WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 6, 2011

ข้อควรระวังของรัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


โฉมหน้ารัฐบาลใหม่โดยการนำของพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐบาลผสมจาก 5 พรรคการเมือง

เปรียบ เทียบกับรัฐบาลผสมที่ผ่านๆ มา เสถียรภาพของรัฐบาลผสมชุดนี้ดูมั่นคงกว่า ด้วยเหตุว่าแกนนำรัฐบาล คือ พรรคเพื่อไทย มีเสียงส.ส.ในมือจำนวนมากถึง 265 ที่นั่ง

ขณะที่พรรคร่วมอื่นๆ มีเสียงแค่หยิบมือเดียว คือ ชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 ที่นั่ง พลังชล 7 ที่นั่ง มหาชน 1 ที่นั่ง

เมื่อเสียงน้อยอำนาจต่อรองก็ต้องน้อยตามไปด้วย

ถึงอย่างนั้น เสถียรภาพของรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่เสียงส.ส. เพียง อย่างเดียว หากแต่มีปัจจัยอื่นๆ อีก

ยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองที่เพิ่งผ่านวิกฤตขัดแย้งรุนแรง และบาดแผลยังไม่หาย จึงยังมีปัจจัยสุ่มเสี่ยงที่รัฐบาลต้องระมัด ระวัง

ผาสุก พงษ์ไพจิตร

อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ


เสถียรภาพของรัฐบาล 5 พรรค ก่อนอื่นต้องดูว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจกใบเหลือง-ใบแดง เท่าไหร่

แต่ เมื่อพิจารณาจากผลการเลือกตั้งที่ออกมาแบบนี้ ก็จะเพิ่มแรงต่อรองให้พรรคเพื่อไทย เมื่อพรรคแกนนำรัฐบาลได้เสียงส.ส.ที่สูง พรรคเล็กๆ ก็คงตระหนักดีว่ามีภาวะเปราะบางอย่างไรบ้าง คงไม่อยากให้รัฐบาลอยู่แบบสั้นๆ คงพยายามช่วยกันประคับประคอง มากกว่าที่จะมาเรียกร้อง ต่อรอง

ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่มาได้ถึง 2 ปี รัฐบาลนี้ก็น่าจะอยู่ได้

คน อาจกลัวเรื่องรัฐประหาร แต่คิดว่ามีขบวนการต่อรองเยอะเพียงแต่เราไม่รู้ และเข้าใจว่าทหารก็ไม่อยากเสี่ยง เพราะช่วง 2-3 ปี ผ่านประสบการณ์มาพอสมควร อีกทั้งกระแสโลกไม่ยอมรับ ขณะที่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับมองว่ากองทัพควรอยู่เฉยๆ สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันกระแสสาธารณะมีผลกับปฏิกิริยาที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะแสดงออก

การที่พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกเข้ามาขนาดนี้แสดงว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้พรรคนี้เข้ามาทำงาน ก็ทำ ให้ผู้ไม่เห็นด้วยต้องหยุดคิด และต้องยอมรับการเปลี่ยน แปลง

ประเด็น หลักของพรรคเพื่อไทยเองคือ อยู่ที่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเป็นนายกฯ แล้วจะควบคุมบรรดาคนในพรรคและพรรคร่วมรัฐบาลได้หรือไม่

โดย เฉพาะเรื่องคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นเรื่องหลักและทุกคนจ้องมองรัฐบาลอยู่ หากรัฐบาลมีเรื่องคอร์รัปชั่นที่โจ่งแจ้ง ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดปฏิกิริยา

ในเรื่องเศรษฐกิจ มีความหวาดกลัวกันว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น หรือหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ซึ่งแนวโน้มของภาวะเงินเฟ้อนั้นมีอยู่ และเป็นไปได้แน่นอนหากมีการกู้ยืมเงินมาเพื่อดำเนินการนโยบายต่างๆ

แต่ ในช่วง 2-3 ปี เรื่องหนี้สาธารณะคงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เงินเฟ้ออาจเป็นเรื่องต้องระแวดระวัง แต่ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้อย่างไรรัฐบาลก็ต้องใช้จ่าย แต่เศรษฐกิจไทยยังโชคดีที่ประมาณการจากหลายสำนัก เศรษฐกิจจะเติบโต 4-5% ก็คงเป็นไปได้ เพราะผลเลือกตั้งทำให้นักลงทุนต่างๆ ทั้งในและนอกมั่นใจสูงขึ้น

ภาพรวมเรื่องเศรษฐกิจคิดว่าไม่น่าจะเป็น กังวลมาก ยกเว้น เรื่องเงินเฟ้อ การเพิ่มเงินเดือน เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทำให้คนมีรายได้เพื่อนำมาใช้จ่าย อาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อบ้างเล็กน้อย แต่ระยะยาวน่าจะเป็นผลดี เพราะคนจะมีรายได้เพื่อนำมาใช้สอยมากขึ้น ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ เก็บภาษีได้เยอะขึ้น

เรื่องนี้จึงไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่ความเสี่ยงอยู่ที่การคอร์รัปชั่นที่รัฐบาลจะควบคุมได้ดีแค่ไหน คิดว่าน่าจะมีบทเรียนจากอดีตว่าควรต้องระมัด ระวังเรื่องนี้มากกว่าที่เคยทำ

ประเด็นการกลับประเทศไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คงฉลาดพอที่จะดูสถานการณ์ว่ามีความเหมาะสม เมื่อไหร่ และคงไม่รีบกลับ การรีบเร่งจะเอาพ.ต.ท.ทักษิน กลับมา อาจมีปฏิกิริยา น่าจะรอให้เห็นผลงานสักพัก และขึ้นอยู่กับว่าเมื่อกลับมาแล้วจะทำอะไร

พ.ต.ท.ทักษิณ อยากกลับแน่นอน แต่ประสบการณ์ที่ผ่านความล้มเหลวมาหลายรอบ คงฉลาดพอและไม่ทำให้รัฐบาลพังพาบกับเรื่องนี้



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เสถียรภาพ ของรัฐบาลชุดนี้น่าจะมีความมั่นคงในการบริหารงาน เพราะคะแนนเสียงของพรรคหลักมีจำนวนมากกว่าพรรคเล็กๆ ก็น่าจะหมดห่วงในเรื่องปัญหาการต่อรอง และสามารถร่วมตกลงกันได้

แต่ สิ่งที่ควรคำนึงคือเสียงจากนอกสภา เช่น กลุ่มต่อต้านทักษิณ หรือกลุ่มที่ไม่ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เสียงเหล่านี้จะสร้างความกดดันให้รัฐบาลชุดนี้มากขึ้น

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะดำเนินการในเรื่องใดก็ตามจะต้องรับฟังเสียงของสังคม โดยให้สังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะขณะนี้พลังเสียงของประชาชนสามารถเข้าไปกำกับการดำเนินการของพรรคการ เมืองและนักการเมืองได้มากขึ้นกว่าเดิม

สิ่งที่ควรระวังอีกประการ หนึ่ง คือ จุดอ่อนของพรรค การเมืองนอกจากจะเปิดโอกาสให้สังคมเข้ากดดันได้แล้ว อีกทางก็เปิดช่องให้อำนาจนอกระบบสามารถเข้าแทรก แซงได้เช่นกัน

นอก จากนั้น สังคมยังมุ่งเน้นไปยังคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่ารัฐบาลชุดนี้จะดำเนินการอย่างไร การดำเนินการ ในเรื่องนี้จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ขึ้นได้

ครั้ง นี้มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่คาดหวังกับรัฐบาลชุดนี้ ว่าจะช่วยทำให้สังคมไทยสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องได้

โดยเฉพาะปัญหาเรื่องปากท้องของคนไทย สินค้าที่มีราคาแพง รัฐบาลควรตรวจสอบว่าปัญหานี้มาจากสาเหตุใด เพราะอาจจะไม่ใช่เรื่องของกลไกตลาด แต่อาจจะมาจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจากนักการเมืองบางคน

การ บริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ จะต้องมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะรอช้าไม่ได้ ที่สำคัญจะต้องนำ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในแต่ละด้านจริงๆ มาบริหารบ้าน เมือง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง



วิทยากร เชียงกูล

คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต


โดย จำนวนน่าจะอยู่ได้ แต่สักพักน่าจะเริ่มมีเรื่องผลประโยชน์ เพราะเสียง เยอะแต่หลายกลุ่ม และการคุมกลไกต่างๆ มันคุมยาก โดยประสบการณ์การเมืองของคุณยิ่งลักษณ์ คนคุมไม่เก่งก็ยุ่งเหมือนกัน หรือสั่งการมาจากที่ไกลๆ ก็ยาก

อีกทั้งรัฐบาลได้สัญญากับประชาชนไว้ มาก คนจะเริ่มเรียกร้อง จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น กรณีค่าจ้างแรงงาน 300 บาท คนใช้แรงงานก็อยากปรับ แต่ ผู้ประกอบการจะไม่พอใจ

ในด้าน เศรษฐกิจผมก็ห่วง เพื่อไทยมีทีมเศรษฐกิจเยอะ แต่เป็นทีมที่มองในเชิงตลาดเสรีที่พึ่งพาตลาดโลกมาก ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหามาก อเมริกา ยุโรป เอาตัวไม่รอด เราจะหวังพึ่งการค้า พึ่งต่างประเทศคงจะหวังมากไป ขณะที่โครงการประชานิยมเน้นการบริโภค ไม่ส่งเสริมให้คนเข้มแข็ง

ข้อดีของเพื่อไทยคือ ทีมงานกล้าตัดสินใจ กล้าทำ และทำได้เร็วกว่าประชาธิปัตย์ แต่ทีมนี้เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อยู่ ผมก็ไม่แน่ใจ

ข้อ ควรระวังของรัฐบาลคือ ถ้าคิดแบบมั่นใจตัวเองมากเกินไป พยายามแก้กฎหมายนิรโทษกรรม ก็จะยุ่งมากขึ้น การคิดว่าตัวเองได้รับเสียงสนับสนุนเยอะ อาจเข้าใจผิดก็ได้ เพราะคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ไม่มากเหมือนสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ถ้าฮึกเหิมก็จะอันตราย ต้องทำแต่เรื่องดี น่าจะไปได้

ปัญหาที่คนจับจ้องคือเรื่อง คอร์รัปชั่น และสมัยนี้ข้อมูลเยอะ เหมือนอย่างประชาธิปัตย์ที่เป็นอย่างนี้เพราะปล่อยพรรคร่วมโดยไม่จัดการ คนก็รู้ อย่างเรื่องประมูลงานนักธุรกิจเขาก็รู้

รัฐบาลน่าจะอยู่ได้สักปี เพราะปีหน้าคนบ้าน 111 จะพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ คงออกมาผลักดันให้เกิดการยุบสภาเลือกตั้งใหม่