ที่มา ประชาไท
นาย บัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในการสัมมนาผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ว่า
“สถานการณ์ ทางการเมืองขณะนี้ ทำให้นึกไปถึงคำคมของอดีตประธานสภาฯ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ที่กล่าวว่า "อย่างนี้ก็ยุ่งตายห่ะ" ซึ่งตนคิดว่ามีภาวการณ์อันตราย 7 ข้อ ประกอบด้วย ภาวการณ์แห่งความขัดแย้ง ความแตกแยกเป็นฝ่ายชัดเจน, ภาวการณ์แห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ, ภาวการณ์แห่งการพยายามเอาชนะทุกรูปแบบ และทำลายกันอย่างรุนแรง, ภาวการณ์ความเชื่อในเรื่องเหตุผลน้อยลง และเชื่อพวกเดียวกัน, ภาวการณ์ที่อยู่ในคำคม "กูไม่กลัวมึง", ภาวการณ์ไม่เคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และภาวการณ์ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ” (มติชนออนไลน์. 14 พ.ค.2554)
คำ ถามคือ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้อยู่ในภาวการณ์ความขัดแย้ง หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาวการณ์ความขัดแย้งแบบ“ยุ่งตายห่ะ” 7 ข้อนี้ อะไรบ้าง?
1. ภาวการณ์แห่งความขัดแย้ง ความแตกแยกเป็นฝ่ายชัดเจน หาก การเป็นฝ่ายชัดเจนไม่ได้ตัดสินแค่การใช้ “เส้นสี” เป็นเส้นแบ่ง แต่ตัดสินจาก “เส้นแบ่งเชิงอุดมการณ์” ที่ชัดเจนยิ่งคือ อุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของอำมาตย์หรืออำนาจนอกระบบ กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ยืนยันเสรีภาพและความเสมอภาค ก็ชัดเจนอย่างยิ่งว่าประชาธิปัตย์อยู่ในฝ่ายแรก
เป็นการอยู่ในฝ่าย แรกในบทบาทของ “หัวหอก” เริ่มจากบอยคอตการเลือกตั้ง ชวนพรรคการเมืองอื่นๆ บอยคอตด้วย เสนอมาตรา 7 จัดคนมาชุมนุมร่วมกับพันธมิตร ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร สร้างวาทกรรมขบวนการล้มเจ้า ขบวนการก่อการร้ายเพื่อปราบปรามประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจอธิปไตยของตนเองคืน แก้รัฐธรรมนูญให้พรรคตนเองได้เปรียบในการเลือกตั้ง อาศัยบารมีอำมาตย์จนได้ประโยชน์จากระบบสองมาตรฐานทำให้พ้นคดียุบพรรค กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามเป็นคอมมิวนิสต์ เผาบ้านเผาเมือง ฯลฯ
ในขณะเดียว กันพรรคประชาธิปัตย์ก็ขัดแย้งกับฝ่ายเดียวกันคือพันธมิตร จนนำไปสู่ความขัดแย้งและการรบกับประเทศเพื่อนบ้าน และการรณรงค์ Vote No ยิ่งทำให้ “ยุ่งตายห่ะ” หนักเข้าไปอีก
2. ภาวการณ์แห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ โอ้ โห...ข้อนี้ เชื่อเลยครับ! อภิสิทธิ์จูบปากกับเนวินตั้งรัฐบาลอำมาตย์อุ้ม ฯลฯ ไม่ได้อยู่ใน “ภาวการแห่งความมุ่งประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ” แต่อย่างใด
3. ภาวการณ์แห่งการพยายามเอาชนะรูปแบบ และทำลายกันอย่างรุนแรง ผม นี่แม่งโง่บัดซบฉิ๊บหายว่ะที่เสือกไม่เข้าใจว่า การเรียกร้อง การสนับสนุนการทำรัฐประหาร การสลายการชุมนุมที่ทำให้คนตายเกือบร้อยศพ บาดเจ็บร่วมสองพัน ไม่ใช่ “การพยายามเอาชนะทุกรูปแบบและทำลายกันอย่างรุนแรง”
4.ภาวการณ์ความเชื่อในเรื่องเหตุผลน้อยลง และเชื่อพวกเดียวกัน ข้อ นี้ผมยอมรับว่าผมโง่จริงๆ อีกแล้วครับท่าน ที่สามารถรู้อย่างชัดแจ้งเพียงว่า “เหตุผล” ของฝ่ายที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยภายใต้กำกับของอำมาตย์หรืออำนาจนอกระบบ เป็นเหตุผลที่ไม่ยึดโยงอยู่กับหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง คือหลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาค ฉะนั้น หลักความยุติธรรม (the principle of justice) ของพวกเขาจึงไม่ยึดโยงอยู่กับหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคด้วย กระบวนการยุติธรรมที่พวกของใช้จึงเป็น “ระบบสองมาตรฐานซ้ำซาก” (หรือ “ไร้มาตรฐาน”?)
ผมเลยอยากถามประสาคนโง่ว่า ฯพณฯ ทั่น จะให้เกล้ากระผมเชื่อ “เหตุผลเอี้ยๆ” อะไรของ ฯพณฯ ทั่นขอรับ (วะ) ฯพณฯ ทั่น ใช้เหตุผล (บนหลักการประชาธิปไตย) อะไรในการปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ใช้เหตุผลอะไรในการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าล้มเจ้า เป็นคอมมิวนิสต์ ใช้เหตุผลอะไรในการจับกุมคนเสื้อแดงและขังลืม ฯลฯ
5. ภาวการณ์ที่อยู่ในคำคม "กูไม่กลัวมึง" อ้าวก็พวกมึง ไม่เดินตามกติกาประชาธิปไตย ทำรัฐประหาร ปราบปรามประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารเรียกร้องประชาธิปไตย จะให้พวกกูกลัวมึงได้ไงวะ! (พวกมึงมี “ความชอบธรรม” สำหรับให้พวกกูกลัวด้วยหรือวะ?)
6.ภาวการณ์ไม่เคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ว้า ว! บอยคอตเลือกตั้ง เสนอมาตรา 7 สลายการชุมนุมด้วยวิธีป่าเถื่อนเวลากลางคืน ใช้สองมาตรฐานซ้ำแล้วซ้ำอีก ฯลฯ เนี่ยนะครับท่านคือ “การเคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม”
7. ภาวการณ์ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ ถามจริงๆ เถอะ ถามอย่าง “ซีเรียสเลย” นะครับ การเสนอให้ยกเลิก/ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นฯ เสนอให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันได้ หรือข้อเสนอ 8 ข้อ เพื่อปฏิรูปสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ของ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (เป็นต้น) กับการอ้างสถาบันทำรัฐประหารและการอ้างสถาบันเป็นเครื่องมือต่อสู้และทำลาย ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างที่พวกท่านและพวกเดียวกัน (หรืออดีตพวกเดียวกัน?) ทำมาตลอดน่ะ อย่างไหนกันแน่ที่เป็นการ “ไม่เคารพสถาบันสูงสุดของประเทศ” ที่แท้จริง?
หรือย่างไหนกันแน่ ที่เป็นการทำความเสื่อมเสียแก่สถาบันมากกว่ากัน! ระหว่างวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล และเสนอทางออกให้สถาบันอยู่ได้อย่างมั่นคงภายใต้ระบบกฎหมายที่เป็น ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ กับการประจบสอพลอสถาบันให้ให้ตนเองและพวกพ้องมีอำนาจรัฐ มีตำแหน่งหน้าที่งานงานก้าวหน้า ฯลฯ อย่างไหนกันแน่ครับ ที่เป็นการเคารพสถาบันที่ควรแก่การยอมรับยกย่องของ “วิญญูชน” มากกว่ากัน
และในที่ประชุมเดียวกันนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ก็กล่าวว่า
"70-80 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราก้าวหน้า ไม่ได้ถอยหลัง อย่างที่คนมองว่าประเทศไทยล่าหลังนั้นไม่จริง ใน 10 ประเทศอาเซียน ถามว่าประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพของคนมากที่สุด สื่อประเทศไทยมีเสรีภาพเท่าประเทศไทย ไม่มีหรอก" ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ตอนนี้มีคนในชาติไม่สนใจ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของระบบประชาธิปไตย แต่เป็นความคิดของคน เราต้องเชื่อมั่นประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราต้องเชื่อและเคารพการตัดสินใจของประชาชน”
สรุป “คำคม” ...ประเทศ ไทยมีสิทธิเสรีภาพของคนมากที่ สุด... สื่อมีเสรีภาพมากกว่าประเทศอื่นๆ... ไม่ใช่ความผิดของระบอบประชาธิปไตย... เราต้องเชื่อและเคารพการตัดสินใจของประชาชน...
555 มีดโกนอาบน้ำผึ้งจริงๆ (แต่โทษทีข้าพเจ้าสงสัยเหลือเกินว่า “ท่านเชื่อคำพูดของตัวเองหรือไม่?” )
สรุป “จบ” ประเทศไทยโชคดีที่มีพรรคการเมืองเก่าแก่ มีความเป็น “สถาบันทางการเมืองสูง” อย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่สะอาด อุดมด้วยคนดี คนซื่อสัตย์สุจริต รักประชาธิปไตย เคารพการตัดสินใจของประชาชน
ที่สำคัญเป็น พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในประเทศนี้ที่ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องใดๆ กับภาวะความขัดแย้งทางการเมืองแบบ “ยุ่งตายห่ะ” ทั้ง 7 ประการ ดังกล่าวมา !