ที่มา มติชน
ประสงค์ วิสุทธิ์ คอลัมน์ ณ ริมคลองประปา
ช่วง ก่อนมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 และกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้ง (ว่าที่) ผู้สมัคร ส.ส.ต่างเร่งหาเสียงอย่างขนานใหญ่
พรรคประชาธิปัตย์ยิงสปอตโฆษณาทางโทรทัศน์ถี่ยิบ
ขณะ ที่พรรคเพื่อไทย มีแกนนำออกรายการทีวีเสื้อแดงโฆษณานโยบายพรรค และโจมตีพรรคคู่แข่ง เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่หลบหนีคดีอยู่ต่างประเทศ ออกรายการโทรทัศน์เสื้อแดงติดต่อกันหลายวัน คุยถึงนโยบายพรรคเพื่อไทยที่ตนรังสรรค์ขึ้น
การ ที่พรรคการเมืองต่างๆ เร่งช่วงชิงโฆษณาหาเสียงทางโทรทัศน์ เพราะรู้ดีว่าหลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ไม่มีสิทธิไปเช่าเวลาหาเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ได้อีก เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผ้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 กำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้จัดสรรเวลาให้แต่ละพรรคได้ออกอากาศอย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพรรคการเมืองและผู้สมัครเช่าเวลาหาเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ด้วยตนเอง (มาตรา 59 ประกอบ 60)
ใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่าง ไรก็ตาม แม้จะเป็นการเช่าเวลาทางวิทยุโทรทัศน์หรือซื้อสื่ออื่นๆ หาเสียงก่อนยุบสภาก็ไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ เพราะต้องนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปคำนวณรวมกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งที่จะมี ขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคมด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือสมาชิกได้ซื้อเวลาในการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือได้ซื้อเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือโฆษณาโดยวิธีอื่น ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือก ตั้งครั้งถัดไปด้วย
แต่ถ้ามีคนใจป้ำให้ไปใช้เวลา ออกอากาศให้ฟรีๆ เช่น โทรทัศน์เสื้อแดงให้แกนนำพรรคเพื่อไทยไปจัดรายการเป็นชั่วโมงๆ ต่อวัน ต้องนำมาคิดคำนวณเป็นเงินด้วยหรือไม่
คำตอบคือ ต้องนำมาคิดคำนวณด้วย ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ที่กำหนดห้ามผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้ง (บนโต๊ะ) เกินกว่าที่ กกต.กำหนด
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้รวมถึงบรรดาเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่บุคคลใด ๆ จ่ายหรือรับว่า จะจ่ายแทนหรือนำมาให้ใช้โดยไม่คิดค่าตอบแทน เพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยความยินยอมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้นด้วย ในกรณีที่นำทรัพย์สินมาให้ใช้ให้คำนวณตามอัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามปกติ ในท้องที่นั้นๆ
การใช้จ่ายเงินตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองบัญญัติให้ถือว่า เป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ให้นำมารวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองด้วย (มาตรา 50 วรรคสาม วรรคสี่)
เมื่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ คุมเข้มเรื่องค่าใช้จ่ายเช่นนี้ รับรองว่าคู่แข่งคงไปขุดหาหลักฐานการใช้จ่ายในการหาเสียงก่อนยุบสภามายื่น ร้องต่อ กกต.แน่
ใคร (ผู้สมัครและหัวหน้าพรรค) ที่ใช้เวลาหาเสียงทางโทรทัศนไปอย่างไม่บันยะบันยังหนาวแน่ เพราะอาจทำให้ค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่ กกต.กำหนดได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,00-100,000 บาท หรือปรับเป็นจำนวน 3 เท่าของจำนวนเงินที่เกินจำนวนเงินที่ กกต.กำหนด และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 5 ปี (มาตรา 141)
ใน การเลือกตั้งครั้งนี้ กกต.กำหนดค่าใช้จ่ายหาเสียงของผู้สมัคร ส.ส.ไว้เท่าเดิมคือ ไม่เกินรายละ 1.5 ล้านบาท ดังนั้น สำหรับพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อครบทั้ง 125 คน ก็มีสิทธิที่จะใช้เงินหาเสียงในนามของพรรคได้ไม่เกิน 187.5 ล้านบาท
อาจ มีผู้ปรามาสว่า เพดานค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งที่ กกต.กำหนดไว้แค่ 1.5 ล้านบาท เป็นเรื่องหลอกเด็ก เพราะเอาเข้าจริงในพื้นที่ที่มีการต่อสู้อย่างดุเดือดอาจใช้เงินเป็นร้อย ล้านบาทอย่างต่ำๆก็ 30-40 ล้านบาทซึ่งกกต.จับใครไม่ได้สักคนเดียว
แต่ หารู้ไม่ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่าน(ปลายปี2550)มีกระแสข่าวว่า กกต.จังหวัดได้ตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายที่ผู้สมัคร ส.ส.ยื่นไว้ พบว่าน่าจะไม่ถูกต้องหรือมีพิรุธประมาณ 500 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.กว่า 10 ราย โดยมีรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันรวมอยู่ด้วย เพียงแต่ว่า สำนักงาน กกต.ดองเรื่องไว้ไม่ดำเนินการจนกระทั่งมีการยุบสภา
กลายเป็นเผือกร้อนที่ กกต.จะหยิบมาฟันใครตอนนี้ก็ลำบาก เพราะจะถูกย้อนศรฟ้องกลับว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้