WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 3, 2011

นิติราษฎร์ ผู้อาจกล้า!

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



ข้อเสนอทางวิชาการ 4 ประเด็นเพื่อลบล้างผลพวงจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ในประกาศนิติราษฎร์ของคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
เนื่องในโอกาส “5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554
กลายเป็นประเด็นร้อนทั้งทางการเมือง
และวิชาการที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และตอบโต้อย่างมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นนายทหารที่ทำรัฐประหาร 19 กันยายน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ที่แต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งมีการตั้งคำถาม ตีความ และบิดเบือนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
จนคณะนิติราษฎร์ต้องแถลงข่าวชี้แจงเพิ่มเติมอีกครั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา

ข้อเสนอ 4 ประเด็น ประกอบด้วย

1.ให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

2.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

3.กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย
และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน และ

4.ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งคณะนิติราษฎร์ให้เหตุผลว่า

“เพื่อมิให้การรัฐประหารทำลายหลักการอันเป็นรากฐานของนิติรัฐประชาธิปไตยจนหมดสิ้น
คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการจัดทำ
“คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย”
แม้คำประกาศดังกล่าวจะไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย
แต่คำประกาศดังกล่าวเป็นวิญญาณของระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ไม่มีบุคคลใด
หรือไม่มีวิธีใดทำลายหรือทำให้สูญสิ้นไปได้”

จุดยืนคณะนิติราษฎร์

คณะนิติราษฎร์เป็นนักวิชาการจากคณะนิติ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ประกอบด้วย
อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์
อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
อาจารย์สาวตรี สุขศรี
และ
อาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
ไม่ได้เพิ่งเป็นข่าว แต่ได้แสดงความกล้าหาญคัดค้านและประณามการทำรัฐประหาร 19 กันยายน
ตั้งแต่เริ่มต้น โดย 4 อาจารย์ได้ออกแถลงการณ์ฉบับแรก
ประณามการทำรัฐประหารว่าเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540
ที่ถือว่าไม่เคารพและย่ำยีอำนาจการตัดสินใจของประชาชน
ในการเลือกผู้บริหารประเทศตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
รวมทั้งทำลายเสรีภาพในการแสดงความเห็นและจำกัดสิทธิของประชาชนที่มิอาจรับได้

หลังจากนั้นได้เปิดเว็บไซต์ “คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” (www.enlightened-jurists.com)
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 ซึ่งได้ร่วมกับเพื่อนอาจารย์เพื่อรวบรวมผลงานและบทวิเคราะห์ทางวิชาการ
โดยให้เหตุผลว่า

“อาจารย์กลุ่มเล็กๆกลุ่มนี้ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างกล้าหาญ
โดยการออกแถลงการณ์โต้แย้งผู้มีอำนาจในบ้านเมืองโดยการชี้แจงข้อกฎหมายต่างๆ
อย่างตรงไปตรงมาตามหลักนิติรัฐ และการทำหน้าที่ของกลุ่ม 5 อาจารย์
ก็คงเปรียบเหมือนกับบ่อน้ำที่ราษฎรทั้งหลายจะมาตักดื่ม
เพื่อดับความกระหายใคร่รู้ในความเป็นประชาธิปไตย
และกลุ่มนี้ก็จะทำหน้าที่ในการตอบคำ ถามกฎหมาย
ที่สอดคล้องกับแนวทางประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมาตลอด”

โดยเฉพาะอาจารย์วรเจตน์ได้แสดงความเห็นทางวิชาการทางกฎหมาย
ที่ต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดเสวนา
เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกองทัพ กระบวนการยุติธรรม การเมือง และการปรับปรุงมาตรา 112

ทุบกล่องดวงใจเผด็จการ

จึงไม่แปลกที่คณะนิติราษฎร์จะถูกกล่าวหาและยัดเยียดในแง่ลบต่างๆว่า
รับงานหรือรับใช้ “ระบอบทักษิณ” จาก “กลุ่มเกลียดทักษิณ”
ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการด้วยกัน ภาคประชาชน นักการเมือง หรือผู้นำกองทัพ
โดยเฉพาะข้อเสนอ 4 ประเด็นล่าสุดที่เหมือนทุบ “กล่องดวงใจ” เผด็จการ
หรือคณะรัฐประหารและพวกพ้อง เพราะเป็นการประกาศความเสียเปล่าของผลพวงรัฐประหาร
โดยเฉพาะคำพิพากษาของศาลและมาตรา 36-37 รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549
ที่คณะรัฐประหารออกมาเพื่อนิรโทษกรรมตัวเอง (อ่านเพิ่มเติมข่าวไร้พรมแดนหน้า 5 และฟังจากปากหน้า 18)

ที่สำคัญการลบล้างผลพวงรัฐประหารยังเป็นการเปิดให้กระบวนการยุติธรรมสามารถเริ่มต้นใหม่
ซึ่งอาจมีผลต่อการฟ้องคณะรัฐประหาร คตส. คณะรัฐมนตรี
และบรรดาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นผลพวงจากรัฐประหาร
อย่างที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เคยฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นกบฏมาแล้ว
แต่ศาลยกฟ้องเพราะมาตรา 36-37 ทั้งยังเป็นการปิดประตูตายไม่ให้เกิดการรัฐประหารในไทย
ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีการรัฐประหารมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
จากข้อมูลของ The Center for Systemic Peace (CSP)
ที่รวบรวมข้อมูลการทำรัฐประหารทั่วโลกตั้งแต่ปี 1946-2010
โดยซูดานมากที่สุด 31 ครั้ง รองลงมาคือ
อิรัก 24 ครั้ง
โบลิเวีย 19 ครั้ง และไทย,
กินีบิสเซา, ซีเรีย, โตโก 17 ครั้ง

เรียงหน้าอัดนิติราษฎร์

ที่น่าสังเกตคือกลุ่มที่ออกมาคัดค้านและโจมตีข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
นอกจากพยายามบิดเบือนไปถึงเรื่องการรับใช้ระบอบทักษิณหรือกลุ่ม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว
ยังเน้นไปที่มาตรา 112 ว่าไม่ควรแตะต้องสถาบันเบื้องสูง
โดยเฉพาะ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชา การทหารสูงสุด และ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ใช้วาทกรรมที่ถนัดว่า ไม่เข้าใจว่า
ทำไมกลุ่มนิติราษฎร์จึงก้าวล่วงถึงขนาดให้ลบล้างคำพิพากษา
เหมือนเป็นการเจาะจงเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น
ส่วนนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จัดหนักกล่าวหาว่า
กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างเป็นขั้นตอนและระนาบเดียวกันนั้น
รับงานจากใคร กลุ่มใด และมีผลประโยชน์อะไรหรือไม่
เพราะเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมของชาติ

“คนเราแค่อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ว่าต้องการอะไร ที่สุดแล้วการเสนอเรื่องนี้
จะเป็นการเพิ่มปมความขัดแย้งแตกแยกในสังคมไทยให้มากขึ้น”

อดีต “คตส.-ส.ส.ร.” ร้อนฉ่า!

นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส. ออกมาตอบโต้กลุ่มนิติราษฎร์โดยอ้าง
ในฐานะตัวแทนสภาทนายความว่า สิ่งที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอจะให้ลบล้างคำพิพากษา
และการกระทำที่เสียเปล่านั้น
ในนานาอารยประเทศเป็นกรณีการกระทำที่เกิดขึ้นจากอำนาจเผด็จการ
ที่ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ในไทย
ที่มีการรัฐประหารและทำการตรวจสอบความผิดของผู้มีอำนาจบริหารประเทศ
ที่ใช้อำนาจแสวงหาประ-โยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง
ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์จึงเอื้อประโยชน์กับอดีตนักการเมืองมากกว่า
จะแสวงหาความยุติธรรมให้กับสังคม
ซึ่งการฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมืองนั้นเลวร้ายกว่าการรัฐประหาร

ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. อดีต ส.ส.ร.
และเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550
ตอบโต้กลุ่มนิติราษฎร์ผ่านเฟซบุ๊คว่า
ยังมีอาจารย์ มธ. ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์
พร้อมตั้งคำถาม 15 ข้อ เช่น คมช. เลว รัฐธรรมนูญ 2550 มาจาก ส.ส.ร. เลว
แต่รัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญเลวเป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญช่วย พ.ต.ท.ทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้
แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัฒน์ใช่หรือไม่
ถ้ายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้
จะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด
หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
และบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี 2550
แย่กว่ารัฐธรรมนูญปี 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่ ฯลฯ

อดีตคณบดีโต้อธิการบดี!

ขณะที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.
ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ตอบคำถามนายสมคิด
โดยสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ว่า
กลุ่มนิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549
แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมแก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย
ส่วนตุลาการภิวัฒน์คือตุลาการที่ยอมเป็นเครื่องมือและอาวุธให้กับผู้มีอำนาจใช้ประหัตประหาร
และทำลายล้างศัตรูของตน
ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณจึงเป็นตุลาการภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น
เพียงแต่ในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัฒน์เป็นฝ่ายแพ้

ส่วนคำถามว่าหาก คมช. เลว ส.ส.ร. เลว รัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่เป็นผลพวงนั้นจะเลวด้วยหรือไม่นั้น
นายพนัสตอบว่า ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว
แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ที่ต้องมีการยืนยันระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชน
และระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งนักกฎหมายควรยืนอยู่ข้างใดมากกว่า ฯลฯ
ทั้งยังให้นายสมคิดเสนอความเห็นที่ดีกว่าของกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยว่าเป็นอย่างไร
ถ้าดีกว่าจริงก็จะสนับสนุนเต็มที่ในฐานะนักกฎหมายด้วยกัน

จุดแสงสว่างต้านรัฐประหาร

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ไม่ใช่แค่การตอบโต้กันของฝ่ายที่คัดค้าน
หรือฝ่ายสนับสนุนในวงจำกัดเท่านั้น แต่ต้องยอมรับว่า
คณะนิติราษฎร์ได้จุดประกายให้ประชาชนและสังคมไทยเห็นทางสว่างที่จะต่อต้านการรัฐประหาร

อย่างที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เขียนผ่านเฟซบุ๊คว่า
กลุ่มนิติราษฎร์มีความกล้าที่จะยืนยันหลักการและจิตวิญญาณของประชาธิปไตย
ชี้แจงข้อเสนออย่างมีหลักการและเหตุผล
ไม่เหมือนนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ได้พูดถึงหลักการเกี่ยวกับประชาธิปไตย
หรือการรัฐประหาร ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเลยแม้แต่น้อย

นายรุจ ธนรักษ์ นักเขียนอิสระ
เห็นว่าสิ่งที่คณะนิติราษฎร์ทำเสมือนจุดไฟแห่งปัญญาให้สังคมที่กำลังมืดมิด
ซึ่งคือ “หน้าที่” โดยตรงของนักวิชาการที่มีต่อสังคม เป็นหลักคิดที่ควรได้รับการ “ปลูกฝัง”
และต่อยอดไปเรื่อยๆ
เพื่อให้คนไทยเชื่อกันจริงๆเสียทีว่าอำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน
ไม่ใช่ของพรรคการเมือง ของทหาร หรือของเทวดาที่ไหน

“ลองคิดดูว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเพียง 7 คน
เขียนข้อเสนอเพียง 4 หน้ากระดาษแล้วตั้งโต๊ะแถลงข่าวใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง
วันรุ่งขึ้นผู้มีอำนาจทั้งหลายในประเทศล้วนเป็นเดือดเป็นร้อนกันไปหมดกับแนวทาง
ที่พวกเขานำเสนอ ทั้งที่พวกเขาไม่มีปืน ไม่มีเงิน และไม่มีกระทั่งฐานการเมือง มวลชน
สิ่งที่อาจารย์กลุ่มนี้ทำให้พวกเราเห็นคือการบอกว่าในการจะสู้กับปิศาจนั้น
เราไม่จำเป็นต้องขายวิญญาณให้ปิศาจอีกตนหนึ่งเพื่อเอาอำนาจดิบเถื่อนมาปราบปิศาจตนแรก
เราสู้กับปิศาจได้ด้วยแสงสว่าง ด้วยความรู้ ด้วยเหตุผล ด้วยปัญญา
และปิศาจทุกเผ่าพันธุ์เหมือนกันหมด พวกมันกลัวแสงสว่าง”

สารถึงผู้รักในนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ล่าสุดอาจารย์คณะนิติราษฎร์ได้ประกาศนิติราษฎร์หลังจากมีทั้งผู้คัดค้านและสนับสนุนว่า
มีผู้เขียนบทความ จดหมาย คำกลอน รวมทั้งส่งอีเมล์ถึงคณะนิติราษฎร์จำนวนมาก
ทั้งให้กำลังใจ สนับสนุนข้อเสนอ รวมทั้งเสนอแนะเพิ่มเติม ทั้งตั้งคำถาม แสดงความไม่เห็นด้วย
หรือต่อว่าด่าทอ คณะนิติราษฎร์จึงส่งสารผ่านเว็บไซต์นิติราษฎร์ว่า

“คณะนิติราษฎร์ได้รับสารเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว และขอขอบคุณในทุกคำให้กำลังใจ
และสนับสนุนของประชาชนผู้มีใจรักในนิติรัฐประชาธิปไตย และปฏิเสธไม่ก้มหัว
หรือยอมจำนนต่อรัฐประหารไม่ว่า ณ เวลาใดๆ ขอขอบคุณและชื่นชมทุกท่าน
ที่พร้อมร่วมกันยืนยันว่าในที่สุดแล้วประชาชนคือ
รัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริงในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
และมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่
ในการลบล้างผลพวงจากการประกอบอาชญากรรมยึดอำนาจไปจากมือประชาชน

คณะนิติราษฎร์จะน้อมรับและตอบข้อสงสัยในคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอ
ก็ต่อเมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้น
ได้อ่านและทำความเข้าใจทุกถ้อยแถลงของข้อเสนออย่างละเอียดเพียงพอแล้ว
ด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง วิจารณ์อยู่บนพื้นฐานหลักการแห่งกฎหมาย
และขอแสดงความเสียดาย
แต่ไม่แสดงความท้อใจเมื่อเราพบว่ายังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่จำนนต่อรัฐประหาร
พร้อมสยบยอมต่ออำนาจอื่นใด เหยียบย่ำหลักการ และมองข้ามหัวประชาชน”

กระดิ่งผูกคอแมว

การเคลื่อนไหวของอาจารย์คณะนิติราษฎร์จึงเป็นความกล้าหาญที่เต็มไปด้วยอันตราย
เพราะต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังมี “อำนาจนอกระบบ” ที่มองเห็นและมองไม่เห็น
ซึ่งทุกข้อเสนอล้วนเป็นประเด็นละเอียดอ่อน
และกระทบโดยตรงกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ
ที่ยังถูกหมกเม็ดจาก “อำนาจนอกระบบ” ไม่ใช่แค่อำนาจของกองทัพ
ที่สามารถทำรัฐประหารได้ตลอดเวลาเท่านั้น

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ครั้งนี้
จึงเหมือนเป็นการจุดไฟแห่งความหวังและความกล้าหาญให้กับผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ
เหมือนหนูในนิทานอีสปที่ “เอากระดิ่งไปผูกคอแมว”
เป็นเรื่องของหนูที่ถูกเจ้าแมวอ้วนใหญ่จับกินตัวแล้วตัวเล่า
จึงต้องหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้รอดพ้นจากเจ้าแมวอ้วนตัวนี้
จนมีหนูฉลาดเสนอให้เอากระดิ่งไปผูกที่คอแมว
เพื่อเวลาแมวเดินมาจะได้ยินเสียงและจะได้หลบทัน ซึ่งหนูทุกตัวต่างก็เห็นดีเห็นงามด้วย

แต่ปัญหาคือหนูตัวไหนจะ “กล้าหาญ” เอากระดิ่งไปผูกคอแมวอย่างคณะนิติราษฎร์!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับ 330 วันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2554 พ.ศ. 2554 หน้า 16
คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน


http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=12294