WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 15, 2011

พุทธศาสนากับ ‘ประชาธิปไตยหางด้วน’

ที่มา ประชาไท

คำ พูดที่ว่า พุทธศาสนาบริสุทธิ์จากการเมือง อยู่เหนือการเมือง ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง อาจเป็นคำพูดที่ถูกต้องหากหมายถึงพุทธศาสนาส่วนที่เป็นสัจธรรมที่พระ พุทธเจ้าตรัสรู้คือ “อริยสัจ 4”

แต่หากหมายถึงพุทธศาสนาในความหมาย ที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น พุทธศาสนาที่มีคำสอนเกี่ยวกับมิติทางสังคมและการเมือง หรือการปรับใช้คำสอนของพุทธศาสนาเพื่อตอบสนองต่อบริบททางสังคม-การเมืองใน ยุคสมัยต่างๆ หรือพุทธศาสนาเชิงสถาบันที่ประกอบด้วยศาสดา พระสาวก องค์กรสงฆ์ พุทธบริษัท 4 พุทธศาสนาในความหมายที่ซับซ้อนดังกล่าวนี้ไม่เคยเป็นอิสระจากการเมืองอย่าง สิ้นเชิง หากแต่มีมิติที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเสมอมากบ้างน้อยบ้างตามเงื่อนไขทาง ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมที่พุทธศาสนาเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วย

ความ สัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการเมืองในสมัยพุทธกาล ซึ่งบทบาททางศาสนาที่สำคัญในยุคนั้นขึ้นอยู่กับบทบาทของพระศาสดา และบทบาทสำคัญทางการเมืองขึ้นอยู่กับบทบาทของกษัตริย์ หากพระศาสดาและกษัตริย์มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันการเผยแผ่พุทธศาสนาย่อม ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

แน่นอนว่าความเจริญรุ่งเรืองของพุทธ ศาสนาในสมัยพุทธกาลก็อยู่ภายใต้ เงื่อนไขดังกล่าวนี้ เพราะพระพุทธเจ้าเป็น “เพื่อนสนิท” กับกษัตริย์ในรัฐมหาอำนาจในชมพูทวีปถึงสองรัฐคือ รัฐมคธกับรัฐโกศล โดยสัมพันธภาพดังกล่าวย่อมส่งผลให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในสองรัฐใหญ่ และรัฐเมืองขึ้นอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

คำสอนของพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับ การเมือง เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร วัชชีธรรมหรืออปริหานิยธรรม เป็นต้น ก็น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่ยุคนี้ แต่มีข้อสังเกตว่ากษัตริย์ที่เคร่งครัดในคุณธรรมของผู้ปกครองตามคำสอนของ พุทธศาสนากลับเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอใน “เกมแห่งอำนาจ” ดังเช่นกษัตริย์ที่เป็นเพื่อนสนิทของพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าปเสนทิ ต่างก็ถูกโอรสของตนเองทำรัฐประหาร

ต่อ มาหลังสมัยพุทธกาล ยุคพระเจ้าอโศกมหาราชถือเป็นยุคแห่งการปรับ “อุดมการณ์ธรรมราชา” ตามคำสอนของพุทธศาสนาเป็นอุดมการณ์แห่งรัฐ ทำให้พระราชามีอำนาจในการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร เช่น พระราชาเป็นแบบอย่างของผู้ปฏิบัติธรรม สอนธรรม มีพระบรมราชโองการให้พระสงฆ์และข้าราชการสอนธรรมเรื่องนั้นเรื่องนี้แก่ พสกนิกร อุปถัมภ์บำรุงคณะสงฆ์และมีอำนาจเข้าไปจัดการปัญหาภายในของคณะสงฆ์ เช่นกรณีมีพระปลอม การแตกสามัคคีในวงการสงฆ์ มีการใช้อำนาจของพระราชาลงโทษประหารชีวิตพระสงฆ์จำนวนมาก เป็นต้น [1]

ทว่า ในท้ายที่สุดพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นแบบอย่าง ของกษัตริย์ตามคติธรรมราชาของพุทธศาสนาที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ ก็สิ้นสุดสถานะแห่งความเป็นกษัตริย์ลงด้วยการรัฐประหารโดยหลานของพระองค์เอง

ในยุคต่อมา เมื่อกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์หันมานับถือพุทธศาสนาต่างก็ปรารถนาที่จะ เป็นธรรมราชาดังพระเจ้าอโศกมาหาราช และกษัตริย์แห่งนครรัฐต่างๆ ในแผ่นดินสยาม นับแต่พ่อขุนรามคำแหงเรื่อยมาถึงยุครัตนโกสินทร์ต่างก็ยืนยัน “ความชอบธรรม” แห่งสถานะความเป็นกษัตริย์โดยอ้างอิง “ทศพิธราชธรรม” เช่นพระเจ้าอโศก

อย่างไรก็ตาม การอ้างอิงทศพิธราชธรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่สถานะของกษัตริย์ในแผ่นดิน สยาม โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาที่เริ่มมีการสมมติให้กษัตริย์เป็น “เทวดาบนแผ่นดิน” หรือ “สมมติเทพ” เป็นต้นมานั้น ทำให้เกิดภาวะขัดแย้งในตัวเองอย่างที่เรียกกว่า “หัวมงกุฏท้ายมังกร” อย่างมีนัยสำคัญ

กล่าวคือ กษัตริย์ตามคติพุทธศาสนานั้นไม่ใช่เทพ ไม่ใช่โอรสของเทพ หรือไม่ใช่ผู้ที่พระเจ้าสร้างมาและให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์มาปกครองแผ่นดิน หากแต่กษัตริย์ตามคติพุทธคือ “คนธรรมดา” ที่ถูกคนส่วนใหญ่เลือกให้เป็นผู้ปกครอง (เรียกว่า “มหาชนสมมติ”) และให้ค่าตอบแทนในการทำหน้าที่ของผู้ปกครองตามความจำเป็น หรือได้ค่าตอบแทนเพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่แบบพอเพียง [2]

ซึ่ง ผู้ปกครองที่กินอยู่แบบพอเพียงแล้วทำหน้าที่ปกครองให้ราษฎรมีความสุข พุทธศาสนาเรียกผู้ปกครองเช่นนี้ว่า “ราชา” แปลว่า “ผู้ที่ทำให้ประชาชนรัก” ด้วยการมีคุณธรรมของผู้ปกครองคือ “ทศพิธราชธรรม”

แต่คำว่า “กษัตริย์” ที่แปลว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขตแดน” หรือผู้เป็นเจ้าที่ดิน ผู้ร่ำรวยที่สุดในแผ่นดิน บวกกับคติแบบเทวสิทธิ์ที่ว่ากษัตริย์เป็นเทพหรือเป็นผู้ที่ได้อำนาจศักดิ์ สิทธิมาจากพระเจ้าเพื่อปกครองแผ่นดิน หากมองตามคติของพุทธศาสนาคำว่า “กษัตริย์” ตามคติดังกล่าวเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ หรือเป็นคำที่ชาวบ้านตั้งขึ้นเพื่อปรับทุกข์กันว่า “ทำไมคนที่พวกเราเลือกให้ทำงานเพื่อพวกเราซึ่งสมควรอยู่อย่างสมถะเพราะเป็น คนแห่งธรรม จึงกลายเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในแผ่นดินเช่นนี้” [3]

คำ ที่มีความหมายเชิงบวกตามคติพุทธคือ “ราชา” ซึ่งหมายถึงคนธรรมดาที่ถูกเลือกจากคนส่วนใหญ่ให้มาทำหน้าที่ปกครอง ได้ค่าตอบแทนในการทำหน้าที่เพียงเพื่อดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และเป็นที่รักของประชาชนโดยการปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม

จะเห็นได้ ว่า ปัญหา “หัวมงกุฏท้ายมังกร” ของคติกษัตริย์ในแผ่นดินสยามคือ คติเรื่องกษัตริย์เป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีเทวสิทธิ์แบบพราหณ์กับคติ ธรรมราชาแบบพุทธ ผลก็คือ สถานะของกษัตริย์จึงไม่ชัดว่าเป็นโอรสของเทพ (แบบจักรพรรดิญี่ปุ่น ฟาร์โรของอียิปต์ ฯลฯ) หรือเป็นเทพ ทว่าเป็นกึ่งคนกึ่งเทพ ที่เรียกว่า “สมมติเทพ” ส่วนที่เป็นเทพคือส่วนที่เป็นสถานะและอำนาจของกษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์แตะ ต้องหรือล่วงละเมิดมิได้ ส่วนที่เป็นคนคือส่วนที่เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองที่ถูกคนส่วนใหญ่เลือก ให้ทำงานแก่ผู้ใต้ปกครองตามครรลองของทศพิธราชธรรม

ทั้งสองส่วนนี้ ขัดแย้งกันโดยพื้นฐาน กล่าวคือ “สาระ” (essence) ของความเป็นเทพเรียกร้องหรือต้องการภาวะ “อภิมนุษย์” ที่อยู่เหนือหรือห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ แต่สาระของทศพิธราชธรรมเรียกร้องหรือต้องการการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ (เพราะถ้าไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบจะรู้ได้อย่างไรว่ามี หรือปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรมได้สมบูรณ์หรือบกพร่องหรือไม่)

อย่าง ไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงความขัดแย้งในเชิงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ชนชั้นปกครองไทยกลับนำคติเรื่องทศพิธราชธรรมมาสนับสนุนสถานะความเป็นเทพของ กษัตริย์ตามคติเทวสิทธิ์แบบพราหฒณ์ได้อย่างลงตัว (นี่อาจเป็นความสามารถพิเศษของชนชั้นปกครองไทย) โดยอ้างอิงคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมและการบำเพ็ญบุญบารมีมารองรับสถานะ “สมมติเทพ” ของกษัตริย์และความแตกต่าง ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคม ฉะนั้น “จินตภาพสังคมไทยภายใต้ร่มพระบารมี” จึงมีลักษณะเด่นชัดดังที่ ธงชัย วินิจจะกูล อธิบายว่า

“องค์รวมที่เรียกว่าประเทศไทย จึงเต็มไปด้วยหน่วยย่อยๆที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาหน่วยสังคมใดๆ เช่นครอบครัว ที่ทำงาน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด กระทรวงกรม โรงเรียน บริษัท โรงงาน ฯลฯ ก็จะพบผู้คนที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน และต้องยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” [4]

ปัญญา คือ เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 จินตภาพสังคมไทยภายใต้ร่มพระบารมี ซึ่งมีสาระสำคัญคือ “การยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” โดยอ้างอิงฐานคิดที่นิยาม “ความเป็นมนุษย์สูง-ต่ำตามบุญบารมีที่บำเพ็ญมาแตกต่างกัน” ยังคงเป็นจินตภาพที่ฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมทางความคิดความเชื่อของสังคมไทย

ซึ่ง จินตภาพดังกล่าวขัดแย้งอย่างมีนัยสำคัญกับจินตภาพของสังคม ประชาธิปไตยที่นิยามความเป็นมนุษย์บนฐานคิดเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาค จึงทำให้สังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆ มีลักษณะแบบ “หัวมงกุฎท้ายมังกร” คือหัวยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขณะที่หางเป็นประชาธิปไตย (เช่นมีการเลือกตั้ง มีเสรีภาพในระดับที่จำกัด)

และโดยลักษณะ “หัวมงกุฏท้ายมังกร” ดังกล่าว บ่อยครั้งก็เกิดปรากฎการณ์ “หัวกินหาง” (และกินกลางตลอดตัว?) ทำให้กลายเป็น “ประชาธิปไตยหางด้วน” อย่างที่เห็นและเป็นอยู่!

อ้างอิง

[1] ดู ส. ศิวรักษ์ (แปลและเรียบเรียง).ความเข้าใจเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาวทาร.(กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย,2552). หน้า 26.
[2] ดู อัคคัญสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 11
[3] สมภาร พรมทา.นิติปรัชญา.วารสารปัญญา ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2554), หน้า 329
[4] ธงชัย วินิจจะกูล.พุทธศาสนา ความสัมพันธ์ทางสังคม ลัทธิประวัติศาสตร์ มรดกจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์.(มติชนออนไลน์ 8 พ.ค.2554)