WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 22, 2009

นิรโทษกรรมที่ถูกเมิน

ที่มา ไทยรัฐ

บทบรรณาธิการ

การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ประชาชนผู้กระทำผิด ในการชุมนุมทางการเมือง อันได้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยให้เป็นเรื่องด่วนที่สุดแบบสายฟ้าแลบ ของพรรคภูมิใจไทย กลายเป็นข่าวการเมืองที่ฮือฮา และมีเสียงวิจารณ์หลากหลาย

แกนนำพรรคภูมิใจไทยชี้แจงว่า เป็นการเสนอร่างกฎหมาย โดยไม่ได้หารือพรรครวมรัฐบาลอื่นๆ โดยมีเหตุผลสำคัญเพราะว่าประเทศไทยเกิดความไม่สงบทางการ เมือง แตกแยกกันทางความคิด มีการชุมนุมประท้วง มีการกระทำความผิดทางอาญา และขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการแสดงออกทางการเมืองโดยสุจริต จึงสมควรได้รับนิรโทษกรรม ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

แต่น่าแปลกใจ ที่คนสองกลุ่มที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจากกฎหมายนิรโทษกรรม คือกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง กลับไม่ปลื้มหรือเห็นดีเห็นงามไปด้วย ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าพรรคภูมิใจไทยมีวาระซ้อนเร้นอะไร ต้องการช่วยเหลือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้พ้นจากความผิดทั้งทางอาญาและวินัยหรือไม่? มุ่งหวังประโยชน์ทางการเมืองอะไร?

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญ ถ้าต้องการผลักดันให้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ยังไม่ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจน ประธานวิปรัฐบาลบอกว่าจะต้องรอฟังเสียงสังคมก่อน ขณะที่นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ชุมนุมที่ทำผิดกฎหมาย อาจทำให้มีการทำผิดพร่ำเพรื่อ เพราะทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ใดๆ

ในทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคภูมิใจไทย เป็นการชิงตัดหน้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเป็นการชิงรุกทางการเมือง เพราะ นายกรัฐมนตรีเคยประกาศนโยบายสร้างความสมานฉันท์ในชาติ มอบให้รัฐสภาตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ

แต่ร่าง พ.ร.บ.ของพรรคภูมิใจไทย ไม่ได้เป็นที่ประทับใจของนักการเมืองมากนัก เพราะไม่ได้เสนอให้นิรโทษกรรมที่ครอบคลุมถึงนักการเมือง โดยเฉพาะบรรดาอดีตกรรมการบริหารพรรค กว่า 200 คน ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี เมื่อพรรคถูกยุบ ซึ่งเป็นความผิดทางการเมือง และอาจจะมีนักการเมืองหลายคน ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นในการซื้อเสียง อันเป็นเหตุให้พรรคโดนยุบ

ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ร่างกฎหมายนี้ จะเป็นชนวนใหม่ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งอีกรอบหนึ่งหรือไม่? และกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ จะยุติการก่อเหตุรุนแรง หรือยุติการทำผิดกฎหมาย ในระหว่างชุมนุมหรือไม่? หรือว่าจะยิ่งได้ใจ เพราะมีคนคอยออกกฎหมายยกโทษให้ กลุ่มคนเสื้อแดงประกาศชัดว่าจะเดินหน้าล้มรัฐบาลต่อไป และคงจะไม่หยุด จนกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้กลับเมืองไทยอย่างผู้ชนะ.