WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 22, 2009

เจ้าของแท่งประหยัดน้ำมันขู่ฟ้องนักสืบหว้ากอผ่าพิสูจน์ ผศ.ได้ค่าทดสอบกับออกใบรับรอง 2 หมื่น

ที่มา Thai E-News


ขู่ฟ้องนักสืบหว้ากอ-หลังจากชุมชนห้องสนทนาหว้ากอ เวบพันทิป ผ่าพิสูจน์แท่งประหยัดน้ำมัน และตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคที่รับพิษจากน้ำมันแพงเลยเสียเงินซื้อมาใช้ แต่ไม่ได้เป็นไปตามคำแอบอ้าง ล่าสุดเจ้าของสินค้าได้ออกโรงยันของดีจริง ขู่จะฟ้องร้องคนผ่า แต่ยังพูดสับสนกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ม.ราชมงคลผู้ทดสอบสินค้านี้ เรื่องประสิทธิภาพของการประหยัดน้ำมัน( ภาพ:คุณปลากวน )

เรียบเรียงโดย กานต์ ทัศนภักดิ์
21 สิงหาคม 2552


ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย อาจารย์วิศวกรเครื่องกล - คนที่ 2จากซ้าย (ภาพจาก http://www.cm108.com/bbb/18934.html )

เจ้าของ ‘NP Faster’ ออกโรงโต้ ยืนยันแท่งประหยัดน้ำมันใช้ได้ผลจริง อ้างทดสอบกับรถรุ่นใหม่แล้ว บางคันประหยัดได้ถึง 30% เตรียมพิสูจน์ต่อหน้าสื่อมวลชนเร็วๆ นี้ ระบุเห็นใจนักวิชาการคนออกใบรับรอง เหตุฝ่ายการตลาดรู้เท่าไม่ถึงการณ์เอาขึ้นเวบจนเกิดเรื่อง อ้างโดนคู่แข่งโจมตี พร้อมเผยเตรียมฟ้องคนผ่าพิสูจน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้านผศ.ล้านนาคนออกใบรับรองพูดไปอีกทางว่าผลการทดสอบอาจใช้ได้แต่กับรถเก่า และประหยัดได้แค่9-15% ระบุทดสอบเป็นวิชาการไม่ได้รับรองเพื่อค้าขาย เผยค่าทดสอบสองหมื่นไม่มีเปอร์เซ็นต์ คนใช้เน็ตวิจารณ์อื้อ เรียกร้องรัฐ-ต้นสังกัดตรวจสอบ



จากกรณีที่มีผู้ออกมาเปิดเผยข้อมูลและภาพถ่ายการผ่าพิสูจน์ 'NP Faster' อุปกรณ์ที่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอ้างว่าช่วยให้รถประหยัดน้ำมันได้ 10-30% ใช้งานด้วยการเสียบเข้ากับช่องจุดบุหรี่ในรถยนต์ โดยอ้างการรับรองผลิตภัณฑ์และการทดสอบจาก 2 มหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งราคาจำหน่ายอันละ 1,500-2,500 บาท แต่เมื่อเปิดดูภายในกลับพบเพียงวงจรต่อไฟ LED ราคาไม่ถึงร้อยบาท ตามที่ได้มีรายงานไปก่อนหน้าแล้วนั้น

เจ้าของ ‘แท่งประหยัด’ ออกโรงโต้-เตรียมฟ้องคนผ่า ผศ.เผยค่าทดสอบแค่ 2 หมื่น

เจ้าของออกโรงโต้ ยันประหยัดจริง ทดสอบกับรถรุ่นใหม่แล้ว ทั้งนี้นายทธ จตุรัตน์ หนึ่งในกรรมการ หจก.เอ ฟาสเตอร์ ได้แสดงความเห็นใจผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย หนึ่งในผู้ทดสอบและรับรองที่ถูกโจมตี พร้อมทั้งเปิดเผยว่า เคยติดต่อไปยังสถาบันการศึกษามีชื่อแห่งหนึ่งในกทม.ให้ทำการทดสอบแล้ว แต่ถูกเรียกค่าทดสอบถึง 2แสนบาท ทางผู้ผลิตซึ่งมีทุนน้อยจึงได้มาติดต่อกับผศ.สมศักดิ์ ซึ่งคิดเพียง 2 หมื่นบาท โดยไม่ได้เรียกร้องเปอร์เซ็นต์จากการขาย แต่ต่อมาฝ่ายตลาดได้นำใบรับรองนั้นไปแสดงในเวบไซต์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนถูกโจมตีจากคู่แข่ง ส่วนกรณีที่มีผู้นำไปแกะดูโดยไม่ขออนุญาตนั้นจะดำเนินการฟ้องร้องกันต่อไป

กรรมการ หจก.เอฟาสเตอร์ ผู้นี้ยังระบุด้วยว่า ทางผู้บริหารและอาจารย์ผู้คิดค้นและผลิตอุปกรณ์ประหยัดน้ำมันจะทำการพิสูจน์ NP Faster ว่าประหยัดน้ำมันจริงหรือไม่ ต่อหน้าคณะกรรมการและสื่อมวลชนแน่นอน ในเร็ววันนี้ ทั้งที่กทม.และเชียงใหม่ เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีที่ผศ.สมศักดิ์ออกมาระบุว่า อุปกรณ์นี้ช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้แค่ 9-15% แต่ผู้ผลิตและจำหน่ายกลับอ้างว่าประหยัดถึง 30% ก็ได้รับคำตอบว่า ได้มีการทดสอบภายหลังกับรถรุ่นใหม่ ทั้ง HONDA TOYOTA และ ISUZU แล้ว ซึ่งบางคันประหยัดได้ถึง 30% ส่วนการจดสิทธิบัตรนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยยอมรับว่าเลขที่มีผู้นำไปเผยแพร่เป็นเพียงเลขที่คำขอเท่านั้น

ผศ.ระบุทดสอบเป็นวิชาการ ไม่เกี่ยวค้าขาย

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หนึ่งในผู้ทดสอบและลงนามในเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้ออกมาชี้แจงถึงวิธีการทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าว ก็ได้มีผู้โพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ผศ.สมศักดิ์ตามหน้าเวบบอร์ดเป็นจำนวนมาก และมีหลายรายที่เรียกร้องให้ทางม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวนี้อย่างจริงจัง

โดยล่าสุด ผศ.สมศักดิ์ ได้ออกมาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวไทยนิวส์ว่า หลังจากที่กรณีนี้เป็นข่าวออกไป คนใกล้ชิดต่างก็แสดงความเป็นห่วงตน ลูกสาวที่ทำงานอยู่ต่างประเทศก็โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด ซึ่งตนก็บอกว่าไม่ต้องเป็นห่วง สำหรับผู้ที่ด่าตนนั้นก็จะไม่ขอฟ้องร้อง และยืนยันว่าการทดสอบที่ทำนั้นเป็นวิชาการ ไม่ได้ไปรับรองเพื่อช่วยให้เอกชนนำไปค้าขาย และได้รับค่าใช้จ่ายในการทดสอบเพียง 2 หมื่นบาท ไม่มีเปอร์เซ็นต์จากการขายใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนทางมหาวิทยาลัยจะสอบสวนหรือไม่ก็สุดแท้แต่ผู้บริหาร ซึ่งตนจะให้การตามความเป็นจริง ซึ่งเกี่ยวกับกรณีนี้ ไทยนิวส์รายงานว่า ได้พยายามติดต่อชัยยง เอื้อวิริยานุกุล อธิการบดี ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อสอบถามว่าจะดำเนินการสอบสวน ผศ.สมศักดิ์หรือไม่ แต่อธิการบดีติดพิธีเปิดประชุมทางวิชาการ

ผศ.ราชมงคลพูดคนละเรื่องกับเจ้าของสินค้าผลทดสอบใช้ได้แต่กับรถเก่า

ก่อนหน้านี้ มื่อวันที่ 19 ส.ค. 52 ได้ปรากฏรายงานข่าวในในเวบไซต์ cm108.com โดยบุณย์ มหาฤทธิ์ ระบุ ว่า ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หนึ่งในผู้ทดสอบและลงนามในเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 52 โดยมีอาจารย์สุทิน ประเสริฐสุนทร รองอธิการบดี ม.เทคโนโลยีราชมงคลฯ และ ผศ.อาคม ตันตระกูล ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย ร่วมรับฟังการชี้แจงด้วย


แจงวิธีการทดสอบ ระบุผลประหยัดเฉลี่ย 9-15% แต่กับรถรุ่นเก่าเท่านั้น

ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย ระบุว่า ตนได้ออกใบรับรองการทดสอบให้แก่ผู้ผลิตสินค้า NP faster จริง โดยตนได้ออกใบรับรองภายหลังการทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกับรถตู้โตโยต้ารุ่น เก่า ซึ่งใช้น้ำมันดีเซล และรถเก๋งนิสสันซันนี่ ที่ใช้น้ำมันเบนซิน อย่างละ 1 คัน ซึ่งในการทดสอบครั้งแรกใช้รถตู้โตโยต้า เติมน้ำมัน 20 ลิตร ทดสอบขับจากตัว อ.เมืองเชียงใหม่ ไปยัง อ.ไชยปราการ จำนวน 2 รอบ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 1 รอบ เมื่อดูดน้ำมันออกวัดปริมาณเปรียบเทียบพบว่ารอบที่ใช้ผลิตภัณฑ์ประหยัด น้ำมัน 1 ลิตร ส่วนในการทดสอบครั้งที่สองใช้รถเก๋งนิสสัน ทดสอบโดยขับจากลานครูบาศรีวิชัยขึ้นไปหน้าบันไดนาควัดพระธาตุดอยสุเทพ จำนวน 5 รอบ และขับไปทดสอบถนนสายดอนจั่น-น้ำพุร้อน บนทางเรียบ ระยะ 5 กม. ด้วยความเร็ว 3 ระดับ 40-60-90 กม./ชม. พบว่าประหยัดน้ำมันเกือบ 1 ลิตร คือต่ำกว่าการทดสอบครั้งแรก

ผศ.สมศักดิ์กล่าวด้วยว่า การทดสอบแต่ละครั้งได้ใช้ช่วงเวลาใกล้เคียงกันมากที่สุด และระบุถึงข้อสังเกตหลังผลการทดสอบว่าขาวิ่งขึ้นไป อ.ไชยปราการประหยัดน้ำมันได้มากกว่าขากลับ และในการทดสอบครั้งที่สองคือวิ่งขึ้นดอยสุเทพกับวิ่งทางเรียบประหยัดน้ำมัน ได้น้อยกว่าวิ่งระยะทางไกล สรุปแล้วการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำให้ประหยัดน้ำมันได้เฉลี่ย 9-15% ไม่ใช่ 30% ซึ่งตนได้ยืนยันในหนังสือรับรองแล้ว

ทั้งนี้ ผศ.สมศักดิ์ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เนื่องจากในการทดสอบใช้รถรุ่นเก่าที่จ่ายน้ำมันผ่านคาบูเรเตอร์ทั้งสองคัน ข้อสรุปเรื่องการประหยัดน้ำมันจึงจำกัดอยู่ที่รถรุ่นเก่าเท่านั้น และอาจใช้ไม่ได้กับรถรุ่นใหม่ แต่หากจะให้ตนทดสอบกับรถรุ่นใหม่ก็ไม่ขอรับทำอีก


ออกตัว ไม่ทราบเหตุประหยัด

สำหรับเหตุผลที่ผลิตภัณฑ์ดัง กล่าวช่วยให้รถประหยัดน้ำมันได้ ด้วยการเสียบเข้ากับช่องจุดบุหรี่ นั้น ผศ.สมศักดิ์ กล่าวว่าตนก็ไม่ทราบ เพราะดำเนินการเฉพาะการทดสอบ ไม่ได้ผ่าพิสูจน์ดู แต่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตามหลักการที่นักวิชาการต่างประเทศเคยวิเคราะห์ไว้แล้ว คือ
“ทำ ให้เกิดคลื่นวิทยุที่จะรวบรวมคลื่นแม่เหล็กที่อยู่ในรถให้รวมเป็นทิศทาง เดียวกัน ทำให้อัตราการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสมดุลและประหยัดกว่าปกติก็อาจเป็นไปได้”



วอนผู้ผลิต/ขาย หยุดนำใบรับรอง-ตราไปกำกับสินค้า

เกี่ยว กับกรณีมีการนำใบรับรองพร้อมตรามหาวิทยาลัยไปแสดงไว้ในเวบไซต์นั้น ผศ.สมศักดิ์ระบุว่า ภายหลังตกเป็นข่าว ตนได้แจ้งให้ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าดังกล่าวยุติการนำใบรับรองนั้นไปกำกับ สินค้า “เพราะถือเป็นการทดสอบทาง วิชาการ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ แม้แต่ค่าจ้างทดสอบก็ไม่ได้มากมายอะไร” พร้อมทั้งยืนยันได้ว่าไม่ได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าดังกล่าว ส่วนกรณีที่มีตรามหาวิทยาลัยในประกาศรับรองก็ดำเนินการเอง ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย

คนใช้เนตชี้มีตัวแปรอื่น - ผศ.แจงไม่เหมือนพูดใน 'คลิป'

ภายหลังการเผยแพร่ของรายงานข่าวดังกล่าว ได้มีการโพสต์วิพากษ์วิจารณ์ถึงการชี้แจงของผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย ทั้งในกระทู้รายงานข่าวดังกล่าวเอง และในโต๊ะหว้ากอ กระดานข่าว pantip ซึ่งเป็นที่ที่เปิดเผยการผ่าพิสูจน์อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยส่วนใหญ่วิจารณ์ถึงช่องโหว่ของการทดสอบ ว่ายังมีตัวแปรสำคัญอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกควบคุมและส่งผลต่ออัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมทั้งระบุว่าต้องการการชี้แจงที่อ้างอิงหลักการทางวิศวกรรมเกี่ยวกับวงจรที่อยู่ในอุปกรณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ผู้โพสต์บางรายได้ระบุว่า การออกมาชี้แจงครั้งนี้ของผศ.สมศักดิ์ต่างจากที่พูดในคลิปของ www.npfaster.com


เปิด 'คลิป' NP Faster

สำหรับคลิปดังกล่าว ซึ่งเปิดให้ชมและดาวน์โหลดได้ใน www.npfaster.com นั้น เป็นบันทึกการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ NP Faster ทั้งผู้ผลิต-ชุมพร วงศ์สวัสดิ์ ผู้ทดสอบและรับรอง-ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย ตลอดจนผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วด้วย

ทั้งนี้ ชุมพร วงศ์สวัสดิ์ ผู้ประดิษฐ์ ได้อธิบายหลักการทำงานของอุปกรณ์นี้ว่า เป็นไปตามทฤษฎีการลดแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ 'แรง G' ส่วนระบบการทำงานของ NP Faster คือการเสริมสร้างสนามแม่เหล็กในยานยนต์ให้มีความเสถียร "เพื่อลดแรงโน้มถ่วงของโลกหรือแรง G ทำให้ยานยนต์เคลื่อนที่คล่องตัวขึ้น ทำให้การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงลดลง" โดยไม่มีผลเสียใดๆ ต่อผู้โดยสารและเครื่องยนต์

ในส่วนของผู้ทดสอบและรับรอง ผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย ได้กล่าวอธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการทดสอบ ก่อนจะระบุว่าภายหลังการทดสอบตนได้ไปสอบถามถึงหลักการทำงานจากเจ้าของ และได้รับคำตอบว่า "เป็นในรูปสนามแม่เหล็ก" ซึ่งทำให้ตนนึกขึ้นได้ว่าสนามแม่เหล็กโดยปกติจะฟุ้งกระจายไม่เป็นรูปร่าง และสิ่งหนึ่งที่สร้างสนามแม่เหล็กในรถคืออุปกรณ์ที่มักเรียกกันว่าไดชาร์จ พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของสนามแม่เหล็ก และแรง G (Gravity - แรงดึงดูดของโลก) ในขณะที่รถวิ่ง ก่อนจะอธิบายการทำงานอุปกรณ์ดังกล่าว ว่า "เป็นการสร้างสนามแม่เหล็กของตัวรถ ให้มันเป็นรูปลักษณะรี หรือกลม" ดังนั้นพอแรง G มาปะทะก็จะแฉลบ ทำให้ลดแรง G ลงได้ และทำให้รถมีอัตราเร่งที่ดี จึงช่วยให้ประหยัด


คนใช้เพียบ - 'พระพยอม' ปลื้ม

สำหรับส่วนที่เหลือของคลิปดังกล่าว เป็นการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ NP Faster หลายคน รวมทั้งพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ซึ่งทั้งหมดมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยให้ประหยัดน้ำมัน บางรายระบุด้วยว่าช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานดีขึ้น

ส่วนพระพยอม กัลยาโณ แม้จะไม่ได้ขับรถเอง แต่ก็ได้เล่าประสบการณ์ว่า เริ่มจากรู้จักอุปกรณ์นี้เมื่อมีโยมนำมาแจกในวัด 28 อัน ซึ่งเมื่อสอบถามผู้ที่ได้นำไปทดลองใช้หลายราย ก็ได้รับคำตอบว่าประหยัดน้ำมันได้ 15% บ้าง 20% บ้าง และเมื่อได้ทดลองนั่งรถที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวด้วยตัวเองก็พบว่ารถวิ่งนิ่ม รวมทั้งประหยัดเวลาและน้ำมันได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะแสดงความชื่นชมต่อผลิตภัณฑ์นี้เป็นอย่างมาก แต่พระพยอมก็ได้ระบุไว้ในตอนท้ายการสัมภาษณ์ว่า อยากให้ผู้ผลิตพูดความจริงและซื่อสัตย์กับลูกค้า ก่อนที่จะจำหน่ายอะไรก็ตามต้องมีการพิสูจน์ความจริง หากไม่ดี ไม่มีประโยชน์ต้องรับคืน หากของดีจริงต้องพูดความจริง

การสำรวจตามหน้าเวบไซต์พบว่า ผู้จำหน่าย NP Faster มักอ้างชื่อพระพยอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยมีเป็นจำนวนมากที่กล่าวอ้างว่า “พิสูจน์แล้วว่าประหยัดน้ำมันจริง โดย พระพยอม กัลยาโณ” และในบางเวบไซต์ได้แสดงภาพพระพยอมถืออุปกรณ์ดังกล่าวเอาไว้ด้วย

ผู้ประดิษฐ์-ผู้ผลิตตัวจริงหายเงียบ หลายเวบไซต์ยังขายต่อ

นับตั้งแต่มีการผ่าพิสูจน์อุปกรณ์ NP Faster และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ยังไม่ปรากฏการออกมาชี้แจงใดๆ จากชุมพร วงศ์สวัสดิ์ ผู้ประดิษฐ์ แต่บษัทผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว ได้ชี้แจงสั้นๆก่อนหน้านี้ โดยเชา สานต์คีรี เจ้าของเว็บไซต์ npfaster.com และการชี้แจงของผศ.สมศักดิ์ อินทะไชย กระทั่งวันนี้เจ้าของสินค้าออกมาตอบโต้และจะฟ้องร้องคนที่ผ่าพิสูจน์ ขณะที่ในหลายเวบไซต์ไซต์ยังคงมีการโฆษณาจำหน่ายสินค้านี้อยู่ตามปกติ

'หว้ากอ' ข้องใจสื่อไม่สน สคบ.ไม่ขยับ

ขณะเดียวกันก็ได้มีการวิพากษ์ วิจารณ์ในโต๊ะหว้ากอ ถึงประเด็นที่กรณีนี้แทบไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเท่าที่ควร ซึ่งที่ผ่านมา สื่อที่เสนอข่าวนี้มีเพียง ไทยนิวส์ ประชาไท และ ThaiEnews เท่านั้น รวมทั้งยังไม่มีการออกมาให้ความคืบหน้าจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภค (สคบ.) ทั้งที่มีผู้ส่งข้อมูลร้องเรียนไปแล้วหลายราย และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ของผู้บริโภค


Link ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:
- รายงานพิเศษ: 'หว้ากอ' ผ่าแท่งประหยัดน้ำมัน เจอแค่วงจรไฟ LED - ผู้จำหน่ายขู่ฟ้อง
- อ.ราชมงคลยัน NP Faster ประหยัดน้ำมันจริง
- www.npfaster.com
- แค่เสียบ XXXX เข้ากับที่จุดบุหรี่ รถคุณจะเบาลงเลยทีเดียว?
- NPFaster.com เชิญมาพิสูจน์ หาความจริง อุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน
- ร่วมลงขันซื้อ NP Faster อุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน เพื่อทดสอบทางวิทยาศาสตร์
- ผลการผ่าพิสูจน์ NP Faster
- ผลการผ่าพิสูจน์ NP Faster (Part 2)
- แนวทางการแจ้งความ และร้องเรียน สำหรับผู้ที่ซื้อสินค้า NP Faster ไปแล้วครับ