีวิตคน เนื่องจากพวกเขาไม่เห็นว่าผู้ชุมนุมเป็นคนมีชีวิต มีเลือดเนื้อ มีอารมณ์ มีความรู้สึก มีญาติพี่น้องให้ห่วงหา และมีความเป็นมนุษย์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาเห็นไม่ต่างเนาวรัตน์ที่มองเห็นคนรากหญ้าเป็นโจร แล้วคิดว่าคนเหล่านี้สมควรตาย
เรายกย่องผองผู้สู้ไม่ถอย
กับเถื่อนถ่อยอยุติธรรมความบ้าคลั่ง
หากแต่เรารังเกียจ โกรธ ชิงชัง
กับการตั้งตัวเป็นเช่นซ่องโจร
กับเถื่อนถ่อยอยุติธรรมความบ้าคลั่ง
หากแต่เรารังเกียจ โกรธ ชิงชัง
กับการตั้งตัวเป็นเช่นซ่องโจร
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ “กลางใจเมือง”
ผู้จัดการรายวัน 28 พ.ค. 2553
“คำ ถามก็คือ กวีใช้เกณฑ์อะไรมาเป็นตัวชีวัดว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของคนราก หญ้าเสื้อแดงเป็นซ่องโจร และการชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษาประชนเมื่อปี 2516 เป็นความงดความงาม ใช่ความชั่ว หรือแท้จริงแล้วกวีถูกม่านโมหาคติและมายาคติบังตา จนมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของคนเสื้อแดง หรือว่าโดยลึกๆแล้วกวีท่านนี้เห็นแต่พวกตัวเองเท่านั้นที่ฉลาดและสูงส่งด้วย คุณธรรมจึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ท่านไม่ชอบหน้าได้ ส่วนพวกหญ้าแพร่เสื้อแดงนั้นเถื่อนถ่อยและโง่งมงายเกินกว่าจะใช้สิทธิตามรัฐ ธรรมนูญ”
โดยสรุป ในส่วนนี้ได้เกิดกระบวนการขึ้น 2 กระบวนการ คือ 1.การลดทอนและปฏิเสธความเป็นมนุษย์ของคนเสื้อแดง โดยแสดงออกในสองด้านคือการให้ความสำคัญกับซากตึก สถานที่ และการสร้างภาพให้ผู้ชุมนุมกลายเป็นโจร 2.ความพยามยามในการนิยามเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 ให้เป็นเหตุการณ์การเผาบ้านเผาเมือง ไม่ใช่การปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วนิยามดังกล่าวนี้จะช่วยทำหน้าที่ปกปิดและปกป้องฆาตกรให้ลอยหน้าลอยตา อยู่ในสังคมได้ต่อไป โดยความผิดทั้งหมดถูกโยนให้ผู้ชุมนุม
“เมื่อเหยื่อถูกทำให้เป็นอาชญากร และฆาตกรมือเปื้อนเลือดกลายเป็นอภิสิทธัตถะ”
“ศีลธรรม” ยาครอบจักรวาล
ชู ศักดิ์ เสนอในประเด็นสุดท้ายว่า บนกวีส่วนหนึ่งในช่วงเวลานี้ได้หันไปหยิบฉวยศีลธรรมมาใช้อธิบายและเป็นคำตอบ ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามแสดงบทบาทตามพันธะกิจในการชี้นำความคิดให้กับสังคมด้วย การเรียกหาโนธรรม แต่โดยส่วนตัวกรอบคิดเรื่องศีลธรรมเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของแต่ละ คน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นจริยธรรมที่แต่ละคนพึงเรียกร้องต่อตัวเอง มากกว่าจะใช่เป็นบรรทัดฐานไปเรียกร้องจากผู้อื่น แต่จะเห็นได้ว่าสังคมไทยทำในทางตรงกันข้าม คือไปเรียกร้องศีลธรรมจากสังคม ศีลธรรมจึงกลายเป็นแก้วสารพัดนึก และถูกเห็นเป็นยาแก้ปัญหาทุกปัญหาในสังคม แต่เมื่อยิ่งเรียกร้องเรื่องการยกระดับมาตรฐานศีลธรรมของสังคมมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นว่าศีลธรรมในสังคมตกต่ำมากเท่านั้น เพราะทุกคนชี้นิ้วไปที่ศีลธรรมจนกลายเป็นแพะรับบาปในทุกๆ ปัญหาของสังคมไทย
อีก ทั้ง แม้ไม่ต้องอาศัยกวีหรือนักเขียน เราต่างรู้ว่าปัญหาวิกฤติที่นำมาสู่เหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 ไม่ได้เกิดจากปัญหาความตกต่ำทางศีลธรรม และเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิกฤติจากเรื่องความเหลื่อล้ำทางเศรษฐกิจหรือการเมือง
ตัวอย่าง บทกวีของเนาวรัตน์ที่ยกเอาเรื่องศีลธรรมมาอธิบายเรื่องการชุมนุมคนเสื้อแดง
ไม่ใช่ชนชั้นไพร่ไล่อำมาตย์
หากเป็นความพินาศแห่งยุคสมัย
เถื่อนอธรรมย่ำยีบีฑาไทย
อันอุกอาจอุบัติในใจกลางเมือง
หากเป็นความพินาศแห่งยุคสมัย
เถื่อนอธรรมย่ำยีบีฑาไทย
อันอุกอาจอุบัติในใจกลางเมือง
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ “กลางใจเมือง”
ผู้จัดการรายวัน 28 พ.ค. 2553
ผู้จัดการรายวัน 28 พ.ค. 2553
ใน ส่วนทางออกของวิกฤตการณ์ในสังคมไทย บทกวีชื่อหวัง ของจิระนันท์ ถูกใช้ปิดท้ายเล่มในหนังสือ “เพลิงพฤษภาฯ” 2 ท่อนสุดท้ายคล้ายกับเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวในงานวิวาห์
“หวัง”
โลกงามเมื่อยามไหน
เมื่อหัวใจมีรักครอง
และรักโดยครรลอง
ที่โอบเอื้อเกื้อเมตตา
โลกงามเมื่อยามไหน
เมื่อหัวใจมีรักครอง
และรักโดยครรลอง
ที่โอบเอื้อเกื้อเมตตา
กวี ฝนแรก โดยจิระนันท์ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35 ซึ่งไม่เห็นบทกวีลักษณะที่บ่งชัดในเรื่อง “ฝนเหล็กอันรุนแรง ทะลวงร่างเลือดพร่างพราว” เช่นนี้เขียนในหนังสือ “เพลิงพฤษภาฯ” อย่างไรก็ตาม ชูศักดิ์ได้อ่านบทกวีนี้เพื่อรำลึกเหตุการณ์เดือนพฤษภา 2553
ฝนแรกเดือนพฤษภา รินสายมาเป็นสีแดง
ฝนเหล็กอันรุนแรง ทะลวงร่างเลือดพร่างพราว
หลั่งนองท้องถนน เป็นสายชลอันขื่นคาว
แหลกร่วงกี่ดวงดาว และแหลกร้าวกี่ดวงใจ
บาดแผลของแผ่นดิน มิรู้สิ้นเมื่อวันใด
อำนาจทมิฬใคร ทมึนฆ่าประชาชน
ฝนเหล็กอันรุนแรง ทะลวงร่างเลือดพร่างพราว
หลั่งนองท้องถนน เป็นสายชลอันขื่นคาว
แหลกร่วงกี่ดวงดาว และแหลกร้าวกี่ดวงใจ
บาดแผลของแผ่นดิน มิรู้สิ้นเมื่อวันใด
อำนาจทมิฬใคร ทมึนฆ่าประชาชน
“ฝนแรก” จิระนันท์ พิตรปรีชา
ชู ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า คนสมัยใหม่ยกย่องกวีมาก ในขณะที่คนรุ่นเก่าก็สถาปนาบทบาทของกวีไว้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นศาสดาของ สังคม จนมีการพูดกันว่า “กวีเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปไม่เห็น” แต่หากได้อ่านงานกวีในช่วงเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 เราจะได้ข้อสรุปว่า “กวีไทยไม่เห็นในสิ่งที่คนทั่วไปเห็น” ซึ่งโดยส่วนตัวไม่ปฏิเสธว่าในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวมีความซับซ้อนและมี ปัจจัยหลายประการที่ซ้อนทับจนไม่สามารถชี้ชัดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ได้ อย่างเด็ดขาดและชัดเจน แต่การละเลยที่จะยอมรับความจริงตรงหน้าว่ามีคนนับร้อยถูกยิงเสียชีวิต หลายคนบาดเจ็บปางตายนั้นเป็นเรื่องยากเกิดที่จะเข้าใจได้
หาก ไม่ใช้ด้วยคำว่าม่านบังตาที่ทำให้กวีไม่เห็นในสิ่งที่คนทั่วไปเห็น อยู่ตำตา ก็อาจอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ก่อนหน้านี้อย่าง 14 ตุลาฯ และพฤษภาทมิฬ จบลงด้วยชัยชนะในระดับหนึ่งของผู้ชุมนุม อย่างน้อยก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำรัฐบาล จึงทำให้เหล่ากวีและนักเขียนสะดวกใจที่จะเขียนสดุดีแด่ผู้ชุมนุม แต่เหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.2553 เป็นความผ่ายแพ้ ที่คล้ายเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ด้วยเหตุนี้นักเขียนจึงปิดปากเงียบ ไม่ยอมแม้จะเอ่ยปากว่ามีคนตาย โดยบทกวีเรื่องวันฆ่ามัจจุราช ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขียนในปี 2522 ซึ่งบรรยากาศทางการเมืองผ่อนคลายลงแล้ว
ชูศักดิ์ กล่าวปิดท้ายบทสรุปกวีไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน โดยวรรคท้ายบทกวีของศักดิ์สิริ มีสมสืบ
“ข้าต้องเสียศักดิ์ศรีกวีไทย
เขียนกลอนเป็ดเป๋ไป๋ไปไม่เป็น”
เขียนกลอนเป็ดเป๋ไป๋ไปไม่เป็น”
อ่านรายละเอียด และชมวิดีทัศน์ คลิ้ก ประชาไท