WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 16, 2009

การเมืองร้อน ใครคือต้นเหตุ?

ที่มา ไทยรัฐ



หลังการแถลงผลงานรัฐบาล 6 เดือนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีระบุว่าเศรษฐกิจไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังกระเด้งฟื้นเหมือนรูปตัววี

ปรากฏมีนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองหลายคนออกมาให้สัมภาษณ์ในเชิงไม่เห็นด้วย เนื่องจาก มีปัจจัยอีกหลายอย่างนอกเหนือจากตัวเลข จีดีพี และตัวเลขการส่งออก

ที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่อยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าฟื้นแล้ว

อย่างการแพร่ระบาดของโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีตายไปแล้วเกือบ 100 คน อันเกิดจากความชะล่าใจของรัฐบาลแต่แรก ส่งผลให้โรคหวัดสายพันธุ์ใหม่กลายเป็นปัจจัยแทรกซ้อนเพิ่มความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโดยใช่เหตุ

หรืออย่างล่าสุดราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูดขึ้นมาซ้ำเติมวิกฤต เศรษฐกิจอีกระลอก

รัฐบาลก็พยายามเบี่ยงเบน สถานการณ์ด้วยการลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันในกลุ่มดีเซลลง แต่ขณะเดียว กันการปล่อยให้ราคาเบนซินทะยานขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งต้องแบกรับภาระเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้ปัญหาในโครง การ "ชุมชนพอเพียง" ซึ่งมีคนของพรรคแกนนำรัฐบาล เข้าไปเกี่ยวข้องกับความไม่ชอบมาพากล ยังส่งผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจในโครงการใหญ่ๆ ในอนาคต ของรัฐบาล

ที่จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนรัฐบาลไม่อาจผลักดันให้โครงการฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจเหล่านั้น เดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ใครต่อใครหลายคนสะท้อนออกมาตรงกันโดยมิได้นัดหมาย

นั่นก็คือวิกฤตการเมืองอันมีผลผูกพันโดยตรงไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ที่นอกจากจะไม่คลี่คลายลงแล้วยังมีทีท่าว่าจะยุ่งเหยิงจนหาทางออกไม่ได้อีกด้วย

เป็นที่รับรู้กันในวงกว้างว่าการไต่ขึ้นสู่จุดสูงสุดทางการเมืองของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนส่วนตัว กับอีกส่วนสำคัญคือการได้รับแรงอุดหนุนจากอำนาจหลายกลุ่มก้อนในฝ่ายตรงข้ามกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่ากองทัพ กลุ่มพันธมิตรฯ และบางพรรคการเมือง

ต้นทุนนายอภิสิทธิ์ ถูกนำไปใช้อย่างสิ้นเปลืองกับกรณีของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ที่นายอภิสิทธิ์พาตัวเองหลุดเข้าไปอยู่ภายใต้การครอบงำของแกนนำกลุ่มการเมืองนอกสภา และคนใกล้ชิดบางคน

ระยะหลังมานี้ขบวนการเขย่าเก้าอี้ผบ.ตร.ไม่ใช่เรื่องลับ-ลวง-พรางอีกต่อไป แต่เป็นการเปิดฉากซัดกันแบบซึ่งหน้าแบบไม่มีใครกลัวใคร

โดยมีบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจเป็นเดิมพัน

ซึ่งผลปรากฏออกมาผ่านทางการสำรวจโพลบางสำนัก และจากการประเมินของนักวิเคราะห์การเมืองพบว่างานนี้นายอภิสิทธิ์ เป็นฝ่ายขาดทุนมากกว่ากำไร

เพราะนอกจากจะไม่สามารถปลดผบ.ตร.ได้แล้ว

ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ พรรคร่วมรัฐบาล หรือแม้แต่ภายในพรรคประชาธิ ปัตย์เอง อยู่ในสภาวะอึมครึมและหมิ่นเหม่ต่อการเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง

ชนิดที่เซียนการเมืองอย่าง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และ นายบรรหาร ศิลปอาชา ยังอดห่วงไม่ได้

โดยเฉพาะนายบรรหารที่ฝากข้อคิดแรงๆ ไปถึงนายกฯเกี่ยวกับการ "รื้อนั่งร้าน" และความพยายามที่จะ "บินเดี่ยว"

เพราะเบื้องหลังของพล.ต.อ.พัชรวาท ไม่ใช่ตะเกียง ที่ขาดน้ำมัน

แต่มีความผูกพันทางสายเลือดกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ตัวแทนอำนาจฝ่ายกองทัพขนานแท้ ทั้งยังได้รับการหนุนหลังจากพรรคภูมิใจไทย รวมถึงผู้จัดการรัฐบาลอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ

ซึ่งเป็นขุมกำลังที่นายกฯ ไม่ควรพาตัวเข้าไปเสี่ยง

มีการวิเคราะห์กันว่าอุณห ภูมิการเมืองนับจากวันที่ 17 ส.ค.เป็นต้นไป จะยกระดับความร้อนแรงมากขึ้น

ทั้งจากความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงในการ"ถวายฎีกา" ที่รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทยพยายามขัดขวางด้วยการเปิดสงครามล่ารายชื่อคัด ค้าน แบ่งแยกมวลชนเป็นสองฝ่ายเสียเอง

และจากปัญหาคดีความต่างๆ ที่ใกล้ถึงจุดได้-เสีย

อันดับแรกคือ "คดีกล้ายาง" ที่มีชื่อ นายเนวิน ชิดชอบ เป็นจำเลยคนสำคัญ ถ้าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็จะมีคำพิพากษาตัดสินวันจันทร์นี้

แต่ที่เป็นไฮไลต์จริงๆ น่าจะอยู่ที่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ที่นางสดศรี สัตยธรรม ออกมาระบุ กกต.พร้อมลงมติชี้มูลภายในเดือนส.ค.

ว่าต้องส่งต่อให้ศาลรัฐธรรม นูญวินิจฉัย "ยุบพรรค" หรือไม่

ประกอบกับเรื่องราวอื่นที่ยังคาราคาซัง อย่างกรณีหุ้น 44 ส.ส. การขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารที่มีรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ 2-3 คน คดียิงนายสนธิ คดีผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน คดีสลายม็อบ 7 ตุลาฯ เป็นต้น

และที่ต้องวกกลับมาคือการจัดทำโผโยกย้ายนายตำรวจ ที่ฝ่ายนายกฯและกลุ่มคนใกล้ชิดยังไม่ยอมปล่อยมือจากเกมยื้อแย่งอำนาจกับผบ.ตร. ตามคำเตือนของนายบรรหารและอีกหลายๆ คน

กับอันตรายเหนือสิ่งอื่นใดคือการปล่อยข่าวยั่วโทสะกองทัพ

ไม่ว่าการเปลี่ยนตัวรมว.กลาโหมแล้วดึงเอาอดีตบิ๊กคมช.บางคนเข้ามาเสียบแทน การยุยงให้รัฐบาลเด้ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พ้นเก้าอี้ผบ.ทบ. โดยอ้างสาเหตุไม่ยอมปกป้องสถาบันเบื้องสูงจากการถวายฎีกาของกลุ่มเสื้อแดง

ต่อด้วยข่าวทหารกำลังวางแผนทำปฏิวัติ

สังคมกำลังจับตาว่านายอภิสิทธิ์จะหาทางออกจากสนามกับระเบิดเหล่านี้อย่างไร

ที่แน่ๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายเพียงแค่เปลี่ยนโฆษกรัฐบาลเท่านั้น เพราะตัวปัญหาที่แท้จริงใหญ่กว่านั้นเยอะ แต่จะใหญ่เท่านายกฯหรือไม่

เชื่อว่านายอภิสิทธิ์รู้ดีที่สุด