WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 9, 2011

92 ศพมีนา-พฤษภาอำมหิต : เกิดอะไร? อย่างไร? และทำไม? (ตอน 2)

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



หลัง จากประมวล ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นในช่วงมีนา-พฤษภาอำมหิตแล้ว งานวิจัยเรื่อง "บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมืองในช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม 2553" ของคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี สกว. ที่มีศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นประธาน ได้ตั้งคำถามหลักที่มุ่งค้นคว้าหาคำตอบไว้ 2 ประการคือ: -

1) การชุมนุมประท้วงที่เริ่มต้นโดยสันติเปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไร? และ

2) อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว?

อย่างไร?

งาน วิจัยตอบคำถามนี้โดยพยายามจับและยึดกุมพลวัต (dynamics) ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงคลี่คลายขยายตัวของเหตุการณ์ ว่ามีการขยายขอบเขตและเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างไรในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางการประท้วงและศูนย์รวมเหตุการณ์รุนแรง ทั้งในมิติเชิงเวลาและสถานที่

พวกเขาค้นพบว่ากล่าวสำหรับเหตุการณ์ รุนแรงที่เชื่อมโยงกับการประท้วงของ นปช. (ซึ่งส่วนใหญ่เกือบ 80% เป็นไปโดยไม่ใช้ความรุนแรง) มีเหตุปัจจัยและลักษณะอันนำไปสู่การยกระดับ ความรุนแรง (escalation) ดังนี้: - (โปรดดูแผนที่ประกอบ)

1) การยึดครองพื้นที่รอบแยกราชประสงค์อย่างยาวนานนั้นล่อแหลมสุ่มเสี่ยงต่อการ เกิดเหตุรุนแรงกว่าการยึดครองพื้นที่ย่านสะพานผ่านฟ้าฯ เพราะเป็นพื้นที่ธุรกิจโดยตรง, มีนัยเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองน้อยกว่า, และฝ่ายผู้ประท้วงก็วิตกกังวลต่อการปราบปรามที่จะตามมามาก

แผนที่เหตุการณ์รุนแรงในกรุงเทพฯ (มี.ค.-พ.ค.2553)

สัญลักษณ์แทน : ระเบิด, การเผา, การต่อสู้, การยิง, ถนนหลวง/ถนนสายหลัก, เขตจังหวัด, แม่น้ำ



2) "ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" (ซึ่งอาจมีหลายพวกก็ได้) เป็นตัวการก่อความรุนแรง เพื่อมุ่งทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งคงอยู่ต่อไปและยกระดับมันให้รุนแรงยิ่ง ขึ้น พร้อมทั้งลดพื้นที่การเมืองของผู้สนับสนุนการแก้ปัญหาอย่างสันติทั้งสองฝ่าย ลง โดยสามารถแบ่งลักษณะของการก่อความรุนแรงดังกล่าวออกเป็น 2 ช่วงคือ: -

ก) ก่อนปฏิบัติการขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าและบริเวณโดยรอบเมื่อ 10 เม.ย.2553 มีการใช้ระเบิดและเอ็ม 79 เป็นหลัก โจมตีสถานที่ราชการและอาคารธุรกิจที่ห่างไกลจุดประท้วงในตอนกลางคืน น่าจะเป็นไปได้ว่าเพื่อพยายามสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นแก่สาธารณชนสูงสุด โดยไม่มุ่งประสงค์ทำอันตรายคนที่ไม่เกี่ยวข้อง นับเป็นการยั่วยุฝ่าย รัฐบาลที่คาดการณ์ไว้แล้วอย่างรอบคอบ

ข) เมื่อการยั่วยุได้ผล รัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าฯและบริเวณโดยรอบเมื่อ 10 เม.ย.2553 ส่งผลให้ทหาร 5 คน, ผู้ชุมนุมเสื้อแดง 19 คน และบุคคลอื่น 2 คน เสียชีวิต หลังจากนั้นแบบแผนการโจมตีของ "ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" ก็แตกต่างไปจากเดิมกล่าวคือหันมามุ่งโจมตีโดยตรงต่อผู้คน พลเมืองและผู้ไม่เกี่ยวข้องในบริเวณใกล้พื้นที่ประท้วง เพื่อเพิ่มการยั่วยุและแรงกดดันทั้ง ต่อรัฐบาลและผู้ประท้วง

แผนภาพจำนวนเหตุการณ์รุนแรงในกรุงเทพฯและปริมณฑลจำแนกตามสัปดาห์และผู้กระทำ

(แถบดำ = ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้/แถบเทาทึบ = ทหาร/แถบลายประ = นปช.)



3) อาจกล่าวได้ว่าในกระบวนการยกระดับความรุนแรงที่ขับเคลื่อนโดย "ผู้ใช้ความรุนแรง ที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" เป็นตัวการสำคัญนั้น ฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม นปช.ต่างก็มีส่วนตัดสินใจผิดพลาดและเต้นไปตามแรงยั่วยุกดดันนั้นด้วยกันทั้ง คู่ ที่สำคัญได้แก่: -

-การที่รัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าเผชิญหน้าและ ปะทะกับผู้ชุมนุม นปช.ที่สะพานผ่านฟ้าฯและบริเวณโดยรอบในเวลากลางคืน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553

-การที่ นปช.ไม่สนใจข้อเสนอแนะทางยุทธวิธีให้กลับไปชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯทั้งหมด

-การ ชุมนุมโดยไม่ใช้ความรุนแรงของ นปช.บริเวณแยกราชประสงค์ลดขนาดลง แต่กลับถูกทำให้มีลักษณะสู้รบอย่างทหาร (militarized protest) มากขึ้น โดยก่อตั้งรั้วไม้ไผ่เป็นป้อมปราการปิดกั้นถนน ในขณะที่ฟากตรงข้ามกองกำลังทหารก็มาตั้งประจันหน้าเพิ่มขึ้น

-โอกาส ของการพูดคุยเพื่อปรองดองกันผ่าน Road Map ของนายกรัฐมนตรีล้มเหลวเพราะการผลัดกันแข็งขืนดื้อรั้นของทั้งสองฝ่าย ทำให้จังหวะคับขันที่อาจยุติความขัดแย้งลงได้โดย ไม่เกิดความรุนแรงมากไปกว่านี้พลัดหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย

-ปฏิบัติ การของรัฐบาลโดยกองกำลังทหารต่อผู้ประท้วงแยกราชประสงค์จาก 14-19 พ.ค.2553 นำไปสู่การต่อสู้กันอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบของ นปช.ด้วยความรุนแรงเช่นกัน (ดูแผนภูมิประกอบ)

งานวิจัยสรุปพลวัตของความรุนแรงมีนา-พฤษภาอำมหิตไว้ว่า:

"การ ประท้วงของ นปช.ในกรุงเทพฯ อาศัยการประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นหลักมาแต่แรก ขณะที่การโต้ตอบของฝ่ายรัฐก็อาศัยแนวทางการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นหลัก แต่เมื่อกลุ่มบุคคลที่ไม่อาจระบุได้หนึ่งกลุ่มหรือมากกว่า ได้ใช้กลยุทธ์ยกระดับความรุนแรง และได้สร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ (pretext) การใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการ "กระชับพื้นที่" ที่สะพานผ่านฟ้าฯ ผลที่ตามมาคือทำให้ความขัดแย้งมีลักษณะรุนแรงสุดโต่งมากยิ่งขึ้น (radicalized) เมื่อผนวกกับการใช้ความรุนแรงในรูปต่างๆ ของกลุ่มบุคคลที่ไม่อาจระบุได้และการตัดสินใจใช้กาลังทหาร "กระชับพื้นที่" ของรัฐบาล

จนที่สุดฝ่ายผู้ประท้วงก็โต้ตอบด้วยการใช้ความรุนแรงในฐานะปฏิกิริยาต่อต้าน การใช้กำลังของฝ่ายทหารในครั้งที่ 2"