WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 7, 2011

"อภิสิทธิ์" วันแพ้สงคราม และ"เนวิน" อดีตคู่ใจ-ในลู่แค้น "ฝ่ายค้าน"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ





หลังสิ้นสุดสงครามเลือกตั้ง"54 พรรคเพื่อไทยนำชัยท่วมท้น พร้อมสวมหมวกแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 5 พรรค ด้วยคะแนน 299 เสียง

ขณะที่พรรคคู่แข่ง-คู่แค้นอย่าง "ประชาธิปัตย์" ทำคะแนนตกวูบ ทั้งบัญชีรายชื่อ-แบ่งเขต เหลือเพียง 159 เสียงเท่านั้น

ส่งผลให้สังคมจับตามองไปที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ทวงถามถึงคำพูดในวันเก่า ที่ออกมาประกาศเรียกขวัญกำลังใจมวลชน

"หากได้คะแนนน้อยกว่า 170 เสียง ผมจะลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดง ความรับผิดชอบ ตามขนบธรรมเนียมของพรรค"

ด้วย วิธีคิดแบบ "สปิริตออกซ์ฟอร์ด" ทำให้หวนนึกถึงคำทำนายของ "โหรเนวิน" ที่ดูท่าจะเป็นจริงไปตามคาด จากการออกมาเปิดหน้ากดดันว่า หากพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคจำเป็นต้องลาออก

"ผมยอมรับการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ส่วนอนาคตของตัวผมเอง จะรอดูผลการเลือกตั้งที่เป็นตัวเลขทางการ แต่ผมมีคำตอบในใจแล้ว"

คือคำพูดทิ้งท้ายของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หลังทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในคืนวันที่ 3 ก.ค.

เช้าวันรุ่งขึ้น ข้อข้องใจทั้งหมดถูกคลี่คลายทันทีโดยเจ้าตัว ณ ที่ทำการ ใหญ่พรรคประชาธิปัตย์

"อภิสิทธิ์" ตัดสินใจประกาศลาออกโดยลำพัง มีเพียงเบอร์โทรศัพท์ของ "ชวน หลีกภัย-สุเทพ เทือกสุบรรณ" เท่านั้นที่ได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

แม้จะเป็น เรื่องที่กระทบอารมณ์มวลชน "พรรคสีฟ้า" แต่ทว่าเจ้าตัวกลับปฏิบัติภารกิจประจำวันด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ราวกับมีพลังบางอย่างที่ยังสร้างความมั่นใจได้ว่ายังมีทางให้เดินต่อบนถนน การเมือง

"ขอย้ำว่า ผมยังเดินหน้าทำงานให้กับประชาชนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป เพื่อที่จะทำให้ประเทศของเราได้เดินหน้าต่อ"

การตัดสินใจครั้งนี้ดูเหมือน "อภิสิทธิ์" จะได้รับคำชื่นชมมากกว่าคำด่า

นักการ เมืองระดับอาวุโสอย่าง "ชวน หลีกภัย" ยังกล่าวชื่นชมภายหลังทราบข่าวว่า เขาเป็นผู้ใหญ่ที่รักษาคำพูด ไม่พูดเหลวไหล ไม่เหมือนคนอื่นที่ดีแต่พูด แต่ด้วยความเห็นส่วนตัว ยังไม่มีเหตุผล ที่นายอภิสิทธิ์จะลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

แต่ กระนั้น คำตอบของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ในฐานะตำแหน่งเลขาธิการพรรค ยังคงชัดเจนว่า หากมีการเสนอชื่อเข้าใหม่อีกครั้ง ก็จะไม่ขอเข้ารับตำแหน่งนี้อีกเป็นครั้งที่สอง

ทว่าการประกาศลาออก จากตำแหน่งหัวหน้าพรรคครั้งนี้ ไม่ได้มีผลกระทบแค่คนคนเดียว แต่มีอานิสงส์ถึงเก้าอี้กรรมการบริหารพรรคทั้ง 18 ที่นั่งจะต้องว่างลงชั่วคราว

ประกอบด้วยรองหัวหน้าพรรค 8 คน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน, นายวิทยา แก้วภราดัย, นายกรณ์ จาติกวณิช

และตำแหน่งต่าง ๆ อีก 10 ที่นั่ง คือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์, นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู, นายธีระ สลักเพชร ซึ่งดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค

นางอัญชลี วานิช เทพบุตร เหรัญญิกพรรค, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ นายทะเบียนสมาชิกพรรค, นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรค, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรค, นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรค, นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการบริหารพรรค

"ผม ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ส.ส.กับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่ และสิ่งที่ต้องต่อสู้หลังจากนี้ ถือเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน โดยเฉพาะจุดยืนของการเป็นฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์"

นั่นหมายถึงจุดยืนที่ว่า แม้กรรมการบริหารพรรค 19 คนจะยุติบทบาทลง ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ในสภา ในฐานะว่าที่ ส.ส.ในอนาคต

คลื่น ลมกระแสข่าว "ว่าที่หัวหน้าพรรค" คนใหม่ของประชาธิปัตย์ยังคงเงียบสงบ อาจเป็นเพราะ ส.ส.บางคนยังชื่นมื่นรื่นรมย์กับชัยชนะในเขตตัวเอง จนลืมทิศทางเปลี่ยนผ่านภายในพรรค

หรืออาจเป็นเพราะทุกคนรู้ดีว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ยังคงอยู่ในโผหัวหน้าพรรคคนต่อไป

6 ปี 4 เดือน คือระยะเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2548

จาก นี้ ตามกฎระเบียบข้อบังคับของพรรค ข้อที่ 24 กำหนดไว้ว่า หากจะมีการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน

นั่นหมายความว่า "นักเรียนออกซ์ฟอร์ด" จะยังมีเวลานั่งเก้าอี้ "หัวหน้า" ได้อีก 2 เดือนหลังจากนี้

แต่ก็ไม่อาจเป็นสัญญาณที่ยืนยันได้ว่า เมื่อระฆังดังหมดเวลา ผู้ชายคนนี้จะไปแล้วจะไปลับ

เพราะการปีนบันไดนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ด้วยวัยเพียง 46 ปี ยังคงการันตี "ความเก๋า" ของเขาได้ดี

เพราะคำพูดของ "นายชวน" ที่อาจตีความได้ว่า ชื่อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อาจคงยังอยู่ ไม่ได้หล่นหายไปไหน

ประกอบกับคำถามทิ้งท้าย เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า "หากได้รับการเสนอ ชื่อ จะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกหรือไม่"

เขาไม่ได้ตอบคำถาม เพียงแต่ส่งสายตาและรอยยิ้มด้วยความมั่นใจ

..............

"เนวิน" อดีตคู่ใจ-ในลู่แค้น "ฝ่ายค้าน"


การเลือกตั้งใน 3 ครั้งที่ ผ่านมา "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ถือว่าเป็นนักการเมืองที่มี "พวก" มากที่สุด

นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ได้เป็นรัฐบาล 2 สมัย ต่อยุค-ต่อยอดด้วยพรรคพลังประชาชน ชิงแชมป์ชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3

ทุกยุคมีคนในตระกูล "ชินวัตร" คุมหัวขบวน ควบคู่ขุนพล-คนรู้ใจ ทั้งที่พรรค-ทำเนียบรัฐบาล และบัญชาการในกระทรวงใหญ่

สมัยการเมืองยุคที่ 4 มีสายตรง "ชินวัตร" เป็น "หัวขบวน" อีกครั้ง

แต่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 "พ.ต.ท.ทักษิณ" พรรคพวก-ขุนพล-คนรู้ใจ บางคนไปตั้งพรรคเป็น "คู่แข่ง" บางคนเป็นคน "ไม่มีสิทธิ์" ต้องแอบอิงเป็นพี่เลี้ยง-อยู่เบื้องหลัง

ในวาระแห่งการจัดตั้งรัฐบาล "ปู 1" ที่นักการเมืองทุกคนรอคอย

ย้อนดูรอยอำนาจของอดีตขุนพล-คนรู้ใจ และคู่แข่งของ "พ.ต.ท. ทักษิณ"

นักการเมืองที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" เคยบอกว่า "เขาตายแทนผมได้"

เป็นขุนพลคนสุดท้าย ที่กลายกลับแปรเปลี่ยน-ตีจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" เป็นคนสุดท้าย ในนาม "กลุ่มเพื่อนเนวิน"

จากเคยเป็น "คนสนิท" กลายเป็น "คนอื่น" จากคนเคยรัก กลายเป็น "คู่ขัดแย้ง"

นายเนวิน ชิดชอบ เคยกล่าวถึง "ทักษิณ" ว่า...

"อดีต นายกฯทักษิณ ทำให้ชาวบ้านได้เห็นนายกฯตัวเป็น ๆ ชาวบ้านในชนบทบางคน ตั้งแต่เกิดมาจน อายุจะ 70 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็นตัวนายกฯคนไหนตัวจริงเลย แต่นายกฯทักษิณเดินทางไปให้ เห็น แม้กระทั่งในพื้นที่กันดารที่สุด ลำบากที่สุด ก็ไป"

"อดีตนายกฯทักษิณ ทำให้ชาวบ้าน ผม และครอบครัวของผมที่ทำการเมืองมา 3 เจเนอเรชั่นแล้วได้เห็นว่า นโยบายคือเครื่องมือที่สำคัญทางการเมือง แต่การเมือง "แบบทักษิณ" ไม่มีทางที่คนในเมือง พวกชนชั้นนำที่อยู่ในห้องแอร์ มีน้ำไหล ไฟสว่าง จะเข้าใจ"

"ชีวิตทางการเมืองของผม หาก วันไหนทักษิณเลิก...ผมก็เลิก" เนวิน เคยสัญญา

"หลังรัฐประหารอาจสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนใจผมให้เลิกรักและคิดถึงนายกฯทักษิณได้"

แต่ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พรรค-ฝัก-ฝ่าย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ต้องออก "แถลงการณ์" เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์การเมืองที่พรรคการเมืองใหญ่ประกาศ "ไม่เอา" พรรคขนาดเล็กเข้าร่วมรัฐบาล ล่วงหน้า 30 วัน ก่อนเลือกตั้ง

ระบุชัด ยิ่งกว่าชัดว่าจัดเป็นคู่แค้น "พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนที่จะไม่ร่วมทำงานทางการเมืองและร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคภูมิใจไทย ภายหลังการเลือกตั้ง"

พ.ศ.นี้ไม่มีพรรคการเมืองไหนเป็น "คู่แค้น" ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ได้เท่ากับพรรคฝ่าย "เนวิน" อีกแล้ว