WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 14, 2009

ร่วมกันฉลอง วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789

ที่มา Thai E-News


โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
14 กรกฎาคม 2552

“ในไม่ช้าประเทศอารยะจะจับพวกชนชั้นปกครองเก่ามาขึ้นศาล พวกกษัตริย์จะหนีไปอยู่ในทะเลทรายกับพวกสัตว์ป่าที่เป็นพวกเดียวกับเขา และสิทธิมนุษย์ตามธรรมชาติจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง”



วันที่ 14 กรกฎาคมปีค.ศ. 1789 เป็นวันที่ประชาชนปารีสในฝรั่งเศส ลุกฮือยึดคุก บาสตียล์ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของความป่าเถื่อนของระบบยุติธรรมภายใต้รัฐบาลกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 ในช่วงต่อมาจนถึงปัจจุบัน วันยึดคุกบาสเตียล์กลายเป็นวันที่เฉลิมฉลองกันทั่วฝรั่งเศส มีงานปาร์ตี้จุดดอกไม้ไฟเต้นรำฟังเพลงกันในทุกเมืองทุกหมู่บ้าน

สาเหตุที่มีการยึดคุกบาสเตียล์ในปี 1789 ไม่ใช่เพื่อปล่อยนักโทษไม่กี่คนที่ยังติดคุกอยู่ แต่สาเหตุหลักคือ นอกจากมันเป็นคุกแล้วมันยังเป็นคลังอาวุธด้วย ประชาชนคนยากคนจนในปารีสได้เริ่มกระบวนการปฏิวัติฝรั่งเศส ด้วยการยึดอาวุธจากรัฐบาลกษัตริย์นั้นเอง

การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นการปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ของชนชั้นนายทุนต่อระบบกษัตริย์และขุนนาง นับเป็นครั้งที่สาม ที่มีการปฏิวัติใหญ่หลังการปฏิวัติในอังกฤษ/ฮอลแลนด์ที่เปิดทางให้ทุนนิยมเข้ามาในโลก และการปฏิวัติในอเมริกาต่อเจ้าอาณานิคมอังกฤษ

การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นผลของการสะสมความไม่พอใจของประชาชนเกือบทุกระดับ รัฐบาลกษัตริย์หลุยส์ที่ 16 มีวิกฤตเศรษฐกิจและต้องการขึ้นภาษีกับนายทุนและคนจน ในขณะที่ตนเองเสพสุข นอกจากนี้รัฐบาลพยายามกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบการเมือง โดยมีสภาขุนนางและสภาพระศาสนาคริสต์ ที่คอยกีดกันความต้องการของพลเมือง

หลังจากที่มีการยึดคุกบาสตียล์ มีการประกาศหลักสิทธิมนุษยชน มีการใช้ธงสามสี แดง ขาว น้ำเงิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และความสมานฉันท์ (ไม่ใช่ “ชาติ ศาสนา กษัตริย์!!)

และท่ามกลางกระแสปฏิวัติมีการเชิดชูความเป็นมนุษย์ แทนที่จะบูชาพระเจ้า ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการชูคำขวัญที่เคารพความเป็นพลเมือง เพราะในยุคอดีตผู้ปกครองในระบบกษัตริย์มักมองว่าประชาชนเป็นแค่ไพร่ ทาส หรือสัตว์ที่ต้องมอบคลานต่อกษัตริย์และพระเจ้า

พลังในการขับเคลื่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสมาจากพลเมืองข้างล่าง ผู้นำจากชนชั้นนายทุนผู้มั่งมี เช่นพวกนายธนาคารใหญ่ ต้องการที่จะประนีประนอมกับกษัตริย์ แต่พรรคแจคโคบิน ซึ่งนำโดย โรบสเบียร์ เข้าใจว่าต้องปลุกระดมคนจนในเมืองเพื่อให้การปฏวัติถึงจุดจบ

มวลชนที่สำคัญของพรรคแจคโคบินจึงเป็นพวก แซนคูลอท (พวกคนจนที่ไม่ใส่กางเกงขาสั้นตามแฟชั่นคนมั่งมี แต่ใส่กางเกงขายาวแทน) นอกจากนี้มีการปกป้องทหารที่ไม่ยอมยิงประชาชนตามคำสั่งของกษัตริย์ ซึ่งทำให้ทหารธรรมดาจำนวนมากเปลี่ยนข้างมาอยู่ฝ่ายปฏิวัติ

กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 เป็นคนอ่อนแอ แต่อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว ทั้งป่าเถื่อนและไร้คุณสมบัติที่จะพัฒนาสังคมให้ทันสมัย ประชาชนฝรั่งเศสตั้งชื่อเล่นให้เขาว่า “หลุยส์คนสุดท้าย” ส่วนราชินี มารี อันตัวเน๊ต เป็นคนที่ไม่สนใจความทุกข์ยากของประชาชน มีตำนานเล่าว่าเมื่อมีคนจนประท้วงว่าไม่มีขนมปังกิน ราชินีตอบว่า “ทำไมไม่ไปกินเค้กแทนละ?

งานอดิเรกของราชินีคือการซ่อมวัง และการสั่งให้คนงานสร้างหมู่บ้านตัวอย่างเพื่อชักชวนให้คนใช้ชีวิตพอเพียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ราชินีมีส่วนในเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสร้อยคอเพชรอีกด้วย


ในเดือนกันยายนปี 1792 รัฐสภาพลเมืองได้ลงมติยกเลิกสถาบันกษัตริย์ และประกาศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในที่สุดการปฏิวัติถึงจุดสุดยอดในปี 1793 ด้วยการประหารชีวิตกษัตริย์หลุยส์ที่ 16, ราชินี มารี อันตัวเน๊ต และราชวงศ์กับขุนนางจำนวนมาก เนื่องจากพวกนี้ต้องการขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของสังคมและหมุนนาฬิกากลับสู่ยุคมืด

เซ็นต์จัสต์ ผู้นำพรรคแจคโคบินคนหนึ่งปราศรัยกับรัฐสภาในวันที่ 24 เมษายน ปี1793 ว่า

“ในไม่ช้าประเทศอารยะจะจับพวกชนชั้นปกครองเก่ามาขึ้นศาล

พวกกษัตริย์จะหนีไปอยู่ในทะเลทรายกับพวกสัตว์ป่าที่เป็นพวกเดียวกับเขา

และสิทธิมนุษย์ตามธรรมชาติจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง”