WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 9, 2011

Bangkok Pundit วิเคราะห์ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับท่าทีต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา ประชาไท

ในการให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าว The Independent[1] นักข่าวถามยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีข้อความบางตอนที่สำคัญดังนี้:

“ประเด็นนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ละเอียดอ่อน และเราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะอภิปรายเรื่องนี้” เธอกล่าว “ดิฉันไม่ต้องการให้คนไทยใช้กฎหมายนี้บ่อยเกินไป และไม่ต้องการให้คนไทยใช้กฎหมายนี้แบบผิดๆ”[2]

เธอ ชี้ด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ซึ่งนำมาใช้หลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ที่ทำให้พี่ชายของเธอ นายทักษิณ ชินวัตร หลุดจากตำแหน่ง) น่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขหลังจากผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกันแล้ว

“เราจะถามประชาชนก่อนว่า ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับไหน เราต้องจัดให้มีการประชาพิจารณ์ในประเด็นนี้” เธอกล่าว “แต่เราจะไม่กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นเรื่องลำดับต้นๆ สำหรับดิฉัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ”[3]

ธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่ม นปช. กล่าวว่า กลุ่มเคลื่อนไหวต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

“เราอยากให้มีคณะกรรมการและตัวแทนมาศึกษาและหารือกันเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เธอกล่าว “ไม่ใช่แก้แค่กฎหมายหมิ่นฯ นั่นเป็นแค่ประเด็นหนึ่งเท่านั้น”

ความคิดเห็นของ BP:

1. ถ้าความจำของ BP ยังดีอยู่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือในสมัยรัฐบาล ทหาร/รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหารในช่วงทศวรรษ 1970 เพราะฉะนั้น อย่าคาดหวังว่าจะมีการแก้ไขได้รวดเร็วทันใจ เพราะการพยายามแก้ไขจะปลุกข้ออ้างที่ว่า “ทักษิณคิดล้มเจ้า” ขึ้นมาทันที

2. คำตอบของยิ่งลักษณ์ค่อนข้างคลุมเครือ และ BP จะไม่ประหลาดใจเลย ถ้าเธอโยนเรื่องนี้ไปให้คณะกรรมการสักชุดเป็นคนจัดการ (นี่คือสิ่งที่ BP ตีความคำว่า “ผู้เชี่ยวชาญที่จะอภิปรายเรื่องนี้”) และวิธีนี้ดูเหมือนค่อนข้างสอดคล้องกับกระบวนการที่ธิดาต้องการ หน้าที่นี้จะตกเป็นของกรรมการรัฐสภา คณะกรรมการชุดใหม่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือคณะกรรมการชุดคณิตที่จะเข้ามาดูแลเรื่องนี้?

3. ฉะนั้น คุณผู้อ่านก็คงพอเห็นแนวทางคร่าว ๆ เช่นเดียวกับประเด็นนิรโทษกรรม เรื่องเศรษฐกิจต้องมาก่อน รัฐบาลจะมีเวลา 6-12 เดือนก่อนที่คณะกรรมการจะทำรายงานสรุปพร้อมทางเลือก ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างหนึ่งในกระบวนการนี้ก็คือ ถ้าระหว่างนั้นมีใครสักคน/หลายคนเกิดถูกจับภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพหรือพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลของเธอจะแสดงออกอย่างไร? หากมีคดีของใครสักคนที่มีชื่อเสียง[4] ต้องขึ้นพิจารณาในศาล?

4. อนึ่ง รัฐมนตรีไอซีทีคนใหม่จะร่วมมือกับคณะปฏิบัติงานที่ตั้งขึ้นมาแล้วในการค้นหา จับกุมผู้แสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ทางอินเทอร์เน็ต หรือไม่? คณะปฏิบัติงานนี้จะถูกยุบทิ้งหรือเปล่า? ตอนนี้คงยากเพราะเดี๋ยวก็โดนข้อหา “ทักษิณคิดล้มเจ้า” ขึ้นมาอีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับใครจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีไอซีที[5] รัฐมนตรีคนใหม่อาจใช้วิธีค่อย ๆ ตัดงบประมาณของคณะปฏิบัติงานลงไปเรื่อย ๆ ก็ได้ ตราบใดที่ข้อ 3 ยังไม่เกิดขึ้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์อาจเอาตัวรอดไปได้ในระยะสั้น คนเสื้อแดงจำนวนมากต้องการความก้าวหน้า กองทัพและข้าราชการจะคอยต่อต้านขัดขวาง ดังนั้น รัฐบาลคงต้องรักษาสมดุลไว้อย่างยากลำบาก ซึ่งอาจสะดุดล้มคว่ำได้ง่าย ๆ จากคดีใดคดีหนึ่งหรือการจับกุมใครขึ้นมา



[2] คำแปลคัดมาจากข่าวประชาไท http://www.prachatai.com/journal/2011/07/35911
[3] คำแปลตัวเน้นคัดจากข่าวประชาไท
[4] ยังมีอีกหลายคดีที่เราไม่รู้ ดังนั้น นับจากนี้จนถึงประมาณปีหน้า น่าจะมีหลายคดีที่ขึ้นศาล
[5] ตัวเลือกรัฐมนตรีที่ดูดี มักจะกลายเป็นรัฐมนตรีประเภท “ปิดเว็บไซท์กันเถอะ” ไปได้อย่างรวดเร็ว