WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 4, 2009

ฉาวโฉ่นักสิทธิมนุษยชนเหลืองลวนลามลูกน้องสาว องค์กรสิทธิคู่กัดแม้วงามไส้พักงาน1ปีกลบขี้คดีจบ

ที่มา Thai E-News




นักสิทธิมนุษยชน?-เมธา มาสขาว กับป๋าส.ศิวรักษ์ พ่อยกคนสำคัญของผู้ก่อการร้ายพันธมิตร ส่วนด้านล่างเมธากับส.ส.สาวนิวซีแลนด์ ไม่รู้สนิทสนมขนาดไหนสังเกตมือที่โอบไหล่(ชมภาพเมธาเอ็นจีโอโกอินเตอร์กับสาวๆนานาชาติของเขาท้ายข่าวนี้)


ที่มา เวบไทยเอ็นจีโอ และบอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
4 ธันวาคม 2552
บทความเกี่ยวเนื่อง:ซีรีส์ลากไส้องค์กรซ่อนเงื่อน NGO-เอ็นโตดี ชื่อนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย


องค์กรเพื่อสิทธิของผู้ก่อการร้ายพันธมิตร-เมธา มาสขาว กับวสันต์ สิทธิเขตต์ ศิลปินขาประจำเวทีพันธมิตร อีักภาพเมธา(ซ้าย),สมชาย หอมละออ และอังคณา นีละไพจิตร บอร์ดครส.เข้าพบปปช.เร่งรัดให้เอาผิดตำรวจกรณีควบคุมการชุมนุมของพันธมิตรเมื่อ7ต.ค.2551โดยที่องค์กรสิทธิฯแห่งนี้เห็นว่าพันธมิตรชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธให้เร่งเอาผิดตำรวจอย่างต่อเนื่อง


คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่มีทัศนะท่าทีอิงแอบให้ท้ายผู้ก่อการร้ายพันธมิตรเรื่อยมา และมีบทบาทตรวจสอบฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะฝ่ายของทักษิณ ชินวัตรมาตลอด ได้สร้างเรื่องฉาวโฉ่ขึ้น เมื่อแสดงบทบาทกางปีกป้องนักสิทธิมนุษยชนชื่อดังของครส.ที่มีพฤติการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนและล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิงในหน่วยงาน

คนกันเอง-เมธา มาสขาว ไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะถึงทำเนียบรัฐบาล ได้รับการต้อนรับขับสู้เป็นอันดี โดยขอให้เร่งเอาผิดตำรวจ หนึ่งในข้อเรียกร้องคือตำรวจละเมิดสิทธิของสนธิ ลิ้มทองกุล (อ่านข่าว)


ครส.มีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธาน โดยนายสมชายใช้บทบาทของนักสิทธิมนุษยชนเคลื่อนไหวทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกับนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ที่มีบทบาทสนับสนุนผู้ก่อการร้ายพันธมิตรอย่างออกนอกหน้า

ส่วนที่ปรึกษามีนายสัก กอแสงเรือง ซึ่งเป็น1ในคณะกรรมการคตส.ตรวจสอบทรัพย์สินของทักษิณ,นายปรีดา เตียสุวรรณ์ นายทุนคนสำคัญของพันธมิตร และมีนายเมธา มาสขาว เป็นเลขาธิการ

นายเมธามีบทบาทเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกับพันธมิตรมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้โจมตีทักษิณกรณีที่นายกฯฮุนเซนของเขมรเปรียบเทียบทักษิณกับอองซานซูจีว่า ไม่เหมือนกันเลย มีข้อแตกต่างกันถึง 10 ประการ( อ่าน ความต่าง 10 ประการ ระหว่างนางอองซาน ซูจี กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) โดยเมธา ระบุในบางข้อว่า
นางอองซานซูจี เป็นนักโทษทางการเมือง หรือนักโทษทางมโนสำนึก แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนักโทษทางคดีอาญา และกำลังหนีคดีอาญาแผ่นดิน


นักกิจกรรมสังคมระบุว่านายเมธาอาจเป็นผู้ต้องสงสัยที่มีพฤติการณ์ละเมิดทางเพศต่อพนักงานผู้หญิงของครส. โดยที่นายธนาพล อิ๋วสกุล นักกิจกรรมทางสังคมรายหนึ่งและเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเขียนระบุในกระทู้ชุมชนฟ้าเดียวกันว่าเป็นนายเมธา ส่วนนายอุเชนทร์ เชียงแสน นักกิจกรรมทางสังคมอีกคน ก็ระบุว่าเคยเห็นพฤติการณ์นายเมธาทำนองนี้มาแล้ว(ดูกระทู้ คลิ้ก)

นอกจากนั้นมีการตั้งกระทู้ให้ข้อมูลว่านายเมธาอาจจะเคยล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงในสำนักงานมาแล้วนับสิบราย รวมทั้งนักศึกษาชาวพม่าที่มาศึกษาดูงาน
"ได้ยินว่าโดนมาแทบทุกรายครับสำหรับเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และอีกหลายคนในตึกที่ถูกสเป็คแก หนักบ้างเบาบ้าง ตั้งแต่การพูดแทะโลม โอบกอดหอมแก้ม ลูบขาจับหน้าอกและอวัยวะเพศของเหยื่อ จนถึงพูดขอร่วมหลับนอนและพยายามงัดเข้าห้องพักของเหยื่อบางราย รวมเบ็ดเสร็จหนักเบาแล้วน่าจะไม่ต่ำกว่าสิบราย"(คลิ้กอ่านรายละเอียด)


เรื่องดังกล่าวนำไปสู่การออกแถลงการณ์ของนักกิจกรรมทางสังคมในหัวข้อเรื่อง องค์กรสิทธิมนุษยชนต้องมีความชัดเจนในการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิสตรีในวงการสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่1ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ครส.รีบตั้งคณะกรรมการสอบสวน และแถลงผลการสอบสวนออกมาเมื่อเย็นวานนี้(3ธ.ค.) โดยระบุว่า ได้สั่งลงโทษทางวินัยด้วยการพักงานผู้ถูกกล่าวหาเป็นเวลา 1 ปี แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าผู้ถูกกล่าวหามีชื่ออะไร และไม่มีการระบุว่าจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย ทำให้แวดวงนักกิจกรรมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ดีแต่วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น โดยเฉพาะนักการเมือง แต่พอทำผิดเองก็ปกปิดการกระทำของกันเองไว้

อย่างไรก็ตามในตอนท้ายของคำแถลงผลการสอบสวนระบุว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ ครส.แล้ว ก็เท่ากับยืนยันว่าเป็นนายเมธา แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่าเมื่อผู้ถูกกล่าวหายอมรับผิด และผลการสอบสวนพบว่ากระทำผิดจริงมีการลงโทษแล้ว ทำไมไม่เรียกว่าผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องหาคุกคามทางเพศ ทำไมยังเรียกว่าเป็น"ผู้ถูกกล่าวหา" และเพราะเหตุใดจึงไม่มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย

ต่อไปนี้เป็นคำชี้แจงของ ครส.

คำชี้แจงจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
เรื่อง ปัญหาการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในองค์กร ครส.


ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในวงการองค์การพัฒนาเอกชน ว่าผู้ปฏิบัติงานของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้คุกคามทางเพศต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผู้หญิงในระหว่างการปฏิบัติงาน และมีกระแสเรียกร้องให้คณะกรรมการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น ครส. ขอเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้

ครส.เป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน มีคณะกรรมการชุดหนึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีบทบาทในการดำเนินงานส่งเสริมคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการในองค์กร และให้คำปรึกษากับบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร

คณะกรรมการได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายด้วยวาจาครั้งแรกประมาณต้นเดือนกันยายน 2552 ว่าถูกหัวหน้างานคุกคามทางเพศในขณะปฏิบัติงาน ประธานคณะกรรมการได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นมีความเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีมูล จึงมอบหมายให้กรรมการหญิงสองท่านตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหา ผลการตรวจสอบพบว่าผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นหัวหน้างานของผู้เสียหายได้กระทำการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในระหว่างการปฏิบัติงานจริง

ประธานคณะกรรมการจึงมีคำสั่งพักงานผู้ถูกกล่าวหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการครส.เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นร่วมกับผู้เสียหาย ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ผู้เสียหายให้การยอมรับ ร่วมกับกรรมการครส.เพื่อพิจารณาโทษที่ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความเสียหายให้เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 คณะกรรมการไต่สวนได้สรุปผลการพิจารณา เพื่อเสนอแนะต่อ ครส. ว่า

ผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่าได้กระทำการคุกคามทางเพศต่อผู้ปฏิบัติงานหญิงในขณะปฏิบัติงานจริง โดยยอมรับว่า ได้จับมือ กอดเอว กอดคอ พยายามหอมแก้ม และใช้คำพูดที่มีลักษณะเป็นการล่วงเกินทางเพศ โดยกระทำการดังกล่าวต่อเนื่องหลายครั้ง ในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ภายในสำนักงานและระหว่างเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้ยินยอม และได้ปฏิเสธมาโดยตลอด และผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่าการกระทำของตนเป็นการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ต่อผู้เสียหาย

เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้ถูกกล่าวหาได้แสดงการสำนึกผิดโดยการขอโทษผู้เสียหายต่อหน้าคณะกรรมการไต่สวน และหลังจากนั้นจะทำหนังสือแสดงการขอโทษผู้เสียหายเป็นลายลักษณ์อักษรอีกชั้นหนึ่ง

คณะกรรมการ ครส.ในฐานะผู้บริหาร ควรมีคำสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาด้วยการพักงานผู้กระทำผิดเป็นเวลา 1 ปี โดยไม่มีเงินเดือนและสวัสดิการใดๆ

คณะกรรมการ ครส. ได้ลงโทษด้วยการพักงานผู้กระทำผิดเป็นเวลา 1 ปี และจะมอบหมายให้มีกรรมการติดตามดูแล สอดส่อง การปฏิบัติตนของผู้กระทำความผิด รวมทั้งกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง แก้ไข และพัฒนาตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำต่อไป และจะกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานขององค์กร เช่น การกำหนดมาตรฐานหรือระเบียบปฏิบัติด้านจริยธรรม การฝึกอบรม กลไกในการตรวจสอบ รับเรื่องราวร้องทุกข์ และแก้ไขเยียวยาปัญหาจริยธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ครส. ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในประเด็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานซึ่งเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง และเสนอแนะให้มีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายได้รับผลกระทบมากไปกว่านี้ ครส. ขอบคุณผู้เสียหายที่ได้ยืนหยัดเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม และขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ทำงานด้านสิทธิสตรีที่ได้ให้ความกรุณาเป็นกรรมการไต่สวนและให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อองค์กร

ครส. เป็นองค์กรดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขนาดเล็ก ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารซึ่งทำงานในลักษณะอาสาสมัคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งการร้องเรียนและกระบวนการตรวจสอบซี่งได้รับความร่วมมือในการให้ข้อเสนอแนะให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นบทเรียนให้ผู้ปฏิบัติงานในครส.และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ได้ตระหนักว่าการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในที่ทำงานเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง และเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมที่ไม่อาจยอมรับได้และขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมของนักสิทธิมนุษยชน

อนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหา ได้ยื่นใบลาออกจากเลขาธิการของ ครส. แล้ว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
3 ธันวาคม 2552

**********
ภาพชุดเมธา มาสขาว เอ็นจีโอโกอินเตอร์กับเพื่อนสาวๆนานาชาติ (คลิ้กชมทั้งหมดที่บล็อกของเมธา คลิ้ก )