ที่มา ประชาไท
ดิ อินดิเพนเดนท์ ระบุว่าเพียงไม่กี่วันหลังการเลือกตั้งที่เธอได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย แต่ยิ่งลักษณ์ว่าที่ผู้นำหญิงคนแรกของไทยกลับต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดัน อย่างหนักที่จะต้องจัดการกับว่าที่อดีตนายกรัฐมนตรีในข้อหาฆาตรกรรม และปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีลักษณะรุนแรงมาก
แม้จะยัง ไม่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ยิ่งลักษณ์กต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องจากขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ซึ่งช่วยให้พรรคเพื่อไทยได้เข้าสู่อำนาจอย่างมั่นคง ที่เรียกร้องกดดันนโยบายที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมาอีก
ดิ อินดิเพนเดนท์ระบุว่า แม้ยิ่งลักษณ์จะได้รับชัยชนะถล่มทลายจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาโดยเธอได้ สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นกลาง ประนีประนอม และชูนโยบายเรื่องเศรษฐกิจ และพยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นในประเทศ แต่เหล่านั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างจากความต้องการของคนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรค เพื่อไทย
สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือ ต่อกรณีความตายกว่า 90 ศพจากเหตุปะทะการระหว่างกองกำลังทหารกับคนเสื้อแดงในช่วงเม.ย.-พ.ค. ปีที่แล้วนั้น ยิ่งลักษณสนับสนุนการทำงานของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แต่กลุ่มคนเสื้อแดงไปไกลกว่านั้น พวกเจาเรีกร้องให้นำตัวอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้กำลังจะลงจากตำหน่งนายกขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ด้วยข้อกล่าวหาเกี่ยวกับบทบาทของอภิสิทธิ์ในการสลายการชุมนุมเมื่อปีทีแล้ว
ยิ่ง ลักษณ์ให้สัมภาษณ์ ดิ อินดิเพนเดนท์และสื่อต่างประเทศรายอื่นเป็นครั้งแรกว่าเธอตระหนักดีถึงความ คาดหวังในระดับสูงมากที่เธอกำลังเผชิญ
“เราต้องบอกให้ประชาชนรับรู้ ถึงแผนการทำงาน ดิฉันเชื่อว่าคนไทยมีความอดทน และอย่างน้อยที่สุด ประชาชนก็ให้โอกาสดิฉันพิสูจน์ความสามารถของตัวเองในการช่วยเหลือพวกเขา”
สำหรับ กรณีกฎหมทยหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่กำหนดโทษจำคุกสูงถึง 15 ปี สำหรับการแสดงความเห็นที่เข้าลักษณะดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์นั้น เธอกล่าวว่าต้องมีการทบทวน ทั้งนี้ นักสิทธิมนุษยชนระบุว่ากฎหมายนี้ถูกใช้มากขึ้นภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือปิดปากความเห็นต่างและฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองแกนนำ คนเสื้อแดงหลายคนก็ถูกฟ้องด้วยข้อหานี้ รวมถึงจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในคุก
ในประเด็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า “ประเด็นนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ละเอียดอ่อน และเราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะอภิปรายเรื่องนี้ ดิฉันไม่ต้องการให้คนไทยใช้กฎหมายนี้บ่อยเกินไป และไม่ต้องการให้คนไทยใช้กฎหมายนี้แบบผิดๆ”
ยิ่งลักษณ์ยังกล่าวถึง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งถูกเขียนขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 ซึ่งโค่นล้มทักษิณ ชินวัตรพี่ชายของเธอจากตำแหน่ง โดยเธอกล่าวว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะต้องถูกแก้ไขโดยผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ และต้องมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อการแก้รัฐธรรมนูญด้วย “แต่เราจะไม่กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นเรื่องลำดับต้นๆ สำหรับดิฉัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการแก้ไขปัญหเศรษฐกิจ”
ดิ อินดิเพนเดน์ ยังได้ยกตัวอย่างของการเห็นต่างในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของนโยบาย ระหว่างยิ่งลักษณ์กับนักเคลื่อนไหวที่สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงรายอื่น เช่น กรณีของนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการแกนนำ นปช. ได้เรียกร้องต่อพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญต่อการหาความจริงกรณีการสายการ ชุมนุม “สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อการสร้างความปรองดองก็คือ ความจริง ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องถูกนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ดิฉันไม่ยอมรับการนิรโทษกรรม การปรองดองแตกต่างจากการนิรโทษกรรม” โดยรักษาการแกนนำ นปช ยังระบุด้วยว่านักเคลื่อนไหวเสื้อแดงต้องการแก้รัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”
นอกจากนี้ นายใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปลดผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และดำเนินคดีกับทั้งพล.อ.ประยุทธ์ และนายอภิสิทธิ์
อย่าง ไรก็ตาม ดิ อินดิเพนเดนท์ระบุว่า สิ่งที่ท้าทายยิ่งลักษณ์ที่สุดก็คือ การหาตัวหลอกในการดึงความสนใจออกจากข่าวที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะเดินทางกลับเขาประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนก็เห็นพ้องกันว่า ทักษิณยังคงมีอิทธิพลในการควบคุมพรรคเพื่อไทย “พี่ชายของดิฉันมีประสบการณ์การเมืองมาก แต่ดิฉันมีความสามารถพอที่จะตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วนตัวเอง ดิฉันสามารถที่จะเป็นผู้นำได้ด้วยตัวเอง” ยิ่งลักษณ์กล่าว