ที่มา มติชน
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ได้มีงานเสวนา “การสื่่่อสารทางการเมือง ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของสื่อ: จากประสบการณ์สากลสู่สังคมไทย” จัดโดย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยในงานได้มีปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สื่อใหม่ การเมืองใหม่: ประสบการณ์จากอเมริกาและไกลโพ้น” โดย นาย Ralph J. Begleiter อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสของ CNN, ผู้อำนวยการศูนย์การสื่อสารการเมืองประจำมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ และผู้จัดและดำเนินรายการ Great Decisions ทางสถานีโทรทัศน์ PBS
นาย Ralph J. Begleiter
นาย Begleiter กล่าวว่า ทุกวันนี้มีช่องทางการสื่อสารเกิดขึ้นมากมายที่นอกเหนือไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบาล และผู้คนทุกวันนี้ก็ได้เลือกที่จะหันไปรับสื่ออื่น และหลีกเลี่ยงสื่อจากรัฐบาลเมื่อทำได้ อย่างเช่นกรณีความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอียิปต์ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลมีแต่ความว่างเปล่า ชาวอียิปต์จึงหันไปพึ่งการสื่อสารทางเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์แทน สิ่งนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ ที่ทำให้ประชาชนส่งผ่านข้อความทางการเมืองกันได้โดยปราศจากการควบคุมของ รัฐบาล และในกรณีนี้รัฐบาลอียิปต์ก็ได้ตอบโต้ด้วยการมีตั้ง account เฟสบุ๊คของรัฐบาลเองขึ้นมา ทั้งนี้ตนคิดว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป สื่อออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือยูทูบ จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น
นาย Begleiter ยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วทางอินเตอร์เน็ตไม่ได้แปลว่าคนในประเทศนั้นจะมีการ
นอกจากนี้ นาย Begleiter ยังได้กล่าวถึงทิศทางในการรับสื่อในอนาคตข้างหน้าด้วยว่า ในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนั้น ผู้คนจะไม่ได้แค่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอีก ต่อไปแล้ว แต่ผู้คนจะสามารถใช้อุปกรณ์การสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าไปในเครือข่าย ทางสังคมออนไลน์ต่างๆ และเลือกข้อมูลข่าวสารทางการเมืองได้ด้วยตัวเอง
“ยกตัวอย่างแคมเปญหาเสียงของโอบามาในยูทูบ ซึ่งทีมงานของโอบามาผลิตวีดีโอหาเสียงในยูทูบเป็นจำนวนมากกว่านายเเมคเคน และมีสถิติผู้ชมวิดีโอจำนวนสูงกว่า จึงทำให้นโยบายของนายโอบามาสามารถสื่อสารไปถึงผู้คนในจำนวนที่มากกว่า ซึ่งนี่ได้แสดงให้เห็นอำนาจของโซเชียลเน็ตเวิร์คในการส่งผ่านข้อความทางการ เมือง”
ภาพแสดงข้อมูลในแคมเปญการหาเสียงระหว่างโอบามากับแมคเคนโดยใช้วิดีโอคลิปบนเว็บไซต์ยูทูป
นาย Begleiter ได้หยิบยกอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือปกนิตยสาร The New Yorker โดยครั้งหนึ่งนิตยสารดังกล่าวได้ขึ้นปกโอบามา ซึ่งเป็นภาพที่สื่อออกมาได้ว่า นายโอบาเป็นคนไม่ดีพอที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม นิตยสาร The New Yorker นั้นไม่ใช่นิตยสารที่มีจำนวนคนอ่านมากนัก ดังนั้นการสื่อข้อความทางการเมืองดังกล่าวจึงสื่อไปถึงผู้คนจำนวนไม่มาก ในขณะที่พรรคคู่แข่งโอบามาต้องการให้ข้อความนี้ได้รับการส่งผ่านไปยังผู้คน จำนวนมาก พวกเขาจึงก็อปปี้ภาพปกดังกล่าว แล้วส่งไปตามอีเมล์หรือเฟสบุ๊ค ซึ่งมีผู้ชมจำนวนมาก
ภาพปกนิตยสาร The New Yorker
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ กรณีของชายคนหนึ่งในฟิลาเดเฟียที่ไม่เห็นด้วยกับโอบามา ชายคนนี้ไม่ใช่นักข่าว แต่ใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมเผยแพร่ข้อความทางการเมืองของเขา ในการแสดงข้อความต่อต้านโอบามาดังกล่าว ชายผู้นี้เรียกโอบามาในชื่อ “ฮุสเซน” ซึ่งเป็นชื่อกลางของโอบามา โดยชื่อที่ว่านั้นพ้องกับชื่อของซัดดัม ฮุสเซน ที่สื่อถึงความเป็นผู้ร้ายและความเป็นเผด็จการ ซึ่งนี่ทำให้เห็นได้ว่าสงครามใต้ดินของโซเชียลมีอิทธิพลเพียงใด
วีดีโอโจมตีโอบามาในเว็บไซต์ยูทูป
อดีตนักข่าว CNN กล่าวว่า การที่ผู้คนได้รับข้อมูลซ้ำๆจากสื่อกระแสรองที่ปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จ จริง เช่นบน feed ของเฟสบุ๊ค หรือบนทวิตเตอร์นั้น สามารถทำให้คนๆหนึ่งทึกทักไปว่าข้อมูลชิ้นหนึ่งที่ตนได้รับมานั้นเป็นความ จริง และส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปยังคนอื่นๆโดยปราศจากการตรวจสอบ ปราศจากคำถาม และทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนอื่นๆในสังคม โดยทั้งที่จริงแล้ว ข้อความที่ไม่แน่ว่าอาจเป็นจริงหรือเท็จเหล่านี้ไม่สามารถใช้ช่องทางของสื่อ หลักในการสื่อสารได้ เพราะสื่อหลักมีบรรณาธิการที่ดีที่จะคัดกรองข้อมูล
"สำหรับผมแล้ว ยิ่งมีช่องทางการสื่อสารมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ผิดๆมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วกับประชาชนชาวอเมริกัน"
สุดท้ายนี้ นาย Begleiter ได้เน้นย้ำเอาไว้ว่า “ผู้คนไม่ได้ต้องการแค่ “ข้อคิดเห็น” เท่านั้น แต่พวกเขาจำเป็นจะต้องได้รับ “ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง” ด้วย”
และสิ่งนี้เป็นหน้าที่ของสื่อกระแสหลักอย่างแท้จริง
นาย Begleiter ให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์
นาย Begleiter ให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์ ซึ่งมีสรุปใจความได้ว่า ตนเห็นด้วยและสนับสนุนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองบนโซเชีย ลมีเดีย แต่ตนคิดว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นไม่ใช่แหล่งที่ดีสำหรับการค้นหาข้อมูลที่ เป็นข้อเท็จจริง เนื่องจากข้อมูลบนโซเชียลมีเดียยืนอยู่บนพื้นฐานของ "ความคิดเห็น" เท่านั้น