WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 15, 2009

บทความพิเศษ:“OTOP” มิใช่เพียงสินค้า

ที่มา Thai E-News


โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “แนวร่วม Red” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑
15 กรกฎาคม 2552

“ครับ ฝ่ายอำนาจเดิมเขากระทืบคุณทักษิณและกระบวนการประชาธิปไตยเท่าไหร่ ชาวบ้านก็ยิ่งยืนหยัดและแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น จนตอนนี้ฝ่ายเขาก็เริ่มงงๆ ว่าทำไมฆ่ามันไม่ตายสักที ทำไมไม่เหมือน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙”
คุณทาเกชิตะยื่นมือมาให้ผมจับ ผมก็เช็คแฮนด์กับแก


“ท่านไปเห็นตัวอย่างจากญี่ปุ่นมิใช่หรือ?” ผมถามขึ้น

สุภาพบุรุษอายุราว ๖๐ ที่เป็นชาวญี่ปุ่นท่าทางใจดีและผมขาวยิ้มตอบ
“ใช่แล้ว ท่านได้ยินเรื่องราวของจังหวัดโออิตะในญี่ปุ่น และเดินทางไปดูกับที่ปรึกษาหลายคน ในที่สุดท่านก็นำมาประยุกต์ดัดแปลงเพื่อใช้ในเมืองไทย”

“อ้อ”

“ตั้งแต่ก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะชนะเลือกตั้งและก่อนท่านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”

“เข้าใจ”

“คุณรู้ไหมว่าการนำตัวอย่างนี้มาประยุกต์ใช้กับเมืองไทยได้ และสำเร็จงดงาม เป็นเรื่องที่น่าทึ่งในตัวเองมาก”

“ทำไมล่ะครับ-คุณทาเกชิตะ”

“เพราะเรื่องของจังหวัดโออิตะเป็นกรณีเฉพาะตัวของที่นั่น โครงการสินค้าท้องถิ่นที่ได้รับการคัดสรรขึ้นมาเป็นสินค้าระดับจังหวัด ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะนโยบายหรือความต้องการทางเศรษฐกิจเลย แต่เป็นการแก้ไขปัญหาทางการเมืองต่างหาก”

การเมือง? ผมนึกไม่ออกเลยว่ายังไง”

“จังหวัดโออิตะเป็นจังหวัดเก่าแก่ ปกครองในรูปแบบของเขตอิทธิพลของหลายครอบครัว แต่ละครอบครัวก็ขัดแย้งแก่งแย่งกันเหมือนมาเฟียในซิซิลี่ ใช้ความรุนแรงต่อกันมาก วันหนึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะก็ฮึดขึ้นมา จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้สักที เขาก็เลยใช้มาตรการที่หลายคนนึกไม่ถึง”
คุณทาเกชิตะหยุดสูบบุหรี่ครู่หนึ่ง

“เขาสร้างโครงการประกวดสินค้าระดับท้องถิ่นขึ้นมา ให้แต่ละท้องถิ่นในจังหวัดโออิตะส่งสินค้าที่ตนคิดว่าแน่ที่สุด กรรมการทั้งชุดก็มาจากส่วนกลางและมีชื่อเสียงระดับชาติ เป็นผู้ตัดสิน ทีนี้ครอบครัวต่างๆ ก็กระโจนเข้าสู่การแข่งขันในเรื่องสินค้ากันอย่างเอาเป็นเอาตาย สินค้าท้องถิ่นถูกพัฒนาปรับปรุงขึ้นไม่รู้จักกี่ชนิด บางอย่างไม่มีใครเคยรู้มาก่อนเลยว่าที่นั่นเขาทำได้ ต่างคนก็ต่างเผยไต๋ออกมาเต็มที่”
ผมอดยิ้มไม่ได้ “แทนที่จะแข่งขันแบบอันธพาล ก็มาแข่งขันกันทำสินค้า เรียกว่าเปลี่ยนจากความรุนแรงมาเป็นความสร้างสรรค์เลยนะนี่ แหม...นึกถึงเรื่องกัมพูชาเลย”

เพื่อนอาวุโสชาวญี่ปุ่นของผมขมวดคิ้ว
กัมพูชา... เหมือนกัมพูชายังไง?”

“ในสมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งในกัมพูชามาเป็นความสัมพันธ์ทางการค้า เรียกว่าเปลี่ยนสนามรบเป็น...”

สนามการค้า” ทาเกชิตะเสริมทันที “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า... ผมนึกออกแล้ว

“ผมว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะท่านคงไม่รู้เรื่องกัมพูชาหรอก แต่คล้ายกันมาก แล้วความขัดแย้งในจังหวัดล่ะครับ เปลี่ยนไปบ้างไหมหลังเกิดโครงการนี้”

“แทบจะหมดไปเลย เพราะคนรุ่นหลังๆ ก็ไม่อยากเสียเวลามานั่งขัดแย้งกันเหมือนรุ่นพ่อรุ่นปู่ เขาอยากร่ำรวยกันมากกว่า”
“อืมม์... ก็ไม่เลว”

“แต่ในความเห็นผม คุณทักษิณแน่กว่านะ”
“ทำไมล่ะครับ”

“คุณทักษิณเอาเรื่องเล็กๆ ในญี่ปุ่นมาขยายผลในเมืองไทยทั้งประเทศ ใช้กับคนมากกว่าหกสิบล้านคน แถมไม่ได้ใช้ความขัดแย้งเป็นแรงผลักดัน ท่านจูงใจตรงๆ แต่ก็ทำให้ผู้คนตื่นตัวกันมาก คุณจักรภพจำได้ไหมล่ะว่าความเคลื่อนไหวตอนนั้นเป็นอย่างไร”

“จำได้สิครับ ผมเข้ามาช่วยงานท่านนายกฯ ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี ๔๖ ได้ติดตามไปเห็นผลกระทบเชิงบวกของ OTOP ทั่วประเทศ ในใจผมถือว่าโครงการ OTOP คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย”

“คือการสร้างรายได้ให้กับคนจน?”

“มากกว่านั้นอีกครับ OTOP ได้เปลี่ยนสภาพความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพี่น้องประชาชนที่เป็นชาวบ้านไปชั่วนิรันดร์ คุณทาเกชิตะจำได้ไหม เมื่อก่อนรัฐบาลกับข้าราชการพบชาวบ้าน ชาวบ้านลงไปอยู่กับพื้นทุกที ต่ำกว่าเขาเหลือเกิน แต่พอมี OTOP ชาวบ้านกลายเป็นตัวเอกเลย เป็นผู้รายงานให้นายกฯ ทราบถึงความคืบหน้าต่างๆ อย่างที่ข้าราชการบางคนมาแย่งเอาหน้าไม่ได้ เพราะไม่รู้เท่าชาวบ้านและนายกฯ ท่านก็ถามละเอียด พูดง่ายๆ คือ OTOP ยกระดับชาวบ้านในทางสังคม พูดไม่เกรงใจคือ OTOP เปลี่ยนชาวบ้านจากผู้อาศัยเขา มาเป็นผู้ร่วมพัฒนา ถึงยังไม่รู้สึกขนาดเป็นเจ้าของบ้านเพราะ OTOP ถูกถอดปลั๊กเสียก่อน ก็นับว่าก้าวหน้าจากเมื่อก่อนมาก”

คุณทาเกชิตะนิ่งคิด แล้วพูดขึ้นเบาๆ ว่า “แปลว่าคุณทักษิณใช้ OTOP แก้ไขปัญหาทางสังคมเป็นหลัก ก่อนเศรษฐกิจด้วยซ้ำ”
“ครับ” ผมว่า “ถูกต้อง”

“เมื่อก่อนคนกลับพูดกันว่า โครงการพวกนี้จะทำให้ชาวบ้านแก่งแย่งชิงดีกัน กลายเป็นสร้างความขัดแย้งด้วยซ้ำ”
“คนพูดเขาไม่เคารพนับถือในชาวบ้านนี่ครับ เขาคิดอย่างนั้นเพราะลึกๆ เขาคิดว่าเขาสูงส่งและก้าวหน้ากว่าสมองชาวบ้าน เขาลืมนึกไปว่าชาวบ้านที่ยากจน มีอำนาจต่อรองทางสังคมและเศรษฐกิจน้อยกว่าเขาไม่รู้จักกี่เท่า อยู่กันมาได้อย่างไร เอาตัวรอดมาตลอดได้อย่างไร ถ้าเขาเอาความเก่งแบบชาวบ้านมาคิด เขาจะรู้เลยว่า OTOP เปรียบเหมือนน้ำหยดลงกลางทะเลทรายที่แห้งผาก ต้นไม้รอขึ้นอยู่แล้วแต่ฝนไม่เคยตก”

“พอตกเข้าหน่อย ต้นไม้ก็ขึ้นกันไสวเลย”
“ครับ”

“คุณจักรภพคิดว่าผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญที่สุดของ OTOP คือการสร้างอำนาจต่อรองและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ”

“ใหญ่ที่สุดคือการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวบ้านมีคุณค่าและมีความหมายจริงๆ ไม่ใช่มีความหมายกลวงๆ ตามคำขวัญของราชการในอดีต ประเภทที่พร่ำพูดว่า “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” แต่ปล่อยให้กระดูกผุจนเดินไม่ไหว และ...ใช่ครับ เมื่อชาวบ้านมีอำนาจต่อรองสูงขึ้นและมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองมากขึ้น ประชาธิปไตยก็แข็งแรงขึ้น”
“อย่างตอนนี้?”

“ครับ ฝ่ายอำนาจเดิมเขากระทืบคุณทักษิณและกระบวนการประชาธิปไตยเท่าไหร่ ชาวบ้านก็ยิ่งยืนหยัดและแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น จนตอนนี้ฝ่ายเขาก็เริ่มงงๆ ว่าทำไมฆ่ามันไม่ตายสักที ทำไมไม่เหมือน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙”
คุณทาเกชิตะยื่นมือมาให้ผมจับ ผมก็เช็คแฮนด์กับแก

“ขอแสดงความยินดีกับระบอบประชาธิปไตยไทยที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะช้าหน่อยก็ตาม ผมขอถามอีกคำนะครับ อำนาจต่อรองของเราสูงขึ้น เป็นเหตุผลให้เราคิดถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้คุณทักษิณเป็นอิสระหรือเปล่า”

ผมค่อยๆ ปล่อยมือแล้วยิ้มให้คุณทาเกชิตะ
“คุยเรื่องอื่นเถอะครับ”

-----------------------------------
ประชาสัมพันธ์ :
TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146
ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน)
Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)