WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 1, 2009

การสร้างภราดรภาพแห่งพี่น้อง!?!

ที่มา Thai E-News


อำนาจของภาษาทางการเมือง ชี้ให้เห็นความสำคัญของภาษาทางการเมือง และวัฒนธรรมของความเป็นไทย แน่นอนว่า ความคลั่งชาติ ไม่สามารถสร้างภราดรภาพแห่งพี่น้อง ในประเทศไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน


โดย อรรคพล สาตุ้ม
30 พฤศจิกายน 2552


…นิยายเรื่อง Huckleberry Finn มันเป็นหน้าที่ของนักเขียนดังอย่าง Mark Twain ที่จะสร้างภาพลักษณ์อันไม่อาจลบเลือนได้ของคนผิวดำ
อำนาจของภาษาทางการเมือง ชี้ให้เห็นความสำคัญของภาษาทางการเมือง และวัฒนธรรมของความเป็นไทย แน่นอนว่า ความคลั่งชาติ ไม่สามารถสร้างภราดรภาพแห่งพี่น้อง ในประเทศไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน
และคนผิวขาวในเรื่อง Huckleberry Finn ว่าเป็น ‘พี่น้อง’ อเมริกันด้วยกันในปี ค.ศ.1881 หลายปีหลังสงครามกลางเมือง และหลังคำประกาศเลิกทาสของประธานาธิบดี Lincon ที่ Jim กับ Huck เพื่อนเกลอที่ล่องเรือไปตามสายน้ำของแม่น้ำมิสซิสซิปปีอันกว้างใหญ่ แต่กรอบโครงเรื่องยังเป็นแบบทั้งความทรงจำ/ทั้งการหลงลืมที่ในยุคก่อนสงครามกลางเมืองอเมริกันนั้น คนผิวดำยังคงเป็นทาสอยู่ในอดีต ดังนั้น มันเป็นจินตนาการถึงภราดรภาพต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ในสังคมที่เกิดการแตกร้าวจากความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์กันทางเชื้อชาติและชนชั้นอย่างรุนแรง…
-(เบน แอนเดอร์สัน ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม ฉบับแปลไทย :374-375)***

กล่าวได้ว่า ความเป็นพี่เป็นน้องแบบอเมริกันของ Huck กับ Jim สะท้อนเรื่องทางเชื้อชาติและชนชั้นตามกฎหมายในสมัยนั้น

Huck จะต้องทรยศ Jim เพื่อที่จะได้ส่งตัว Jim กลับคืนไปให้นายทาสผู้โหดร้าย แต่ทั้งสองคนตัดสินใจเดินทางไปด้วยกันโดยการลอยล่องไปบนแพตามลำน้ำใหญ่ Mississippi เพื่อแสวงหาเสรีภาพ

ส่วนคำว่า Brotherhood ในความหมายของ Mark Twain ก็คือ ความสัมพันธ์บนพื้นฐานที่เสมอกัน เนื่องจาก Huck ค้นพบความรู้สึกของเขาที่มีต่อ Jim คนผิวดำว่า ไม่ใช่แค่ Jim จะเป็นคนที่น่าชื่นชม เขาเริ่มรู้สึกถึงความเป็นพี่เป็นน้องกับคนผิวดำคนนี้ โดยผ่านกระบวนการต่อสู้ภายในจิตใจของเขาระหว่างอคติในตนเองกับความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

เราจะลองนำข้อความคิดในนิยายเรื่องนี้มาพิจารณาถึงกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา จากคำกล่าวที่ได้ยินกันติดหูว่า ประเทศไทยเหมือนเป็นพี่ ส่วนประเทศเพื่อนบ้านที่มีเศรษฐกิจที่เล็กกว่าเหมือนเป็นน้อง (แต่บางท่านใช้คำว่าผู้ใหญ่กับเด็ก)

นัยของความเป็นพี่เป็นน้องในแง่มุมแบ่งชนชั้นทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ จึงแตกต่างจาก Brotherhood ในความหมายของ Mark Twain แทนที่จะเป็น ‘จินตภาพของทางออก’ แต่มันกลับเป็นกับดักในความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น และมันถูกผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากสังคมของเราเอง

นับตั้งแต่คำว่าไทย-จีน เป็นพี่น้องกัน และไทย-ลาวเป็นพี่น้องกัน หากลองพิจารณานัยยะความหมายของคำว่าพี่น้องกับทั้งสองประเทศนี้ จากข้อมูลในอดีตทางประวัติศาสตร์ของประเทศสังคมนิยมที่มีการนับถือแบบสหายร่วมชาติของลาว มันก็มีการสะท้อนว่า ประเทศลาวก็ไม่ชอบเป็นน้อง เพราะมันดูเหมือนว่า ลาวเป็นน้องนั้นด้อยกว่าไทย

ปมปัญหาคำว่าเป็นพี่ที่ประเทศไทยไทยใช้แสดงถึงความเหนือกว่าต่อลาวจากปมของอดีต ทั้งเรื่องศูนย์กลางอำนาจของสยามกับลาว มาจนถึงความคลางแคลงใจต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็นเมื่อภัยคอมมิวนิสต์จางลง กระทั่งการเปิดประเทศ ซึ่งไทยกับลาวเน้นความเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

ความเป็น พี่น้อง นั้น เราสามารถแยกแยะลักษณะของคำ ซึ่งสื่อสะท้อนถึงความเป็นชนชั้นของภาษาทางการเมือง โดย นพพร ประชากุล เคยกล่าวถึงอย่างน่าสนใจต่อประเด็นอำนาจในภาษา กล่าวคือ ภาษามีอำนาจกำหนดโลกทัศน์และชีวทัศน์ของเราได้

ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมเช่น ในฐานะคนไทย เราได้เรียนรู้ที่จะแยกแยะกลุ่มบุคคลที่ร่วมบิดา-มารดากับเรา ผ่านคำว่า “พี่” “น้อง” ซึ่งเท่ากับภาษาสอนให้เราใช้เกณฑ์อาวุโสเป็นหลักในการแยกแยะกลุ่มบุคคลต่อไป (1)

ดังนั้น ความเป็นพี่น้องระหว่างประเทศต่างๆ ในอุษาคเนย์ จึงแสดงถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่ากัน แต่ก็มีพลวัต ความเป็นพี่เป็นน้องขึ้นอยู่กับว่าประเทศใดจะมีอำนาจด้อยกว่า/หรือเหนือกว่า

อำนาจทางการทหารในยุคสงครามเย็น และอำนาจทางเศรษฐกิจยุคเปิดตลาดการค้า ซึ่งการใช้คำว่า พี่ น้อง กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านรั้วติดกัน จึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหว

หลายปีก่อนหน้านี้ สังคมไทยเริ่มเรียนรู้ในเรื่องนี้กันพอสมควร หลังจากที่มีปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว นับตั้งแต่ การเรียกกล่าวว่า น้อง ไปจนถึงการใช้ภาษาและเนื้อหาในสื่อต่างๆ หรือในภาพยนตร์ที่ผู้นำเสนอไม่ระแวดระวังระวังต่อความรู้สึกของประเทศเพื่อนบ้าน

แต่ในปัจจุบัน เหตุใดการเรียนรู้ที่จะต่อสู้กับอคติของตัวเอง และการยอมรับประเทศเพื่อนบ้านบนฐานของความเสมอกัน จึงอันตรธานหายไป

พี่น้องกับความเป็นชาติ

ความขัดแย้งของคำว่า “กุ๊ย” จากปากของรัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ต่อสมเด็จฯฮุนเซน นับเป็นเรื่องอ่อนไหวมากที่สุดของการพูดในทางการเมืองระหว่างประเทศ

เนื่องจาก การเมืองของภาษา เป็นประเด็นสำคัญในสถานการณ์ระหว่างประเทศที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

หากเรานึกถึงอำนาจกับการใช้ภาษาผ่านถ้อยคำ ตามโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้า การหาเสียงเลือกตั้งนั้นเอง เช่น ราชการเรียกกลุ่ม พคท. คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยว่า “ผู้ก่อการร้าย” แต่ว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายในกรณี ๖๖/๒๓ ทางราชการก็เปลี่ยนไปเรียกพวกเขาเสียใหม่ว่า “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย”

หรืออีกกรณีหนึ่งที่ นพพร ประชากุล ยกตัวอย่างถึงเรื่องขบถจิตแพทย์ กลุ่มหนึ่งได้วินิจฉัยพฤติกรรมและสภาพจิตใจของฮิตเลอร์ตามหลักวิชาการแล้วได้แถลงต่อสาธารณชนด้วยถ้อยคำว่า “ฮิตเลอร์เป็นผู้มีอาการป่วยทางจิต”

แน่นอนว่า ฮิตเลอร์ มีบัญชาให้สอบสวนเรื่องนี้ขึ้น เมื่อสิ้นสุดการสอบสวน คณะกรรมการก็แถลงผลต่อสาธารณชนว่าจิตแพทย์กลุ่มนี้ที่แท้แล้วเป็น “ผู้ทรยศต่อชาติ” (2) มันเป็นตัวอย่างสะท้อนความคิดเรื่องของภาษาในการใช้คำว่า ชาติ มาเป็นเครื่องมือจัดการกับคนในชาติ โดยลดทอนหรือทำลายความหมายที่สื่อถึงภราดรภาพแห่งพี่น้อง (3)

ดังนั้น ภาษาทางการเมือง ทำให้เรารับรู้ได้ว่า ความเป็นชาติและภาษากับการเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เช่น ในกรณี 'ป๋าเปรม' ลั่นไม่เคยกล่าวว่า 'จิ๋ว' ทรยศต่อชาติ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ภาษากับการเมืองในเรื่องทรยศชาตินั้น เมื่อผู้มีอำนาจพูดก็เหมือนกับฮิตเลอร์เป็นผู้พูด ย่อมแสดงพลังออกมาชัดเจนกว่าปัญญาชนและหลักวิชาการ เนื่องจาก ผู้มีอำนาจเชื่อมโยงกับความเป็นชาติ ผู้มีอำนาจพูดด้วยอำนาจของภาษาในการบังคับบัญชาคน และสร้างความเชื่อให้กับคนทั่วไป

กล่าวโดยเปรียบเทียบก็คือ จิตแพทย์ของเยอรมันก็เหมือนกับปัญญาชน ซึ่งกลับกลายเป็นคนปัญญาอ่อนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่รักชาติ ปัญญาชนเป็นผู้ทรยศชาติ ในด้านกลับกัน สำหรับประเทศไทย ปัญญาชนบางคนคลั่งชาติอย่างหน้ามืดตามัว ทั้งจากกลุ่มการเมืองที่หลากหลายและคนเป็นปัญญาชน พวกเขาไปประท้วงหน้าสถานฑูตกัมพูชาในประเทศไทยในกรณีความขัดแย้งเรื่องพื้นที่พรมแดนด้วยการปลุกระดมพลอย่างคลั่งชาติ

แล้วเราจะเติมช่องว่างให้เต็มในเรื่องการสร้างสันติภาพ ความเป็นพี่น้องกันอย่างเสมอกัน เหมือนกับภราดรภาพในเรื่อง Huckleberry Finn โดยเน้นความเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติได้อย่างไร

ความหมายของพี่น้อง-เพื่อนแบบใหม่ๆ จึงไม่ใช่เพียงความหมายแคบๆ แบบเดิมๆ เพื่อขยายอาณาเขตความเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมชาติอย่างเป็นสมัยใหม่ เพราะมันน่าจะเป็นทางออกในการสร้างสันติภาพของประเทศไทยในขณะนี้

เมื่อเราอยู่ภายใต้วิกฤติการณ์ทางการเมือง เราจึงต้องการรู้ถึงตัวอย่างการสร้างสันติภาพแบบเพื่อน เหมือนกับเพื่อนใกล้ตัวของเรา และแน่นอนมันย่อมเกี่ยวข้องการใช้ภาษา ใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสันติอย่างมีมิตรภาพ

ทางกลุ่มเสื้อแดงซึ่งใช้คำศัพท์ว่า “อำมาตยาธิปไตย” กับการต่อสู้ของพวกเขา ในจำนวนนั้น บางคนยังเดินทางออกจากประเทศไทยไปกัมพูชาเพื่อพบกับทักษิณ

ประเด็นสำคัญจึงไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาไปพบกับใคร แต่เป็นเรื่องการใช้ช่องทางการไปมาหาสู่กับประเทศเพื่อนบ้านตามปกติ แม้จะอยู่ในภาวะที่รัฐบาลและกลุ่มการเมืองสร้างความตึงเครียดระหว่างสองประเทศให้เกิดขึ้นก็ตาม มันเป็นความไว้วางใจและความผูกพันข้ามพรมแดนของประเทศที่ไปมาหาสู่กันได้ตั้งแต่ในอดีต

เราคิดต่อมาง่ายๆ ว่า ตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกต้อง มันพัฒนามาจากความสัมพันธ์ส่วนตัวแล้วขยายไปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเริ่มจากการค้าขายตามพรมแดนติดต่อกัน

กรณี พล.อ.ชวลิต กับบทบาทการใช้คำว่า เขาเป็นพี่น้อง brother, family กับประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ (4) เราสามารถพิจารณาข้อมูลประวัติศาสตร์ เช่น ในกรณีของพม่า การเดินทางมาเยือนไทยของ พล.ท.ขิ่นยุ้นท์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ มอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต เป็นเจ้าภาพในนามรัฐบาลเต็มตัว ในฐานะที่พล.อ. ชวลิต สนิทกับ พล.ท. ขิ่น ยุ้นท์อยู่ก่อนแล้ว เขาได้จัดปาร์ตี้บนเรือ Oriental Queen ล่องน้ำชมแสงสีสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จนเป็นที่มาของการจับมือเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน

อย่างไรก็ดี หากเราประเมินบทบาทและความสามารถทางการต่างประเทศของ บิ๊กจิ๋ว และทักษิณ นับตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ในช่วงที่ทักษิณเป็น รมต.ต่างประเทศ เขาได้พยายามหาทางแก้ไขข้อขัดแย้งทางทะเลของไทย-เขมร-เวียดนามอีกด้วย (5) จากข้อมูลของคอลัมนิสต์ ซึ่งเขียนเรื่องโฟกัสอินโดจีนได้สะท้อนบทเรียนของประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราเห็นว่า หน้าที่ของการสร้างความร่วมมือกัน สะท้อนถึงประสบการณ์ทางการต่างประเทศเพื่อใช้สร้างความร่วมมือ มิใช่ใช้เพื่อทะเลาะเบาะแว้งกัน ภายใต้ทิศทางของการนิยามคำว่าพี่น้องให้ข้ามพ้นโลกทัศน์ที่ตกอยู่ภายใต้เกณฑ์อาวุโสเพียงอย่างเดียว

เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวแบบชาตินิยมที่เกิดขึ้น เช่น การที่กลุ่มเสื้อเหลืองชาตินิยมประท้วงหน้าสถานทูตกัมพูชา ประกอบกับการที่นายวีระ สมความคิด เคยให้สัมภาษณ์ว่า “มีคนว่าผมบ้า”(6) ก่อนที่เขาจะมาเป็นกลุ่มพันธมิตรฯ-พรรคการเมืองใหม่ แต่มันคงไม่ทำให้ผู้คนบ้า หรือคลั่งชาตินิยมตามแนวทางกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ถึงขนาดนี้ หากผู้ที่มีบทบาทในรัฐบาลมิใช่ นายกษิต ภิรมย์ ผู้เป็นสัญลักษณ์ในการทะเลาะกับสมเด็จฮุนเซน ตั้งแต่กรณี ”กุ๊ย” จนถึงรัฐบาลก็ไม่สามารถปลดนายกษิตออกจากตำแหน่งได้ อาจเป็นเพราะว่าไม่มีสัญญาณจากบ้านป๋าเปรม (7) ซึ่งในอดีตก็คือบ้านพักของจอมพลสฤษดิ์นั่นเอง(8)

แม้ว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของเราจะก้าวข้ามพ้นสัญลักษณ์ของยุคสมัยจอมพลสฤษดิ์แล้วก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องอาณาเขตสาธารณะ การสร้างข้อถกเถียงอย่างมีเหตุมีผล เพื่อเสรีภาพ และการปลดปล่อย (9) ในทางการเมืองของพลเมืองไทย จึงต้องพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านภาษา ผ่านการสร้างสรรค์หนังสือ แบบเรียน นิยาย ภาพยนตร์ ฯลฯ กันต่อไป

แต่การแก้ไขปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ นอกเหนือจากเรื่องความเป็นพี่น้องในภาษาทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ต้องมีมากกว่านั้นก็คือ “สปิริต” ของรัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบัน ซึ่งก็ควรแสดงสปิริตทางการเมืองดังเช่นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ นายนภดล ปัทมะ เคยมาทำมาแล้ว เพื่อลดแรงกดดันไม่ให้ปัญหาการเมืองปะทุบานปลายออกไป ทั้งนี้คำว่าพี่น้องหรือเพื่อนก็ไม่สามารถขาดส่วนผสมหลักคือ “สปิริต” ไปได้

ส่วนการสร้างข้อถกเถียงอย่างมีเหตุมีผลเพื่อเสรีภาพและการปลดปล่อย คงต้องเป็นไปมากกว่าการแก้ปัญหาตัวบุคคลทั้งนายกษิต นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ ซึ่งพวกเขาอาจจำเป็นต้องปลดปล่อยตนเองจากการตกอยู่ภายใต้อำนาจของคำศัพท์ว่า “อำมาตยาธิปไตย” ซึ่งผนวกกับความหมายกลุ่มพันธมิตร ฯ ที่คลั่งชาติ ไปจนถึงป๋าเปรม อันปรากฏถึงการดำรงอยู่ของ “พี่น้อง”ในระบบอาวุโสของบ้านป๋าเปรม

สิ่งนี้สะท้อนถึงความคิดตามความหมายของโครงสร้างการเมืองแบบเก่าในการก่อปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชา จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเชื้อชาติและชนชั้นในความเป็นชุมชนจินตกรรมของชาติไทยเองได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลในรัฐบาลก็จะไม่ยอมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในยุคใหม่ ซึ่งมันก็คือปมปัญหาที่เราไม่สามารถสร้างภราดรภาพแห่งพี่น้องจากประเทศไทยถึงกัมพูชาได้ !?!

******
*หมายเหตุ :ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม โดยเบน แอนเดอร์สัน ซึ่งผู้เขียนผลงานLanguage and Power: Exploring Political Cultures in Indonesia. และส่วนของผลงานมาร์ค ทเวน ผู้เขียนเรื่องThe Stolen White Elephant เป็นต้น

เชิงอรรถ

1.นพพร ประชากุล “ภาษากับอำนาจ” สารคดี ปีที่13 ฉ.147 พ.ค.2540:361-368
2.นพพร ประชากุล,เพิ่งอ้าง
3.คำว่าพี่น้อง สำหรับคนอเมริกันแล้ว คำว่า “brother” “sister” จะชักนำให้เขาแยกแยะไปอีกทัศนะหนึ่ง โดยมองไปที่ความแตกต่างทางเพศเป็นหลัก ซึ่งน่าสนใจจากภาษาของสตรีไทยยังแยกเพศหลายระดับของสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ที่มีคำแทนตัวว่า ดิฉัน กับ หนู หรือบางครั้งก็ใช้ชื่อเล่นแทนตัวเอง ต่างๆ ซึ่งมันแตกต่างจากอเมริกาซึ่งมีการพูดถึงคุณ you มากกว่า เรียกว่าพี่ น้อง นับญาติเหมือนกับโฆษณาทีวี ว่า ถ้าประเทศเป็นบ้าน คือ คนนับญาติกันได้หมดทั้งประเทศไทย ถ้าเรานึกถึงคำเรียก พี่ น้อง ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังปรากฎถึงการใช้คำว่า brother ในกลุ่มพี่น้องกรรมกร ย่อมแน่นอนว่า นอกจากการใช้คำว่าพี่น้อง สื่อถึงพี่น้องร่วมอาชีพ ยังมีความหมายถึงความเสมอภาคอีกด้วย
4.อรรคพล สาตุ้ม “บอง ชวลิต” ชาติไทยในมุมมองจากคอนโดฯ 5.หลานฟง “ทางแก้ข้อขัดแย้งทางทะเลของไทย-เขมร-เวียดนาม”โฟกัสอินโดจีน ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 41 ฉ.38 วันที่ 19-25 ก.พ.38 :12
6.วีระ สมความคิด “มีคนว่าผมบ้า” กรุงเทพธุรกิจ เสาร์สวัสดี ปีที่ 17 ฉ.5756 วันที่ 26 มิ.ย.47 : 2-5 และดูเพิ่มเติมกรณี “สุริยะใส” ลั่นคลั่งชาติดีกว่าขายชาติ
7.เราสามารถพิจารณาเรื่องความหลากหลายทางภาษาเหนือ ภาษาใต้ เหมือนกับเราพิจารณาภาษากับการเมืองได้ โดยดูจากผลงานเรื่องภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมืองของไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร เนื่องจากความน่าสนใจถึงการเมืองของการพูด คือ อำนาจของภาษาในระดับชาติ ซึ่ง สุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวว่า"คนพูดแทนประเทศไทยได้คือนายกรัฐมนตรี แต่ในระดับเจ้าหน้าที่ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นเมื่อถูกสื่อมวลชนซักถาม ซึ่งต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศที่จะต้องดูแลให้พูดจาไปในทิศทางไหน อย่างไร" เหยียบเบรกหัวทิ่มหัวตำ โดย จังหวะ "คัตเอาต์" ตัดไฟ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง… เนื่องจากสไตล์นักการทูตยี่ห้อ "กษิต ภิรมย์"โดยปมหนึ่งที่น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เลือกเล่นเกมอุ้ม "ทักษิณ" ตบหน้ารัฐบาลประชาธิปัตย์ และฝ่ายคุมเกมอำนาจในประเทศไทยมาจากลูก "หมั่นไส้"จำฝังใจกับคำว่า "ไอ้กุ๊ย" บนเวทีม็อบพันธมิตรฯ หรือ "Gangster" ในบทสัมภาษณ์ผ่านสื่อฝรั่งที่นายกษิตด่าข้ามประเทศไปถึงกัมพูชา และ รัฐบาลประชาธิปัตย์ตีกินได้แค่กระแสชาตินิยมในเมืองไทย นโยบายต่างประเทศภายใต้ทีมงาน "กษิต ภิรมย์" ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แน่นอนถ้าถามใจนายกฯ อภิสิทธิ์ กับ "เทพเทือก" โดยวิสัยยี่ห้อประชาธิปัตย์ไม่ต้องเดาให้ยาก คงอยากกำจัด "จุดอ่อน" โละทิ้งยี่ห้อ "กษิต ภิรมย์" ทิ้งเต็มแก่ แต่ปัญหามันติดอยู่ที่โควตานี้ถูก "ล็อกไว้" ไม่อยู่ในวิสัยที่ "อภิสิทธิ์" หรือ "เทพเทือก" จะตัดสินใจได้โดยลำพังตราบใดที่ไม่มีสัญญาณไฟเขียวจากบ้านใหญ่ย่านเทเวศร์. ที่มา : วิเคราะห์การเมือง แล้วเฉลยก็อยู่ที่ กษิต ภิรมย์ “ไทยรัฐออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2552, 05:00”
8.บ้านสี่เสาเทเวศร์
9.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ “สิทธิดื้อแพ่ง,ความเป็นสาธารณะ และประชาธิปไตยของความเป็นศัตรู”รัฐศาสตร์สาร 22, 3 (2543): 273