WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 14, 2009

เสนอนิรโทษกรรม กก.บห.พรรคการเมืองที่ถูกยุบ เป็นมาตรการเร่งด่วน

ที่มา MCOT News


รัฐสภา 14 ก.ค.-เผยข้อเสนออนุกรรมการสมานฉันท์ฯ ในรายงานสรุปผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเสนอต่อประธานรัฐสภา-นายกรัฐมนตรี 16 ก.ค.นี้ ให้นิรโทษกรรมกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ เป็นมาตรการเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่ความสมานฉันท์

การประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันนี้ (14 ก.ค.) มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานการประชุมพิจารณารายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการฯ เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะเสนอรายงานกับนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 13.30 น. ณ ห้องรับรองชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 และจะจัดพิมพ์บทสรุปจำนวน 2,000 เล่ม เพื่อมอบแก่ ส.ว. ส.ส. และแจกจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้สรุปว่าสมควรจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน 6 ประเด็น เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์และการปฏิรูปการเมืองในระยะต่อไป ได้แก่ ประเด็นยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรค (มาตรา 237) ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการเมือง ประเด็นที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93-98) ประเด็นที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111-121) ประเด็นการทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา (มาตรา 190) ประเด็นการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส. (มาตรา 265) และประเด็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของ ส.ส. และ ส.ว. (มาตรา 266)

ส่วนการปฏิรูปการเมือง คณะกรรมการฯ เห็นควรทำทั้งในระยะสั้น (1 ปี) ระยะกลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) พร้อมเสนอแนะว่าการปฏิรูปการเมือง นอกจากการแก้ไขตัวบทกฎหมาย ควรขยายไปถึงตัวบุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมือง และเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางการเมือง และควรพิจารณาถึงบริบทของการเมือง คือ สังคม เศรษฐกิจ และจริยธรรมของนักการเมือง รวมทั้งควรเรียงลำดับความสำคัญ คือ การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ในรายงานดังกล่าวมีข้อเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ระบุว่า ในระยะเร่งด่วนควรผลักดัน สนับสนุน และส่งเสริมภารกิจของกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ไปสู่กระบวนการเลือกตั้งอย่างสันติ สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการพิจารณาคืนสิทธิและความเป็นธรรมให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ และถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2009-07-14 16:42:55