ประเทศเวียดนาม! เคยเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา”แต่วันนี้ไม่ใช่ไทยแลนด์! เคยเป็นประเทศ “กำลังพัฒนา” แต่วันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร! ปลดหนี้และนำพาประเทศสู่ระดับ“ผู้นำ” แต่เมื่อเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้น ทุกอย่างก็ “ถอยหลัง”..เสถียรภาพความมั่นคงของไทย “ติดลบ”กระทั่ง 17 ธันวาคม 2551 คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้าบริหารประเทศ การขับเคลื่อนช่วงแรกส่งสัญญาณ“ไปได้ดี” ไม่มีที่ติ! ประชาชน “โล่งอก” รอดูการก้าวย่างของไทยแลนด์ในทางที่ดีขึ้น ท่ามกลาง “ฝุ่นการเมือง” ที่เริ่มก่อตัวตามธรรมเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะ “สงบ” ลงในไม่ช้าแต่ดูจะเป็นการ “คาดเดา” ที่ผิดผลาด เพราะปัจจุบันการจัดสรรปันส่วนยัง “ชิง” กัน “ฝุ่นตลบกลบเมือง” ทั้งเรื่องโยกย้ายตำแหน่ง บารมี มอบรางวัลเป็นค่าตอบแทนพระคุณที่เกื้อหนุนกันจนได้ดิบได้ดี แค่ 2 เรื่องก็ทำให้ “วงล้อประเทศ”หยุดนิ่ง!สถานการณ์เมืองไทยน่าเป็นห่วง..ในขณะที่รัฐบาลประกาศว่าเรามาถูกทาง และพยายามเหนี่ยวรั้งให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่ในความเป็นจริงไทยกำลังอยู่ในช่วง “ชะลอ”การพัฒนา ซึ่งเป็น “จุดด้อย” ที่นักลงทุนต่างตระหนักท่ามกลางความอึมครึมในเมืองไทย!! “เวียดนาม”ประเทศเพื่อนบ้านที่เราเคยนำหน้าไปแบบไม่เห็นฝุ่น วันนี้รัฐบาลเขาวางแผนพัฒนาประเทศด้วยเมกะโปรเจกต์กว่า 60,000ล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมาย 12 ปีข้างหน้า “เวียดนาม”จะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่น่าสนใจในระดับต้นๆ ของเอเชียนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง(Nguyen Tan Dung) ได้ออกคำสั่งให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำกับดูแลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ประกอบด้วย
1. ทางหลวงโฮจิมินห์ 500 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างโครงการสร้างทางหลวงขนาด 6 เลนแนวตะวันออก-ตะวันตกรวมระยะทาง 23 กม. ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่แห่งนี้
2. ทางด่วนไซ่ง่อน-ด่งนาย 1,200 ล้านดอลลาร์ ทางด่วนระยะทาง 55 กม. ตัดผ่าน จ.บิ่งซเวือง (Binh Duong) ไปยังเมืองเบียนหว่า (Bien Hoa) จ.ด่งนาย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ของประเทศ เชื่อมต่อกับ จ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า อันเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมันดิบ ตลอดจนเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ
3. รถไฟไฮสปีดเหนือ-ใต้ 33,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงตามรางกว้าง 1.435 เมตร สายเหนือ-ใต้ รวมระยะทางกว่า 1,700 กม. เชื่อมกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์โดยไม่ต้องรื้อทางรถไฟสายเก่าที่ใช้งานมานาน 60 ปี
4. รถไฟเลียบอ่าวฮาลอง 255 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเพิ่งจะเริ่มได้เมื่อปี 2549 เพื่อพัฒนายกระดับทางรถไฟจากเอี๋ยนเวียน (Yen Vien) ชานกรุงฮานอย ไปยังฝาหล่าย (Pha Lai) เกิ๋มฝา (Cam Pha) และเอืองบิ (Oung Bi) ซึ่ง เป็นเขตอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่
5. รถไฟฟ้าโฮจิมินห์ 1,100 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินสายแรกในนครใหญ่แห่งนี้ ระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดจะดำเนินการไปจนถึงปี 2563
6. รถไฟหายฟ่อง-ล่าวกาย 150 ล้านดอลลาร์ การพัฒนายกระดับทางรถไฟสายนี้ดำเนินการภายใต้กลุ่มความร่วมมือแห่งอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) มีต้นทางจากท่าเรือนครหายฟ่อง(Hai Phong) ไปยังสถานีลองเบียน (Long Bien) ชานกรุงฮานอย ก่อนจะตัดขึ้นเหนือไปยัง จ.ล่าวกาย(Lao Cai) เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากเมืองคุนหมิง (Kunming) มณฑลหยุนหนันของจีน เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าออกผ่านท่าเรือน้ำลึกในทะเลจีนใต้
7. สนามบินฮานอยส่วนขยาย 300 ล้านดอลลาร์ ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสาร 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย90,000 ตารางเมตร มูลค่า 230 ล้านดอลลาร์ กับทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินความยาว 3,800 เมตร ทั้งหมดกำหนดแล้วเสร็จในปี 2553 คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 6.5 ล้านคนต่อปี และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการขยายเฟสที่สองให้ท่าอากาศยานโนบ่าย (Noi Bai) รองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคนต่อปี
8. สนามบินลองแถ่ง 6,000 ล้านดอลลาร์ สนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ราว 30 กม.จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45-50 ล้านคน เวียดนามจะใช้แทนท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิตนครโฮจิมินห์ ที่ขยายไม่ได้อีก ขณะนี้อยู่ในช่วงศึกษาความเหมาะสม
9. สนามบินฟุก๊วกเฟสแรก 60 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปีที่แล้ว เป็นสนามบินแห่งใหม่ที่จะใช้แทนที่สนามบินขนาดเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฟสแรกจะใช้เงินลงทุนเพียง 60 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้เครื่องบินโดยสารโบอิ้งและแอร์บัสลงจอดได้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2.65 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2563 จะขยายเป็นสนามบินขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับแผนพัฒนาเกาะอ่าวไทยแห่งนี้ให้เป็นปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก
10. ท่าเรือน้ำลึกหายฟ่อง 200 ล้านดอลลาร์ ท่าเรือน้ำลึกแหล็คเฮวียน (Lach Huyen) เริ่มก่อสร้างเมื่อปีที่แล้วในเขตอุตสาหกรรมใหญ่นครหายฟ่อง มีกำหนดเปิดใช้ในปี2553 ด้วยเงินลงทุน 213.8 ล้านดอลลาร์ สามารถรองรับเรือสินค้าที่มีระวาง 50,000-80,000 ตัน
11. ท่าเรือ-อู่เรืออ่าวเวินฟอง 9,000 ล้านดอลลาร์โครงขนาดใหญ่ใน จ.แค๊งหว่า (Khanh Hoa) นี้ ประกอบด้วยท่าเรือสินค้าและเรือโดยสาร รวมทั้งอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มสึมิโตโม (Tsumitomo) จากญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนถึง4,000 ล้านดอลลาร์ และยังมีโครงการโรงงานเหล็กกล้ามูลค่าอีกเท่าๆ กัน
12. ท่าเรือน้ำลึกก๋ายแหม็บ-ถิหวาย 300 ล้านดอลลาร์เป็นท่าเรือน้ำลึกใหญ่ที่สุดในภาคใต้ที่ปากแม่น้ำถิหวายในจ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tao) เป็นไปตามแผนการย้ายท่าเรือออกจากไซ่ง่อนที่ขยายไม่ได้อีก13. ขยายร่องน้ำเข้าท่าเรือเกิ่นเธอ 100 ล้านดอลลาร์นครเกิ่นเธอ (Can Tho) เป็นศูนย์กลางของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงอันเป็นเขตอู่ข้าวสำคัญของประเทศ เวียดนามจะต้องขุดลอกแม่น้ำตลอดความยาวกว่า 60 กม. เพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าถึงได้โดยตรงแทนการทยอยขนส่งสินค้าออกสู่ทะเลหลวงด้วยเรือขนาดเล็ก ซึ่งสิ้นเปลืองและเสี่ยงอันตรายทั้งหมดคือโครงการที่รัฐบาลเวียดนาม สั่งการดำเนินการแล้วและมันจะเป็นรูปธรรมในอีก 12 ปีข้างหน้าแน่นอน! แล้วรัฐบาลมาร์คล่ะมีคำตอบอะไรให้ประชาชนบ้าง?? ■