ที่มา มติชน
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ได้มีงานเสวนา “การสื่่่อสารทางการเมือง ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของสื่อ: จากประสบการณ์สากลสู่สังคมไทย” จัดโดย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยในช่วงแรกเป็นการเสวนาในหัวข้อย่อยที่ชื่อ“สื่อไทยกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหลังเลือกตั้ง”มี ผู้ร่วมเสวนาได้แก่รุ่งมณีเมฆโสภณ สื่อมวลชนและนักเขียนอิสระ, ธีรัตน์ รัตนเสวี บรรณาธิกรข่าว และอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้อำนวยการเนชั่นฯ ส่วนในช่วงที่สองของการเสวนานั้น มติชนออนไลน์จะได้นำเสนอในคราวต่อไป
สื่อไทยกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหลังเลือกตั้ง
รุ่งมณี ในฐานะสื่อมวลชนอาชีพ กล่าวว่าตนคิดว่าหลังการเลือกตั้งความขัดแย้งก็ยังดำรงอยู่ เวลาเพียงชั่วข้ามคืนไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งหมดไปได้ และได้กล่าวในประเด็นของสื่อว่า คำถามสำคัญคือ เราจะจัดการอย่างไรสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่ออาชีพหรือสื่อกระแสรอง
“บทบาท ของสื่อที่เกิดใหม่และไร้ระเบียบในขณะนี้ได้สร้างความตื่นตัวทาง การเมืองอย่างก้าวกระโดด ถ้ามองในเชิงบวกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าคนเสพสื่อกระแสรองอาจจะยังถูกล้อมกรอบอยู่กับสื่อใดสื่อหนึ่งและ ไม่เปิดรับอีกด้านหนึ่งเลย ซึ่งตรงนี้แหละที่สื่อกระแสหลัก หรือสื่อมืออาชีพจะเข้ามามีบทบาท เป็นไปได้หรือไม่ที่สื่อหลักจะทำให้คนทุกสีหันมาดูเรา ถ้าทำได้ก็จะทำให้คนทุกสี ที่นอกจากจะดูทีวีที่ตนชอบตนชื่นชมแล้ว เขาสามารถที่จะไว้ใจ เชื่อใจสื่อกระแสหลัก เพราะสื่อกระแสหลักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เขาควรรับรู้”
รุ่ง มณี กล่าวว่า นี่เป็นยุคที่ท้าทายมากสำหรับคนทำสื่อ และถ้าสื่อไหนสามารถทำอย่างที่กล่าวมาข้างต้นได้ก็จะถือเป็นการช่วยพัฒนา ประชาธิปไตย สื่อนั้นจะช่วยปลุกคนทุกระดับตั้งแต่ชนชั้นกลางชนชั้นนำและชนชั้นรากหญ้า ซึ่งเมื่อก่อนชาวไร่ชาวนาไม่รู้สึกว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องเป็นเขา แต่ตอนนี้ พวกเขารู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมกับการเมือง ดังนั้นเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วงชิงการเติบโตของการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการมีสำนึกในประชาธิปไตยเหล่านี้ไว้ได้ ซึ่งนี่เป็นบริบทใหม่ที่ท้าทายสำหรับทุกภาคส่วน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนจะหันมามีตื่นตัวทางการเมือง ไม่ว่าจะด่าทอ หรือจะเกลียดกันก็ตาม แต่นี่คือถือได้ว่ามีความตื่นตัวขึ้นมาแล้ว ทำอย่างไรเราถึงจะรักษาเขาไว้ได้ ไม่ใช่ให้เขาเป็นเบี้ยในกระดานหรือเบี้ยนอกกระดาน แล้วบทบาทของเขาก็หมดไป ตนคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ปรากฎการณ์นี้เป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ
“ตนเชื่อในความหลากหลายของสื่อ ความหลากหลายนั้นงดงาม แต่เราต้องยอมรับในความแตกต่าง และอาวุธที่สำคัญของสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือว่าสื่อชุมชนคือการทำ investigative reporting (การรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน)"
ด้านนายธีรัตน์กล่าว ว่า ตนคิดว่าสื่อใหญ่ยังไม่ปรับตัว สื่อใหญ่ๆคิดว่าตนเป็นสื่อที่ใครๆต้องหันมาดู จึงทำให้สื่อกระแสหลักเหล่านี้ละเลยเสียงเล็กๆน้อยๆในสังคมไป นอกจากนี้ในตอนนี้สื่อไม่ได้เป็นการสื่อสารทางเดียวอีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่นทวิตเตอร์ เป็นต้น นี่เป็นยุคที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนช่วยสร้างเนื้อหา มีการแสดงความเห็นต่อรายการข่าวที่ดู พวกเขาสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทางเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของคน ที่จะชอบแสดงความคิดเห็น และตนเห็นว่ายิ่งมีการแสดงความคิดเห็นมากก็ยิ่งดี ดีกว่ากว่าจะไปปิดกั้น
“คนทำงานสื่อต้องไม่ทำงานแค่ 5W 1H อีกต่อไป แต่คุณต้อง investigate (ทำงานในเชิงสืบสวนสอบสวน) คุณต้องเช็คข้อเท็จจริงต่างๆให้ครบถ้วน และต้องกลั่นกรองว่าอะไรจริงอะไรเท็จ ตอนนี้ข่าวลือเกิดขึ้นง่ายมาก เช่นคนที่มีแบล็กเบอร์รี่ ก็สามารถส่งข่าวสารไปสู่คนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าข่าวนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม ข่าวลือตอนนี้มีมากมาย และทุกคนส่ามารถที่จะสร้างข่าวลือได้ง่าย และนักข่าวนี่แหละที่ตกเป็นเหยื่อ นี่คือปัญหาของคนเป็นนักข่าว”
ส่วนนายอดิศักดิ์กล่าว ว่า สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ นักข่าวยังไม่ค่อยตระหนักมากนักถึงการตลาดของพรรคการเมือง ไม่ตระหนักว่าบทบาทนักข่าวควรจะอยู่ตรงไหน
“ยิ่ง แรงกดดันของสื่อ ของคนที่รับรู้ จะกดดันให้รัฐบาลทำในสิ่งที่สัญญาไว้ โดยไม่ทราบว่าสิ่งที่สัญญาไว้เนี่ยจะทำได้หรือเปล่า แต่ต้องทำ เพราะได้สัญญาไว้แล้ว ไม่ว่าสิ่งที่สัญญาไว้อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อประเทศชาติมากเพียง ใด”
“สื่อต้องตระหนักอย่างมาก และต้องเตรียมตัวในการทำข่าวใน เชิงinvestigateให้มากขึ้นไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองนักข่าวควร จะตั้งคำถามให้มาก แค่คอนเฟิร์มข่าวนั้นยังไม่พอ แต่ต้อง investigate สื่อต้องตามนักการเมืองให้ทัน”
สุด ท้ายนี้นายอดิศักดิ์ได้ให้ความเห็นว่า ตนเชื่อในเรื่องสื่อเสรี และการมีส่วนร่วมในการใช้สื่อเพื่อนำเสนอสิ่งที่คนต้องการจะแสดงออก ตนชอบที่มีสื่อเยอะๆและคิดว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมเติบโตและมีวุฒิภาวะ การมีสื่อมากขึ้นทำให้คนรับสื่อมีทางเลือก จากเดิมที่ถูกบังคับให้ดูฟรีทีวีแค่ไม่กี่ช่อง ปัจจุบัน คนสามารถเลือกฟังได้เลือกดูได้ แน่นอนว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ย่อมมีความสับสนอลหม่าน แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อทุกคนมีที่ยืน มีพื้นที่ในการนำเสนอความเห็น สิ่งนี้จะนำไปสู่เป็นสิ่งที่ดีขึ้น