WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 10, 2011

คนไทยสุขเพิ่ม ฐานสาธารณชนหนุน"ยิ่งลักษณ์"นั่งนายกฯใกล้เคียง"แม้ว" จี้พท.ปราบยาเสพติดอันดับแรกทันที

ที่มา มติชน













ดร.นพ ดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "ความสุขคนไทยหลังเลือกตั้ง และนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในสายตาประชาชน" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี สระบุรี ราชบุรี ปทุมธานี ชลบุรี น่าน กำแพงเพชร นครสวรรค์ เชียงใหม่ อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ขอนแก่น สงขลาและสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 2,562 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 - 9 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า


หลังการเลือกตั้งที่ผ่านไปด้วยความสงบเรียบร้อยเป็นส่วนใหญ่ ความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness) หรือที่เรียกว่า GDH เพิ่มสูงขึ้นจาก 6.61 ในเดือนมีนาคม ปี 2554 มาอยู่ที่ 7.55 ในเดือนกรกฎาคม และเป็นค่าความสุขมวลรวมที่สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันในปี 2552 ที่ 5.92 และปี 2553 ที่ 6.77 อีกด้วย

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า มีสิ่งที่สาธารณชนต้องการให้พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ “ทำทันที” ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.7 ระบุสิ่งที่ต้องการให้พรรคเพื่อไทย “ทำทันที” คือ ปราบปรามยาเสพติด มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ร้อยละ 90.9 ให้สร้างความปรองดองของคนในชาติ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข อันดับที่สาม ถึง เก้า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้องของประชาชนทั้งสิ้นที่ต้องการให้ พรรคเพื่อไทยทำทันที ได้แก่ ร้อยละ 89.5 ลดราคาน้ำมันเบนซิน 6 – 7 บาทต่อลิตร และลดดีเซลลง 2 บาทต่อลิตร อันดับที่สี่ ได้แก่ ร้อยละ 85.5 นำโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคกลับมาใช้ใหม่ อันดับที่ห้า ได้แก่ ร้อยละ 74.0 ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน อันดับรองๆ ลงไป ได้แก่ จำนำข้าวเปลือกขาว 15,000 บาทต่อเกวียน ข้าวหอมมะลิ 20,000 บาทต่อเกวียน ขึ้นเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเริ่มขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน หักหนี้สำหรับผู้มีหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปี เพิ่มกองทุนหมู่บ้านเพิ่มเงินตำบลละหนึ่งล้านบาท และทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลไม่ให้ท่วมกรุงเทพฯ แถวสมุทรสาครและสมุทรปราการ โดยไม่ต้องกู้


นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้และอยากให้ทำทันทีอื่นๆ อีก เช่น ทำรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย คิดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ทำรถไฟความเร็วสูงไปโคราช ระยอง จันทบุรี แจกคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ให้เด็กนักเรียนทุกคน และออกบัตรเครดิตการ์ดให้เกษตรกร เป็นต้น


เมื่อ ถามถึงความมั่นใจของประชาชนต่อพรรคเพื่อไทยจะมุ่งมั่นทำงานให้ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างเท่าเทียมกันไม่เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพวก ของตนเอง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.4 ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจ แต่ที่น่าพิจารณาคือ จำนวนมากหรือร้อยละ 41.6 ยังไม่ค่อยมั่นใจ ถึง ไม่มั่นใจ ยิ่งไปกว่านั้น เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.5 ยังคิดว่า ปัญหาคอรัปชั่นจะเหมือนเดิม และร้อยละ 20.3 จะเพิ่มขึ้น แต่เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.2 คิดว่าจะลดน้อยลง


“ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 สนับสนุน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ตัวเลขที่สนับสนุนที่สูงขนาดนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับฐานสนับสนุนของสาธารณชน ที่มีต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรในการเลือกตั้งครั้งแรกที่เขาได้รับและในศาสตร์ด้านการทำสำรวจถือว่า เป็นฐานเสียงสนับสนุนที่มากพอต่อการผลักดันนโยบายต่างๆ ได้โดยง่าย และผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ก็สนับสนุนให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปอีกด้วย” ดร.นพดล กล่าว


ผอ.ศูนย์ วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังการ เลือกตั้งผ่านพ้นไปด้วยความสงบเรียบร้อยและทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เห็นการรวมพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยและเห็นชัดว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มี เสถียรภาพเพื่อทำให้สิ่งที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้เป็นไปตามความคาดหวัง ของประชาชน แต่โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลคือ การรวมตัวกันของพรรคการเมืองต่างๆ จนได้ 299 หรือ 300 เสียงจะเป็นหลักประกันเสถียรภาพของรัฐบาลที่แท้จริงหรือไม่

“ผู้ วิจัยมองว่า สิ่งที่จะบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลและต้องให้ระวังคือ “อคติแห่งนครา” อันเป็นแหล่งรวมศูนย์อำนาจและความทรงอิทธิพลของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่สามารถ กดดันการตัดสินใจของฝ่ายการเมืองได้ และมักจะมีอิทธิพลอยู่ในเมืองหลวงและหัวเมืองใหญ่ของประเทศ หรืออาจอยู่ในต่างประเทศ โดยคนกลุ่มนี้พยายามกดดันการตัดสินใจของผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลให้ทำสิ่งที่จะ ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทั้ง ประเทศ ในขณะที่ภาคประชาชนอ่อนแอเกินที่จะต่อรองได้และจะถูกใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของ “ทฤษฎีเกมการเมือง” ที่ห้ำหั่นกันโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายโดยรวมของประเทศและอาจทำให้เกิด “วัฏจักรแห่งความเลวร้าย” ในสังคมไทยที่สร้างความแตกแยกของคนในชาติ ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ต้อง “หยุดอคติแห่งนครา” เสีย และหันมาส่งเสริมมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้มแข็งอย่างแท้จริงมาเป็นตัวกำหนด ทิศทางการพัฒนาประเทศเตรียมตัวเป็นผู้นำเปิดพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของ ภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติในอีก 4 ปีข้างหน้าเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของสาธารณชน” ดร.นพดล กล่าว

จาก การพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.9 เป็นชาย ร้อยละ 54.1 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 20–29 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30–39 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40–49 ปี และ ร้อยละ 31.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 7.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 10.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ